วันอาทิตย์ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปพิเศษ : นักวิชาการย้ำ ‘ดิจิทัล วอลเล็ต’ ไม่คุ้มค่า  จี้รัฐจัด‘บำนาญประชาชน’ กระตุ้นเศรษฐกิจระยะยาว

สกู๊ปพิเศษ : นักวิชาการย้ำ ‘ดิจิทัล วอลเล็ต’ ไม่คุ้มค่า จี้รัฐจัด‘บำนาญประชาชน’ กระตุ้นเศรษฐกิจระยะยาว

วันอาทิตย์ ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2567, 07.28 น.
Tag : สกู๊ปพิเศษ
  •  

จากกรณีที่รัฐบาลพยายามผลักดัน โครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และคาดว่าจะสามารถจ่ายได้ภายในไตรมาสสุดท้ายของปี 2567 โดยในวันที่ 10 เมษายน 2567 จะมีการประชุมแนวทางการดำเนินงานและแหล่งที่มาของงบประมาณ แม้ที่ผ่านมานักวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์ต่างออกมาวิจารณ์ถึงการนำเงินงบประมาณกว่า 5.6 แสนล้าน ไปใช้กระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นไม่คุ้มค่า แต่ควรนำงบมาใช้เพื่อสร้างสวัสดิการรองรับสังคมผู้สูงอายุและสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ยั่งยืนกว่านั้น

ผศ.ดร.ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม (CRISP) กล่าวว่า รัฐบาลไม่ได้ฟังเสียงคัดค้านจากนักเศรษฐศาสตร์ระดับประเทศ รวมไปถึงธนาคารโลกที่วิเคราะห์ว่านโยบายการแจกเงินระยะสั้นไม่ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจมากนัก และไม่มีความคุ้มค่า อีกทั้งนักเศรษฐศาสตร์เคยร่วมกันออกแถลงการณ์คัดค้านว่าไม่จำเป็นต้องกระตุ้นการบริโภค ควรเน้นการลงทุนสร้างศักยภาพระยะยาว โดยเงินงบประมาณมีจำกัด ควรใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า เพื่อเน้นลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาทรัพยากรมนุษย์


นอกจากนี้ โครงการดิจิทัล วอลเล็ต ที่ใช้เงิน 560,000 ล้านบาท จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้น้อย เพราะจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชาติ (GDP) ในระดับที่ต่ำ เมื่อเทียบกับการใช้จ่ายของรัฐบาลอีกทั้งช่วงดังกล่าวเป็นช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นซึ่งจะเพิ่มภาระหนี้สาธารณะและทำให้ดอกเบี้ยสูงขึ้นในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ผศ.ดร.ทีปกร กล่าวอีกว่า หากรัฐบาลยัง “ดื้อ” จะจ่ายโครงการดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาทก็อยากให้จ่ายแบบมีเงื่อนไข (Conditional Cash Transfer)เช่น คนที่จะได้เงิน หรือ ร้านค้าที่จะรับเงิน จะต้องเข้ามาอยู่ในระบบฐานข้อมูลและรายงานรายได้ เป็นต้น เพื่อมุ่งเป้าหมายไปที่การเตรียมรับมือกับความท้าทายแห่งยุคสมัยของประเทศและมนุษยชาติ ทั้งสังคมสูงวัย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ การแทนที่แรงงานด้วยหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ เช่น การยกระดับทักษะแรงงานครั้งใหญ่อย่างจริงจังในระดับประเทศ

สำหรับแหล่งที่มาของงบประมาณการแจกเงินดิจิทัล ผศ.ดร.ทีปกร แนะนำว่า ควรหลีกเลี่ยงการกู้เต็มจำนวน และใช้วิธี 1.ปฏิรูปภาษีให้ลดความเหลื่อมล้ำ และ 2.ปฏิรูปงบประมาณให้มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์ตรงต่อประชาชน และพัฒนาระบบการออมให้กับประชาชน ก็จะสามารถหาเงินมาเติมได้หลายแสนล้านบาทภายในระยะเวลาไม่กี่ปี อีกทั้งจะเป็นคุณูปการระยะยาวสำหรับประเทศ

“อยากให้รัฐบาลวางแผนการใช้งบประมาณเพื่อสร้างสวัสดิการให้กับประชาชน เพื่อรองรับวิกฤตในอนาคต เตรียมรับสังคมสูงวัย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกับประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ผู้สูงวัยของญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งต้องลักขโมยของเล็กน้อยให้ตนเองได้ติดคุกที่ทำให้มีที่พักและอาหารประทังชีวิต หรือ ผู้หญิงสูงอายุในเกาหลีใต้ที่ต้องมายืนเร่ขายบริการเพื่อหารายได้ แต่หากมีการสร้างความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยั่งยืน” ผศ.ดร.ทีปกร กล่าว

ด้าน นายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ เครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม (WE FAIR) กล่าวถึง ความคืบหน้า ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติฉบับประชาชนว่า ผ่านการรับฟังความเห็นของสภาผู้แทนราษฎรแล้วและถูกส่งกลับไปให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีพิจารณา
อีกครั้งเนื่องจากเป็น พ.ร.บ.เกี่ยวข้องทางการเงิน

ส่วนความคืบหน้า พ.ร.บ.สวัสดิการสังคมของ คณะกรรมาธิการสวัสดิการสังคม ได้พิจารณา รูปแบบการจ่ายสวัสดิการบำนาญออกมาเป็นลักษณะขั้นบันได ปีแรก 1,200 บาท เพิ่มปีที่สอง 2,000 บาท ปีที่สามจ่าย 3,000 บาท ซึ่งมีความคล้ายกับ พ.ร.บ.บำนาญของประชาชน แต่ต่างกันตรงที่ฉบับประชาชนให้จ่าย 3,000 บาท ตั้งแต่ปีแรก

“นอกจาก 2 กฎหมายดังกล่าวแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) บำนาญแห่งชาติ ของพรรคก้าวไกล ที่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการประชาชน ซึ่งกฎหมายทั้ง 3 ฉบับจะถูกส่งกลับไปให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาเนื่องจากเป็นพ.ร.บ.ทางการเงิน ทั้งนี้ หวังว่ารัฐบาลจะผลักดันเรื่องนี้เหมือนกับเรื่องดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาท” นายนิติรัตน์กล่าว

นายนิติรัตน์ บอกด้วยว่า สิ่งที่อยากเห็นก่อนวันผู้สูงอายุ (วันที่ 13 เมษายน 2567) และก่อนกฎหมายดังกล่าวจะถูกบังคับใช้ คือ การปรับเพดานสวัสดิการทั้งผู้สูงอายุ คนพิการ เด็ก และหญิงมีครรภ์ โดยที่ผ่านมาได้เสนอไปยัง นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯซึ่งได้รับข้อเสนอของภาคประชาชน ที่เสนอให้ ปรับเบี้ยผู้สูงอายุจาก 600 บาท เป็น 1,000 บาทเบี้ยผู้พิการจาก 800 บาท เป็น 1,000 บาท จัดสวัสดิการให้เด็กแบบถ้วนหน้า และจัดสวัสดิการให้หญิงตั้งครรภ์ช่วงเดือน 5 ถึง เดือนที่ 9 เดือนละ 3,000 บาท โดยขณะนี้รอรัฐมนตรีเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

ในโอกาสเดียวกัน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค แสดงความเห็นว่า การจัดสวัสดิการบำนาญแห่งชาติต้องอาศัยเจตจำนงทางการเมืองของนักการเมือง จึงอยากเห็นรัฐบาลสร้างความเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ และทุกรัฐบาลควรกระชับการใช้งบประมาณและทำให้เกิดระบบสวัสดิการประชาชน เพื่อสร้างหลักประกันและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

อย่างไรก็ตาม สภาผู้บริโภคสนับสนุนเครือข่ายภาคประชาชนในการขับเคลื่อนกฎหมายบำนาญแห่งชาติเพราะเป็นสิทธิของผู้บริโภคในการเข้าถึงการบริการขั้นพื้นฐาน จะเห็นได้ว่าหากผู้สูงอายุยังคงได้รับเบี้ยยังชีพจำนวน 600-700 บาท ก็จะไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต จึงอยากให้รัฐบาลสนับสนุนดำเนินนโยบายเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในระบบสวัสดิการของประเทศ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : ตีโจทย์ขายเหล้าวันพระใหญ่ ที่ไหนทำได้-ทำไม่ได้ สกู๊ปพิเศษ : ตีโจทย์ขายเหล้าวันพระใหญ่ ที่ไหนทำได้-ทำไม่ได้
  • สกู๊ปพิเศษ : ‘เสียงจากดาวน์’ ปลดล็อคข้อจำกัดด้าน ‘การศึกษา’ สู่การพัฒนาอาชีพ-การจ้างงานในอนาคต สกู๊ปพิเศษ : ‘เสียงจากดาวน์’ ปลดล็อคข้อจำกัดด้าน ‘การศึกษา’ สู่การพัฒนาอาชีพ-การจ้างงานในอนาคต
  • สกู๊ปพิเศษ : ส่องมนต์เสน่ห์ธรรมชาติแห่ง ‘กุ้ยโจว’ อันซีนแดนมังกร หมุดหมายของเหล่านักเดินทาง สกู๊ปพิเศษ : ส่องมนต์เสน่ห์ธรรมชาติแห่ง ‘กุ้ยโจว’ อันซีนแดนมังกร หมุดหมายของเหล่านักเดินทาง
  • สกู๊ปพิเศษ : ถอดบทเรียนแก้ปัญหาการพนันในสถานประกอบการไทย สกู๊ปพิเศษ : ถอดบทเรียนแก้ปัญหาการพนันในสถานประกอบการไทย
  • สกู๊ปพิเศษ : ‘บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบใหม่’ร้ายกว่าที่คิด! ตัวการดึง‘เด็ก-เยาวชน’สู่วงจรอันตราย สกู๊ปพิเศษ : ‘บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบใหม่’ร้ายกว่าที่คิด! ตัวการดึง‘เด็ก-เยาวชน’สู่วงจรอันตราย
  • สกู๊ปพิเศษ : สสส.ชูโมเดล‘ชุมชนหัวชุกบัว’ นำร่องรับมือ 3 ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ สกู๊ปพิเศษ : สสส.ชูโมเดล‘ชุมชนหัวชุกบัว’ นำร่องรับมือ 3 ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ
  •  

Breaking News

‘กฟก.เชียงราย’จัดกิจกรรมครบรอบ 26 ปีก่อตั้ง‘กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร’

'พีท ทองเจือ – ป้อ ปุญญพัตน์'ร่วมการันตี Fairtex Fight Thaiwatsadu Champions Tournament Season 3

‘พร้อมพงศ์’มั่นใจ‘ภูมิใจไทย’ไม่ฆ่าตัวตาย งัดพ.ร.บ.งบ69 ต่อรองการเมือง

‘รองเลขานายกฯ’ชี้เป้าเครือข่าย‘เว็บพนัน’ เตรียมส่งข้อมูล‘ผบ.ตร.-บช.ก.’ ลุยล้างบาง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved