วันพุธ ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563, 02.00 น.
‘ทำงานไม่ตรงสาย’ อีกปัญหาที่ยังถูกพูดถึงน้อย

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อพูดถึงปัญหาการศึกษากับการทำงานในประเทศไทยที่ผ่านมาโดยมากมักเน้นไปที่การผลิตแรงงานออกมาไม่ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ เช่นภาคอุตสาหกรรมต้องการแรงงานระดับอาชีวศึกษาจำนวนมากแต่คนไทยส่วนใหญ่ยังคงนิยมส่งบุตรหลานเรียนให้จบชั้นอุดมศึกษาเป็นหลัก หรือแม้แต่แรงงานระดับอาชีวศึกษาเองความรู้ที่สถาบันการศึกษาถ่ายทอดให้ก็ไม่สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป แต่ในส่วนของ “การทำงานไม่ตรงสาย” หรือการที่จบมาทางด้านหนึ่งแต่ต้องไปทำงานอีกด้านหนึ่งไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็ตาม ยังไม่ค่อยถูกกล่าวถึงมากนัก

ในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2563 ครั้งที่ 42 เรื่อง “ชีวิตที่เหลื่อมล้ำ : เหลื่อมล้ำตลอดชีวิต” ณ ศูนย์การเรียนรู้ ธปท. เมื่อต้นเดือนก.พ. 2563 ที่ผ่านมา ผศ.ดร.ชญานี ชวะโนทย์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับหน้าที่บรรยายหัวข้อ “ความไม่สอดคล้องทางการศึกษากับความเหลื่อมล้ำของค่าจ้างแรงงานไทย” เล่าถึงการจัดกลุ่มอาชีพตามหลัก ISCO (International Standard Classification of Occupations) ที่แบ่งเป็นทักษะสูง3 ประเภท ทักษะปานกลาง 5 ประเภท และทักษะต่ำ 1 ประเภท


ซึ่งในประเทศไทยนั้น คนทำงานรุ่นใหม่ (อายุ 15-45 ปี) ได้รับการศึกษาสูงขึ้น เฉลี่ยร้อยละ 50 จบการศึกษาขั้นต่ำที่ระดับมัธยมปลาย (หรือเทียบเท่าคือ ปวช.) ในขณะที่คนทำงานรุ่นเก่า (อายุ 46-60 ปี) มีเพียงร้อยละ 25 ที่จบการศึกษาเฉลี่ยขั้นต่ำในระดับดังกล่าว ดังนั้นแรงงานในภาคเกษตรจึงมีแนวโน้นลดลงตรงกันข้ามกับภาคอุตสาหกรรมและบริการที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

งานวิจัยนี้ใช้ข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของแรงงานไทย (Labor Force Survey : LFS) ระหว่างปี 2554-2560 แบ่งแรงงานออกเป็น 3 กลุ่มคืออายุ 15-30 ปี, 31-45 ปี และ 46-60 ปี โดยมีข้อค้นพบหลายประการ 1.แรงงานอายุน้อยมีแนวโน้มเผชิญการทำงานไม่ตรงสายมากขึ้น แม้แต่อาชีพที่ต้องใช้ทักษะสูง 2.สาขามนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์มีสัดส่วนแรงงานที่จบมาแล้วทำงานไม่ตรงสายมากที่สุด ในทางกลับกัน สาขาสุขภาพและสวัสดิการ และสาขาการศึกษา มีสัดส่วนแรงงานที่จบมาแล้วทำงานไม่ตรงสายน้อยที่สุด

“พอเข้าใจได้ว่าต้องเรียนมาโดยตรงถ้าต้องทำงานที่เกี่ยวกับพยาบาล แพทย์ หรือเป็นครู แต่ที่น่าสนใจอีกอันคือที่เราต้องยกขึ้นมาคือถ้าเราจะเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0จริงๆ มันมีภาพที่ออกมาว่าเราขาดแคลนแรงงานสายวิทยาศาสตร์ คนจบสายวิทยาศาสตร์ไม่เยอะ แต่คนที่จบมาเทียบกับคนที่จบสาขาวิทยาศาสตร์ด้วยกันเอง กลายเป็นว่ามีแรงงานทำงานไม่ตรงสาขาสูงถึงประมาณเกือบร้อยละ 70 ทีเดียว ซึ่งคงต้องไปดูกันต่อว่ามันเป็นเพราะจบมาแล้วแรงงานทักษะไม่พอก็เลยไม่สามารถเข้าไปทำงานในสาขาวิทยาศาสตร์ได้ หรือจริงๆ โครงสร้างตำแหน่งงานมันยังไม่สอดคล้องกันหรืออย่างไร” อาจารย์ชญานี ระบุ

นักเศรษฐศาสตร์ผู้นี้ เล่าต่อไปว่า 3.คนที่ทำงานไม่ตรงสายจะมีค่าจ้างเฉลี่ยต่ำกว่าคนที่ทำงานตรงสายโดยหากแยกเป็นเพศพบว่าผู้ชายได้รับผลกระทบด้านนี้รุนแรงกว่าผู้หญิง หากแยกเป็นกลุ่มทักษะพบว่าคนทำงานไม่ตรงสายในกลุ่มทักษะสูงได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มทักษะไม่สูง และหากแยกเป็นกลุ่มระดับการศึกษาพบว่าคนทำงานไม่ตรงสายในกลุ่มที่จบระดับอาชีวศึกษาได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มที่จบระดับอุดมศึกษา

4.แรงงานที่ทำงานในภาคอีสานได้รับผลกระทบด้านค่าจ้างจากการทำงานไม่ตรงสายมากที่สุด โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นผลกระทบเชิงลบถึงร้อยละ-13.5 รองลงมาเป็นภาคเหนือร้อยละ -10.8 ส่วนกรุงเทพฯได้รับผลกระทบน้อยที่สุดเพียงร้อยละ -3 เท่านั้น สอดคล้องกับการวิเคราะห์โดยดูจากความหลากหลายของอาชีพ พบว่ากรุงเทพฯ-ปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีประเภทอาชีพหลากหลายมากที่สุดในประเทศไทย ความเหลื่อมล้ำด้านค่าจ้างแรงงานนั้นต่ำกว่าภาคอื่นๆ ที่เหลือ

5.ผู้หญิงวัย 31-45 ปี ได้รับผลกระทบจากการทำงานไม่ตรงสายสูงกว่าผู้ชายวัยเดียวกัน ดังตัวอย่างเปรียบเทียบชายกับหญิงที่จบระดับอุดมศึกษาขึ้นไป (ป.ตรี-ป.เอก) สาเหตุน่าจะมาจากผู้หญิงต้องเลี้ยงดูบุตรโดยบางคนถึงขั้นต้องออกจากงานชั่วคราวแล้วพอกลับมาก็ไม่ได้ทำงานตรงสายอีก 6.แรงงานรุ่นเก่าได้รับผลกระทบจากการทำงานไม่ตรงสายสูงกว่าแรงงานรุ่นใหม่ สาเหตุน่าจะมาจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการต้องปรับตัวของแรงงาน

อาจารย์ชญานี กล่าวสรุปว่า “ความไม่สอดคล้องทางการศึกษาในแนวราบ” ซึ่งหมายถึงการจบมาแล้วทำงานไม่ตรงกับคณะหรือสาขาวิชาที่จบมานั้นเป็นประเด็นที่ควรให้ความสนใจ เนื่องจาก “ตลาดแรงงานไทยพบการทำงานไม่ตรงสายมากถึงร้อยละ 44” ประกอบกับแรงงานรุ่นใหม่มีแนวโน้มทำงานไม่ตรงสายมากขึ้น รวมถึงแรงงานอาชีพที่ใช้ทักษะปานกลางและต่ำจะได้รับผลกระทบมากกว่าแรงงานอาชีพที่ใช้ทักษะสูง

“สำหรับผลกระทบเรื่องของการไม่สอดคล้องทางการศึกษากับค่าจ้าง เราจะเห็นว่ามีผลกระทบทางลบแน่นอน แล้วคนที่ได้รับผลกระทบมากก็จะเป็นกลุ่มแรงงานที่ใช้ทักษะที่ถ้าทำงานไม่ตรงสาขาแล้วทำงานในอาชีพที่ใช้ทักษะสูงก็จะได้รับผลกระทบมาก อันนี้ก็จะมีผลมาจากกลุ่มที่เป็นอาชีวศึกษาด้วย อันหนึ่งที่จะต้องพูดถึงนอกจากเรื่องของการพัฒนาทักษะแล้วอาจจะต้องมีเรื่องความสามารถในการปรับตัวทางอาชีพด้วย ซึ่งมันจะทำให้มีความสามารถ คือเราไม่ใช่แค่เรียนจบแล้วทำงานอย่างเดียว แต่ว่าพัฒนาในเรื่องทักษะไปตลอดการทำงาน” อาจารย์ชญานี กล่าว

หมายเหตุ : ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด Power Point สรุปการบรรยายหัวข้อ “ความไม่สอดคล้องทางการศึกษากับความเหลื่อมล้ำของค่าจ้างแรงงานไทย” รวมถึงหัวข้ออื่นๆ ได้ที่นี่ http://www.symposium.econ.tu.ac.th/

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
19:57 น. (คลิป) ปลูกผักปลอดสารพิษบนดาดฟ้า เก็บกินเอง-สร้างรายได้
19:55 น. กรีดเลือดก็เป็นสีฟ้า!! ปชป.คึกคัก'อภิสิทธิ์'คัมแบ็คเวทีปราศรัย ช่วยหาเสียงบางพลัด
19:27 น. กระบะแต่งซิ่งแซงไม่พ้นพุ่งเสยปิกอัพส่งของสาหัส 4 ราย
19:24 น. ตื่นตา!! 'วาฬบรูด้า' อวดโฉมนักท่องเที่ยวที่หมู่เกาะสิมิลัน
19:17 น. สภาทนายฯเปิดบทลงโทษ 3 ระดับผิดมรรยาท อึ้งอยู่มา 40 ปีไม่เคยเห็นเรียกเก็บเงินแบบนี้
ดูทั้งหมด
เช็คด่วน! ประปาหยุดจ่ายน้ำ 3 อำเภอปทุมฯ นายกฯแจ๊สเปิดสายด่วนช่วยปชช. 24 ชม.
ยิปซี 12 นักษัตร พยากรณ์ : ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม - 1 เมษายน 2566
'หมอช้าง'เผย 2 ราศีมีเกณฑ์เซ้นส์แรง! จะมีโชคจากความฝันที่แม่นยำ
มาแล้ว! อุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 27 มี.ค.-2 เม.ย.66
อ่านเกมขาด! 'อดีตบิ๊กศรภ.'วิเคราะห์ทำไม'ทักษิณ' จึงยอมกลับบ้านมาติดคุก
ดูทั้งหมด
เลขาฯกสทช.คนใหม่....เอาให้ดี...!! ทำอย่างนี้ได้แน่หรือท่านประธาน
การจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่
ฮุน มาเนต ที่ไทยเราจะต้องทำความรู้จักไว้
‘ประชาธิปไตย’ จอมปลอม!!
นักโทษชายทักษิณ ชินวัตร
ดูทั้งหมด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

(คลิป) ปลูกผักปลอดสารพิษบนดาดฟ้า เก็บกินเอง-สร้างรายได้

กระบะแต่งซิ่งแซงไม่พ้นพุ่งเสยปิกอัพส่งของสาหัส 4 ราย

ตื่นตา!! 'วาฬบรูด้า' อวดโฉมนักท่องเที่ยวที่หมู่เกาะสิมิลัน

เมืองสามหมอกประสบปัญหาไฟป่าหนัก ฝุ่นควันอยู่ในระดับวิกฤติ

เตรียมส่ง ปปช.เชือดตำรวจสืบเมืองกาฬสินธุ์รีดเงิน 5 แสนปิดคดียาบ้า

ศาลให้ประกัน' 3 นิ้วมือบอน'พ่นสีกำแพงวัดพระแก้ว ตั้งเงื่อนไขห้ามทำผิดซ้ำอีก

  • Breaking News
  • (คลิป) ปลูกผักปลอดสารพิษบนดาดฟ้า เก็บกินเอง-สร้างรายได้ (คลิป) ปลูกผักปลอดสารพิษบนดาดฟ้า เก็บกินเอง-สร้างรายได้
  • กรีดเลือดก็เป็นสีฟ้า!! ปชป.คึกคัก\'อภิสิทธิ์\'คัมแบ็คเวทีปราศรัย ช่วยหาเสียงบางพลัด กรีดเลือดก็เป็นสีฟ้า!! ปชป.คึกคัก'อภิสิทธิ์'คัมแบ็คเวทีปราศรัย ช่วยหาเสียงบางพลัด
  • กระบะแต่งซิ่งแซงไม่พ้นพุ่งเสยปิกอัพส่งของสาหัส 4 ราย กระบะแต่งซิ่งแซงไม่พ้นพุ่งเสยปิกอัพส่งของสาหัส 4 ราย
  • ตื่นตา!! \'วาฬบรูด้า\' อวดโฉมนักท่องเที่ยวที่หมู่เกาะสิมิลัน ตื่นตา!! 'วาฬบรูด้า' อวดโฉมนักท่องเที่ยวที่หมู่เกาะสิมิลัน
  • สภาทนายฯเปิดบทลงโทษ 3 ระดับผิดมรรยาท อึ้งอยู่มา 40 ปีไม่เคยเห็นเรียกเก็บเงินแบบนี้ สภาทนายฯเปิดบทลงโทษ 3 ระดับผิดมรรยาท อึ้งอยู่มา 40 ปีไม่เคยเห็นเรียกเก็บเงินแบบนี้
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

‘รู้เท่าทัน-อยู่ให้เป็น’ในยุคดิจิทัล

‘รู้เท่าทัน-อยู่ให้เป็น’ในยุคดิจิทัล

25 มี.ค. 2566

ย้อนมองยุคโควิดระบาด  อ่านรายงานไทยเหลื่อมล้ำ

ย้อนมองยุคโควิดระบาด อ่านรายงานไทยเหลื่อมล้ำ

18 มี.ค. 2566

‘ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน’  จากเป็นธรรมสู่ความยั่งยืน

‘ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน’ จากเป็นธรรมสู่ความยั่งยืน

11 มี.ค. 2566

‘สจล.’แนะ4แนวทาง เสริมอาคารรับแผ่นดินไหว

‘สจล.’แนะ4แนวทาง เสริมอาคารรับแผ่นดินไหว

4 มี.ค. 2566

‘หลักคิดของผู้มีอำนาจ’ ตัวแปรแก้ปัญหา‘เหลื่อมล้ำ’

‘หลักคิดของผู้มีอำนาจ’ ตัวแปรแก้ปัญหา‘เหลื่อมล้ำ’

25 ก.พ. 2566

เดินหน้าอนุรักษ์โบราณสถาน  เผยมีอีกมากยังไม่ขึ้นทะเบียน

เดินหน้าอนุรักษ์โบราณสถาน เผยมีอีกมากยังไม่ขึ้นทะเบียน

18 ก.พ. 2566

จาก‘สิทธิในที่ดิน’  ถึง‘รัฐธรรมนูญเพื่อคนจน’

จาก‘สิทธิในที่ดิน’ ถึง‘รัฐธรรมนูญเพื่อคนจน’

11 ก.พ. 2566

มิจฉาชีพยุคดิจิทัล

มิจฉาชีพยุคดิจิทัล

4 ก.พ. 2566

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved