วันอาทิตย์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2563, 02.00 น.
‘เชื้อดื้อยา’กับแวดวงปศุสัตว์

ดูทั้งหมด

  •  

“อโรคยา ปรมา ลาภา..ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ”คนเราเกิดมาแม้รู้ว่ามีเวลาจำกัดถึงคราวก็ต้องจากโลกนี้ไปแต่ระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่เชื่อเหลือเกินว่าทุกคนย่อมอยากมีสุขภาพดี ถึงกระนั้นเราๆ ท่านๆ ล้วนต้องเคยป่วยไข้ไม่มากก็น้อยกัน ซึ่งด้วยความที่มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญา จึงได้คิดค้น “ยารักษาโรค” จากสมุนไพรดั้งเดิมมาสู่สารสังเคราะห์ทางเคมีในปัจจุบันสำหรับบรรเทาอาการไม่สบายต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย

หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ คือ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง (Alexander Fleming) ชายชาวสกอตแลนด์ ค้นพบ “เพนิซิลลิน(Penicillin)” ในปี 2471 ยามหัศจรรย์นี้ได้ทำให้มนุษย์อันเป็นสิ่งมีชีวิตแสนเปราะบาง สามารถเสียชีวิตได้ง่ายๆแม้แต่การมีบาดแผลเพียงเล็กน้อย ไม่ต้องเผชิญชะตากรรมเช่นนั้นอีกต่อไป หลังจากนั้นมนุษยชาติก็พัฒนายาประเภทนี้มาอย่างต่อเนื่องโดยเรียกว่า “ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)”กระทั่งในช่วงไม่กี่ปีล่าสุด “ฝันร้าย” ก็ได้กลับมาเยือนเผ่าพันธุ์ของเราอีกครั้ง


เมื่อปลายปีที่แล้ว ช่วงกลางเดือนธ.ค. 2562 ประภัตรโพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปกล่าวในงานเปิดตัวโครงการวิจัย “สุขภาพหนึ่งเดียวและการดื้อยาปฏิชีวนะในประเทศไทย” ซึ่งจัดโดย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ มหาวิทยาลัยบริสตอล สหราชอาณาจักร สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และเครือข่าย โดยระบุว่า การค้นพบยาต้านจุลชีพในกลุ่มยาปฏิชีวนะ ถือเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ในโลก เนื่องจากยาต้านจุลชีพในกลุ่มยาปฏิชีวนะที่ได้รับการขนานนามว่า “ยาปาฏิหาริย์” ได้ช่วยชีวิตคนนับล้านที่ป่วยจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

ซึ่งนั่นทำให้ยาปฏิชีวนะได้กลายเป็นเสาหลักของการแพทย์แผนปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม “การใช้ยาจุลชีพที่เพิ่มมากขึ้น และใช้อย่างไม่เหมาะสมในปัจจุบัน ทั้งในการแพทย์ การสาธารณสุข การสัตวแพทย์ และการเกษตร ได้กลายเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้แบคทีเรียดื้อยาเร็วขึ้น” จึงทำให้ยาปฏิชีวนะที่ใช้อยู่เริ่มไม่มีประสิทธิภาพในการรักษา ทำให้จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณการใช้และความเข้มข้นของยามากขึ้น นอกจากนี้การใช้ยาต้านจุลชีพในวงกว้างและกำจัดอย่างไม่ถูกวิธียังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

“การสำรวจแหล่งน้ำนิ่งของฟาร์มหมู พบเชื้อดื้อยาสูงกว่าตัวอย่างน้ำนิ่งจากลำคลอง น้ำจากบ่อเลี้ยงกุ้ง และบ่อเลี้ยงปลา รวมถึงพบการนำยาต้านจุลชีพไปใช้ในการรักษาโรคพืช เช่น โรคกรีนนิ่งในพืชตระกูลส้มปัญหาเชื้อดื้อยาที่เพิ่มความรุนแรงเป็นผลมาจากหลายเหตุปัจจัยที่เชื่อมโยงกันทั้งในด้านการแพทย์และสาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคม การคมนาคมระหว่างประเทศ และอื่นๆ ทำให้องค์การอนามัยโลกเน้นย้ำว่าปัญหาเชื้อดื้อยากำลังเป็นภัยคุกคามต่อภาวะสุขภาพและระบบสาธารณสุขทั่วโลก และต้องการความร่วมมือกันของทุกฝ่าย” รมช.เกษตรฯ กล่าว

เช่นเดียวกับ รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อ้างถึงข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ที่พบว่า “ประเทศไทยมีการติดเชื้อดื้อยาประมาณปีละ 87,751 ครั้ง และเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 40” ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อดื้อยาต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น 3.24 ล้านวัน มูลค่ายาต้านจุลชีพที่ใช้รักษาคิดเป็น 2,539-6,084 ล้านบาท ก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ
โดยรวมไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ “เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพเป็นปัญหาไร้พรมแดน” เพราะสามารถแพร่กระจายข้ามขอบเขตพื้นที่ ประเทศ และทวีปไปทั่วโลกได้ และยังสามารถแพร่กระจายผ่านตัวกลางระหว่างคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย ดังนั้นประเทศไทยจึงเป็นหนึ่งในประเทศที่ต้องแสดงความรับผิดชอบในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมเพื่อลดความรุนแรงของปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ

รศ.นพ.สรนิตยังกล่าวอีกว่า แม้จะมีความพยายามวิจัยเพื่อรับมือปัญหาเชื้อดื้อยา เช่น การพัฒนายาปฏิชีวนะชนิดใหม่ การใช้ “แบคเทอริโอเฟจ” ซึ่งเป็นไวรัสที่ฆ่าแบคทีเรียได้ ชุดวินิจฉัยโรคที่ทันสมัย และอื่นๆ เช่น โครงการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนายาปฏิชีวนะใหม่ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีเป้าหมายว่าจะมียาปฏิชีวนะชนิดใหม่ เพื่อใช้กับเชื้อดื้อยาจำนวน 10 รายการ ภายในปี 2563ถึงกระนั้น “ไม่มีอะไรยืนยันได้ว่าโครงการจะสำเร็จตามเป้าหมายหรือไม่” ดังนั้น “การชะลออัตราการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียให้ช้าที่สุด” คือหนทางที่ดีที่สุด ณ ขณะนี้

น.สพ.ปานเทพ รัตนากร ประธานเครือข่ายสุขภาพหนึ่งเดียว มหาวิทยาลัยไทย ในฐานะสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กล่าวว่า การแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาจุลชีพนั้นจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน จะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ “เชื้อดื้อยานั้นไม่เกิดกับมนุษย์อย่างเดียว แต่เกิดกับปศุสัตว์และสิ่งแวดล้อมด้วย” ซึ่งเป็นวงจรร่วมกัน เมื่อเป็นเช่นนั้นการบริโภคเนื้อหมูหรือเนื้อไก่ที่ได้รับยาปฏิชีวนะจึงมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อดื้อยาเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้แล้วยังปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม เพราะว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงปลาและกุ้งที่มีการปล่อยน้ำทิ้งออกไปสู่ภายนอก

ด้าน ร.ต.พงศธร ศิริสาคร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ให้ความเห็นว่า ปัญหาเชื้อดื้อยาเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงอยู่กับวิถีทางเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการทำการเกษตร ปศุสัตว์ ประมง และอุตสาหกรรม ซึ่งงานวิจัยนี้จะช่วยสามารถเชื่อมโยงไปสู่การทำความเข้าใจในการมีสุขภาพดีของมนุษย์ที่สัมพันธ์การมีสุขภาพดีของสัตว์และสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค การที่โครงการวิจัยได้เลือก อ.บางเลนจ.นครปฐม ไม่เพียงเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่แต่ยังเป็นประโยชน์ของสังคมอีกด้วย

ย้อนกลับไปที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในงานนี้ก็มีการเปิดเผยถึงเป้าหมายที่กระทรวงต้องไปให้ถึง เช่นในปี 2564 จะต้องมีการลดการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์ลงร้อยละ 30 มีการให้ความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในกลุ่มเกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 20และเร่งพัฒนาระบบจัดการการดื้อยายาต้านจุลชีพที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล โดยกำหนดให้มีการใช้ยาต้านจุลชีพตามใบสั่งสัตวแพทย์ และลดการใช้ยาต้านจุลชีพในฟาร์มปศุสัตว์และสัตว์น้ำ

นอกจากนี้ประเทศไทยยังร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เพื่อดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านการจัดการปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพในภาคเกษตร ปศุสัตว์ และสัตว์น้ำ ให้สอดคล้องกับแผนงานของสหประชาชาติ และองค์กรระหว่างประเทศ

“ขึ้นปีใหม่ 2563” ต้องบอกว่าเป็นงานหนักจริงๆสำหรับกระทรวงนี้ เพราะนอกจากต้องติดตามเรื่องการแบน3 สารเคมีในภาคเพาะปลูกแล้ว ยังต้องเฝ้าระวังภัยจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่ถูกวิธีในแวดวงปศุสัตว์อีก!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
16:22 น. พท.มั่นใจ 3 เดือนเห็นผลชัดเจน ปราบ'อาชญากรรม-ยาเสพติด'
16:12 น. 'นักการเมือง'ครอบงำ?! ความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตย
16:09 น. 'ดิว อริสรา'ลุยหาเงินใช้หนี้ เปิดไลฟ์ขายของ 2 วันยอดทะลุ 2 ล้าน
16:01 น. (คลิป) อดีตฝ่ายแค้น'พรรคส้ม'ร้อนรน! เมื่อคนรุ่นใหม่เริ่มตาสว่าง! ตัวปัญหาคือ'ทักษิณ'ไม่ใช่'ทหาร'
15:50 น. (คลิป) เจาะลึก! เล่ห์เหลี่ยม'พรรคส้ม' วาทกรรมลอยๆ ร่างนิรโทษกรรม ม.112
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
อื้อหือ! เพจดังเปิดภาพ 'สีกากอล์ฟ' ย้อนอดีต 10 ปี ไม่แปลกใจทำไมพระหวั่นไหว
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
ดูทั้งหมด
การดูแลรักษาสุนัขมีค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติ
ผู้ว่าฯแบงก์ชาติต้องมีกระดูกสันหลัง
บุคคลแนวหน้า : 13 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-ความเก่ง
บทบรรณาธิการ : 13 กรกฎาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'นักการเมือง'ครอบงำ?! ความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตย

'ดิว อริสรา'ลุยหาเงินใช้หนี้ เปิดไลฟ์ขายของ 2 วันยอดทะลุ 2 ล้าน

เลย์ออฟครั้งใหญ่! 'กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ'ปลดเจ้าหน้าที่ 1,350 คน

รวบหนุ่มไทยมุดชายแดน! ขายบัญชีม้าให้แก๊งคอลฯ พบมีคดีออนไลน์17คดี

รัฐผ่อนปรนรถบัสสองชั้นวิ่ง‘6 เส้นทางเสี่ยง’ได้180วัน เริ่ม 21 ก.ค.

เกมเศรษฐี’เชลซี’vs‘เปแอสเช’:ใครจะครองแชมป์ทีมโลก2025

  • Breaking News
  • พท.มั่นใจ 3 เดือนเห็นผลชัดเจน ปราบ\'อาชญากรรม-ยาเสพติด\' พท.มั่นใจ 3 เดือนเห็นผลชัดเจน ปราบ'อาชญากรรม-ยาเสพติด'
  • \'นักการเมือง\'ครอบงำ?! ความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตย 'นักการเมือง'ครอบงำ?! ความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตย
  • \'ดิว อริสรา\'ลุยหาเงินใช้หนี้ เปิดไลฟ์ขายของ 2 วันยอดทะลุ 2 ล้าน 'ดิว อริสรา'ลุยหาเงินใช้หนี้ เปิดไลฟ์ขายของ 2 วันยอดทะลุ 2 ล้าน
  • (คลิป) อดีตฝ่ายแค้น\'พรรคส้ม\'ร้อนรน! เมื่อคนรุ่นใหม่เริ่มตาสว่าง! ตัวปัญหาคือ\'ทักษิณ\'ไม่ใช่\'ทหาร\' (คลิป) อดีตฝ่ายแค้น'พรรคส้ม'ร้อนรน! เมื่อคนรุ่นใหม่เริ่มตาสว่าง! ตัวปัญหาคือ'ทักษิณ'ไม่ใช่'ทหาร'
  • (คลิป) เจาะลึก! เล่ห์เหลี่ยม\'พรรคส้ม\' วาทกรรมลอยๆ ร่างนิรโทษกรรม ม.112 (คลิป) เจาะลึก! เล่ห์เหลี่ยม'พรรคส้ม' วาทกรรมลอยๆ ร่างนิรโทษกรรม ม.112
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว

ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว

12 ก.ค. 2568

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

5 ก.ค. 2568

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved