วันพฤหัสบดี ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2562, 02.00 น.
แก้ปัญหาคนล้นคุก(จบ) ‘ทัศนคติสังคม’ต้องเปลี่ยน

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อสัปดาห์ก่อน “ที่นี่แนวหน้า” นำข้อห่วงใยของสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 25 ก.ค. 2562 เกี่ยวกับปัญหา “ผู้ต้องขังล้นเรือนจำ”โดยนำเสนอคู่กับความเห็นของอัยการและอดีตเจ้าหน้าที่ตำรวจในประเด็นการจับกุม สอบสวนและประกันตัว ซึ่งเป็นที่มาของคนเกือบ 6 หมื่นราย ที่ถูกคุมขังระหว่างคดียังไม่สิ้นสุด และบางรายเป็นแพะเพราะศาลยกฟ้องหรืออัยการสั่งไม่ฟ้อง

ประเด็นดังกล่าวว่าแก้ยากแล้วเพราะเกี่ยวข้องกับขอบเขตอำนาจของหลายหน่วยงาน ทั้งตำรวจ อัยการ รวมถึงฝ่ายปกครองสังกัดกระทรวงมหาดไทย (เช่น นายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัด) แต่สิ่งที่จะกล่าวถึงในสัปดาห์นี้ต้องบอกว่าแก้ยากกว่า เพราะเกี่ยวข้องกับทัศนคติของสังคมด้วย นั่นคือ “ระบบงานราชทัณฑ์และประวัติอาชญากรรม” ที่มีผลอย่างมากต่อการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่พ้นโทษไปแล้ว


7 ก.ค. 2562 สำนักข่าว BBC ของอังกฤษ เสนอรายงานพิเศษ “How Norway turns criminals into good neighbours” (และเว็บไซต์ BBC ภาคภาษาไทย แปลไว้ในชื่อ “เรือนจำนอร์เวย์เผยเคล็ดลับเปลี่ยน ‘“อาชญากร” เป็น “เพื่อนบ้านที่ดี” ของชุมชน” วันที่ 10 ก.ค. 2562) บอกเล่าเรื่องราวของเรือนจำในประเทศนอร์เวย์ ที่ดูแล้วความเป็นอยู่แทบจะไม่ต่างจากโรงแรม เว้นแต่ผู้พักอาศัยไม่ได้รับอิสรภาพให้ออกไปภายนอกจนกว่าจะครบกำหนดโทษเท่านั้น

อาร์ ฮอยดัล (Are Hoidal) ผู้บัญชาการเรือนจำฮัลเดน (Halden Prison) บอกเล่ากับผู้สื่อข่าว BBC ที่เข้าไปดูงานว่า “ระบบงานราชทัณฑ์ของนอร์เวย์เริ่มเปลี่ยนแปลงจากแนวคิด “แก้แค้นให้สังคม” สู่แนวคิด “คืนคนดีให้สังคม” ในช่วงยุค 1990 (ปี 2533-2542)” แนวคิดใหม่นี้พยายามสร้างสภาพแวดล้อมในเรือนจำให้ใกล้เคียงสังคมปกติที่สุด เช่น ลดจำนวนชั่วโมงที่นักโทษถูกขังในแต่ละวันลงโดยส่งเสริมให้ใช้เวลาส่วนใหญ่เรียนหนังสือหรือฝึกอาชีพแทน ขณะที่ผู้คุมนอกจากทำหน้าที่รักษาระเบียบวินัยของเรือนจำแล้วยังต้องเป็นแบบอย่างและที่ปรึกษาที่ดีด้วย

พัศดีเรือนจำผู้นี้ ฝากคำพูดที่น่าคิดว่า “หากเราปฏิบัติต่อนักโทษไม่ต่างจากสัตว์ ก็เท่ากับว่าในวันหนึ่งเราจะต้องปล่อยสัตว์ร้ายกลับคืนไปสู่ละแวกบ้านของคุณ (If we treat inmates like animals in prison, then we will release animals on to your street.)” ซึ่งในอดีตนอร์เวย์มีปัญหาผู้พ้นโทษไปแล้วทำผิดซ้ำถึงร้อยละ 70 แต่ปัจจุบันพบผู้กระทำผิดซ้ำหลังพ้นโทษไปแล้วไม่เกิน 2 ปี เหลือร้อยละ 20 และหลังพ้นโทษไปแล้วไม่เกิน 5 ปี ร้อยละ 25

แน่นอนอาจจะมีผู้บอกว่าเมืองไทยคงทำไม่ได้เพราะไม่ใช่ประเทศร่ำรวย ซึ่งมุมหนึ่งก็เป็นความจริงเพราะรายงานข่าวข้างต้นของ BBC ผู้เกี่ยวข้องกับงานราชทัณฑ์ก็ยอมรับว่าระบบเรือนจำแบบนี้ค่าใช้จ่ายสูงมากและกังวลว่าหากเศรษฐกิจนอร์เวย์ไม่ดีระบบจะถูกลดคุณภาพลงหรือไม่ แต่อีกมุมหนึ่ง อย่างที่กล่าวไปตอนต้นเรื่องทัศนคติสังคม สำหรับคนไทยนั้นแม้กระทั่งการปรับปรุงเรือนจำให้มีสุขอนามัยพื้นฐานก็ยังรับกันไม่ค่อยได้

ย้อนไปเมื่อ 7 ธ.ค. 2560 เว็บไซต์แนวหน้าออนไลน์ เคยเสนอข่าว “ไอลอว์ชี้แก้ปัญหาส่วยนักโทษต้องปรับปรุงสุขอนามัยคุก” กรณีที่ ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน(iLaw) ไปกล่าวในงานเสวนา “ตามหาคน (โกง) หาย”เสนอแนะว่า หลักการของโทษจำคุกคือการจำกัดอิสรภาพไม่ให้สามารถไปไหนมาไหนได้อย่างเสรี เป็นการทรมานจิตใจ แต่ไม่ใช่การทรมานร่างกาย

ดังนั้นปรับปรุงสุขอนามัยพื้นฐาน เช่น มีน้ำสะอาดได้รับการรักษาพยาบาล มีอาหารที่ไม่หรูหราแต่ต้องมีคุณค่าในระดับหนึ่ง ก็จะแก้ปัญหาการจ่ายผลประโยชน์เพื่อให้ได้รับสิทธิพิเศษในเรือนจำได้ ผลคือ “มีความเห็นคัดค้านมากมาย” เช่นเดียวกันกับประเด็นประวัติอาชญากรรม “ประเทศไทยยังมีการกำหนดห้ามประกอบอาชีพสำหรับผู้เคยต้องโทษ อีกทั้งเป็นการห้ามอย่างไม่จำกัดเวลาและแทบไม่จำกัดประเภทความผิด” ตามที่เคยเสนอข่าว “ชี้กฎหมายไทยตอกย้ำอคติ “คนคุก” ไม่รับเข้าทำงาน-บีบจนตรอกเสี่ยงทำผิดซ้ำ” ไปเมื่อ 25 ม.ค. 2560

ข่าวที่สองนี้อ้างถึงการประชุมขับเคลื่อนเชิงนโยบายเรือนจำสุขภาวะ ครั้งที่ 2 เรื่อง “สานพลังชุมชนเพื่อคืนคนดีสู่สังคม แต่กฎหมายกลับห้ามคนพ้นโทษทำงาน” โดยนักวิจัยจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กุลภา วจนสาระ ยกตัวอย่างตั้งแต่เจ้าหน้าที่รัฐทุกประเภท ไปยังบรรดาอาชีพที่ยึดถือ “เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ” อย่างแพทย์และทนายความ ล้วนห้ามไว้ทั้งสิ้น ในขณะที่บางอาชีพ เช่น คนขับรถสาธารณะ (อาทิ ขับแท็กซี่-มอเตอร์ไซค์รับจ้าง) กฎหมายให้ทำได้หากพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี

ซึ่งในงานเดียวกัน รศ.ดร.นภาภรณ์ หะวานนท์ ตั้งข้อสังเกตถึงอาชีพ “นวดแผนไทย” ที่ขณะนั้นมีกฎหมายใหม่ออกมาคือ พ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559 กำหนดว่า “ผู้จะเป็นพนักงานนวดต้องพ้นโทษมาไม่น้อยกว่า 1 ปี และห้ามผู้เคยต้องโทษเป็นผู้จัดการร้านหรือเจ้าของร้านตลอดชีวิต”เพราะเป็นข้อห้ามที่ไม่เป็นธรรม “แม้มีประสบการณ์นวดมาเป็นสิบปีจนสามารถตั้งกิจการได้ก็ไม่มีช่องทางจากกฎหมายฉบับนี้” และกังวลว่า “ถ้าอาชีพนี้ออกข้อห้ามได้ อาชีพอื่นๆ จะทำได้บ้างหรือไม่” กลายเป็นตั้งแง่กีดกันไปเรื่อยๆ

ล่าสุดแม้จะมีรายงานเมื่อ 16 เม.ย. 2562 ว่ามีการออก พ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2562 สาระสำคัญคือ “ตัดข้อห้ามของพนักงานนวดเรื่องต้องพ้นโทษมาไม่น้อยกว่า 1 ปีออก แต่ยังไม่ได้แก้ไขเรื่องการห้ามเป็นผู้จัดการหรือเจ้าของร้านแบบตัดสิทธิ์ตลอดชีวิต” ทั้งนี้ในงานประชุมเรือนจำสุขภาวะข้างต้นมีการเปิดเผยว่า นวดแผนไทยเป็นวิชาชีพที่ผู้ต้องขังหญิงนิยมเรียนมากที่สุด ส่วนการศึกษาระดับปริญญาตรีที่กรมราชทัณฑ์ทำร่วมกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) พบว่า ผู้ต้องขังนิยมเรียนคณะนิติศาสตร์มากที่สุด

รวมถึง “การสร้างระบบดูแลผู้ที่เพิ่งถูกปล่อยตัว”ในงานเสวนา “ประวัติอาชญากรรม : จำกัดสิทธิคนหรือเพื่อสังคมที่ปลอดภัย” ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ประวัติอาชญากรรม!!! ตราบาปจองจำ “คนมีอดีต”-นสพ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 23 ม.ค. 2560) รศ.ดร.ปกป้อง ศรีสนิท อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยกตัวอย่าง ฝรั่งเศส ที่มีระบบคุมประพฤติ ว่า “งานคุมประพฤติของฝรั่งเศสทำทั้ง 2 ด้าน คือควบคุมและช่วยเหลือ” โดยศาลจะสั่งให้มารายงานตัวเป็นระยะๆ พร้อมกับสอบถามว่ามีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร มีงานทำหรือไม่ เป็นต้น

แต่ทั้งหมดคงจะเกิดขึ้นไม่ได้ ตราบใดที่สังคมไทยยังยึดหลักคิด “แก้แค้น-ตาต่อตาฟันต่อฟัน” เป็นสรณะ ดังที่ผ่านมาใครเสนอแนะสิ่งที่ว่ามานี้ ก็มักจะถูกคัดค้านทำนอง “ให้ลำบากและไม่มีอนาคตแบบนี้ดีแล้ว..คนจะได้ไม่กล้าทำผิด” อยู่ร่ำไป!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
09:52 น. ปชป.เลือดไหลไม่หยุด! 'ชานน สัมพันธารักษ์'ยื่นใบลาออก รับไม่ได้อุดมการณ์เปลี่ยน
09:38 น. ถ้าผมไม่เxือก แล้วใครจะเxือก! วาทะ 'ทักษิณ' จุดเดือด 'นักข่าวอาวุโส' ลั่นดูถูกคนไทยเกินรับไหว
09:25 น. ถล่มยับ! เปแอสเชทะลุชิงสโมสรโลก
09:15 น. 'กอบศักดิ์' ฟันธง 'ภาษีทรัมป์' รอบนี้ของจริง! เตือนไทยจับตาโครงสร้างการค้าโลกใหม่
09:06 น. รัฐบาลย้ำต้องขุดรากถอนโคนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลังออกหมายจับแก๊ง 'ก๊ก อาน'
ดูทั้งหมด
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ปราชญ์ สามสี'ผ่าเกมตระกูล'ชินวัตร-ฮุน' ทำไมคนหนึ่งเงียบ อีกคนดิ้น ที่แท้!!
‘สม รังสี’เปิดไทม์ไลน์แฉ‘แรงจูงใจ’เบื้องหลัง‘ฮุน เซน’เล่นเกมกฎหมายถอดสัญชาติกัมพูชา
ดูทั้งหมด
‘อนุทิน VS แพทองธาร’เรื่อง‘กาสิโน’
ประชาธิปไตยมักถูกท้าทายอยู่เสมอ
ไร้เพื่อน?
บุคคลแนวหน้า : 10 กรกฎาคม 2568
รัฐบาลอุ๊งอิ๊งค์ไร้ฝีมือแท้ทรู คือ ตัวถ่วงประเทศไทย
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ถล่มยับ! เปแอสเชทะลุชิงสโมสรโลก

ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2568

'นิธิพัฒน์'ซัดเจ็บ! 'นักการเมืองสันดานเสีย' หวังประโยชน์ส่วนตน ทำชาติป่วน

'แพรรี่'เทศน์พระเอี่ยวสีกา สึกออกมาก็แค่ตาแก่คนหนึ่ง สีกาก็ร้ายไปเป็นเปรตแน่นอน

'ทรัมป์'ร่อนจดหมายภาษีอีก8ประเทศ 'บราซิล'อ่วมเจอรีดภาษีนำเข้า50%เซ่นปม'โบลโซนาโร'

'สมเด็จฮุน เซน'กลัวมากถ้า'คนไทย'จะรักตนเอง แซะเจ็บไทยควรโฟกัสผู้นำตัวเองดีกว่า

  • Breaking News
  • ปชป.เลือดไหลไม่หยุด! \'ชานน สัมพันธารักษ์\'ยื่นใบลาออก รับไม่ได้อุดมการณ์เปลี่ยน ปชป.เลือดไหลไม่หยุด! 'ชานน สัมพันธารักษ์'ยื่นใบลาออก รับไม่ได้อุดมการณ์เปลี่ยน
  • ถ้าผมไม่เxือก แล้วใครจะเxือก! วาทะ \'ทักษิณ\' จุดเดือด \'นักข่าวอาวุโส\' ลั่นดูถูกคนไทยเกินรับไหว ถ้าผมไม่เxือก แล้วใครจะเxือก! วาทะ 'ทักษิณ' จุดเดือด 'นักข่าวอาวุโส' ลั่นดูถูกคนไทยเกินรับไหว
  • ถล่มยับ! เปแอสเชทะลุชิงสโมสรโลก ถล่มยับ! เปแอสเชทะลุชิงสโมสรโลก
  • \'กอบศักดิ์\' ฟันธง \'ภาษีทรัมป์\' รอบนี้ของจริง! เตือนไทยจับตาโครงสร้างการค้าโลกใหม่ 'กอบศักดิ์' ฟันธง 'ภาษีทรัมป์' รอบนี้ของจริง! เตือนไทยจับตาโครงสร้างการค้าโลกใหม่
  • รัฐบาลย้ำต้องขุดรากถอนโคนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลังออกหมายจับแก๊ง \'ก๊ก อาน\' รัฐบาลย้ำต้องขุดรากถอนโคนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลังออกหมายจับแก๊ง 'ก๊ก อาน'
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

5 ก.ค. 2568

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

17 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved