ทำความรู้จัก พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 พ.ศ.2566หรือที่หลายคนเรียกติดปากกันว่าพ.ร.บ.อุ้มหาย
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 พ.ศ.2566เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนและอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีและอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลจากการบังคับให้สูญหาย โดยกฎหมายดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565
ต่อมาเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ออกพระราชกำหนดเพื่อเลื่อนบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวในมาตรา 22-25 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ กลไกการป้องกันการทรมานและทำให้บุคคลสูญหาย เช่น การกำหนดให้ตำรวจจะต้องติดกล้องและบันทึกสภาพของผู้ต้องหาเมื่อจับกุม ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของกฎหมายฉบับดังกล่าวโดยอ้างความเห็นของสำนักตำรวจแห่งชาติเรื่องความไม่พร้อมของงบประมาณ
ต่อมาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 99 คนซึ่งเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดได้เข้าชื่อ เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ว่า พระราชกำหนด การเลื่อนใช้บังคับกฎหมายดังกล่าวไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ จึงส่งความเห็นดังกล่าวเสนอต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ต่อมาวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 8 ต่อ 1 วินิจฉัยว่าพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 พ.ศ.2566ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 172 วรรค 1 ทำให้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 พ.ศ.2566 ไม่มีผลบังคับใช้ ซึ่งส่งผลให้ พ.ร.บ. อุ้มหายมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษาคือวันที่ 25 ตุลาคม 2565
กฎหมายดังกล่าวแม้จะเป็นการเพิ่มขั้นตอนและอาจจะเป็นอุปสรรคกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่แต่เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล แล้วจะส่งผลให้กระบวนการยุติธรรมมีความมั่นคงและน่าเชื่อถือมากขึ้น
ปัจจุบันกฎหมายดังกล่าวมีสภาพบังคับใช้โดยผู้เขียนจะขอนำบทบัญญัติสำคัญซึ่งเป็นหัวใจของกฎหมายดังกล่าวมาอธิบายเพิ่มเติมในตอนต่อไป