วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สังคมเหลื่อมลํ้า  ไม่แตะ‘คนรวยสุด’แก้ยาก

สังคมเหลื่อมลํ้า ไม่แตะ‘คนรวยสุด’แก้ยาก

วันพุธ ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag :
  •  

เมื่อพูดถึง “ผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาสังคมเหลื่อมล้ำ” การศึกษาจากผู้สนใจเรื่องนี้มักเน้นไปที่ “คนจน-คนชั้นกลาง” เป็นหลัก เช่น ที่ผ่านมาในประเด็นที่ดิน คนจนนั้นไม่สามารถมีบ้านเป็นของตนเองส่วนคนชั้นกลางต้องใช้เวลาเฉลี่ย 20-30 ปี หรือตลอดช่วงวัยทำงานกว่าจะผ่อนบ้านเล็กๆ ได้สักหลังหนึ่งเพราะราคาอสังหาริมทรัพย์แพงมากจากการที่ที่ดินเป็นสินค้าถูกใช้เพื่อเก็งกำไร หรือล่าสุดในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19ในขณะที่คนจนยากลำบากในการเข้าถึงความช่วยเหลือจากรัฐ คนชั้นกลางเองจะไปขอสินเชื่อต่างๆ ก็ไม่ใช่ว่าจะทำได้ง่ายๆ

อีกด้านหนึ่ง “คนรวย (โดยเฉพาะคนร้อยละ 1 ที่อยู่ยอดสุดของสังคม) เป็นกลุ่มคนที่ถูกพูดถึงน้อยที่สุด” ที่ผ่านมาคนทั่วไปมักเข้าใจว่าคนเหล่านี้ไม่ได้รับผลกระทบอะไร เช่น ด้วยความที่มีทรัพย์สินมากการขอสินเชื่อกับธนาคารย่อมทำได้ง่ายกว่าคนจนหรือคนชั้นกลาง และยังคว้าโอกาสที่คนอีกมากไม่สามารถคว้าได้ด้วย เช่น ปรับเปลี่ยนการทำธุรกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของตลาด ซึ่งหลายคนก็รู้แต่ทำไม่ได้เพราะไม่มีทุน เป็นต้น


เมื่อค่ำวันที่ 22 พ.ค. 2563 ที่ผ่านมาศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม (CRISP) คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนาออนไลน์เรื่อง “หลากชีวิต หลายผลกระทบ :โลกของ top 1%” ว่าด้วยเรื่องของกลุ่มคนที่ถูกพูดถึงน้อยที่สุดดังกล่าว โดย กุศล เลี้ยวสกุล อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มอธิบายว่า คนกลุ่มที่รวยที่สุด หรือคนร้อยละ 1 ในสังคมนี้ หากเป็นประเทศไทย วัยผู้ใหญ่น่าจะอยู่ที่ประมาณ 520,000 คน จากประชากรวัยผู้ใหญ่ทั้งหมดในประเทศไทยประมาณ 52 ล้านคน

ทั้งนี้ “กลุ่มยอดบนสุดร้อยละ 1 นี้เป็นคนรวย แต่ก็ยังมีความแตกต่างกัน” โดยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1.กลุ่มมหาเศรษฐี กลุ่มนี้มีทรัพย์สินมาก เป็นเจ้าของกิจการขนาดใหญ่ ยกตัวอย่างเช่นผู้ที่ถูกจัดอันดับในนิตยสารฟอร์บส์ (Forbes)ถึงกระนั้นก็ยังมีการแบ่งเป็นมหาเศรษฐีในหมู่มหาเศรษฐีอีก กับ 2.กลุ่มพนักงานระดับสูง หมายถึงผู้บริหารองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น ซีอีโอ (CEO) หรือข้าราชการระดับสูง รายได้ของคนกลุ่มนี้มาจากค่าตอบแทนแรงงาน อาทิ เงินเดือน โบนัส เบี้ยประชุม อาจมีทรัพย์สินบ้างแต่ไม่มากเท่ากลุ่มมหาเศรษฐี

“ทั่วโลกจะมีปัญหา ในเมื่อความเหลื่อมล้ำมันย้าย สาเหตุความเหลื่อมล้ำมันมาจากคนกลุ่มบน แต่คนกลุ่มบนไม่ได้รวมอยู่ในการสำรวจด้วยสาเหตุหลากหลาย ปัญหาคลาสสิกคือการสำรวจเป็นการขอความร่วมมือซึ่งเขาอาจจะไม่ให้ก็ได้ หรือเขาอาจจะอยากให้แต่คนรวยมีทรัพย์สินเยอะ มีรายได้หลายทาง มันเป็นต้นทุนของเขา เขาก็จำไม่ค่อยได้ แล้วก็ไม่อยากยุ่งยาก ดังนั้นมันจะมีอัตราการปฏิเสธการตอบแบบสอบถามการสำรวจเยอะ” อาจารย์กุศล กล่าว

อาจารย์กุศล กล่าวต่อไปว่า เมื่อมองสถิติตลอดศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา(ปี 2443-2542) ต่อมาจนถึงศตวรรษที่ 21หรือปัจจุบันในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 หรือก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี 2484-2488)คนยอดสุดร้อยละ 1 นี้จะมีรายได้ร้อยละ 15-20 ของรายได้ทั้งประเทศ แต่เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สัดส่วนรายได้จากคนกลุ่มนี้ลดลง โดยลดลงต่ำสุดในทศวรรษ 1970s (ปี 2513-2522) แต่หลังจากนั้นก็พุ่งกลับขึ้นกลับมาครองสัดส่วนรายได้มากเหมือนเดิมหรือใกล้เคียงจุดเดิมเมื่อช่วงต้นศตวรรษที่ 20

ข้อค้นพบนี้มีคำอธิบายว่า สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้หลายประเทศโดยเฉพาะในทวีปยุโรปพังพินาศ จำเป็นต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการฟื้นฟู รัฐบาลจึงต้องหาทางเก็บภาษีจากคนรวยเป็นพิเศษเพราะคนอื่นๆล้วนยากจนหมด ทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนลดลงไปชั่วระยะหนึ่ง แต่หลังทศวรรษ 1970s เป็นต้นมา รัฐบาลเริ่มหันไปให้ความสำคัญกับระบบตลาดและผู้ประกอบการเอกชน ส่งผลให้เจ้าของทุนมีรายได้สูงขึ้นเรื่อยๆ

“ที่บอกว่าโตเร็วคือรายได้เขาโตเร็วกว่า เนื่องจากทรัพย์สินที่เขาถือครองมันมีผลตอบแทนสูงขึ้น จากการเปิดเสรีทุน หรือการเก็บภาษีทุนที่ต่ำหรือการเคลื่อนย้ายของทุนในระดับประเทศที่ทำได้ง่ายขึ้นก็ตาม มันทำให้คนกลุ่มนี้สามารถแสวงหารายได้ที่มันดี ทำได้ดีกว่าชนชั้นที่เป็นแรงงาน ถ้าเราไปสังเกตช่วงปีหลังๆ บัญชีรายได้ประชาชาติ ส่วนรายได้ที่มาจากทุนจะเพิ่มสัดส่วนมากขึ้น ในขณะที่รายได้จากเกษตรหรือผู้ประกอบการเล็กๆ มันจะหดตัวลงเล็กน้อย

สิ่งเหล่านี้ถ้าพูดถึงเศรษฐกิจมหภาค มีคนบางกลุ่มบอกว่าทำไมฉันรู้สึกว่าไม่ดีขึ้นเลย ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจก็โตก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใจ เพราะตัวเลข GDP(ผลิตภัณฑ์มวลรวม) ที่โตมันค่าเฉลี่ย แต่ความเป็นค่าเฉลี่ยบางกลุ่มก็ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยแต่บางกลุ่มก็สูงกว่า สถานการณ์ที่ผ่านมากลุ่มคนส่วนใหญ่ที่เป็นชนชั้นแรงงานรายได้เขาลดลง ขณะที่ชนชั้นนายทุนเขาแสวงหากำไรผลตอบแทนได้ค่อนข้างดี” อาจารย์กุศล อธิบาย

คำถามต่อมา “ทำไมยิ่งมีทุนยิ่งโต?”อาจารย์กุศล อธิบายประเด็นนี้ว่า “ส่วนหนึ่งทุนนั้นหมายถึงช่องทางการทำมาหากินโดยได้สิทธิพิเศษบางอย่างจากรัฐ” เช่น อิงแอบกับโครงการของรัฐ หรือได้อำนาจผูกขาดจากรัฐบาล นอกจากนี้ “เศรษฐีไทยเริ่มไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น” ตั้งแต่ประเทศเพื่อนบ้านจนไปไกลระดับข้ามทวีป เนื่องจากกลไกโลกาภิวัตน์ทำให้การเคลื่อนย้ายทุนข้ามแดนทำได้ง่ายขึ้น

ส่วนคำถามที่ว่า “วิกฤติโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อคนระดับบนสุดของสังคมบ้างหรือไม่?” เรื่องนี้ยอมรับว่า “ยังไม่สามารถตอบได้เพราะไม่มีข้อมูลชัดเจน” จึงเป็นที่มาของการต้องมาสรุปกันก่อนเชิงนิยาม เช่น กลุ่มร้อยละ 1 ที่ว่ารวยที่สุดนั้นคือใคร “แต่อย่างน้อยคนเหล่านี้มีวิกฤติยังมีช่องทางบรรเทา” เช่นมีเงินออม มีทรัพย์สินให้นำออกมาขายเพื่อสำรองเงินสดไว้ใช้จ่าย นอกจากนี้ “แม้เป็นช่วงวิกฤติก็ยังมีรายได้” เช่น จากเงินปันผลเห็นได้จากตลาดหุ้นดัชนีร่วงต่ำลงไม่มากนัก“แต่ก็ใช่ว่าไม่เจ็บเลยในระยะยาว” หากเศรษฐกิจยังชะลอตัวต่อไปเรื่อยๆ

ธนสักก์ เจนมานะ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวว่า หากดูการกระจายรายได้ในประเทศไทยคนไทยร้อยละ 50 นับจากฝั่งที่จนที่สุด รายได้จากแรงงานอยู่ที่ร้อยละ 75 แต่เมื่อขยับมาทางฝั่งคนรวยจะพบว่ายิ่งรวยขึ้นรายได้จากแรงงานก็ยิ่งลดลงในขณะที่รายได้จากทุนเพิ่มขึ้น ส่วนประเด็นที่ว่าเหตุใดเศรษฐกิจโตแต่คนจำนวนมากไม่รู้สึกเช่นนั้นด้วย นั่นเพราะส่วนแบ่งทางเศรษฐกิจไปตกกับคนร้อยละ 10 หรือร้อยละ 1 ที่เป็นกลุ่มคนรวยที่สุดเสียเยอะ เช่น มีเงิน 100 บาท คนรวยสุดร้อยละ 1 จะได้ไป 50 บาท แต่คนอีกมากรายได้ติดลบ

“หากจะลดความเหลื่อมล้ำ..หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเก็บภาษีคนระดับบนให้ได้มากขึ้น” เช่น ภาษีเงินได้ รวมถึงภาษีที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นกลไกที่ประเทศพัฒนาแล้วใช้งานอยู่ แต่คำถามสำคัญ “ทำไมคนรวยต้องยอมจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น?” หากดูสถานการณ์ปัจจุบันช่วงวิกฤติไวรัสโควิด-19 หนี้สินของรัฐไทยอยู่ที่ร้อยละ 6 ของ GDPในขณะที่รายได้อยู่ที่ร้อยละ 15-20 ของ GDP ซึ่งมีลักษณะคล้ายประเทศพัฒนาแล้วช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และการปฏิรูประบบภาษีให้ก้าวหน้า ก็ทำให้ประเทศพัฒนาแล้ว รัฐมีรายได้ร้อยละ40-50 ของ GDP

วิกฤติไวรัสโควิด-19 จึงอาจเป็น “แรงกดดัน” ให้เกิดการปฏิรูปดังกล่าว เพราะเมื่อมีรายได้มากขึ้นแม้จะมีหนี้บ้างก็ไม่เป็นภาระมากนัก “แต่ก็เข้าใจได้ว่าพอดูการดำเนินนโยบายของรัฐบาลแล้วไม่ว่าชนชั้นใดก็ไม่อยากจ่ายภาษี เพราะไม่รู้ว่าจ่ายไปแล้วได้อะไรกลับมา” ดังนั้นรัฐบาลต้องทำให้ประชาชนมั่นใจว่าภาษีที่จ่ายไปมีผลตอบแทนที่ดีจริงๆ เช่นความพร้อมด้านสาธารณสุขในการรับมือโรคระบาด ยกระดับคุณภาพด้านการศึกษา ลดความแตกต่างด้านการพัฒนาระหว่างจังหวัดต่างๆ เป็นต้น

“ภาพความเหลื่อมล้ำก่อนวิกฤติปี 2540 (ต้มยำกุ้ง) ความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประมาณปี 2500 หรือปี 2510 แล้วแต่ ซึ่งมันเริ่มชะลอปี 2540 นี่ละ ด้วยเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ(ปี 2535) หรือด้วยวิกฤติปี 2540 ที่ทำให้เกิดชนชั้นกลางหรือคนจนไทยที่เรียกร้องให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างซึ่งภาพความเหลื่อมล้ำหลังวิกฤติปี 2540อย่างน้อยมันเลิกเพิ่มสูงขึ้น มันนิ่งและอย่างน้อยลดลงนิดหน่อย จากการกระจายรายได้จากแรงงานที่ดีขึ้น ถึงแม้ความเหลื่อมล้ำทางรายได้จากทุนจะไม่ต่างจากเดิมมากนัก” อาจารย์ธนสักก์ กล่าว

สุดท้ายแล้ว หากให้เปรียบเทียบระหว่างการรัฐประหารปี 2549 กับปี 2557 ว่ามีผลกระทบกับประเด็นความเหลื่อมล้ำมากน้อยเพียงใด อาจารย์ธนสักก์กล่าวว่า การรัฐประหารปี 2549 ไม่ส่งผลกระทบมากนัก เพราะนโยบายด้านการกระจายรายได้ของรัฐบาลก่อนหน้านั้นหลายอย่างยังได้รับการสานต่อ แต่การรัฐประหารปี 2557 ภาพยังไม่ชัดเจนเพราะมีข้อมูลถึงปี 2559 แต่หากใช้การเปรียบเทียบ เช่น ระหว่างปี 2558-2559 ประชากรร้อยละ 90 จากทั้งหมด 52 ล้านคน รายได้ลดลง แต่รายได้เหล่านี้ไปตกอยู่กับกลุ่มประชากรร้อยละ 10 หรือกลุ่มคนรวยที่สุด

แต่ด้วยข้อมูลยังไม่เพียงพอ..จึงยังไม่ฟันธงกว่ารัฐประหารครั้งนี้ส่งผลต่อความเหลื่อมล้ำมากน้อยเพียงใด!!!

กุศล เลี้ยวสกุล อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้นิยามกลุ่มคนร้อยละ 1 หรือคนที่รวยที่สุดในสังคมว่า หมายถึงผู้ที่มีรายได้ต่อปี 2 ล้านบาทขึ้นไป และอธิบายเพิ่มเติมว่า รัฐบาลไทยมักกลัวเสมอมาว่าถ้าเก็บภาษีคนรวยมากๆ คนเหล่านี้จะไม่กล้าลงทุน แต่ในความเป็นจริงพบว่า แม้ไม่ได้เก็บภาษีคนรวยเพิ่มขึ้น คนรวยก็ไม่ได้ลงทุนเพิ่มขึ้นอยู่ดี เห็นได้จากเศรษฐีไทยหลายรายนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มองข่าวพิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ‘แรงงานข้ามชาติ’มุมนี้น่าคิด มองข่าวพิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ‘แรงงานข้ามชาติ’มุมนี้น่าคิด
  • อย่าสับสน! ปลาหมอคางดำไม่ใช่มลพิษ อย่าสับสน! ปลาหมอคางดำไม่ใช่มลพิษ
  • 3 โรคยอดฮิตของเด็ก ในช่วงฤดูฝน ผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม 3 โรคยอดฮิตของเด็ก ในช่วงฤดูฝน ผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม
  • ย้อนวิบากกรรม‘อิ๊งค์’ หยุดปฏิบัติหน้าที่แค่ยกแรก ‘มรสุม’เรื่องร้องรอถล่มอื้อ ย้อนวิบากกรรม‘อิ๊งค์’ หยุดปฏิบัติหน้าที่แค่ยกแรก ‘มรสุม’เรื่องร้องรอถล่มอื้อ
  • สกู๊ปพิเศษ : ถอดแนวคิดความมั่นคงชายแดน จากมุมมอง นักศึกษา ‘วปอ.บอ.’ 4 ด้าน สะท้อนเส้นแบ่งแห่งโอกาสและอนาคตร่วมกัน สกู๊ปพิเศษ : ถอดแนวคิดความมั่นคงชายแดน จากมุมมอง นักศึกษา ‘วปอ.บอ.’ 4 ด้าน สะท้อนเส้นแบ่งแห่งโอกาสและอนาคตร่วมกัน
  • เผยเส้นทางปริศนา\'เจ้าคุณอาชว์\'ลาสิกขาหลังกลับจากเดนมาร์ก ตำรวจยังไร้วี่แววในไทย เผยเส้นทางปริศนา'เจ้าคุณอาชว์'ลาสิกขาหลังกลับจากเดนมาร์ก ตำรวจยังไร้วี่แววในไทย
  •  

Breaking News

'รังสิมันต์'เผย'นายกฯ-กต.'ให้ความร่วมมือน้อย! หลังไม่แจง กมธ.มั่นคงฯ ปมคลิปเสียง

(คลิป) ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2 ชุดขาวในเงามืด!

'เดชอิศม์'ลั่น! ทำได้ทุกด้านหาก'มท.1'มอบหมาย

‘โรม’อัด‘รัฐบาล’ไร้‘รมว.กลาโหม’ เมินเห็นความสำคัญจัดการ‘ปัญหาความมั่นคง’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved