วันอาทิตย์ ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปพิเศษ : กรมอุตุฯ ผนึก สทน. บูรณาการข้อมูลเพื่องานวิจัย  สนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรดิน น้ำ และอากาศ

สกู๊ปพิเศษ : กรมอุตุฯ ผนึก สทน. บูรณาการข้อมูลเพื่องานวิจัย สนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรดิน น้ำ และอากาศ

วันอาทิตย์ ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปพิเศษ
  •  

“น้ำ”เป็นทรัพยากรที่สำคัญของโลก นอกจากในทะเลและมหาสมุทรแล้ว น้ำยังอยู่ทุกหนแห่ง ไม่ว่าจะเป็นน้ำในบรรยากาศ รวมทั้งเมฆและหมอกด้วย

ทรัพยากรน้ำมีการเปลี่ยนแปลงตามวัฏจักร โดยพลังงานจากดวงอาทิตย์เป็นตัวการหลัก และปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา เช่น ลม อุณหภูมิ ความชื้น จะเป็นตัว
ขับเคลื่อนวัฏจักรน้ำให้เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ การหมุนเวียนของวัฏจักรน้ำนั้นเป็นกลไกที่สำคัญของระบบโลก เพราะน้ำมีหน้าที่นำพาแร่ธาตุ สารอาหารไปยังพื้นที่ต่างๆ และสะสมตัวในดินทำให้พืชพรรณอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งอาหารของสรรพสัตว์และมนุษย์บนโลก


อย่างไรก็ตาม วิกฤตการณ์ภาวะโลกร้อนจะส่งผลกระทบต่อวัฏจักรน้ำบนโลกโดยรูปแบบของการเกิดหยาดน้ำฟ้า การเปลี่ยนแปลงของระดับอุณหภูมิ การระเหยของน้ำ และอื่นๆ จะเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้บางพื้นที่มีน้ำน้อยลง ในขณะที่บางพื้นที่อาจมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น และหากอุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส กว่าระดับอุณหภูมิในช่วงยุคก่อนอุตสาหกรรม ปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำจืดทั่วโลกจะรุนแรงขึ้นอย่างมาก ตัวแปรที่สำคัญในการศึกษาโครงสร้างภายในของน้ำคือค่าไอโซโทป (isotope)

โดยค่าไอโซโทปจะสามารถช่วยในการคาดหมายปริมาณน้ำที่จะเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละขั้นตอนของวัฏจักรน้ำได้ ดังนั้น การศึกษาค่าไอโซโทปของน้ำประกอบกับการประยุกต์ใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาจะสามารถส่งเสริมและช่วยให้เราคาดหมายการหมุนเวียนของวัฏจักรน้ำภายในประเทศได้ดียิ่งขึ้น เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดสรรทรัพยากรน้ำภายในประเทศให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสำหรับแต่ละพื้นที่ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์อื่นๆ ทั้งในด้านภาคการเกษตร ภาคสาธารณสุข และภาคชลประทานอีกด้วย

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 ที่อาคารหอประชุมกรมอุตุนิยมวิทยา ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง กรมอุตุนิยมวิทยา และ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์
แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. ว่าด้วยความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศด้านอุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยา และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรดิน น้ำ และอากาศ โดยมี ว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาฝ่ายวิชาการ และ พลเรือตรีวัชระ การุณยวนิชรองผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. ลงนามเป็นพยาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารของกรมอุตุฯ และ สทน. เข้าร่วมงาน

ดร.ชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่า ภารกิจของกรมอุตุนิยมวิทยา และ สทน. มีความเกี่ยวโยงและสนับสนุนซึ่งกันและกันมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านข้อมูลเพื่อการศึกษาและวิจัย ทั้งนี้ สองหน่วยงานได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2561 โดยมี สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ร่วมลงนามด้วย

สำหรับความร่วมมือที่เกิดขึ้นในวันนี้ เป็นการบูรณาการความร่วมมือด้านอุตุนิยมวิทยา และการวิจัยด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เพื่อประโยชน์ในมิติที่หลากหลาย เพราะนอกจากข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยาจะใช้ประโยชน์เพื่อวางแผนและบริหารจัดการน้ำของประเทศโดยตรงแล้ว ข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยาต่างๆ เช่น ข้อมูลปริมาณน้ำฝนสามารถนำไปใช้ในการประเมินอัตราการเติมน้ำบาดาลในบริเวณพื้นที่แอ่งน้ำ และนำไปใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างน้ำฝนกับค่าไอโซโทปในน้ำฝน ซึ่งการวัดค่าไอโซโทปนี้ก็สามารถใช้ประโยชน์ในการศึกษาด้านอุทกวิทยาในการหาแหล่งต้นกำเนิดของน้ำ หาแหล่งน้ำใต้ดิน เพื่อนำมาวางแผนบริหารจัดการน้ำ

อีกทั้ง ข้อมูลการตรวจวัดอุณหภูมิ ข้อมูลด้านการตรวจวัดโอโซนและรังสีของกรมอุตุนิยมวิทยา ที่สามารถนำไปใช้ในการศึกษาวิจัยด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ในการวางแผนจัดการด้านสิ่งแวดล้อม หรือด้านอื่นๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อขับเคลื่อนประเทศ ความมั่นคง การจัดการภัยพิบัติ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การสาธารณสุข และอื่นๆ ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้ดียิ่งขึ้น

ทางด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. กล่าวว่า ตลอดระยะเวลามากกว่า 5 ปี ที่ผ่านมา ทางสถาบันฯ เองได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา เช่น ข้อมูลปริมาณน้ำฝน เพื่อนำไปศึกษาวิเคราะห์การกระจายตัวของปริมาณน้ำฝนรายเดือนและรายปีในประเทศไทย ข้อมูลปริมาณน้ำฝนในแต่ละพื้นที่ในประเทศไทย เพื่อใช้สำหรับโครงการสร้างฐานข้อมูลไอโซโทปเสถียรในน้ำฝน เพื่อศึกษารูปแบบการเกิดฝนของประเทศไทย หรือการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำฝนกับค่าไอโซโทปเสถียรในน้ำฝน ภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การใช้ข้อมูลในการวิจัยแหล่งที่มาของน้ำบาดาลและการประเมินอัตราการเติมน้ำบาดาลในแหล่งน้ำบาดาลในพื้นที่แอ่งน้ำบาดาลเจ้าพระยาตอนบน และพื้นที่น้ำบาดาลแอ่งแพร่ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม สถาบันฯ ยังมีโครงการสำคัญที่ดำเนินการต่อเนื่อง และต้องใช้ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาเป็นส่วนประกอบสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ จากสถานีอุตุนิยมวิทยานำร่อง 33 สถานี เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิจัย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทย ข้อมูลการเกิดมรสุม การเกิดใต้ฝุ่นและลมพายุ ความเร็วลม แนวร่องมรสุม จำนวนวันที่เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในแต่ละปี และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทางอุตุนิยมวิทยา เพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์ความเหมาะสมของพื้นที่ตั้งสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี ในฐานะผู้แทนของสถาบันฯ

“วันนี้มีความยินดีและภาคภูมิใจยิ่ง ที่ทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้องต้องกันถึงประโยชน์ที่ประเทศชาติและประชาชนจะได้รับจากความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและอุทกวิทยา ภายใต้การสนับสนุนข้อมูลสำคัญจากกรมอุตุนิยมวิทยา จะเป็นกลไกหนึ่งในการสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศได้ในอนาคต” ผู้อำนวยการ สทน. กล่าว

จากนั้น ดร.ชมภารี ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า การยกระดับการบูรณาการความร่วมมือให้มีความชัดเจน มีเป้าหมาย และกระชับความร่วมมือให้เข้มแข็งขึ้น ในวันนี้ จะนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดความร่วมมือการสร้างสรรค์โครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ได้ตรงความต้องการที่หลากหลาย และรองรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนของประเทศชาติสืบไป

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กรมอุตุนิยมวิทยาและ สทน. ได้มีความร่วมมือในการศึกษาค่าไอโซโทปน้ำ และในอนาคตจะมีการขยายความร่วมมือให้กว้างขวางขึ้นเพื่อสนับสนุนการบริหาร การจัดการ ทั้งทรัพยากรดิน น้ำ และอากาศของประเทศ โดยจะมุ่งมั่นพัฒนาข้อมูลให้มีความแม่นยำ และเพิ่มช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลให้ถึงมือผู้ใช้บริการได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกันต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : ‘รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์’ สถานพยาบาลต้นแบบ  ใช้กลไกการรับรองเฉพาะโรค ตามมาตรฐาน สรพ. ดูแลผู้ป่วย สกู๊ปพิเศษ : ‘รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์’ สถานพยาบาลต้นแบบ ใช้กลไกการรับรองเฉพาะโรค ตามมาตรฐาน สรพ. ดูแลผู้ป่วย
  • สกู๊ปพิเศษ : ปักธง ‘สวทช. ยุค 6.0’ นำพลังวิจัยรับใช้สังคม สกู๊ปพิเศษ : ปักธง ‘สวทช. ยุค 6.0’ นำพลังวิจัยรับใช้สังคม
  • สกู๊ปพิเศษ : ‘กรมการท่องเที่ยว’พัฒนา6เส้นทาง  ชู‘40ห้องน้ำโบว์แดง’ยกระดับการท่องเที่ยวไทย สกู๊ปพิเศษ : ‘กรมการท่องเที่ยว’พัฒนา6เส้นทาง ชู‘40ห้องน้ำโบว์แดง’ยกระดับการท่องเที่ยวไทย
  • สกู๊ปพิเศษ : ‘ยุทธศาสตร์ 3 ส.’ของพรรคประชาธิปัตย์  สร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติ สกู๊ปพิเศษ : ‘ยุทธศาสตร์ 3 ส.’ของพรรคประชาธิปัตย์ สร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติ
  • สกู๊ปพิเศษ : ‘5เสาหลัก’ต้องขับเคลื่อน  มุ่งสู่‘สูงวัยคุณภาพชีวิตดี’ สกู๊ปพิเศษ : ‘5เสาหลัก’ต้องขับเคลื่อน มุ่งสู่‘สูงวัยคุณภาพชีวิตดี’
  • สกู๊ปพิเศษ : กสศ. เปิดข้อมูลความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาปี’65  ชี้การให้โอกาสเด็กยากจนจะช่วยเพิ่มรายได้ประเทศในอนาคต สกู๊ปพิเศษ : กสศ. เปิดข้อมูลความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาปี’65 ชี้การให้โอกาสเด็กยากจนจะช่วยเพิ่มรายได้ประเทศในอนาคต
  •  

Breaking News

'ตรีนุช'เป็นประธานพิธีเททองหล่อตราเสมาธรรมจักร ประจำ ศธ.

'รมช.สันติ'เผย งานระดมทุน พปชร. คนอุดมการณ์เดียวกันร่วมงานล้นหลาม

'ชัยภูมิ'นำชาวบ้านทำธนาคารน้ำใช้แล้วลงดิน แก้ปัญหาน้ำเสียจากครัวเรือน

เปิดงานสมโภชแห่เจ้ามูลนิธิอำเภอเบตง ชาวบ้านขอให้เกิดความสงบสุข

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved