วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / PetCare
PetCare

PetCare

วันอาทิตย์ ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2567, 02.00 น.
โรคหัวใจในสุนัขและแมว

ดูทั้งหมด

  •  

ปัจจุบันคนไทยจำนวนไม่น้อยมีความรู้ มีความเข้าใจในการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงมากขึ้น โดยเฉพาะสุนัข และแมว ส่งผลให้สัตว์เลี้ยงมีอายุยืนยาวขึ้น แต่เมื่อสัตว์อายุยืนก็อาจจะพบโรคในกลุ่มที่เกิดกับสุนัขและแมวสูงวัยเพิ่มขึ้นเช่นกัน หนึ่งในโรคที่พบมากคือโรคหัวใจโดยสุนัขแต่ละสายพันธุ์และแมวมักจะเกิดโรคหัวใจชนิดต่างๆ ดังนี้

ในกลุ่มสุนัขพันธุ์เล็ก โรคหัวใจที่พบมากที่สุดคือโรคลิ้นหัวใจเสื่อม (degenerative mitral valve disease หรือ DMVD)โดยเฉพาะสายพันธุ์คาวาเลียคิงชาร์ลส์สแปเนียล เสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าพันธ์ุอื่นๆ และยังมีโอกาสพบโรคได้ตั้งแต่อายุยังน้อย 


ส่วนสุนัขพันธุ์เล็กสายพันธุ์อื่นๆ เช่น ปอมเมอเรเนียนยอร์คเชียร์เทอร์เรีย พุดเดิ้ล มิเนเจอร์ชเนาเซอร์ มอลทีส ชิวาวา มักพบโรคในสุนัขอายุมาก โดยพบความเสื่อมของลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายกับห้องล่างซ้าย ทำให้ลิ้นหัวใจหนาขึ้น จนทำให้ปิดไม่สนิท ส่งผลให้ลิ้นหัวใจรั่ว มีเลือดไหลย้อนกลับเข้าไปในหัวใจห้องบนซ้าย ทำให้เลือดค้างที่หัวใจห้องบนซ้ายมากขึ้น แล้วเกิดการภาวะน้ำท่วมปอดตามมา

ส่วนสุนัขพันธุ์ใหญ่ จะพบโรคกล้ามเนื้อหัวใจ ชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ (dilated cardiomyopathy หรือ DCM) เป็นโรคที่พบมากในสุนัขพันธุ์บ๊อกเซอร์ โดเบอร์แมน เกรทเดน และอาจพบได้บ้างในสุนัขพันธุ์ขนาดกลาง เช่น ค๊อกเกอร์ สเเปเนียล โดยโรคนี้จะพบมากในสุนัขอายุมาก 

โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่เป็นโรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติที่กล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถบีบตัวได้ตามปกติ ทำให้เกิดการคงค้างของเลือดภายในหัวใจ และเกิดภาวะหัวใจโต เมื่อหัวใจทำหน้าที่ได้ไม่ปกติ จะส่งผลให้เกิดการคั่งเลือดในหลอดเลือดในอวัยวะต่างๆ ที่ส่งไปเลี้ยงร่างกาย และทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมปอด มีของเหลวสะสมในช่องท้อง หรือช่องอก และตามเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง 

นอกจากนี้ยังอาจพบอาการเป็นลม อ่อนแรง เหนื่อยง่ายอีกด้วย แต่ที่สำคัญโรคนี้ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ และทำให้สัตว์ป่วย จนเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน

ส่วนโรคหัวใจในแมวที่พบมากที่สุดคือโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติ (hypertrophic cardiomyopathy หรือ HCM) แมวทุกสายพันธุ์มีโอกาสเป็นโรคนี้ แต่อย่างไรก็ตาม แมวสายพันธุ์เมนคูน แร็กดอล เปอร์เซีย สฟิงซ์ และอเมริกันช็อตแฮร์มีความเสี่ยงจะเป็นโรคนี้มากกว่าปกติ ทำให้มีโอกาสพบโรคได้ตั้งแต่อายุยังน้อย แมวส่วนมากที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนามักไม่แสดงอาการป่วย แต่เมื่อภาวะของโรคพัฒนามากขึ้น เพราะกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างหนามากจะทำให้เลือดค้างอยู่ที่หัวใจห้องบนมากขึ้น ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวและภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (aortic thromboembolism) ตามมา โดยภาวะหัวใจล้มเหลวจะพบว่ามีน้ำท่วมปอด หรือมีของเหลวสะสมในช่องอก ส่วนภาวะลิ่มเลือดอุดตัน แมวจะแสดงอาการไม่ใช้สองขาหลังลากขา ปลายเท้าเย็น ปลายเท้าซีด หรือม่วง และแมวจะเจ็บปวดที่ขาทั้งสองข้างอย่างมาก 

จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่าโรคหัวใจเปรียบเสมือนภัยเงียบในสัตว์เลี้ยง เนื่องจากสัตว์ที่เป็นโรคนี้ในระยะแรกมักไม่แสดงอาการผิดปกติ เนื่องจากหัวใจยังปรับสมดุลเพื่อรักษาสภาพการทำงานให้เป็นปกติได้ แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งที่การดำเนินไปของโรคแย่ลง จนสุดท้ายจะนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวในที่สุด ขอเน้นว่าอาการภาวะหัวใจล้มเหลว จะพบว่ามีภาวะน้ำท่วมปอด มีของเหลวสะสมในช่องอก หรือช่องท้อง ทำให้สัตว์ไอ หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย ผอม ช่องท้องขยายขนาดขึ้น และวูบหมดสติหรือเป็นลมได้ 

ดังนั้นหากพบว่าสัตว์เลี้ยงมีอาการข้างต้น ต้องรีบพาไปพบสัตวแพทย์ ส่วนการวินิจฉัยโรคหัวใจเบื้องต้น สามารถทำได้ด้วยการซักประวัติอาการของสัตว์ป่วยจากเจ้าของสัตว์ และการตรวจร่างกายสัตว์ จากนั้นจึงพิจารณาตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ซึ่งนิยมใช้การถ่ายภาพรังสีหรือเอกซเรย์ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (echocardiography) แต่หากสัตว์เลี้ยงป่วยเป็นโรคหัวใจ แต่ยังไม่พบภาวะหัวใจล้มเหลว สัตวแพทย์จะยังไม่ให้ยาเพื่อรักษา แต่จะติดตามอาการของสัตว์อย่างใกล้ชิด 

ส่วนในสัตว์ที่แสดงอาการภาวะหัวใจล้มเหลว สัตวแพทย์จะรักษาโดยมุ้งเน้นไปที่การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ เพื่อให้หัวใจคงสภาพการทำงานให้ปกติมากที่สุด และจะควบคุมอาการภาวะหัวใจล้มเหลวให้ได้มากที่สุด 

การดูแลสัตว์ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ต้องพาสัตว์เลี้ยงไปหาสัตวแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด และเจ้าของสัตว์ต้องให้ยาสัตว์ป่วยอย่างสม่ำเสมอ และต้องควบคุมอาหารที่มีเกลือ เช่น ต้องให้อาหารที่มีปริมาณเกลือจากมวลอาหารแห้งน้อยกว่า 0.2 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอาหารที่คนเลี้ยงทำเอง ก็ต้องเป็นเนื้อสัตว์ต้ม ทอด นึ่ง ย่าง แต่ไม่ต้องปรุงรสเพิ่มเติม และต้องให้สัตว์ออกกำลังกายด้วย แต่ต้องไม่ให้ออกกำลังกายหนักเกินไป และต้องติดตามดูอาการของสัตว์ป่วยอย่างใกล้ชิด หากพบว่ามีอาการเหนื่อยหอบ ต้องหยุดออกกำลังกายทันที และเจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตวแพทย์อย่างเคร่งครัดเช่นกัน เพื่อให้สัตว์มีชีวิตยืนยาวต่อไป

สัตวแพทย์หญิงนาถปรียา เพิ่มเจริญ (อว. สพ. อายุรศาสตร์)

สัตวแพทย์ประจำหน่วยโรคหัวใจ 

โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:52 น. 'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!
22:29 น. น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง'อดีตรองเสธ.กัมพูชา' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น
22:22 น. ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม
22:13 น. ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย
21:41 น. หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ดูทั้งหมด
ต้องเลือกตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ
บุคคลแนวหน้า : 6 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน
หน้าต้องทนสูงมาก จึงทำแบบนี้ได้
วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!

ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม

หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต

อุบตอบมีชาติไหนบ้าง?! 'ทรัมป์'ลงนามจดหมายแจ้งภาษีตอบโต้12ประเทศ พร้อมร่อน7ก.ค.นี้

โหดเหี้ยม! คนร้ายซุ่มยิง‘ตำรวจ’ สภ.กรงปินัง เสียชีวิต หน้าร้านสะดวกซื้อใน จ.ยะลา

'องค์ดาไลลามะ'หวังมีพระชนม์ชีพยืนยาวนานถึง130ปี ก่อนกลับชาติมาเกิดเป็นผู้นำทิเบต

  • Breaking News
  • \'อดีต ส.ว.สมชาย\'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!! 'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!
  • น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง\'อดีตรองเสธ.กัมพูชา\' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง'อดีตรองเสธ.กัมพูชา' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น
  • ครั้งแรกในรอบ102ปี! \'ฝรั่งเศส\'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม
  • ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย
  • หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ป้องกันสัตว์เลี้ยงจากสารพิษภายในบ้าน

ป้องกันสัตว์เลี้ยงจากสารพิษภายในบ้าน

29 มิ.ย. 2568

ภัยร้ายจากไข้เห็บในสุนัข แต่ป้องกันได้

ภัยร้ายจากไข้เห็บในสุนัข แต่ป้องกันได้

22 มิ.ย. 2568

โรคพิษสุนัขบ้า อันตรายแต่ป้องกันได้

โรคพิษสุนัขบ้า อันตรายแต่ป้องกันได้

15 มิ.ย. 2568

เห็บหมัด ตัวสร้างปัญหาสุขภาพของสัตว์เลี้ยง

เห็บหมัด ตัวสร้างปัญหาสุขภาพของสัตว์เลี้ยง

8 มิ.ย. 2568

พาสัตว์เลี้ยงไปบริจาคเลือดเพื่อช่วยชีวิตสัตว์อื่น

พาสัตว์เลี้ยงไปบริจาคเลือดเพื่อช่วยชีวิตสัตว์อื่น

1 มิ.ย. 2568

มดลูกอักเสบในสุนัขและแมว

มดลูกอักเสบในสุนัขและแมว

25 พ.ค. 2568

เนื้องอกเต้านมในสุนัขและแมว

เนื้องอกเต้านมในสุนัขและแมว

18 พ.ค. 2568

หมา แมว ติดโรคแอนแทรกซ์ได้ไหม

หมา แมว ติดโรคแอนแทรกซ์ได้ไหม

11 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved