วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปพิเศษ : ‘5เสาหลัก’ต้องขับเคลื่อน  มุ่งสู่‘สูงวัยคุณภาพชีวิตดี’

สกู๊ปพิเศษ : ‘5เสาหลัก’ต้องขับเคลื่อน มุ่งสู่‘สูงวัยคุณภาพชีวิตดี’

วันพฤหัสบดี ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2565, 07.01 น.
Tag : สูงวัยคุณภาพชีวิตดี 5เสาหลัก สกู๊ปพิเศษ
  •  

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) อธิบายนิยามของ “สังคมผู้สูงอายุ (หรือสังคมสูงวัย) โดยสมบูรณ์ (Aged Society)” ว่า เป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน และมีอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 20 ขึ้นไป หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกันอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 14 ขึ้นไป

ซึ่งสำหรับประเทศไทย ข้อมูลของกรมกิจการผู้สูงอายุ ณ เดือนมกราคม 2565 มีผู้สูงอายุทั้งสิ้น 12,116,199 คน คิดเป็นร้อยละ 18.3 ของประชากรทั้งประเทศในช่วงเวลาเดียวกัน ขณะที่การคาดการณ์ของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.-สภาพัฒน์) เมื่อปี 2559 ระบุว่า ไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super-Aged Society)” มีผู้สูงอายุเกิน 60 ปีมากกว่าร้อยละ 28 ประมาณปี 2574


เมื่อช่วงกลางเดือน ธ.ค. 2565 มีการจัดเวทีเสวนา “หลักประกันรายได้ของทุกคนเมื่อสูงวัย ประเทศไทยพร้อมหรือยัง?” จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) และ The Active มีวิทยากรเข้าร่วมหลายท่าน อาทิ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ประธานกรรมการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช) กล่าวว่า ความมั่นคงทางรายได้ของผู้สูงวัย เป็นประเด็นหนึ่งที่ถูกพูดถึงอย่างมาก

คำถามคือระบบนี้ควรจะมีหน้าตาอย่างไร? ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเรื่องบำนาญหรือรายได้ แต่ต้องมองเรื่องรายจ่ายด้วย ทั้งนี้ “มีธรรมชาติอยู่ข้อหนึ่งคือ..เมื่อเป็นผู้สูงอายุก็ไม่สามารถหารายได้เองได้ง่ายเหมือนช่วงที่ยังมีความพร้อม” โดยมีหลักคิด เช่น ทางยุโรปเชื่อว่าเมื่อสังคมเจริญก้าวหน้าไปครอบครัวย่อมอ่อนแอลงดังนั้นรัฐต้องเข้ามาดูแลแทน นำมาซึ่งหลักคิดเรื่องสวัสดิการ

“โดยธรรมชาติเวลาคิดเรื่องอย่างนี้ภายใต้ สช. ก็จะมีอีก 2 ขั้นตอนที่สำคัญมากเลย ขั้นตอนหนึ่งก็คือมีมติสมัชชาแล้วเข้าสู่ ครม. (คณะรัฐมนตรี) แต่อีกขั้นตอนหนึ่ง ขั้นตอนชวนสังคมมาช่วยกันทำให้มันเกิดขึ้น ฉะนั้นสิ่งที่ผมพยายามจะเล่าทั้งหมดเพื่อที่จะบอกว่า ความพยายามที่จะทำเรื่องนี้เป็นความพยายามที่จะพูดกับสังคมโดยรวมด้วย ไม่ได้พูดกับนักการเมืองหรือผู้มีอำนาจเท่านั้น” นพ.สมศักดิ์ กล่าว

นพ.วิรุฬ ลิ้มสวาท ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม ซึ่งชวนคนทุกวัยโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางมาพูดคุยไม่เฉพาะแต่ผู้สูงอายุ โดยแบ่งเป็น 1.คนจน-คนไร้บ้าน 2.ชุมชนที่ทำงานในประเด็นผู้สูงอายุมานานโดยที่ไม่รอนโยบายรัฐ 3.แรงงานนอกระบบ และ 4.กลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยให้ทุกกลุ่มย้อนมองตนเองตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และตั้งคำถามไปถึงอนาคตว่าหากมีอายุ 60 ปีแล้วจะทำอย่างไร หรือหากอายุถึง 60 ปีแล้ว ในวัย 80 ปีตนเองจะเป็นอย่างไร

ทั้งนี้ “เมื่อกล่าวถึงเสาหลักการประกันรายได้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ รัฐสวัสดิการมักเป็นเรื่องแรกๆ โดยเฉพาะเรื่องของบำนาญ” ด้วยความที่ทุกคนเห็นว่าข้าราชการมีบำนาญซึ่งเป็นภาพลักษณ์ของความเหลื่อมล้ำในสังคม แต่เมื่อมีเวทีพูดคุยกัน ได้ข้อสรุปว่า “5 เสาหลักต้องไปด้วยกัน” ประกอบด้วย 1.การพัฒนาผลิตภาพประชากรและการมีงานทำตลอดช่วงวัย โดยคำว่า “ผลิตภาพ” คือการสร้างคุณค่าให้กับสังคมจากการใช้ชีวิตในการทำงาน เช่น ในขณะที่ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งยังทำงานมีรายได้ แต่อีกส่วนก็อยู่บ้านช่วยลูกเลี้ยงหลาน

“มีเรื่องราวของคนรุ่นใหม่ที่ถามว่าจะต้องดูแลพ่อแม่ไปนานเท่าไร? พ่อแม่ก็อาจจะถามว่าแล้วฉันต้องเลี้ยงลูกให้แกไปอีกนานเท่าไร? เพราะฉะนั้นมันเป็นสิ่งที่มองได้หลายมุม คำว่ารายได้ในที่นี้มันก็เลยมองถึงรายได้และรายจ่าย การทำงานของผู้สูงอายุในการเลี้ยงลูกหลานเป็นการลดรายจ่ายให้กับคนที่อยู่ในวัยยังไม่สูงอายุด้วย เพราะฉะนั้นสิ่งนี้เราก็เลยมองว่าเรื่องหนึ่งคือเรื่องผลิตภาพซึ่งมันจะต้องมองให้รอบด้าน และเป็นเรื่องของคนทุกวัย” ผอ.สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ สธ. อธิบาย

ประการต่อมา 2.การออมระยะยาวเพื่อยามชราภาพอย่างครอบคลุม เพียงพอและยั่งยืน เรื่องนี้ความท้าทายคือ “คนรายได้น้อยหาเช้ากินค่ำนั้นเป็นเรื่องยากที่จะเก็บออมได้แม้แต่คนชั้นกลางหาต้นเดือนกินปลายเดือนก็ยังไม่ค่อยมีเงินออม” ที่ผ่านมามีความพยายามจัดระบบการออมในระดับชุมชน แต่หากมองในภาพรวมจำเป็นต้องได้รับการเกื้อหนุนในบางรูปแบบจากรัฐ เช่น สนับสนุนชุมชนที่ทำดีอยู่แล้วให้ทำได้ดีขึ้นอีก 3.เงินอุดหนุนและบริการสังคมที่จำเป็นจากรัฐ ทั้งเงินโอนจากรัฐ (อาทิ เบี้ยผู้สูงอายุ) และสวัสดิการอื่นๆ ที่ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี

4.การเข้าถึงหลักประกันสุขภาพ โดยเฉพาะบริการสุขภาพระยะยาว (Long-term care) เพราะปัญหาของผู้สูงอายุนอกจากเรื่องรายรับแล้วยังมีรายจ่ายด้วยโดยเฉพาะด้านสุขภาพ ซึ่งแม้ประเทศไทยจะมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ทุกคนเข้าถึงบริการได้ แต่คุณภาพก็ยังไม่เท่าเทียมกันใน 3 กองทุน (ข้าราชการ-ประกันสังคม-บัตรทอง)ขณะที่แรงงานนอกระบบซึ่งรวมถึงแรงงานแพลตฟอร์มก็ยังเข้าไม่ถึงในบางด้าน

และ 5.การได้รับการดูแลโดยครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น การดูแลโดยครอบครัวไม่ได้หมายความเฉพาะการสนับสนุนด้านการเงินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการดูแลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ก็ต้องเข้ามามีบทบาท เช่น การปรับปรุงสภาพแวดล้อม โครงสร้างพื้นฐาน (อาทิ ถนน) ที่เอื้อต่อการเดินทางด้วยตนเองของผู้สูงอายุ ซึ่งได้ประโยชน์ทั้งคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้น และลดภาระของประชากรวัยอื่นๆ

ยังมีวิทยากรอีก 2 ท่าน คือ นิมิตร์ เทียนอุดมผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ กล่าวถึงการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุจากแรกเริ่มที่จ่ายเพียง 200 บาทต่อเดือนและจ่ายเฉพาะผู้สูงอายุที่ยากจน มาจนถึงปัจจุบันที่จ่ายแบบขั้นบันไดเดือนละ 600-1,000 บาท และจ่ายผู้สูงอายุทุกคน ว่า ทั้งหมดเกิดขึ้นจากการต่อสู้เรียกร้องของประชาชน “การปรับเกณฑ์จ่ายเบี้ยผู้สูงอายุเกิดขึ้นเพื่อลดแรงกดดัน เนื่องจากรัฐไม่รับข้อเสนอบำนาญถ้วนหน้าของภาคประชาชน” ดังนั้นประชาชนต้องไม่หยุดเรียกร้องเพื่อนำไปสู่การมีรัฐสวัสดิการ และการมีบำนาญถ้วนหน้าก็ไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น แต่เม็ดเงินส่วนนี้ยังถูกส่งผ่านไปยังการเลี้ยงดูหลานที่เป็นลูกของประชากรวัยทำงานด้วย

ผศ.วีระศักดิ์ พุทธาศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวถึง 5 เสาหลักข้างต้น ว่า ในระดับพื้นที่มีการทำให้เกิดขึ้นจริง เป็นการเรียนรู้จากพื้นที่และรวบรวมมาเป็นหลักการ เพื่อให้มั่นใจว่า นอกจากนโยบายที่จะมาสนับสนุนการขับเคลื่อนแล้ว ซึ่งในพื้นที่ทำมาก่อนจะมีมติของสมัชชาสุขภาพ สิ่งที่อยากเห็นต่อไปมากกว่าการได้มติแล้วส่งมอบให้ ครม. คือการที่ทุกคนนำกรอบนโยบายที่เห็นตรงกันไปขับเคลื่อน!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : ถอดบทเรียนแก้ปัญหาการพนันในสถานประกอบการไทย สกู๊ปพิเศษ : ถอดบทเรียนแก้ปัญหาการพนันในสถานประกอบการไทย
  • สกู๊ปพิเศษ : ‘บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบใหม่’ร้ายกว่าที่คิด! ตัวการดึง‘เด็ก-เยาวชน’สู่วงจรอันตราย สกู๊ปพิเศษ : ‘บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบใหม่’ร้ายกว่าที่คิด! ตัวการดึง‘เด็ก-เยาวชน’สู่วงจรอันตราย
  • สกู๊ปพิเศษ : สสส.ชูโมเดล‘ชุมชนหัวชุกบัว’ นำร่องรับมือ 3 ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ สกู๊ปพิเศษ : สสส.ชูโมเดล‘ชุมชนหัวชุกบัว’ นำร่องรับมือ 3 ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ
  • สกู๊ปพิเศษ : ​นำร่อง ‘1 โรงเรียน 3 รูปแบบ online’ แก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา สกู๊ปพิเศษ : ​นำร่อง ‘1 โรงเรียน 3 รูปแบบ online’ แก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา
  • สกู๊ปพิเศษ : รู้จัก!‘ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์’ ผู้อำนวยการ บพค.คนใหม่ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศ ด้าน ววน. สกู๊ปพิเศษ : รู้จัก!‘ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์’ ผู้อำนวยการ บพค.คนใหม่ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศ ด้าน ววน.
  • สกู๊ปพิเศษ : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ  เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปพิเศษ : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

บ้านนายกฯ อังกฤษโดนเผา ตำรวจเร่งสอบโยงวางเพลิง

(คลิป) ‘อิ๊งค์’รับเสียดายโอกาส ‘ทักษิณ’ชวดบินกาตาร์เจอ‘ทรัมป์’ซี้เก่า

สลด! พ่อค้าลอตเตอรี่ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองในสวน คาดเครียดเรื่องขายไม่ดี

เตรียมเข้าสู่ฤดูฝน! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 13-19 พ.ค.68

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved