วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2563, 02.00 น.
ฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด ‘สังศิต’ชี้ต้องคิดพ้นกรอบ

ดูทั้งหมด

  •  

ณ วันนี้ วาระสำคัญของประเทศไทยหลังสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 เริ่มซาลง คงหนีไม่พ้นคำถามที่ว่า “จะฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างไร” โดยเฉพาะ
“เศรษฐกิจระดับฐานราก” เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ที่ถูกนำมาใช้สกัดโรคระบาดส่งผลข้างเคียงอย่างรุนแรง สถานที่ต่างๆ ถูกปิด ผู้คนตกงานขาดรายได้ ซึ่งเดิมทีประเทศไทยก็มีปัญหาความเหลื่อมล้ำรุนแรงอยู่แล้ว โรคระบาดเพียงมาซ้ำเติมให้ปัญหาทวีความรุนแรงขึ้นเท่านั้น


ล่าสุดเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา รศ.ดร.สังศิตพิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา ให้ความเห็นในงานเสวนา “แนะทางออกประเทศไทยจากวิกฤติเศรษฐกิจ หลังโควิด-19” จัดโดยสภาที่ 3 ร่วมกับคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมเวลานี้ทุกคนล้วนเห็นตรงกันว่า “มองไปทางไหนก็มืดและมีความไม่แน่นอนเต็มไปหมด” ผู้คนไม่รู้ว่าอนาคตตนเองจะเป็นอย่างไร

“มีคนที่ตกงานราว 8-9 ล้านคน บวกกับคนจนที่มีอยู่อีก 8 ล้านคน รวมแล้วอยู่ที่ 16-18 ล้านคน”คนกลุ่มนี้เป็นคนที่มีความยากลำบากทางเศรษฐกิจอย่างไรก็ตาม “ต้องยอมรับว่าโควิด-19 คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกไม่เฉพาะแต่ประเทศไทย และยังไม่มีทฤษฎีใดทางเศรษฐศาสตร์สำหรับนำมาใช้แก้ไขวิกฤติครั้งนี้” จึงเป็น “งานยาก” ของคนที่จะมารับผิดชอบงานด้านเศรษฐกิจ

“ถ้าหากผมจะขอเสนอแนะรัฐบาลว่าควรจะทำอะไร ผมคิดว่าเรื่องของการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ทำอย่างไรให้คนมีงานทำ ต้องคิดอย่างนี้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตรคือภาคในเมือง ต้องคิดอย่างนี้ ทำอย่างไรจะทำให้คนมีอาชีพ มีงานทำมากขึ้น” ปธน.กมธ.การแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา กล่าว

รศ.ดร.สังศิตกล่าวต่อไปว่า “ต้องเริ่มที่ภาคเกษตรก่อน” เนื่องจากร้อยละ 30 ของคนไทยทั้งประเทศเป็นแรงงานอยู่ในชนบท แต่จำนวนคนที่มากขนาดนี้กลับสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ได้เพียงร้อยละ 8 หากเทียบกับคนที่ทำงานในเมือง รายได้คนในชนบทจะน้อยกว่าคนในเมืองประมาณ 4 เท่า ขณะเดียวกัน ภาคเกษตรยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงแหล่งน้ำ ระหว่างเกษตรกรในและนอกเขตชลประทาน

อนึ่ง มีคำกล่าวว่า “ความยากจนไม่ใช่เรื่องของธรรมชาติแต่เป็นปัญหาของมนุษย์” หากมองดูสภาพทางภูมิศาสตร์ของไทยจะเห็นว่า “ไทยเป็นประเทศหนึ่ง
ที่มีฝนตกชุกมาก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 7.7 แสนล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และมีแหล่งน้ำกระจายอยู่ทั่วประเทศ..แต่กลับมีเกษตรกรเพียงร้อยละ 20ที่อยู่ในเขตชลประทาน” ถึงกระนั้น การแก้ปัญหาก็ไม่อาจใช้วิธีการเดิมๆ อย่างการสร้างแหล่งน้ำขนาดใหญ่เช่น เขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ แต่ต้องทำโครงการแบบเฉพาะเจาะจง อาทิ พื้นที่ที่มีปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้งซ้ำซากเพราะเมื่อมีแหล่งน้ำพร้อม อาชีพจะตามมาทันที

“ลุ่มน้ำชี ทุก 5 กิโลเมตร ทำฝายน้ำล้นที่เรียกกันว่าฝายแม้ว กักน้ำไว้ ตลิ่งโดยทั่วไปมันจะสูงสัก 11 เมตรเราทำไว้แค่ 2 เมตรพอ ทุก 5 กิโลเมตรทำให้หมด ฝายแม้วทำด้วยไม้ไผ่ 3 ปีมันก็จะเสียไป ถ้าทำเป็นฝายแกนซอยซีเมนต์ ใช้ซีเมนต์ผสมกับดินของอีสาน ซึ่งเป็นดินที่เหมาะกับการทำฝายมาก รวมทั้งภาคเหนือ ทำแล้วมันจะแข็งแรง ทุก 5 กิโลเมตร น้ำมันจะเต็มหมดพันกว่ากิโลเมตร เต็มหมดเลย เพราะพอน้ำมันถึง 2 เมตร มันก็จะไหลไปอยู่อันที่ 2 พอเต็มก็ไปอันที่ 3

แล้วมันมีตั้ง 200 ฝาย ฝายหนึ่งเป็นเงินประมาณ 5 แสนบาท เพราะฉะนั้นลุ่มน้ำชีลุ่มน้ำเดียวเราใช้เงินประมาณหยาบๆ 100 ล้านบาท เรามี 25 ลุ่มน้ำ แต่ลุ่มน้ำอื่นเขาไม่ยาวขนาดลุ่มน้ำชี ทำอย่างไรมันก็ไม่เกิน 2,500 ล้านบาท ถ้าเราทำลุ่มน้ำ 25 ลุ่มน้ำ ถ้าเราทำอย่างนี้ได้ ดินมันจะชุ่มไปหมดทั้งประเทศ แล้วห้วยหนองคลองบึงไปทำให้หมด ทำเป็นฝาย เป็นแก้มลิง ทำบ่อบาดาลใช้แผงโซลาร์เซลล์ ทำไปเลยจุดไหนที่มันแล้งลงมือทำตรงนั้น เป้าหมายต้องชัดเจนว่าจนตรงไหนต้องทำตรงนั้น แล้งตรงไหนทำตรงนั้น ท่วมตรงไหนทำตรงนั้น”รศ.ดร.สังศิต ยกตัวอย่าง

รศ.ดร.สังศิต กล่าวอีกว่า การทำฝายตามแนวลุ่มน้ำเป็นโครงการที่ทำได้ง่ายไม่ได้ใช้เทคโนโลยีซับซ้อน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สามารถทำได้เองโดยรัฐบาลกลางอาจสนับสนุนงบประมาณให้ครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้ยังยกอีกตัวอย่างคือ “หนองหาน” มี อปท. รวม 13 แห่ง หากทุก อปท. หาพื้นที่ทำแก้มลิงสำหรับเชื่อมต่อกับหนองหาน เมื่อถึงฤดูฝนน้ำเต็มหนองหานก็จะไหลไปเก็บอยู่ที่แก้มลิง แล้วชาวบ้านก็ต่อท่อ หรือขุดคลองย่อยต่อไปยังบ่อน้ำในที่ดินของตน เท่านี้ทุกบ้านก็จะมีน้ำสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง เมื่อมีน้ำก็มีอาชีพและมีรายได้ตามมา

ขณะที่ “การแก้ปัญหาความยากจนในภาคเมือง”เสนอแนะว่า “ต้องฟื้นอาชีพหาบเร่แผงลอย” โดยดูตัวอย่างจาก “ประเทศจีน” ก่อนหน้านี้ตามเมืองต่างๆ ไม่มีหาบเร่แผงลอย กระทั่งการระบาดของไวรัสโควิด-19“หนึ่งในนโยบายที่รัฐบาลแดนมังกรนำมาใช้ฟื้นฟูเศรษฐกิจคือการอนุญาตให้ขายสินค้าบนทางเท้าริมถนนได้ตั้งแต่เวลา 10.00-24.00 น.” และในวันศุกร์-อาทิตย์ยังมีการเปิดพื้นที่ถนนคนเดิน โดยเชื่อว่าจะช่วยให้ชาวจีน50 ล้านคน มีงานทำ ประเทศไทยนั้นมีผู้ค้าจำนวนมากอยู่แล้วที่พร้อมประกอบอาชีพ หากรัฐบาลสนับสนุน

“ความยากลำบากคราวนี้ไม่ได้น่ากลัวอะไรเลย สำคัญต้องเปลี่ยนความเคยชิน ต้องกล้าเปลี่ยนหลักคิด ต้องกล้าคิดใหม่ไม่อยู่ในกรอบเดิม แล้วเราก็จะกลายเป็นประเทศที่แข็งแรงภายใน 1-2 ปี แล้วเศรษฐกิจไทยจะทะยานได้เพราะรากฐานมันถูกทำให้แข็งแรง” รศ.ดร.สังศิต กล่าวในท้ายที่สุด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:42 น. ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
13:22 น. ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
13:14 น. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
13:08 น. 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
12:24 น. ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

‘ทนายวันชัย’มองเรื่อง‘สีกากอล์ฟ’ เปรียบฆาตกามต่อเนื่อง กระชากหน้ากาก‘คนห่มเหลือง’

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

สุดทน!‘สุทิน’จี้ผู้รักษากฎหมายต้องขยับ ปล่อยให้‘สทร.’ย่ำยีประเทศไม่ได้อีกแล้ว

‘นักเขียนซีไรต์’ฟาดนักการเมืองขี้ขลาด มุ่งแก้ ม.112 นิรโทษกรรมตัวเอง

  • Breaking News
  • ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้ ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
  • รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
  • \'ตะไลชนโคม\' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน\'งานบุญวันเข้าพรรษา\' 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
  • ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว

ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว

12 ก.ค. 2568

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

5 ก.ค. 2568

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved