วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2563, 02.00 น.
เมืองแห่งโอกาส..แต่ไม่น่าอยู่

ดูทั้งหมด

  •  

ผ่านพ้นไปแล้วกับเทศกาลวันหยุดยาวเฉลิมฉลองช่วงปีใหม่ซึ่งภาพเดิมๆ ที่ปรากฏทุกปีคือคลื่นมหาชนแห่เดินทางออกจาก กรุงเทพมหานคร (กทม.) ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปีเก่า และกลับมาในช่วงสัปดาห์แรกของปีใหม่ สะท้อนความเป็น “เมืองโตเดี่ยว” ของเมืองหลวงแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี ดังที่ทราบกันว่า ประชากรที่มีทะเบียนบ้านในกรุงเทพฯ มีอยู่ราว 5-6 ล้านคน แต่หากนับรวมประชากรที่อยู่อาศัยจริง อันหมายถึงคนไทยจากจังหวัดอื่นๆที่เข้ามาเรียนหรือทำงานในกรุงเทพฯ ด้วยแล้ว จะมีมากราว 10-15 ล้านคนเลยทีเดียว

เมื่อประกอบกับการที่ “ประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งรถยนต์” ทั้งด้วยค่านิยมหน้าตาทางสังคม และด้วยความจำเป็นเพราะระบบขนส่งมวลชนไม่สะดวกเพียงพอ ก็ทำให้ “กรุงเทพฯ เป็นมหานครแห่งรถติด” ไปโดยปริยาย ซึ่งเชื่อมโยงกับปัญหา “ฝุ่นพิษ PM2.5” หรือฝุ่นขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน ที่ต้นตอของปัญหาในกรุงเทพฯ มาจากปริมาณการจราจรที่หนาแน่น แตกต่างจากจังหวัดอื่นๆ ที่มาจากการเผาในที่โล่งรวมถึงโรงงานอุตสาหกรรม


“วิถีชีวิตในกรุงเทพฯ ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งกายและจิตอย่างมีนัยสำคัญ” ในช่วงปลายปี 2562 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เผยแพร่2 บทความที่เกี่ยวกับสุขภาพของคนเมือง อาทิ บทความ “Sick building syndrome ภัยคนเมือง 2020” กล่าวถึงสังคมเมืองที่ผู้คนจำนวนมากอาศัยอยู่บนตึกสูงและเผชิญกับการจราจรติดขัด ซึ่งในปี 2563 หรือ ค.ศ.2020 คาดว่าจะมีผู้ป่วยจากโรคที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตแบบนี้เพิ่มขึ้น

ศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล ผู้อำนวยการศูนย์เป็นเลิศด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืดและระบบหายใจโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ อธิบายเกี่ยวกับ“โรคตึกเป็นพิษ (Sick building syndrome)” ว่าไม่ได้หมายถึงโรคชนิดเดียว หากแต่เป็นกลุ่มโรคที่แสดงอาการเมื่อต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงจากการใช้ชีวิตในอาคาร ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงานหรือที่อยู่อาศัย ซึ่งวงการแพทย์ในปัจจุบันให้ความสำคัญและเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด เนื่องจากพบว่าประชากร 1 ใน 3 ของผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองมีประวัติป่วยเป็นกลุ่มโรคนี้

โดยสำหรับมลพิษที่เกี่ยวข้องกับตัวอาคารมีที่มาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ที่ระบบระบายอากาศไม่ถ่ายเท พรมทางเดินมีไรฝุ่น มีการตกแต่งใหม่ มีการใช้สีทาผนังซึ่งเต็มไปด้วยสารเคมีต่างๆ มีความชื้น รอยรั่วซึมซึ่งทำให้เกิดเป็นเชื้อราตามฝาผนัง ทั้งหมดส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการ อ่อนเพลียง่าย ปวดหัว ไอ จาม คลื่นไส้ หายใจไม่สะดวก ฯลฯ

“การเอาตัวเองออกมาข้างนอกจะทำให้รู้สึกดีขึ้น แต่สำหรับผู้ที่มีประวัติป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ โรคทางเดินหายใจ จะได้รับผลกระทบมากกว่าผู้อื่น อาจมีอาการรุนแรงมากยิ่งขึ้น เช่น ผู้ป่วยโรค หอบก็จะเสี่ยงอาการกำเริบมากขึ้น แต่ถึงคนคนนั้นจะไม่ได้เป็นโรค ครอบครัวไม่ได้มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ แต่ถ้าใช้ชีวิตอยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยงทุกวันก็จะกลายเป็นผู้ป่วยได้ในที่สุด” ศ.พญ.อรพรรณ กล่าว

นอกจากนี้ด้วยความที่ “พื้นที่ในแนวดิ่ง (อาคารสูง) ไม่เอื้ออำนวย” ยังทำให้คนในเมืองสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคประเภท “ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)” ซึ่งมาจากการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆเช่นเดียวกับการเกิด “กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs :Non-Communicable diseases)” ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากวิธีการใช้ชีวิตที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่นการบริโภคอาหารหวาน-มัน-เค็มเกินมาตรฐานสุขอนามัย และขาดการออกกำลังกาย

กับอีกบทความหนึ่งที่ตั้งชื่อเกาะกระแสหนังดัง “ฮาวทูทิ้ง..ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ” ภาพยนตร์ไทยที่เข้าฉายส่งท้ายปี 2562 คือ “ฮาวทูจัดบ้านรับปีใหม่ ทิ้งอย่างไรให้ห่างไกลฝุ่นพิษ” กล่าวถึงการกองสุมสิ่งต่างๆไว้ในที่พักอาศัย เป็นต้นทางของปัญหาสุขภาพกายและจิตรวมถึงเป็นสาเหตุหนึ่งของกลุ่มโรคตึกเป็นพิษ ที่เป็นผลมาจากความปิดทึบ อากาศไม่ถ่ายเท ฝุ่นละอองและเชื้อราที่สะสมไว้จำนวนมากด้วย

ผศ.ดร.พิมลมาศ วรรณคนาพล อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มธ.กล่าวว่า สาเหตุสำคัญของการเกิดกลุ่มโรคตึกเป็นพิษคืออากาศที่ระบายไม่ดี โดยเฉพาะในห้องแอร์ที่ไม่มีการเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทจากภายนอก เมื่ออากาศไม่หมุนเวียน บรรดาฝุ่นละออง สารเคมี หรือเชื้อราที่เกิดขึ้นก็จะสะสมตัว และก่อให้เกิดผลกระทบกับผู้ที่อยู่ภายใน เช่น ตามบ้านพักอาศัยอาจมีการใช้สารเคมีทำความสะอาด สเปรย์ต่างๆ หรือในอาคารสำนักงาน อาจมีละอองจากพวกหมึกพิมพ์ปรินเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ

สิ่งเหล่านี้เมื่อมารวมกับการระบายอากาศที่ไม่ดี ก็ยังยิ่งทำให้คนเจ็บป่วยได้ รวมถึงบรรดาข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น เฟอร์นิเจอร์ พรม หมอน ผ้าม่านตุ๊กตา ฯลฯ ที่นับเป็นแหล่งรวมของเชื้อโรค รวมถึงการปลูกต้นไม้ไว้ในห้อง แม้ว่าจะทำให้รู้สึกร่มรื่น แต่ก็มาพร้อมกับความชื้นที่ทำให้เกิดเชื้อราสะสมได้ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อโรคพืชหรือแมลงที่จะเข้ามาอยู่ในห้องอีกด้วย “ผู้อยู่ในคอนโดมิเนียมจะเผชิญกับปัญหามากกว่าผู้ที่อยู่บ้าน” ดังนั้นควรติดพัดลมดูดอากาศในห้องและเครื่องดูดควันในครัว พร้อมกับทำความสะอาดที่พักอย่างสม่ำเสมอ

“คำแนะนำในการจัดบ้านรับปีใหม่ 1.ลดแหล่งเก็บกักฝุ่นภายในห้องให้น้อยที่สุด อะไรทิ้งได้ให้ทิ้งไป2.หมั่นทำความสะอาดห้องสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง3.ล้างแอร์ทุกๆ 6 เดือน 4.หากห้องใดอยู่แล้วรู้สึกไม่ดีขึ้น ควรเพิ่มตัวระบายอากาศ ทั้งนี้เริ่มจากง่ายที่สุดคือการทิ้งข้าวของที่ไม่จำเป็นออกให้หมด แต่คนมักคิดว่ามีเครื่องฟอกอากาศแล้วทุกอย่างจะจบ จริงๆ มันไม่จบ เพราะต่อให้คุณมีเป็นสิบเครื่อง ถ้าห้องไม่เคยทำความสะอาด ไม่มีการระบาย สุดท้ายก็จะป่วย” อาจารย์พิมลมาศ ระบุ

ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ “ที่นี่แนวหน้า” คงไม่มีทางออกให้เพราะจะจำกัดการใช้รถยนต์ส่วนตัวเพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดซึ่งเชื่อมโยงกับฝุ่นพิษ PM2.5 (รวมถึงปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน เช่น การไม่มีโอกาสเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เพราะคนกรุงเทพฯ เสียเวลาหลายชั่วโมงต่อวันไปกับการจราจร จนน้อยคนที่จะทำกับข้าวกินเองได้)ก็เชื่อว่าคงเป็นไปไม่ได้ เห็นได้จากไม่ว่าใครหรือรัฐบาลชุดไหนโยนหินถามทางเรื่องนี้ก็จะเจอประชาชนขว้างก้อนหินสวนกลับทันที และตราบใดที่กรุงเทพฯ ยังเป็นเมืองเดียวที่เป็นแหล่งงานแหล่งโอกาสของทุกคนในประเทศไทย..

คำที่หลายคนว่าไว้ “ขอลำบากในเมืองกรุงสร้างเนื้อสร้างตัว..ก่อนไปใช้ชีวิตที่บ้านนอกหลังเกษียณ” อันเป็น “ฉากชีวิต” ที่สะท้อนภาพ “กรุงเทพฯ เมืองสำหรับหาและเก็บเงิน..แต่ไม่ดึงดูดการอยู่อาศัย” ไปอีกนาน..แต่ก่อนหน้านั้นก็ขอให้ทุกท่านรักษาสุขภาพรักษาเนื้อรักษาตัวไว้ตามคำแนะนำของนักวิชาการข้างต้นบั้นปลายจะได้ไม่ต้องเสียเงินเสียทองที่ลำบากเก็บหอมรอมริบไปกับค่ารักษาพยาบาลและหยูกยา!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
08:33 น. รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว
08:27 น. 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
08:01 น. ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
07:56 น. หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า
07:35 น. ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด
ดูทั้งหมด
วอน'ญี่ปุ่น'ช่วยหย่าศึก! 'ฮุน เซน'ขอร้องให้ช่วยพูดกับไทย จี้ให้ศาลโลกช่วยตัดสินปมพื้นที่พิพาท
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
'ลุงเตีย'ลำบากใจ!ร่วม'ฮุนเซน'ตรวจชายแดนท่ามกลางสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด
'ปานเทพ' พอใจภาพรวมชุมนุม 28 มิ.ย. เผยยอดเงินหนุน 'มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน' 24 ล้านแล้ว
ดูทั้งหมด
แวดวงการเงิน : 1 กรกฎาคม 2568
หุ้นเด่น : 1 กรกฎาคม 2568
วิกฤตกัญชาในพายุการเมือง
ขำกันหลังวันม็อบ
กูไม่ออก?
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย

หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า

ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด

‘ชูวิทย์’เลคเชอร์‘เรื่องตลก’พรรคร่วมฯ เหน็บจุกๆทุกครั้ง‘เพื่อไทย’เป็นรัฐบาล ต้องไล่ถึงจะลง

'หมอสุรพล'ชี้ทางออก!!! 'ถ้าไม่เปลี่ยนวัฒนธรรมพลเมืองวันนี้ ประเทศไทยจะไม่มีวันเปลี่ยน'

ไม่พบข้อมูลเดินทาง! คาด'อดีตเจ้าคุณอาชว์'ยังอยู่ในไทย มีคนให้ที่พักพิง

  • Breaking News
  • รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว
  • \'ปากีสถาน\'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
  • ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่ ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
  • หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า
  • ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

17 พ.ค. 2568

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

10 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved