วันจันทร์ ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ใช้ยาลดไข้ให้ได้ผลดี

รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ใช้ยาลดไข้ให้ได้ผลดี

วันจันทร์ ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 06.00 น.
Tag : ยาลดไข้ รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ
  •  

คนในบ้านเมืองของเราน่าจะคุ้นเคยกับการเป็นไข้และการใช้ยาลดไข้ เพราะคนจำนวนไม่น้อยเป็นไข้ค่อนข้างบ่อย 
อาการไข้เป็นกลไกธรรมชาติที่เกิดเมื่อร่างกายต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม เช่น เชื้อโรค หรือการอักเสบ โดยสมองส่วนไฮโปทาลามัสจะควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้สูงขึ้น เพื่อสร้างสภาวะที่ไม่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วยังเป็นสัญญาณบอกเราว่ากำลังมีภาวะผิดปกติ
สาเหตุของไข้มีตั้งแต่การติดเชื้อไวรัสทั่วไป เช่น ไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ ไปจนถึงการติดเชื้อแบคทีเรีย อาการจากโรคภูมิต้านตนเอง ผลข้างเคียงจากยา การฉีดวัคซีน หรือแม้แต่โรคมะเร็งบางชนิด ความเครียดเรื้อรังก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบและมีไข้ได้เช่นกัน
เราจะรู้ว่าเป็นไข้เมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงเกินกว่า 36.2–37.5°C หากสูงเกินช่วงนี้ถือว่าเริ่มมีไข้ โดยแบ่งระดับได้ดังนี้
ไข้ต่ำ อุณหภูมิร่ายกายอยู่ระหว่าง 37.6–38.3°C  
ไข้ปานกลาง อุณหภูมิร่ายกายอยู่ระหว่าง 38.4–39.4°C  
ไข้สูง อุณหภูมิร่ายกายอยู่ระหว่าง 39.5–40.5°C 
แต่ถ้าอุณหภูมิร่ายกายเกิน 40.5°C จัดว่าไข้สูงมาก  
การวัดไข้ ทำได้ช่องทาง แต่ละวิธีที่ใช้วัดอุณหภูมิจะมีผลต่อค่าที่ได้ เช่น การวัดอุณหภูมิใต้ลิ้นและทางหูมักให้ค่าที่แม่นยำที่สุด  
 

แต่สิ่งที่สำคัญคือ ต้องหาสาเหตุของไข้ว่าเกิดจากเหตุใด เพื่อจะได้จัดการแก้ปัญหาได้ถูกต้อง 
ส่วนการลดไข้มีหลายวิธี เช่น การเช็ดตัวด้วยน้ำเพื่อระบายความร้อน โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นบิดหมาด เช็ดตามข้อพับ เช่น รักแร้ คอ ขาหนีบ ควรพักในห้องที่อากาศถ่ายเทดี หลีกเลี่ยงห้องร้อนหรืออับ สวมเสื้อผ้าบาง ๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายระบายความร้อนได้ดีขึ้น และต้องดื่มน้ำให้มาก หรือดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่อชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไปกับการระบายความร้อน  
ยิ่งเด็กเล็กที่เป็นไข้ ก็ต้องระวังให้มาก เพราะถ้าไข้สูงมาก อาจจะทำมีอาการชัก ต้องหมั่นเช็ดตัวเพื่อระบายความร้อนออก
การใช้ยาลดไข้ ตัวยาหลักและเป็นยาตัวแรกที่ขอให้เลือกใช้ ในกรณีผู้ป่วยไม่แพ้หรือป่วยเป็นโรคตับ ได้แก่ พาราเซตามอล (ได้กล่าวถึงโดยละเอียดเกี่ยวกับยาพาราเซตามอลไปแล้วเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน) แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ยาพาราเซตามอลได้ หรือใช้ยาพาราเซตามอลแล้วไข้ไม่ลด จำเป็นต้องใช้ยาที่มีฤทธิ์แรงขึ้นกว่ายาพาราเซตามอล ก็คือ ยาไอบูโพรเฟน เป็นยาตัวหนึ่งในกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) หรือ ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เป็นยาที่ใช้ได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ มีทั้งในรูปแบบยาน้ำและยาเม็ด 
ขนาดแนะนำทั่วไปในเด็กคือ 5–10 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม/ครั้ง ทุก 6–8 ชั่วโมง โดยมีขนาดสูงสุดไม่เกิน 40 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม/วัน 
ส่วนขนาดสำหรับผู้ใหญ่คือ 200-400 มิลลิกรัม/ครั้ง ทุก 6-8 ชั่วโมง 
สามารถขอให้เภสัชกรช่วยคำนวน และกำหนดขนาดยาให้น่าจะดีกว่า แต่ยานี้มีข้อควรระวังมากกว่ายาพาราฯ คือ ห้ามใช้ในผู้แพ้ยานี้ และยานี้มีอุบัติการการแพ้มากกว่ายาพาราเซตามอล 
ดังนั้น หลังการใช้งานต้องติดตามอาการ ถ้ามีอาการผื่นขึ้น หายใจติดขัดแสดงว่าแพ้ยา ต้องหยุดใช้ยาทันที หากอาการรุนแรงต้องรีบไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล นอกจากเรื่องการแพ้ยาแล้ว ยาไอบูโพรเฟนยังมีข้อควรระวังสำคัญอีก 2 อย่างคือ กัดกระเพาะ จึงต้องรับประทานหลังอาหารทันที และอาจทำให้ไตวาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุที่มีปัจจัยเสี่ยงไตวายอยู่ก่อนแล้ว 
แต่ที่สำคัญคือ ถ้าเป็นไข้ที่โดยทราบสาเหตุ หรือไม่มั่นใจในสาเหตุ ไม่แนะนำให้ใช้ยาไอบูโพรเฟน หรือยาอื่นในกลุ่มเอ็นเสด เนื่องจากจะทำให้บางโรคมีภาวะที่แย่ลง และเป็นอันตราย เช่น โรคไข้เลือดออก  
แต่ถ้าหากใช้ยาลดไข้แล้ว ไข้ยังสูงเกิน 38.5°C นานเกิน 2 วัน หรือมีไข้ร่วมกับอาการซึม อาเจียน หรือหายใจลำบาก ต้องไปพบแพทย์ทันที
นอกจากยาฝรั่งแล้ว ก็มียาไทย และยาสมุนไพรไทยสำหรับลดไข้ ซึ่งมีหลายชนิดตามภูมิปัญญาไทยดั้งเดิมและยังมีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์รองรับบางส่วน เช่น  ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด ยาจันทน์ลีลา เป็นต้น 
ถ้าต้องใช้ยา และต้องการคำแนะนำขอให้ปรึกษาเภสัชกรก่อน เพื่อจะได้ใช้ยาได้ถูกต้องเหมาะสม
สรุป ไข้เป็นอาการหนึ่งที่พบได้บ่อย เกิดจากหลายสาเหตุ การใช้ยาลดไข้ที่แนะนำ (ถ้าไม่แพ้) คือ พาราเซตามอล นอกจากการใช้ยาลดไข้แล้ว ควรบรรเทาไข้ด้วยวิธีการอื่นร่วมด้วย เช่น เช็ดตัวเพื่อระบายความร้อน ดื่มน้ำมากเปล่ามากๆ 
แต่หากรักษาด้วยตนเองภายใน 2-3 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น ต้องรีบไปพบแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยและข้อเตือนว่าระยะนี้มีไข้เลือดออกระบาด จึงต้องดูแลตัวเองให้ดี ใช้ยาให้ถูกต้อง หากกรักษาอาการผิด หรือล่าช้าเกินไปอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

รศ. ภญ. ดร. ณัฏฐดา อารีเปี่ยม และ รศ. ภก. ดร. บดินทร์ ติวสุวรรณ
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 


เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ใช้ยาธาตุให้มีประโยชน์สูงสุด รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ใช้ยาธาตุให้มีประโยชน์สูงสุด
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ดูแลร่างกายยามอากาศร้อนจัด รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ดูแลร่างกายยามอากาศร้อนจัด
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : AI ยังทดแทนเภสัชกรไม่ได้ รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : AI ยังทดแทนเภสัชกรไม่ได้
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : กินไม่ดี เสี่ยงมะเร็ง รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : กินไม่ดี เสี่ยงมะเร็ง
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ไปอินเดีย ต้องเตรียมยาอะไรไปบ้าง รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ไปอินเดีย ต้องเตรียมยาอะไรไปบ้าง
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : แก้อาการเมารถเมาเรือ รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : แก้อาการเมารถเมาเรือ
  •  

Breaking News

'ฮุน มาเนต'ลั่น! ไทยต้องเปิดด่านก่อนเพราะเป็นคนเริ่มปิด

‘สุชาติ’ยันเร่งออก ก.ม.คุ้มครองพุทธศาสนา คาด 3-4 เดือนชัด

ปืนได้เฮ!ปิดดีลจ่อคว้า‘เยอเคเรส’ปักหอก

เขมรเคลมสำเร็จ!! ฉก 22 วรรณกรรมไทยสอดไส้ขึ้นทะเบียนยูเนสโกแล้ว

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved