วันจันทร์ ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / เปิดโลก
เปิดโลก

เปิดโลก

ศิริภา อินทวิเชียร
วันอาทิตย์ ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2564, 02.00 น.

ยกระดับ ‘นวัตกรรม’ เพื่อการบริหารจัดการในภาวะโรคระบาด

ดูทั้งหมด

  • Tweet

ในประเทศไทยของเรา ภายหลังประเด็น “ติดโควิด ไม่มีหมอชนะผิดกฎหมาย” ที่โฆษกของศูนย์บริหารงานป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ออกประกาศ และกลายเป็นเรื่องถกเถียงกันบนสังคมออนไลน์ใหญ่โต จนนายกรัฐมนตรีต้องออกมาทำความเข้าใจ ว่าเป็นแค่การขอความร่วมมือเพื่อให้ประชาชนเข้าใช้แอพพลิเคชั่นดังกล่าวเท่านั้น คนที่ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้ไม่ไต้องกังวลใจ สามารถใช้ช่องทางอื่นแทนได้ ไม่ติดคุก (หลังติดโควิด)

เหตุการณ์ที่ว่าก็ส่งผลให้ความนิยมของประชาชนคนไทยต่อนวัตกรรมในการติดตามตัวและแสดงผลเชื่อมโยงสำหรับการติดเชื้อที่เรียกว่า “หมอชนะ” พุ่งสูงขึ้นจนน่าตกใจ ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีอันทันสมัยที่คนไทยได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเจ้าไวรัสร้ายตัวนี้


จะว่าไปแล้ว อานิสงส์สำคัญของการระบาดโควิด-19 ทั่วโลกที่ผ่านมาได้ทำให้วิทยาการแห่งอนาคตถูกนำมาใช้กันอย่างเป็นจริงเป็นจังมากยิ่งขึ้นส่งผลให้นวัตกรรมที่เคยเตรียมเอาไว้ในอีกหลายสิบปีข้างหน้า ได้รับการร่นเวลาด้วยการหยิบมาทดลองสำหรับการดำเนินชีวิตประจำวันในภาวะโรคระบาดในทันที ข้อกังวลเรื่องของการเข้าถึง และมายาคติทางด้านลบถูกลดทอนลงด้วยข้อจำกัดในด้านความจำเป็น (โดยเฉพาะในประเทศไทย และประเทศกำลังพัฒนา) และถึงแม้ว่าประสิทธิผลของเทคโนโลยีบางอย่างอาจยังไม่เป็นไปตามความคาดหวัง แต่การพัฒนาปรับปรุงจากข้อมูลที่ได้รับจากการใช้งานที่ผ่านมาเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลในการยกระดับคุณภาพสำหรับนวัตกรรมแต่ละชนิด นี่จึงเป็นอีกครั้งที่จะนำเสนอเกี่ยวกับนวัตกรรมต่างๆ ที่โลกใบนี้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสมรณะ เพื่อเป็นแนวทางในการนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในประเทศไทย และหวังให้เป็นแรงบันดาลใจสำหรับระดับนโยบายในการเดินหน้าสู่อนาคตของพวกเราทุกคน

เริ่มต้นที่ “เทรซ ทูเกตเตอร์ โทเคน” (Trace Together Token) ของประเทศสิงคโปร์ นวัตกรรมชิ้นนี้น่าจะสามารถแก้ปัญหาการเข้าถึง “หมอชนะ” ของกลุ่มคนสูงวัยได้เป็นอย่างดี ซึ่งทางรัฐบาลของนายลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ ก็ได้พัฒนา “อุปกรณ์พกติดตัว” ชนิดนี้ เพื่อจุดประสงค์นี้เป็นหลัก และได้แจกให้กับผู้สูงอายุที่ไม่มีสมาร์ทโฟนได้นำไปใช้ฟรี เพื่อบันทึกความเคลื่อนไหวของพวกเขาในแต่ละวัน ว่ามีความเชื่อมโยงกับพื้นที่ไหนและใครบ้าง ประโชน์ของนวัตกรรมดังกล่าวนี้ คือการที่ผู้ใช้งานติดเชื้อโควิด-19เพียงแค่เขายื่นอุปกรณ์นี้ให้แก่เจ้าหน้าที่เท่านั้น การสืบสวนโรคก็จะทำได้สะดวกขึ้นที่สำคัญ เจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้มีการติดBluetooth (ระบบส่งสัญญาณเชื่อมต่อ)ไว้ภายใน ดังนั้น จะสามารถเชื่อมโยงกับบุคคลที่ใช้แอพพลิเคชั่น “เทรซ ทูเกตเตอร์”ซึ่งทำงานแบบเดียวกัน (แต่ผ่านโทรศัพท์มือถือ) สำหรับการแจ้งว่าพื้นที่ตรงไหนเป็นพื้นที่เสี่ยง เพื่อหลีกเลี่ยง หรือรับทราบเพื่อไปแสดงตัวตรวจเชื้อในกรณีที่เราเคยผ่านไปตรงบริเวณนั้น ส่วนเรื่องความเป็นส่วนตัวของระบบนี้ ทางนักพัฒนาได้ตั้งค่าการบันทึกเก็บไว้เพียง 25 วัน และจะทำการลบทิ้งในช่วงเวลาที่เกินจากนั้นทันที

อีกนวัตกรรมหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับประเทศไทยในตอนนี้ ที่ฝ่ายสาธารณสุขมีนโยบายในการสร้างโรงพยาบาลสนามในพื้นที่ต่างๆ เพื่อกักกันผู้ได้รับเชื้อไวรัสแต่มีอาการไม่หนักให้พักรักษาตัว จะได้ไม่ไปแย่งเตียงในโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการโคม่า หรือไปเพิ่มความเสี่ยงการแพร่ระบาดในสถานพยาบาลเกิดขึ้น ก็คือ“วอร์ดเป่าลม” ของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากสถาบันพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเกาหลีมีลักษณะคล้ายแคปซูลใสรูปแบบโค้งมนคล้ายเรือนกระจก โดยขนาดเท่ากับสนามบาสเกตบอล หนึ่งวอร์ดสามารถแยกผู้ป่วยได้ทั้งหมด 4 ห้อง และด้านในเป็นระบบแรงดันลบ (กดการทำงานของเชื้อไวรัส) มีการระบายอากาศที่เหมาะสม เพื่อการหมุนเวียนของอากาศอย่างปลอดภัย

“วอร์ดเป่าลมใช้เวลาในการติดตั้งและเตรียมอุปกรณ์เพียงหนึ่งวันเท่านั้น และสามารถเคลื่อนย้ายสะดวก ต่างจากโรงพยาบาลสนามที่ใช้เวลานาน และค่าใช้จ่ายสูงกว่าหลายเท่า” ศาสตราจารย์นัม เต็ก จีน หนึ่งในทีมนักวิจัยของสถาบันพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเกาหลี

การพัฒนา “โดรน” มาใช้ในสถานการณ์โควิด-19 ของประเทศจีน ก็เป็นอีกเรื่องที่ประเทศไทยน่าจะลองนำมาดัดแปลงใช้ในประเทศเป็นอย่างมาก เพราะช่วยในเรื่องของความเสี่ยงสำหรับการติดเชื้อ และคนที่หาเป้าหมายที่ติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัดค่าใช้จ่ายรวมไปถึงกำลังคน จากข้อมูลที่ได้รับมาแบ่งรูปแบบของการใช้ “อุปกรณ์ขับเคลื่อนทางอากาศไร้คนขับ” หรือที่เรียกกันว่า “โดรน” ได้ 4 แนวทางด้วยกัน คือ

1.เพื่อการตรวจสอบและสื่อสารสำหรับการลงพื้นที่ของทีมสาธารณสุขในพื้นที่ที่มีการติดเชื้อ การใช้โดรนเพื่อการสื่อสารผ่านข้อความเสียง หรือการติดป้ายประกาศ เพื่อการสื่อสารข้อมูลที่สำคัญ ก็จะทำให้เข้าถึงประชาชนในพื้นที่นั้นๆ ได้อย่างสะดวก และกว้างขวางโดยเฉพาะชุมชนที่เป็นตรอกซอกซอยขนาดเล็ก

2.เพื่อการลำเลียงอุปกรณ์ที่จำเป็น ตรงนี้ก็ใช้สำหรับการส่งเครื่องอุปโภค-บริโภคหรืออาหารสำหรับประชาชนคนที่กักตัว หรือในบริเวณโรงพยาบาลสนาม สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อลดความเสี่ยงสำหรับการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี

3.เพื่อการฆ่าเชื้อสำหรับพื้นที่มีความเสี่ยง ก็อย่างที่ทราบกันดีว่าเชื้อไวรัสชนิดนี้มีความสามารถในการเกาะติดกับวัสดุได้นาน ดังนั้น ในบริเวณที่เป็นสถานที่เสี่ยง หรือพื้นที่สาธารณะ การทำความสะอาดฆ่าเชื้อเป็นประจำจึงมีความสำคัญต่อการป้องกันการแพร่ระบาด และการใช้โดรนเพื่อฉีดพ่นทำความสะอาดในพื้นที่ต่างๆ อย่างครอบคลุม น่าจะเป็นทางเลือกที่ประหยัดกำลังคน และประหยัดเวลา และได้ผลลัพธ์ดีที่สุดอันดับต้นๆ

4.เพื่อการตรวจวัดอุณหภูมิในพื้นที่ส่วนกลาง ตรงนี้จะใช้สำหรับทีมสาธารณสุขที่ทำการตรวจเชิงรุกในสถานที่ส่วนกลาง โรงงาน หรือบริษัท ต่อประชากรเป็นหมู่คณะ ด้วยการใช้กล้องอินฟราเรดติดไปที่โดรน แล้วเล็งไปยังบุคคลเป้าหมายเพื่อทำการวัดอุณหภูมิหากลุ่มเสี่ยง เพื่อทำการเข้าควบคุมนำไปกักตัว

เหล่านี้เป็นการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้สำหรับการบริหารจัดการการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากประเทศต่างๆ เพียงส่วนน้อยเท่านั้น ซึ่งพยายามเลือกมาให้ตรงกับบริบทสถานการณ์ในประเทศของเรา เพื่อหวังเป็นอีกกำลังหนึ่งในการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี และองค์ความรู้ที่ทันสมัย ให้เข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาการระบาดของไวรัสในบ้านเราประสานไปกับการทำงานของราชการ และมาตรการของทางสาธารณสุขก่อนหน้านี้ รวมไปถึงการยกระดับนวัตกรรมที่นำมาใช้ให้มีประสิทธิภาพ และครอบคลุมในทุกกลุ่มให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

  • Tweet
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
20:50 น. 'เจ้าเบี่ยงใหญ่'ท้าทายมาก ตำรวจไล่เข้าป่า..ไม่ไป หยิบผลไม้กินเฉย!!
20:46 น. โปรดเกล้าฯพระราชทานยศ ‘พันตรีหญิง อนุสรา สิริวชิรภักดิ์’ พร้อมอีก 6 นาย
20:39 น. ม็อบอ่วมแน่! รองผบช.น.สั่งลากคอมือเผาทำลายรถตร.-ทรัพย์สินเอกชน
20:33 น. เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์‘ปลอดประสพ สุรัสวดี’
20:26 น. หนุ่มใหญ่ท้อป่วยโรคมะเร็ง8ปี คิดสั้นโดดให้รถไฟทับร่าง เสียชีวิตอนาถ
ดูทั้งหมด
อิ่มไป1มื้อ! ชาวบ้านแตกตื่น พบ 'พญาจงอาง' เขมือบ 'งูเห่า'
'ในหลวง'พระราชทานน้ำพระมหาสังข์เพชรน้อย 'เจ้าคุณพระสินีนาฏ'
แห่ส่องเลขปลายประทัด'ไอ้ไข่'วัดสนามชัยไม่ขาดสาย เห็นชัดๆ 2 ตัว 3 ตัวตรง
ยิปซี 12 นักษัตร พยากรณ์ ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ถึง 6 มีนาคม พ.ศ. 2564
'ณวัฒน์'ได้ทีแซะ'นุสบา' หลัง'พุทธิพงษ์'หลุดตำแหน่งรัฐมนตรี
ดูทั้งหมด
ถ้าไม่ถูกใจ ถือว่าไม่ยุติธรรม ตรรกะซังกะบ๊วย
สำรากหาประชาธิปไตยให้ชาติรุ่งเรือง พฤติกรรมหนุนกฎหมู่ฉุดความเจริญเพื่อ???
สร้างบ้านประชาธิปไตย มันยากจริงหนอ ๖ (จบ) แต่ เราจะฟันฝ่าข้ามไปให้ถึง ด้วยความฝันอันสูงสุด
มั่นใจแผนฉีดวัคซีน เชื่อหมอ ไม่เสียเวลากับคนปากหมา
ดราม่าวัคซีน
ดูทั้งหมด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ม็อบอ่วมแน่! รองผบช.น.สั่งลากคอมือเผาทำลายรถตร.-ทรัพย์สินเอกชน

คลิปนาทีช่วยชีวิตตำรวจวูบกลางม็อบ 28 กุมภา หามส่ง รพ. สุดยื้อเสียชีวิตห้องฉุกเฉิน

หมอนรองคอลูกประคบ เกาะกก ปตท. หนุนชุมชนต่อยอดเพิ่มมูลค่า

หนุ่มใหญ่ท้อป่วยโรคมะเร็ง8ปี คิดสั้นโดดให้รถไฟทับร่าง เสียชีวิตอนาถ

ม็อบ3นิ้วเฮ! ศาลให้ประกันตัว 18 ผู้ชุมนุมเหตุการณ์ 28 กุมภาฯ

ชาวสวนมะม่วงราชบุรีเฮ! สยามแม็คโครรับซื้อ2พันตันกระจายสู่สาขาทั่วประเทศ

  • Breaking News
20:50 น. 'เจ้าเบี่ยงใหญ่'ท้าทายมาก ตำรวจไล่เข้าป่า..ไม่ไป หยิบผลไม้กินเฉย!!
20:46 น. โปรดเกล้าฯพระราชทานยศ ‘พันตรีหญิง อนุสรา สิริวชิรภักดิ์’ พร้อมอีก 6 นาย
20:39 น. ม็อบอ่วมแน่! รองผบช.น.สั่งลากคอมือเผาทำลายรถตร.-ทรัพย์สินเอกชน
20:33 น. เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์‘ปลอดประสพ สุรัสวดี’
20:26 น. หนุ่มใหญ่ท้อป่วยโรคมะเร็ง8ปี คิดสั้นโดดให้รถไฟทับร่าง เสียชีวิตอนาถ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

สิทธิที่ผู้หญิงพึงจะได้ในความเคลื่อนไหวของโลก

สิทธิที่ผู้หญิงพึงจะได้ในความเคลื่อนไหวของโลก

28 ก.พ. 2564

อารยะขัดขืน : จุดยืนของนักสันติวิธี

อารยะขัดขืน : จุดยืนของนักสันติวิธี

21 ก.พ. 2564

ราคาที่ต้องจ่ายของรัฐบาลทหารพม่า

ราคาที่ต้องจ่ายของรัฐบาลทหารพม่า

14 ก.พ. 2564

เมื่อโลกหมุนรอบพม่า

เมื่อโลกหมุนรอบพม่า

7 ก.พ. 2564

การบริหารจัดการวัคซีนต้านวิกฤติไวรัส

การบริหารจัดการวัคซีนต้านวิกฤติไวรัส

31 ม.ค. 2564

สถานการณ์สหรัฐฯ ในการกำกับของ ‘โจ ไบเดน’

สถานการณ์สหรัฐฯ ในการกำกับของ ‘โจ ไบเดน’

24 ม.ค. 2564

ยกระดับ ‘นวัตกรรม’ เพื่อการบริหารจัดการในภาวะโรคระบาด

ยกระดับ ‘นวัตกรรม’ เพื่อการบริหารจัดการในภาวะโรคระบาด

17 ม.ค. 2564

2021 ในความเคลื่อนไหวของโลก ตอนที่ 2

2021 ในความเคลื่อนไหวของโลก ตอนที่ 2

10 ม.ค. 2564

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved