โดยเหตุแห่งการออกหมายจับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 ระบุไว้ดังนี้ (1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญา “ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี” หรือ (2) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี
เหตุแห่งการออกหมายจับกรณีแรกคือ โทษจำคุกเกินกว่า 3 ปี ในกรณีนี้ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองไม่จำเป็นจะต้องออกหมายเรียกก่อนและสามารถรวบรวมพยานหลักฐานยื่นคำร้องขอออกหมายจับต่อศาล โดยศาลสามารถออกหมายจับได้ทันทีหากมีหลักฐานชัดเจนว่าผู้ถูกออกหมายจับมีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำความผิด
กรณีที่สอง โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ในกรณีนี้ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองควรต้องออก “หมายเรียก”ก่อน หากออกหมายเรียกแล้วผู้ต้องหาไม่มาตามหมายเรียกโดยมีเหตุผลตามสมควร พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะรวบรวมพยานหลักฐานและยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อออกหมายจับต่อไปอย่างเช่นกรณีแรกได้
หรือหากมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น ก็สามารถ รวบรวมพยานหลักฐานและยื่นคำร้องขอออกหมายจับได้ดั่งเช่นกรณีแรกเช่นกัน
ทั้งนี้ กฎหมายได้บัญญัติไว้ในวรรค 2 อีกว่า หากเข้าข้อหนึ่งข้อได้ต่อไปนี้ ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะ “หลบหนี” ด้วย 1) บุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง 2) ไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร
การสิ้นผลของหมายจับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 68 ระบุว่า หมายจับคงใช้ได้อยู่จนกว่าจะจับได้ เว้นแต่ความผิดอาญาตามหมายนั้นขาดอายุความหรือศาลซึ่งออกหมายนั้นได้ถอนหมายคืน
โดยหมายจับสิ้นสุดด้วย 3 กรณีคือ 1.เมื่อจับตัวผู้ต้องหาได้ 2.หมายจับขาดอายุความ และ 3.ศาลเพิกถอนหมายจับ
โดยในการเพิกถอนหมายจับนั้น โดยส่วนมากจะเกิดในกรณีที่ผู้ถูกออกหมายจับได้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนหมายจับ โดยแสดงข้อเท็จจริงว่าการออกหมายจับไม่ถูกต้อง เช่น ไม่ได้มีการออกหมายเรียกก่อน ไม่มีพฤติการณ์ที่จะหลบหนี มีถิ่นที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือแม้กระทั่งแสดงให้เห็นว่าผู้ถูกออกหมายจับไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดอาญาแต่ในประเด็นท้ายนี้ไม่ใช่ข้อพิจารณาในการเพิกถอนหมายจับ
กรณีการเพิกถอนหมายจับ สว. ซึ่งกำลังเป็นข่าวที่ประชาชนให้ความสนใจในขณะนี้ มีข้อสังเกตในกรณีที่ผู้ถูกออกหมายจับเป็นบุคคลสำคัญในตำแหน่ง สว. (สมาชิกวุฒิสภา) นั้น กฎหมายมิได้ระบุเป็นพิเศษให้ต้องดำเนินการออกหมายเรียกก่อนแล้วถึงจะออกหมายจับได้ และเป็นกรณีที่ตำรวจเห็นว่าเป็นการขอออกหมายจับในกรณีอัตราโทษเกินกว่า 3 ปี สามารถออกหมายจับได้ทันทีโดยไม่ต้องทำการออกหมายเรียก เมื่อศาลได้พิจารณาและมีการออกหมายจับแล้วทำการเพิกถอนหมายจับในวันเดียวกัน เป็นการกระทำที่ใช้ดุลพินิจที่ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นคำถามที่ประชาชนหลายคนคงติดตามและรอคำตอบ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี