วันจันทร์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ /

วันจันทร์ ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2564, 02.00 น.
โควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน น่าเกรง แต่อย่ากลัว จนจิตตก

ดูทั้งหมด

  •  

กระแสเรื่องโรคโควิด-19 ในช่วง 1-2 สัปดาห์ ที่ผ่านมานี้ คงจะไม่มีอะไรร้อนแรงเท่ากับเรื่องการระบาดของเชื้อสายพันธุ์ใหม่จากกลุ่มประเทศแอฟริกา ที่เรียกว่า สายพันธุโอไมครอน (Omicron) หรือ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าสายพันธุ์ B.1.1.529 ซึ่งองค์การอนามัยโลกเพิ่งประกาศถึงการแพร่ระบาดของเชื้อตัวนี้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายนนี้

การพบเชื้อกลายพันธุ์ชนิดใหม่ของไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 ไม่ควรจะเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจจนเกินไปนัก นับตั้งแต่โรคนี้เริ่มเกิดขึ้นและมีการระบาดครั้งแรกในมณฑลอู่ฮั่นของประเทศจีน และเชื้อที่ถูกพบตัวแรกนี้ถูกเรียกว่าสายพันธุ์อู่ฮั่น แต่หลังจากนั้นเชื้อนี้ได้แพร่กระจายไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก และได้มีการกลายพันธุ์ออกเป็นหลายสายพันธุ์ เริ่มตั้งแต่สายพันธุ์อัลฟ่า(Alpha) พบในประเทศอังกฤษ สายพันธุ์เบต้า(Beta)พบในประเทศแอฟริกาใต้ สายพันธุ์แกมม่า(Gamma)พบในประเทศบราซิล สายพันธุ์เดลต้า(Delta)พบในประเทศอินเดีย ซึ่งขณะนี้เป็นสายพันธุ์ที่มีการแพร่ระบาดอยู่มากที่สุดทั่วโลก และเป็นสายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้ง่ายและทำให้เกิดอาการรุนแรง มากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ที่เคยเกิดขึ้น


ไวรัสกลายพันธุ์ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว องค์การอนามัยโลกจัดอยู่ในกลุ่มของไวรัสที่น่ากังวล(variant of concern) และต้องเฝ้าระวัง ซึ่งหมายความว่า หากมีการติดเชื้อจะมีอาการเกิดขึ้นรุนแรงตามสมควรหรือรุนแรงมาก แต่ความจริงในช่วงเวลาที่ผ่านมา ยังมีการพบไวรัสสายพันธุ์อื่นด้วย คือสายพันธุ์แลมป์ดา (Lampda)ในประเทศเปรู และสายพันธุ์มิว(Mu)ในประเทศโคลัมเบีย ซึ่งถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในความสนใจ (variant of interest) เป็นกลุ่มที่เมื่อมีการติดเชื้อ จะมีอาการรุนแรงน้อยกว่า

จะเห็นว่าการตั้งชื่อไวรัสกลุ่มนี้นั้น ใช้ตัวอักษรในภาษากรีก ซึ่งเริ่มต้นจาก อัลฟ่าเป็นตัวแรก แล้วเรียงตามลำดับอักษรมา ซึ่งเมื่อมีการพบสายพันธุ์โอไมครอนเกิดขึ้น โดยมีรายงานครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 ในประเทศบอตสวานา ในระยะแรกจะถูกเรียกว่าเป็นสายพันธุ์นิว (Nu) ตามลำดับอักษรซึ่งถัดมาจากตัวเอ็มหรือสายพันธุ์มิว(Mu) แต่เนื่องจาก องค์การอนามัยโลกเกรงว่าจะเกิดความสับสนให้เข้าใจผิดว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ตามคำเรียก New จึงพิจารณาอักษรลำดับถัดมาซึ่งจะเป็นซี่ (Xi) แต่ชื่อนี้ก็ถูกข้ามไป โดยเชื่อกันว่าไปตรงกับชื่อของประธานาธิบดีจีนคือสี จิ้นผิง (Xi Jinping)  จึงถูกยกเลิกไปอีก และใช้อักษรตัวถัดมาคือตัว O หรือโอไมครอน

ขณะนี้พบว่าไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนมีการระบาดอย่างมาก อยู่ในกลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกาอย่างน้อย 8 ประเทศคือ บอตสวานา มาลาวี เอสวาตินี โมซัมบิก ซิมบับเว เลโซโท นามิเบีย แอฟริกาใต้ และยังมีการระบาดข้ามไปยังทวีปยุโรปและเอเชียหลายประเทศ รวมทั้งสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียด้วย แต่อาจจะมีจำนวนผู้ป่วยยังไม่มากนัก ส่วนในประเทศไทยจนถึงวันนี้ยังไม่มีรายงาน ว่ามีการพบผู้ติดเชื้อไวรัสตัวนี้ ถึงแม้ว่าจะมีผู้ที่เดินทางมาจากประเทศในทวีปแอฟริกาจำนวนหลายร้อยคนแล้วก็ตาม แต่ทุกคนที่เดินทางเข้ามาต้องผ่านการตรวจสอบตามระบบที่ประเทศของเราได้วางไว้อย่างเข้มงวด

จากการศึกษาเชื้อนี้โดยละเอียดพบว่า ไวรัสกลุ่มนี้ซึ่งจะมีจำนวนยีนทั้งหมดประมาณ 30,000 นิวคลิโอไทด์นั้นมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้น ประมาณ 60 ตำแหน่ง โดยเฉพาะการกลายพันธุ์ส่วนหนึ่งนั้นเกิดบนโปรตีนหนามถึง 32 ตำแหน่ง และมีการกลายพันธุ์ที่ส่วนตัวรับ (receptor binding domain) ถึง 10 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นส่วนที่ไวรัสจะจับยึดกับเซลล์ของร่างกายมนุษย์ ซึ่งเชื่อกันว่าจะทำให้เชื้อตัวนี้ สามารถจะแพร่กระจาย และเกิดการติดเชื้อได้ง่ายกว่าเชื้อตัวอื่น

จากข้อมูลที่ผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุขได้ให้สัมภาษณ์เมื่อ 2-3 วันที่แล้ว พบว่าขณะนี้ในกลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกามีการระบาดแล้วเป็นจำนวนมาก โดยในประเทศแอฟริกาใต้มีการระบาดวันละมากกว่า 10,000 ราย การระบาดที่เกิดขึ้นเร็วและเป็นจำนวนมากนั้น อาจจะเป็นผลมาจากจำนวนประชากรที่ได้รับการฉีดวัคซีนในกลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกามีอยู่เพียงประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งหมดเท่านั้น ร่างกายจึงไม่มีภูมิต้านทาน จึงทำให้การระบาดลุกลามอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่ดีพอสมควรว่าถึงแม้จะมีจำนวนผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก แต่ขณะนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตเพียงแค่ 2 ราย แต่หากยังควบคุมไม่ได้ และหากเกิดในประชากรกลุ่มเสี่ยงมากขึ้น จำนวนผู้เสียชีวิตน่าจะเพิ่มมากขึ้นกว่านี้ตามสมควร

ถึงแม้ว่าการระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ตัวนี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการติดเชื้อง่ายกว่าปกติ แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าจะคลายกังวลไปได้ในระดับหนึ่งว่าอาการแสดงในผู้ที่ติดเชื้อไวรัสนี้นั้นไม่รุนแรงเหมือนการติดเชื้อจากสายพันธุ์เดลต้า โดยอาการที่เกิดขึ้นไม่ต่างจากผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่มากนัก ผู้ป่วยยังรับรสและกลิ่นได้เป็นปกติ มีอาการไข้ ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย อาจมีอาการทางปอดได้บ้าง

หลังจากข่าวเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโอไมครอนได้มาถึงประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้เกาะข่าวติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด รวมทั้งได้ร่วมกับศปค. กำหนดแนวทางในการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคนี้ในประเทศโดยทันที เริ่มต้นจากการกำหนดมาตรการที่เข้มข้นในการตรวจสอบ อนุญาตการเดินทางของชาวต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้เดินทางมาจาก 8 ประเทศในทวีปแอฟริกาตามที่ได้กล่าวไว้แล้ว

โดยขณะนี้ไม่อนุญาตให้ผู้ที่เดินทางจาก 8 ประเทศดังกล่าวเข้าสู่ประเทศไทย  รวมทั้งจากประเทศอื่นๆในทวีปแอฟริกาด้วย ส่วนผู้ที่เดินทางเข้ามาตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายนเป็นต้นมา ในระบบ sandbox หรือสถานที่กักกัน ต้องถูกกักตัวจนครบ 14 วัน โดยมีการตรวจ RT-PCR อย่างน้อย 1 ครั้งในวันที่ 12-13  ส่วนผู้ที่เดินทางเข้ามาตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน นอกจากจะต้องอยู่ในสถานที่กักตัวอย่างน้อย 14 วันแล้ว ยังจะต้องได้รับการตรวจ RT-PCR อย่างน้อย 3 ครั้ง คือวันแรกที่เดินทางมาถึง ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 5-6 และครั้งที่ 3 ประมาณวันที่ 12-13  ซึ่งกลุ่มดังกล่าวมีอยู่รวมกันประมาณ252 คน ซึ่งบางส่วนครบระยะการกักตัวแล้ว แต่ทั้งหมดอยู่ภายใต้การติดตามตัวของกระทรวงสาธารณสุข

ถึงแม้จะมีรายงานว่า ยังไม่มีการตรวจพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโอไมครอนในประเทศไทย แต่ก็เป็นเรื่องที่ประมาทไม่ได้ เนื่องจากเชื้อนี้มีการแพร่กระจายไปนอกทวีปแอฟริกาด้วยแล้ว โอกาสที่ผู้เดินทางจากประเทศในถิ่นอื่นที่ติดเชื้อนี้จะเดินทางเข้ามาในประเทศไทยก็ยังเป็นไปได้ การตรวจคัดกรองของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จึงต้องดำเนินการอย่างเข้มงวดที่สุด และที่สำคัญยิ่งคือความร่วมมือร่วมใจของคนไทยทุกคน ในการที่จะช่วยกันทั้งในเรื่องของการประพฤติตนเป็นพลเมืองที่ดี โดยเข้ารับการฉีดวัคซีนให้ครบถ้วนทุกคน และการดำเนินชีวิตตามแนวชีวิตวิถีใหม่อย่างต่อเนื่อง

เป็นที่น่ายินดีว่า ตัวเลขของประชากรไทยที่ได้เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จนถึงขณะนี้ทั้งในส่วนที่ดำเนินการโดยภาครัฐ และในส่วนที่ภาคเอกชน ได้จัดหาเข้ามา ให้เป็นวัคซีนทางเลือกตามที่ประชาชนบางกลุ่มต้องการนั้น มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยตัวเลขล่าสุดขณะนี้ มีผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนรวมแล้วทั้งสิ้นประมาณ 96 ล้านโดส โดยเป็นวัคซีนเข็มที่ 1 ประมาณ 50 ล้านโดส เข็มที่ 2 ประมาณ 43 ล้านโดส และเข็มที่ 3 หรือเข็มกระตุ้น 3 ล้านโดสเศษ และยังมีการเชิญชวน ให้ประชาชนที่ยังไม่ได้รับการฉีดเข้ารับการฉีดตลอดเวลา ด้วยวัคซีนหลายชนิดที่มีประสิทธิภาพไม่แพ้กัน ทำให้เชื่อได้ว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีประชากร ได้รับการฉีดวัคซีนเกินกว่า 100 ล้านโดสอย่างแน่นอน ซึ่งจะเกิดผลดีไม่ใช่เฉพาะแต่ผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วเท่านั้น แต่ยังจะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ในวงกว้างทั่วประเทศ  ทำให้โอกาสของการระบาดและการติดเชื้อและมีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตลดน้อยลงอย่างแน่นอน ไม่ใช่เฉพาะแค่การระบาดซึ่งในขณะนี้เป็นเชื้อสายพันธุ์เดลต้ามากกว่า 99% เท่านั้น แต่ยังน่าจะช่วยลดภยันตรายที่อาจเกิดจากการระบาดของเชื้อโอไมครอน ซึ่งเริ่มมีข้อมูลว่าเป็นเชื้อที่แม้จะระบาดง่าย แต่ไม่มีความรุนแรงได้ด้วย

ขณะนี้บริษัทผู้ผลิตวัคซีนชนิดต่างๆ ได้เริ่มทำการศึกษาทดลองว่าวัคซีนที่มีอยู่ในขณะนี้นั้น สามารถจะป้องกันอาการรุนแรงหรือการเสียชีวิตจากไวรัสโอไมครอนได้หรือไม่ และเชื่อว่าระยะ 2-3 สัปดาห์จากนี้ไป น่าจะมีผลของการศึกษาออกมามากพอสมควร รวมทั้งน่าจะมีการพัฒนาวัคซีนเพิ่มเติม  เพื่อที่จะต่อสู้กับ เชื้อไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

ส่วนการตรวจหาว่าผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ ว่ามีการติดเชื้อโอไมครอนหรือไม่นั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ออกมายืนยันแล้วว่า ศูนย์และห้องปฏิบัติการที่ได้รับอนุมัติจากทางกรมฯให้ตรวจหาเชื้อโควิดโดยวิธี RT-PCR ทุกแห่ง มีศักยภาพพอเพียงต่อการตรวจหาเชื้อดังกล่าวได้  รวมทั้งในการตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วยชุดตรวจ ATK มาตรฐานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้  ก็สามารถจะตรวจคัดกรองได้เช่นกัน จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะวิตกกังวลกรณีที่มีการติดเชื้อดังกล่าวเกิดขึ้น

ขออนุญาตยกคำแนะนำของศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ ถึง 3 วิธีการเตรียมรับมือเชื้อโอไมครอน ซึ่งมีโอกาสเข้ามาถึงประเทศไทยได้แน่นอนว่า

1.ประชาชนต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนให้มากที่สุด เกือบจะทั้งหมดของประเทศ

2.ต้องให้การวินิจฉัยการติดเชื้อสายพันธุ์นี้ให้รวดเร็วที่สุด เพื่อควบคุมการระบาดที่เกิดขึ้นได้ง่าย

3.การป้องกันการแพร่กระจายของโรคโควิด-19  ด้วยการดำเนินชีวิตตามแนวชีวิตวิถีใหม่ยังต้องทำอย่างเคร่งครัด  ทั้งเรื่องการใส่หน้ากากอนามัย การล้างมือ และกำหนดระยะห่างผู้คน

ขอยืนยันว่าเราควรเกรงไวรัสตัวนี้  แต่อย่ากลัว จนเกิดอาการวิตกจริต รัฐบาลได้ดูแลท่านแล้ว ทุกท่านต้องดูแลตัวเองด้วย อย่าทิ้งโอกาสที่ดีในการได้รับวัคซีน และดำเนินชีวิตตามแนวชีวิตวิถีใหม่ อย่างเข้มแข็ง

นายแพทย์ปิยะ เนตรวิเชียร

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
06:00 น. ‘กุนซืออิ๊งค์’โผล่ พร้อมเจรจาภาษีสหรัฐ หวังสร้างอนาคตศก.ใหม่
06:00 น. แม่ทัพ4ซัดโจรใต้ ก่อเหตุเลือกเป้าหมายกลุ่มอ่อนแอ
06:00 น. ‘เหม่เหม’ชวนลุ้น ‘ฟ้าพยับ’ 2 ตอนสุดท้าย
06:00 น. sarah salola เปิดตัวซิงเกิลใหม่'เอารักฉันไป'เพลงคลั่งรักละมุนหัวใจ
06:00 น. UGOSLABIER ชวน ‘เต๋า SWEET MULLET’ ผนึกกำลังความโหดในซิงเกิลใหม่'HALLUCINATION'
ดูทั้งหมด
ชั้น 14 ส่อวุ่นอีก!!! 'รพ.ราชทัณฑ์'เล็งฟ้องศาลเพิกถอนมติ'แพทยสภา'
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
'ภูมิใจไทย' แตกหัก 'เพื่อไทย' คดีฮั้ว สว.เป็นเหตุ ส่อคว่ำร่าง พ.ร.บ.งบฯ 69 - ยุบสภา
'สมชาย'เคลียร์ชัดๆ ไขกระจ่าง'วิษณุ'ไปศาลอาญาทำไม?
(คลิป) หลอกหลอน 'โฆษกพรรคเพื่อไทย' ไปตลอดชีวิต
ดูทั้งหมด
‘อุ๊งอิ๊งค์-ทวี สอดส่อง’ก็อาจไม่รอดคดี‘ป่วยทิพย์’
แพทย์ พึงรักษาศักดิ์ศรีและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
เหนือความอาลัยใด ณ ลำปาง บ้านเกิด ส่งพี่ชายสู่สรวงสวรรค์
คุกนรก (3)
รบจริง ไม่เหมือนในหนังฮอลลีวู้ด
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เยียวยาจิตใจจากไฟสงคราม! ‘David’s Circle’พื้นที่ฟื้นฟูของชาวอิสราเอลในไทย

(คลิป) เจ๊ปอง เผย! 'ตั๋วกาสิโน 10 ใบ' ลอเรนซ์โอ-กอร์ดอน ถัง คนสนิทตระกูลชินวัตร

เปิดปูม‘วิทยา กันส์แทคติกส์’ ปรมาจารย์อาวุธปืน ผู้เซฟชีวิต‘ครู’ชายแดนใต้

‘กมธ.ป.ป.ช.’ ซ้ำดาบฮั้ว สว.! เรียก‘กกต.-ผู้ร้อง’ให้ข้อมูลอุดช่องโหว่-สาวขบวนการ

‘สหรัฐฯ-จีน’ถกคลี่คลายศึกกำแพงภาษี ‘ทรัมป์’เผยเป็นนิมิตหมายอันดี

กระตุ้นคนตายเพิ่ม?! คำถามตัวโตๆถึง‘รัฐบาล’ ขายน้ำเมา 'วันพระใหญ่’

  • Breaking News
  • ‘กุนซืออิ๊งค์’โผล่  พร้อมเจรจาภาษีสหรัฐ  หวังสร้างอนาคตศก.ใหม่ ‘กุนซืออิ๊งค์’โผล่ พร้อมเจรจาภาษีสหรัฐ หวังสร้างอนาคตศก.ใหม่
  • แม่ทัพ4ซัดโจรใต้  ก่อเหตุเลือกเป้าหมายกลุ่มอ่อนแอ แม่ทัพ4ซัดโจรใต้ ก่อเหตุเลือกเป้าหมายกลุ่มอ่อนแอ
  • ‘เหม่เหม’ชวนลุ้น ‘ฟ้าพยับ’ 2 ตอนสุดท้าย ‘เหม่เหม’ชวนลุ้น ‘ฟ้าพยับ’ 2 ตอนสุดท้าย
  • sarah salola เปิดตัวซิงเกิลใหม่\'เอารักฉันไป\'เพลงคลั่งรักละมุนหัวใจ sarah salola เปิดตัวซิงเกิลใหม่'เอารักฉันไป'เพลงคลั่งรักละมุนหัวใจ
  • UGOSLABIER ชวน ‘เต๋า SWEET MULLET’ ผนึกกำลังความโหดในซิงเกิลใหม่\'HALLUCINATION\' UGOSLABIER ชวน ‘เต๋า SWEET MULLET’ ผนึกกำลังความโหดในซิงเกิลใหม่'HALLUCINATION'
ดูทั้งหมด
Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved