ดังนั้นเพื่อให้การพิจารณาเสนอขอพระราชทานเหรียญดังกล่าวเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงได้ซักซ้อมทางปฏิบัติ กรณีนี้ให้ส่วนราชการถือปฏิบัติ พร้อมทั้งกำชับให้ส่วนราชการพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมควรได้รับการเสนอขอพระราชทานเหรียญให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์โดยเคร่งครัด หากข้อเท็จจริงปรากฏภายหลังว่ามีผู้ได้รับพระราชทานเหรียญในสังกัดของส่วนราชการขาดคุณสมบัติไม่อยู่ในหลักเกณฑ์แล้ว ส่วนราชการต้นสังกัดต้องดำเนินการจัดทำเรื่องขอพระราชทานอภัยพร้อมขอถอนชื่อผู้นั้นด้วยซึ่งเป็นการมิบังควรอย่างยิ่ง...ครับ
14.หลักเกณฑ์โดยสรุปตามแนวทางปฏิบัติในการเสนอขอพระราชทานเหรียญทั้ง 2 ประเภทที่แนบท้ายหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่นร 0508/ว(ท)2509 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2561 มีดังนี้
1) ความทั่วไป
1.1) การเสนอขอพระราชทานเหรียญฯ เป็นการเสนอขอพระราชทานตามคราวแห่งความชอบ เป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต้นสังกัดที่จะดำเนินการพิจารณาเสนอขอให้กับข้าราชการในสังกัดพร้อมกับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปีในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
1.2) ผู้ที่ส่วนราชการจะเสนอขอพระราชทานต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ฯในปีที่จะขอพระราชทาน
สำหรับข้าราชการที่พ้นจากราชการเพราะเหตุลาออกจากราชการในปีที่จะขอพระราชทานให้ได้รับการพิจารณาเสนอขอพระราชทานในปีที่พ้นจากราชการ
ส่วนกรณีที่ข้าราชการพ้นจากราชการเพราะเหตุเกษียณอายุราชการและมีคุณสมบัติครบถ้วนภายหลังวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาในปีนั้น ให้ได้รับการพิจารณาเสนอขอพระราชทานในปีถัดไป
2) การนับเวลาราชการเพื่อเสนอขอพระราชทานเหรียญฯ ให้นับโดยคำนวณเวลาราชการทั้งหมดของผู้นั้นรวมกัน ตั้งแต่วันบรรจุเข้ารับราชการจนถึงวันที่มีระยะเวลารับราชการไม่น้อยกว่า 15 ปี หรือ 25 ปีแล้วแต่กรณี
2.1) หากข้าราชการทหารหรือตำรวจไม่ได้รับการแต่งตั้งยศทหารในกองประจำการหรือยศตำรวจไม่สามารถนำเวลาราชการดังกล่าวมานับรวมเพื่อเสนอขอพระราชทานเหรียญฯ ได้
2.2) สำหรับข้าราชการฝ่ายพลเรือนต้องเป็นระยะเวลารับราชการตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ในบทนิยามคำว่า “ข้าราชการฝ่ายพลเรือน” ตามมาตรา 4 ดังกล่าวข้างต้น ส่วนเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทอื่นซึ่งไม่อยู่ในบทนิยามดังกล่าวไม่สามารถนำระยะเวลารับราชการหรือระยะเวลาปฏิบัติงานดังกล่าวมาคำนวณรวมเพื่อเสนอขอพระราชทานจักรพรรดิมาลาได้ เช่น พนักงานส่วนตำบลตามกฎหมายว่าด้วยสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลและพนักงานมหาวิทยาลัย
2.3) กรณีการลาศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยหรือลากิจตามคู่สมรส หากส่วนราชการพิจารณาแล้วเห็นว่าข้าราชการรายดังกล่าวมีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติฯ ก็สามารถนับระยะเวลาระหว่างการลาดังกล่าวเพื่อพิจารณาเสนอขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาได้
3) หลักเกณฑ์สำคัญคือ “การรับราชการมาด้วยความเรียบร้อย” สำหรับข้าราชการฝ่ายพลเรือน หมายถึง ข้าราชการที่ได้ปฏิบัติหน้าที่และปฏิบัติตนเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ ซึ่งส่วนราชการต้นสังกัดและส่วนราชการที่พิจารณากลั่นกรองการเสนอขอพระราชทานต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง และพิจารณาถึงพฤติกรรมและผลการปฏิบัติราชการกรณีอื่นๆ ที่ผ่านมาประกอบด้วย โดยมีแนวทางในการพิจารณา ดังนี้
3.1) ตั้งแต่เรื่องเข้ารับราชการจนถึงปีที่เสนอขอพระราชทาน ต้องไม่เคยกระทำผิดวินัย ถูกทำทัณฑ์บน หรือถูกว่ากล่าวตักเตือน ทั้งนี้หมายรวมถึง กรณีข้าราชการฝ่ายพลเรือนซึ่งโอนมาจากข้าราชการทหาร ตำรวจด้วยหากเคยถูกสั่งลงทัณฑ์ทางวินัยหรือลงโทษทางวินัยขณะรับราชการทหารหรือตำรวจ ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการรับราชการมาด้วยความเรียบร้อย และไม่อยู่ในเกณฑ์เสนอขอพระราชทานเหรียญฯ
(ต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี