วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ออนไลน์ / ซอกซอนตะลอนไป
ซอกซอนตะลอนไป

ซอกซอนตะลอนไป

โดย...เสรษฐวิทย์ ชีรวินิจ
วันอาทิตย์ ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562, 02.00 น.
มหัศจรรย์ ห้องอำพัน ในพระราชวังแคทเธอรีน (ตอน3จบ)

ดูทั้งหมด

  •  

พระราชวังแคทเธอรีน ผ่านมือของผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินรัสเซียมาหลายคน  ผ่านการปรับปรุงตกแต่งมาหลายต่อหายครั้ง จนรูปโฉมทั้งภายนอกและภายในเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก  เริ่มจากเป็นพระราชวังอาคารหลังเดียว  แล้วค่อยๆต่อเติมขยายปีกออกไป

และมีการเปลี่ยนโฉมหน้าการตกแต่งภายในเสมอมาตามรสนิยมของผู้เป็นเจ้าของ


อย่างเช่น ในสมัยของจักรพรรดินีแคทเธอรีน ที่ 2 พระนางได้ปรับปรุงห้องหลายห้องให้เป็นศิลปะสไตล์ นีโอ คลาสสิค  เป็นต้น

(ห้องที่ถูกดัดแปลงเป็นศิลปะแบบ นีโอ คลาสสิค โดย จักรพรรดินี แคทเธอรีนที่ 2)

แต่ห้องหนึ่งที่ไม่เคยถูกดัดแปลงเปลี่ยนโฉมเลยก็คือ  ห้องอัมพัน

เรื่อยมาจนกระทั่งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1939 – 1945  กองทัพของรัสเซีย อยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร ในขณะที่เยอรมันอยู่ฝ่ายตรงข้าม

วันที่ 8 กันยายน ปีค.ศ. 1941  กองทัพนาซีเยอรมันยกทัพหมายจะยึดครองนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เพื่อปิดโอกาสไม่ให้รัสเซียตลบหลังตัวเองได้

แรกทีเดียว  กองทัพเยอรมันคิดว่า น่าจะยึดเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเอาไว้ได้อย่างง่ายดาย  ถึงขนาดจองโรงแรม ASTORIA ที่อยู่ใจกลางเมืองเพื่อเตรียมเปิดแชมเปญจัดงานเฉลิมฉลองชัยชนะในคืนนั้นเลย  

แต่ด้วยความร่วมแรงร่วมใจกันอย่างแข็งขันของชาวเมือง ที่จะพยายามต้านทานกองทัพนาซีเยอรมันเอาไว้อย่างถึงที่สุด  กองทัพเยอรมันจึงไม่อาจยกทัพผ่านเข้าประตูเมืองได้  

ทัพของเยอรมันต้องล้อมเมืองอยู่นานถึง 872 วัน  โดยไม่สามารถทำอะไรได้เลย

วันที่ 27 มกราคม ปีค.ศ. 1944 ซึ่งเป็นช่วงท้ายของสงคราม เยอรมันตัดสินใจถอนทหารออกไปเพราะไม่อาจต้านทานความร้ายกาจของสภาพอากาศที่หนาวเหน็บได้  

(ทางขึ้นพระราชวังแคทเธอรีน)

 ตลอดเวลาของการล้อมเมือง  กองทัพของเยอรมันได้ใช้พระราชวังแคทเธอรีน อยู่ทางใต้ของเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และยึดพระราชวังปีเตอร์ฮ๊อฟ ที่อยู่ทางเหนือของเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เป็นฐานบัญชาการ

(พระราชวังปีเตอร์ฮ๊อฟ ของพระเจ้าปีเตอร์ - ภาพจากวิกิพีเดีย)

เมื่อจำต้องถอนทหารออกไป   กองทัพนาซีก็ระเบิดพระราชวังทั้งสองแห่งทิ้งไปอย่างไม่ใยดี  จนแทบจะไม่เหลือเค้าโครงเดิมเลย 

โชคดี  ที่รัสเซียรู้ล่วงหน้ามาตั้งแต่ก่อนที่เยอรมันจะมายึดพระราชวังทั้งสอง  จึงได้ขนเอาทรัพย์สมบัติ และ สิ่งของมีค่า ประเภทวัตถุโบราณ  และ เครื่องตกแต่งประดับประดาต่างๆที่สามารถถอดออกไปได้  ส่งไปเก็บในไซบีเรียเสียก่อน

แต่ก็เป็นไปอย่างฉุกละหุก  และ ไม่สามารถขนไปได้ทั้งหมด

ในระหว่างการขนย้ายนั่นเอง  ดูเหมือนว่า  แผ่นผนังวอลล์เปเปอร์ ที่ทำด้วยอัมพัน ได้หายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย

ครั้นสงครามสงบลง  รัสเซียก็ยังไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมจะทำการบูรณะโบราณสถานต่างๆ   เพราะเป็นช่วงที่ประเทศยังยากจน   ตราบจนกระทั่งช่วงปลายของศตวรรษที่ 20 รัสเซียเริ่มเปิดประเทศอีกครั้ง

นักท่องเที่ยวไหลทะลักเข้าไปในรัสเซีย  ทำให้โบราณสถานต่างๆเหล่านี้เริ่มมีความหมายต่อนักท่องเที่ยว  และ มีความหมายในการทำเงินให้แก่ประเทศ  รัสเซียจึงต้องเร่งทำการบูรณะ

เมื่อบูรณะพระราชวังเหล่านี้เสร็จเรียบร้อย  ปัญหาก็คือ  แผ่นวอลล์เปเปอร์ที่ทำด้วยอัมพันจะบูรณะกันอย่างไรให้เหมือนของเดิมให้มากที่สุด 

 ภาพถ่ายในอดีตของผนังห้องนี้ ก็มีแต่เพียงภาพขาวดำเท่านั้น   ท่านผู้อ่านคิดว่า  เขาจะบูรณะอย่างไรครับ

(ภาพในห้องอัมพัน-ภาพจากอินเตอร์เน็ต)

เนื่องจากอัมพันมีหลากหลายสี  ทั้งเหลืองทองคำ เหลืองซีด  เหลืองเข้ม  และ อีกมากมาย  เขาก็เอาภาพขาวดำเหล่านี้  มาเป็นต้นแบบในการเลือกขนาดและเฉดสีให้ใกล้เคียงที่สุด

โดยยึดแนวคิดว่า  ถ้าเป็นอัมพันสีเหลืองเข้ม  ภาพขาวดำจะออกมาในทางสีคล้ำกว่าอัมพันสีเหลืองอ่อน

(ผนังวอลล์ เปเปอร์ทำด้วยอัมพัน ในห้องอัมพัน - ภาพจากอินเตอร์เน็ต)

เมื่อนำอัมพันมาจัดวางให้ตรงตามภาพถ่ายขาวดำแล้ว  เขาก็จะถ่ายรูปแผ่นอัมพันที่จัดเรียงเรียบร้อยแล้วด้วยฟิล์ม์ขาวดำ  แล้วเอาภาพขาวดำที่ว่านี้  ไปเทียบกับภาพขาวดำที่ถ่ายไว้ในอดีต  ว่ารูปร่าง และ เฉดสี ใกล้เคียงกับของเดิมแล้วหรือยัง

เป็นงานที่ค่อนข้างจะต้องใช้ความใจเย็น และ ลองผิดลองถูกอย่างอุตสาหะอย่างยิ่ง

ในที่สุด  ห้องอัมพันนี้ก็บูรณะเสร็จสมบูรณ์  แม้ว่าจะเสร็จหลังการบูรณะพระราชวังแคทเธอรีน อยู่นานหลายปี

เป็นห้องที่มีคุณค่าความสวยงาม  และ คุณค่าของการบูรณะฟื้นฟู

ปัจจุบัน   เขาเปิดให้เข้าชมแล้ว  แต่มีข้อแม้ว่า   ห้ามถ่ายรูปโดยเด็ดขาด  เข้าใจว่า  คงจะเกรงว่า  หากถ่ายรูปด้วยแฟลช์แล้ว  จะทำให้สีของอัมพันเพี้ยนไปจากเดิม

คุ้มค่าน่าดูอย่างยิ่งครับ

สำหรับท่านที่สนใจจะเดินทางท่องเที่ยวเจาะลึกอียิปต์ แบบสบายๆ 10 วัน 7 คืน ระหว่างวันที่ 10 – 19 ตุลาคมนี้ โดยผมจะเป็นผู้บรรยายชมเอง  สามารถสอบถามรายละเอียด และสำรองที่นั่งได้ที่ โทร 026516900 หรือ  โทร 088578 6666   หรือ LINE ID 14092498 ครับ

หรือจะเป็นเดือนถัดๆไปก็ได้ครับ  เพราะเรามีทัวร์อียิปต์ออกทุกเดือน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
10:55 น. นักวิชาการ‘กัมพูชา’ยกโพลเย้ยการเมืองไทยเปราะบาง ไม่เหมือน‘ฮุน เซน’ชาวเขมรศรัทธาท่วมท้น
10:55 น. 'อดีตสว.สมชาย'สิ้นหวัง! พ.ร.บ.ตำรวจไร้ผล ชี้ระบบอุปถัมภ์-การเมืองทำปฏิรูปแป๊ก
10:45 น. รวบ3หญิงไทย อ้างหลบหนีแก๊งคอลฯ มุดชายแดนจากปอยเปตเข้าไทย
10:43 น. แก้เสียงปริ่มน้ำ!‘สุชาติ’จ่อลาออกสส. เปิดทาง‘ปาร์ตี้ลิสต์’ลำดับถัดไปทำหน้าที่ในสภา
10:38 น. ‘ภูมิธรรม’หนุนข้อเสนอ‘รมต.’ไม่มีบทบาทในสภาฯ ควรทิ้งเก้าอี้สส.‘ปาร์ตี้ลิสต์’
ดูทั้งหมด
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
หมอดังเผยเคยไม่เข้าใจ 'เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์' ทรงงานแม้พระอาการประชวร ก่อนป่วยมะเร็งเองจึงซึ้งพระทัย
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
ชวนให้คิด! 'หมอพรทิพย์'โพสต์ 'นายกฯตระกูลชิน'กับระบบการเมืองไทย
ดูทั้งหมด
นักการเมิอง มนุษย์ประเภทไหน
ทางออกที่ไม่มีใครได้อะไรเต็ม 100% แต่ประเทศชาติไม่ตกหุบเหววิกฤต
บุคคลแนวหน้า : 7 กรกฎาคม 2568
บทบรรณาธิการ 7 กรกฎาคม 2568
งกครองโลก (2)
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

นักวิชาการ‘กัมพูชา’ยกโพลเย้ยการเมืองไทยเปราะบาง ไม่เหมือน‘ฮุน เซน’ชาวเขมรศรัทธาท่วมท้น

'อดีตสว.สมชาย'สิ้นหวัง! พ.ร.บ.ตำรวจไร้ผล ชี้ระบบอุปถัมภ์-การเมืองทำปฏิรูปแป๊ก

รวบ3หญิงไทย อ้างหลบหนีแก๊งคอลฯ มุดชายแดนจากปอยเปตเข้าไทย

แก้เสียงปริ่มน้ำ!‘สุชาติ’จ่อลาออกสส. เปิดทาง‘ปาร์ตี้ลิสต์’ลำดับถัดไปทำหน้าที่ในสภา

‘ภูมิธรรม’หนุนข้อเสนอ‘รมต.’ไม่มีบทบาทในสภาฯ ควรทิ้งเก้าอี้สส.‘ปาร์ตี้ลิสต์’

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันจันทร์ ​7 กรกฎาคม 2568

  • Breaking News
  • นักวิชาการ‘กัมพูชา’ยกโพลเย้ยการเมืองไทยเปราะบาง ไม่เหมือน‘ฮุน เซน’ชาวเขมรศรัทธาท่วมท้น นักวิชาการ‘กัมพูชา’ยกโพลเย้ยการเมืองไทยเปราะบาง ไม่เหมือน‘ฮุน เซน’ชาวเขมรศรัทธาท่วมท้น
  • \'อดีตสว.สมชาย\'สิ้นหวัง! พ.ร.บ.ตำรวจไร้ผล ชี้ระบบอุปถัมภ์-การเมืองทำปฏิรูปแป๊ก 'อดีตสว.สมชาย'สิ้นหวัง! พ.ร.บ.ตำรวจไร้ผล ชี้ระบบอุปถัมภ์-การเมืองทำปฏิรูปแป๊ก
  • รวบ3หญิงไทย อ้างหลบหนีแก๊งคอลฯ มุดชายแดนจากปอยเปตเข้าไทย รวบ3หญิงไทย อ้างหลบหนีแก๊งคอลฯ มุดชายแดนจากปอยเปตเข้าไทย
  • แก้เสียงปริ่มน้ำ!‘สุชาติ’จ่อลาออกสส. เปิดทาง‘ปาร์ตี้ลิสต์’ลำดับถัดไปทำหน้าที่ในสภา แก้เสียงปริ่มน้ำ!‘สุชาติ’จ่อลาออกสส. เปิดทาง‘ปาร์ตี้ลิสต์’ลำดับถัดไปทำหน้าที่ในสภา
  • ‘ภูมิธรรม’หนุนข้อเสนอ‘รมต.’ไม่มีบทบาทในสภาฯ ควรทิ้งเก้าอี้สส.‘ปาร์ตี้ลิสต์’ ‘ภูมิธรรม’หนุนข้อเสนอ‘รมต.’ไม่มีบทบาทในสภาฯ ควรทิ้งเก้าอี้สส.‘ปาร์ตี้ลิสต์’
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน47)  หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน47) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

6 ก.ค. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน46) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน46) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

29 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน45) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน45) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

22 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน44) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน44) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

15 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน43) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน43) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

8 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน42) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน42) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

1 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน41) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน41) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

25 พ.ค. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน40) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน40) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

11 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved