วันพุธ ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / pet care
pet care

pet care

ผศ.น.สพ.ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร
วันอาทิตย์ ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564, 02.00 น.
ดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างไร เมื่อคนในบ้านมีความเสี่ยงในการติดโควิด-19

ดูทั้งหมด

  •  

สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยยังเป็นที่น่ากังวล จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแต่ละวันยังเป็นหลักร้อย แม้จะอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวดโดยมาตรการในการป้องกันจากทางภาครัฐก็ตาม ดังนั้น “การป้องกันตนเองไม่ให้สัมผัสกับความเสี่ยง” จึงน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด  ไม่ว่าจะเป็น การสวมหน้ากากอนามัย การหมั่นล้างมือ โดยใช้สบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์ การรักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการไอหรือจาม เป็นต้น

แต่ทั้งหมดที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นการป้องกันในคน แล้วการป้องกันในสัตว์เลี้ยงของเราล่ะ ควรทำอย่างไร? วันนี้ผมมีข้อมูลที่น่าสนใจจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคอุบัติใหม่ และอุบัติซ้ำในสัตว์ (EIDAs) คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาฝากกันครับ


@สุนัขและแมวติดโรคโควิด-19 ได้หรือไม่ ?

ในประเทศไทย ยังไม่มีรายงาน โควิด-19 ในสัตว์ แม้ในต่างประเทศ จะมีรายงานโควิด-19 ในสุนัขและแมว แต่ต้องย้ำว่า “พบน้อยมาก” ซึ่งพบเฉพาะสัตว์ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากๆ จริงๆ

@เราควรดูแลสุนัขและแมวอย่างไร เมื่อมีคนในบ้านติดโรคโควิด-19

1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับสุนัขและแมว หรือสัตว์อื่นๆ

2. ให้อาหารและน้ำสัตว์เลี้ยงได้ตามปกติ แต่ควรใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือก่อนและหลังสัมผัสตัวสัตว์ และกรงสัตว์

3. กรณีไม่สามารถดูแลสัตว์ได้ สามารถให้ผู้อื่นดูแลแทนได้ตามข้อควรปฏิบัติ ไม่ควรทิ้งหรือปล่อยสัตว์เลี้ยงโดยเด็ดขาด เพราะจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการกระจายเชื้อสู่สังคมได้

@ ข้อควรปฏิบัติ เมื่อสุนัขและแมวติดโรคโควิด-19

1. ไม่ควรทิ้งหรือปล่อยสัตว์เลี้ยงที่ติดโรคโควิด-19 อย่างเด็ดขาด

2. สังเกตอาการในสัตว์เลี้ยง ซึ่งสัตว์อาจไม่แสดงอาการ หรือแสดงอาการเล็กน้อย เช่น ไอ จาม หอบหายใจลำบาก อาเจียน ท้องเสีย และมักหายได้เองใน 2 สัปดาห์

3. ควรดูแลและแยกเลี้ยงสัตว์ในบ้านของท่านโดยแยกขังกรงประมาณ 2 สัปดาห์ หรือจนกว่าได้รับการตรวจยืนยันว่าปลอดจากเชื้อไวรัส ทั้งนี้ ยัง”ไม่มี”รายงานการติดเชื้อจากสุนัขและแมวสู่คนครับ

4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับสุนัขและแมว ควรรักษาระยะห่าง สวมถุงมือ หน้ากากอนามัย และล้างมือทุกครั้ง ที่สัมผัสตัวสัตว์และกรงสัตว์

5. ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ ชามน้ำ-อาหาร ผ้าขนหนู เครื่องนอน และกรงสัตว์ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และนำกลับมาใช้ใหม่ได้

6. เก็บอุจจาระ ปัสสาวะ หรือของเสียต่างๆ ควรสวมถุงมือ หน้ากากอนามัย และล้างมือทุกครั้ง และใส่ถุง 2 ชั้นก่อนทิ้ง

7. ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว ควรให้สมาชิกในครอบครัวเป็นผู้ดูแลสัตว์แทน

8. ในกรณีที่สัตว์แสดงอาการป่วย ควรปรึกษาสัตวแพทย์ หรือโทรปรึกษาศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางฯ (โควิด-19 ในสัตว์) โทร. 065-597-2422

 

หมอโอห์ม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
19:47 น. 'บิ๊กทิน'นั่งหัวโต๊ะประชุมสภากลาโหมนัดแรก ย้ำการเมืองไม่แทรกแซงแต่งตั้งโยกย้าย
19:25 น. นายกฯสั่งทำระบบแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินให้เร็ว 'ดีอีเอส'ลุยปิดเว็บไซต์ซื้อขายปืนเถื่อน
19:23 น. กาญจน์ฝนตกถนนลื่น!กระบะ-เก๋งชนกันเละพระมรณภาพ 2 รูปฆราวาสเจ็บ 1
19:10 น. 'เจ้าชายยะโฮร์'ทรงเล่านาทีระทึก ติดในโรงแรม ขณะเกิดเหตุยิงที่ห้างฯ พารากอน
18:56 น. ชาวชัยภูมิกว่า70หลังคาเรือนถูกตัดขาดลำชีทะลักซัดที่ดินชาวบ้านจมหายไปน้ำ
ดูทั้งหมด
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 1-7 ต.ค.66
อย.เตือนระวัง 'ยาจุดกันยุง 5 ยี่ห้อ' ใส่วัตถุอันตราย-ห้ามขาย-ห้ามซื้อ-ห้ามใช้
'สกายวอล์กคีรีชัยยามะ'เทศบาลนครเชียงรายเตรียมเปิดให้เข้าชมเมืองธรรมชาติป่าดอยสะเก็น
ยิปซี 12 นักษัตร พยากรณ์ : ระหว่างวันที่ 1 - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2566
'สายป่าน อภิญญา'สวยแซ่บเกินต้าน สวมบิกินีอวดหุ่นเป๊ะ
ดูทั้งหมด
ประสบการณ์ใช้รถเช่าที่อยากแชร์
Net zero supply chain...เทรนด์ธุรกิจพลิกโฉมห่วงโซ่อุปทาน
ก้าวสั้นการละคร
อัพเดทประชุมวิชาการโลกเรื่องคอร์รัปชัน
คุณหมอพรทิพย์ คือ เหยื่อของนางนกต่อและญาติส้มเน่า
ดูทั้งหมด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

นายกฯสั่งทำระบบแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินให้เร็ว 'ดีอีเอส'ลุยปิดเว็บไซต์ซื้อขายปืนเถื่อน

'เจ้าชายยะโฮร์'ทรงเล่านาทีระทึก ติดในโรงแรม ขณะเกิดเหตุยิงที่ห้างฯ พารากอน

ชาวชัยภูมิกว่า70หลังคาเรือนถูกตัดขาดลำชีทะลักซัดที่ดินชาวบ้านจมหายไปน้ำ

ถอดบทเรียน! เด็ก 14 ยิงกลางห้างดัง ทนายย้ำพ่อแม่อ้างไม่รู้ไม่ได้ จิตแพทย์ฟันธงไม่ได้เพราะติดเกม

NRPT จับมือ ION ปฏิวัติอุตสาหกรรมอาหาร เดินเครื่องโรงงาน Plant & Bean (Thailand) ผลิตโปรตีนจากพืชด้วยโซลาร์

นักท่องเที่ยวจีนยังคงเดินทางเข้าเกาะสมุย หลังเหตุกราดยิงในห้างดัง

  • Breaking News
  • \'บิ๊กทิน\'นั่งหัวโต๊ะประชุมสภากลาโหมนัดแรก ย้ำการเมืองไม่แทรกแซงแต่งตั้งโยกย้าย 'บิ๊กทิน'นั่งหัวโต๊ะประชุมสภากลาโหมนัดแรก ย้ำการเมืองไม่แทรกแซงแต่งตั้งโยกย้าย
  • นายกฯสั่งทำระบบแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินให้เร็ว \'ดีอีเอส\'ลุยปิดเว็บไซต์ซื้อขายปืนเถื่อน นายกฯสั่งทำระบบแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินให้เร็ว 'ดีอีเอส'ลุยปิดเว็บไซต์ซื้อขายปืนเถื่อน
  • กาญจน์ฝนตกถนนลื่น!กระบะ-เก๋งชนกันเละพระมรณภาพ 2 รูปฆราวาสเจ็บ 1 กาญจน์ฝนตกถนนลื่น!กระบะ-เก๋งชนกันเละพระมรณภาพ 2 รูปฆราวาสเจ็บ 1
  • \'เจ้าชายยะโฮร์\'ทรงเล่านาทีระทึก ติดในโรงแรม ขณะเกิดเหตุยิงที่ห้างฯ พารากอน 'เจ้าชายยะโฮร์'ทรงเล่านาทีระทึก ติดในโรงแรม ขณะเกิดเหตุยิงที่ห้างฯ พารากอน
  • ชาวชัยภูมิกว่า70หลังคาเรือนถูกตัดขาดลำชีทะลักซัดที่ดินชาวบ้านจมหายไปน้ำ ชาวชัยภูมิกว่า70หลังคาเรือนถูกตัดขาดลำชีทะลักซัดที่ดินชาวบ้านจมหายไปน้ำ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

การดูแลปลาสวยงาม ตอนที่ 6 : การดูแลสภาพแวดล้อมในตู้ปลา

การดูแลปลาสวยงาม ตอนที่ 6 : การดูแลสภาพแวดล้อมในตู้ปลา

1 ต.ค. 2566

การดูแลปลาสวยงาม ตอนที่ 5 : ช่องทางการให้ยาในสัตว์น้ำ

การดูแลปลาสวยงาม ตอนที่ 5 : ช่องทางการให้ยาในสัตว์น้ำ

24 ก.ย. 2566

การดูแลปลาสวยงาม ตอนที่ 4 : วิธีการปฐมพยาบาลปลาป่วย

การดูแลปลาสวยงาม ตอนที่ 4 : วิธีการปฐมพยาบาลปลาป่วย

17 ก.ย. 2566

การดูแลปลาสวยงาม ตอนที่ 3 : วิธีสังเกตลักษณะปลาปกติและปลาป่วย

การดูแลปลาสวยงาม ตอนที่ 3 : วิธีสังเกตลักษณะปลาปกติและปลาป่วย

10 ก.ย. 2566

การดูแลปลาสวยงาม ตอนที่ 2 : ยาและสารเคมีที่มีความจำเป็นในการเลี้ยง

การดูแลปลาสวยงาม ตอนที่ 2 : ยาและสารเคมีที่มีความจำเป็นในการเลี้ยง

3 ก.ย. 2566

การดูแลปลาสวยงาม ตอนที่ 1 : คุณภาพน้ำในตู้ปลา

การดูแลปลาสวยงาม ตอนที่ 1 : คุณภาพน้ำในตู้ปลา

27 ส.ค. 2566

ภาวะกลัวเสียงดังในสุนัขและแมว

ภาวะกลัวเสียงดังในสุนัขและแมว

20 ส.ค. 2566

จะรู้ได้อย่างไรว่าแมวของเราเป็นโรคหัวใจ

จะรู้ได้อย่างไรว่าแมวของเราเป็นโรคหัวใจ

13 ส.ค. 2566

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved