วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565, 02.00 น.
‘ความรุนแรงในครอบครัว’ อีกบทเรียนโควิดถึงสังคมไทย

ดูทั้งหมด

  •  

“สภาพความตึงเครียดที่เกิดจากสมาชิกในครอบครัว ซึ่งเรารวบรวมตัวเลขนี้จากกรมสุขภาพจิต ซึ่งเราจะเห็นแนวโน้มความรุนแรงในครอบครัวที่มันเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงระยะเวลาของการระบาด ปี 2563-2564 เรามีการรายงานเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 42 อย่างในระหว่างปี 2563-2564 มีรายงานความรุนแรงในครอบครัวกว่า 2,000 ราย”

ข้อมูลจาก “รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2565 : ครอบครัวไทยในวิกฤตโควิด-19” ที่ตัวแทนคณะผู้จัดทำ รศ.ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร นักวิชาการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล หยิบยกมาบอกเล่าในเวที “Forum รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2565 :ชวนกันปักหมุดจุด Focus เร่งสร้าง ร่วมเสริม” เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ย่านงามดูพลี-สาทร กรุงเทพฯ ทั้งนี้ ร้อยละ 68 รายงานด้วยว่า ไม่เคยพบเห็นปรากฏการณ์แบบนี้มาก่อนจนกระทั่งไวรัสโควิด-19 ระบาด


นอกจากข้อมูลในรายงานข้างต้น อีกด้านหนึ่ง “เมื่อประชากรวัยทำงานต้องเผชิญกับความเครียดเพราะนอกจากต้องหาเลี้ยงตนเองแล้วยังต้องเผื่อไปถึงผู้สูงอายุที่เป็นวัยพึ่งพิงด้วย ก็เป็นอีกปัจจัยของความรุนแรงในครอบครัว” ดังที่ช่วงหลังๆ จะเห็นข่าวเป็นระยะๆ กรณีลูกถูกสังคมประณามว่าอกตัญญูไม่เลี้ยงดูพ่อแม่ แต่เมื่อสืบค้นต่อไปกลับพบว่าลูกก็น่าเห็นใจ เช่น เมื่อแพทย์หรือพยาบาลฝากให้ญาติช่วยดูเล ขอให้ทำสิ่งนั้น-ไม่ทำสิ่งนี้ เพื่อให้สุขภาพดีหรือรักษาอาการเจ็บป่วย พ่อแม่กลับไม่ปฏิบัติตามแล้วก็มีปากเสียงกับลูก เป็นต้น

นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกรมสุขภาพจิตกล่าวถึงประเด็นเรื่องกระทบกระทั่งระหว่างพ่อแม่ที่เป็นวัยพึ่งพิงกับลูกที่เป็นวัยหาเลี้ยงครอบครัว ว่า “เรื่องนี้น่าเห็นใจทุกฝ่าย” โดย “ฝ่ายพ่อแม่เมื่อกลายเป็นผู้สูงวัยอายุมากขึ้นก็ต้องการการเอาใจใส่” เมื่อผู้สูงอายุต้องการการดูแลมากขึ้น ก็จะร้องขอจาก “คนรุ่นกลาง (Sandwich Generation)” หมายถึงคนที่ต้องดูแลทั้งคนรุ่นก่อนหน้าคือพ่อแม่ และคนรุ่นถัดไปคือลูก

ซึ่งคนรุ่นกลางที่ไม่มีเวลามากนักอาจเน้นไปดูแลลูกหรือวัยเด็กที่เพิ่งเกิดมามากกว่า ทำให้ผู้สูงวัยเรียกร้องแต่เมื่อไม่ได้ตามที่เรียกร้องก็เครียดมากขึ้น บางคนยิ่งไม่ได้ก็ยิ่งเรียกร้องมากขึ้น นำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งกันในครอบครัว รวมถึงความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน บางคนรู้สึกว่าทำไมแต่ก่อนตนดูแลลูกได้ วันนี้ลูกดูแลตนไม่ได้ เป็นต้นเรื่องนี้น่าเห็นใจผู้สูงวัย

“ก็เหมือนที่เขาบอกว่าพออายุเยอะขึ้นบางทีก็รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า เดิมบางคนเป็นแบบผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเป็นคนสำคัญในบ้าน พออายุเยอะขึ้นก็เปลี่ยนแปลงสถานะตัวเองเป็นผู้ที่พึ่งพิงคนอื่นเยอะ ตัวเองเคยไปทำงานได้ มีชื่อเสียง มีคนยอมรับ กลายเป็นเริ่มทำงานไม่ได้ตามเดิมจากปัญหาสุขภาพทางกาย หรือแม้แต่ปัญหาวัยที่ไม่เหมาะสมกับการทำงานหนักๆ แล้วก็ตาม ตัวผู้สูงอายุเองก็เครียดในรูปแบบของตัวเอง” นพ.วรตม์ กล่าว

แต่ในขณะเดียวกัน “ด้วยสภาพเศรษฐกิจแบบที่เป็นอยู่ รวมถึงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ลูกซึ่งเป็นคนรุ่นกลางก็น่าเห็นใจ” เพราะเรื่องงานก็ไม่มั่นคงอีกทั้งยังต้องดูแลคนในบ้านทั้งผู้สูงวัยและเด็ก จึงเกิดความเครียดและนำไปสู่การกระทบกระทั่งกันได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกครอบครัวที่จะทะเลาะเบาะแว้งกันโดยจะพบในครอบครัวที่ขาดความสัมพันธ์ในบ้านที่ดีตั้งแต่แรก พอทุกคนมีปัญหา เกิดความเครียดและกระทบกระทั่งกัน พ่อแม่ด่าว่าลูกรุนแรง ลูกที่เป็นวัยทำงานก็ทนไม่ไหวแล้วนำพ่อแม่ไปทิ้ง นี่คือปลายทางจากหลายปัญหาที่เกิดขึ้น

โฆษกกรมสุขภาพจิต ให้ความเห็นว่า “โควิดนั้นขยายรอยแตกร้าวที่มีอยู่แล้วให้เห็นชัดเจนขึ้น” เช่น หากช่วงเวลาที่ผ่านมา ครอบครัวใดที่ใช้เวลาที่มีด้วยกันอย่างคุ้มค่าและมีประโยชน์มาตลอด เมื่อเกิดวิกฤตมักไม่พบปัญหา ตรงข้ามกับครอบครัวที่มีรอยแตกร้าวมีความไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน เมื่อต้องอยู่ด้วยกันมากขึ้นแทนที่จะใช้เวลาอย่างมีคุณค่าร่วมกันกลับกลายเป็นช่วงเวลาแห่งความทุกข์ทรมาน เกิดการถกเถียงกันมากขึ้น ขุดอดีตมากขึ้น จากเดิมที่ช่วงปกติไม่มีเวลา ไม่ได้ลงไม้ลงมือกัน กลายเป็นว่าพออยู่ด้วยกันมากขึ้น โอกาสลงไม้ลงมือทำร้ายกันก็เพิ่มขึ้นด้วย

ทั้งนี้ สำหรับคำว่าการใช้เวลาร่วมกัน กับการใช้เวลาอย่างมีคุณภาพร่วมกัน 2 คำนี้แตกต่างกัน โดยการใช้เวลาร่วมกัน อาจมีลักษณะพ่อเล่นมือถือ แม่เล่นแท็บเลต ลูกใช้คอมพิวเตอร์ ทุกคนอยู่ในห้องพร้อมกัน ณ เวลาเดียวกัน แต่ถามว่าเป็นเวลาคุณภาพหรือไม่นั้นก็ไม่ใช่ แต่การใช้เวลาอย่างมีคุณภาพร่วมกัน หมายถึงทุกคนมาพร้อมหน้าอยู่ด้วยกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งแม้จะมีเวลาน้อยเพียง 15-20 นาทีต่อวัน หากทุกนาทีเป็นเวลาคุณภาพ บางทีอาจเพียงพอแล้วก็ได้ เมื่อเทียบกับมีเวลา 2-3 ชั่วโมงต่อวัน แต่ใช้เวลาอย่างไม่มีคุณภาพก็ไม่เกิดประโยชน์

โดยในสถานการณ์ที่เลือกไม่ได้ ต้องมาใช้ชีวิตร่วมกัน แต่สิ่งที่เลือกได้คือจะทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นอย่างไร ระหว่างพูดคุยกันดีๆ รับฟังกันมากขึ้น เข้าอกเข้าใจกัน แทนที่จะต่างคนต่างพูดในเรื่องที่ตนเองเครียดหรือไม่พอใจ ควรเปลี่ยนความคิดจากการมีเวลามากขึ้นหมายถึงมีเวลาพูดมากขึ้น เป็นการมีเวลาฟังคนอื่นๆในครอบครัวมากขึ้น หากได้ฟังกันมากขึ้น ความสัมพันธ์ในครอบครัวดี สิ่งที่เป็นเรื่องเลวร้ายก็จะหายไป

“เรารู้อยู่แล้วว่าในอนาคตมันต้องมีการระบาดแบบนี้อีก แต่ไม่รู้ว่าเมื่อไร ทีนี้สิ่งสำคัญคือเราต้องเรียนรู้จากวิกฤตแบบนี้ มันทำให้เราใช้เวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้น คุณมี 2 ทางคุณสามารถใช้เวลาที่อยู่ด้วยกันมากขึ้นปรับความเข้าใจกันทุกอย่าง จากเดิมที่เคยบาดหมางกัน เอาเวลามากขึ้นตรงนี้ที่อยู่ๆ ใครก็ให้มาไม่รู้ เอามาปรับความเข้าใจกัน อย่างที่ไม่เคยเข้าใจกันมาก่อน หรือคุณจะเลือกไปอีกทางหนึ่ง ทำให้รอยบาดแผลมันกว้างมากขึ้น เราเป็นหนึ่งในสมาชิกในครอบครัว เราเลือกได้” นพ.วรตม์ กล่าวทิ้งท้าย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
16:32 น. เปิดศึกปลาร้า! 'กัมพูชา'ซัดไทยใช้ตราสินค้า'ปลาฮกเสียมเรียบ'ที่ขึ้นทะเบียนGIในตลาดต่างประเทศ
16:24 น. 'กัน จอมพลัง'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน
16:22 น. 'ทิดประดิษฐ์'อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย โชว์ส่งมอบเอกสารวัด ปัดข่าวหอบเงินหนี
16:19 น. 'สะพานเข้าชุมชนถล่ม' ชาวบ้านกว่า30หลังคาเรือน-ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก
16:14 น. ‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เปิดศึกปลาร้า! 'กัมพูชา'ซัดไทยใช้ตราสินค้า'ปลาฮกเสียมเรียบ'ที่ขึ้นทะเบียนGIในตลาดต่างประเทศ

'กัน จอมพลัง'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน

อดีตผู้พิพากษาเลคเชอร์ 6 ข้อ ‘ทักษิณ’ทำอย่างน้อย 4 ครั้ง เสี่ยงครอบงำ-‘พท.’อาจถูกยุบพรรค

ติดเชื้อ'ไวรัสซิกา' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้

‘วิสุทธิ์’ย้อนเกล็ด‘ภท’ สส.โหวตสวนเรียก‘งูเห่า’ ตอนย้ายคอกเข้าพรรคบอก‘อุดมการณ์’

เกษตรกรกำแพงเพชร บุกพรรคประชาชน หลัง'ไอซ์'ปูดงบ 'ไผ่' หวั่นเดือดร้อนถูกตัดงบ

  • Breaking News
  • เปิดศึกปลาร้า! \'กัมพูชา\'ซัดไทยใช้ตราสินค้า\'ปลาฮกเสียมเรียบ\'ที่ขึ้นทะเบียนGIในตลาดต่างประเทศ เปิดศึกปลาร้า! 'กัมพูชา'ซัดไทยใช้ตราสินค้า'ปลาฮกเสียมเรียบ'ที่ขึ้นทะเบียนGIในตลาดต่างประเทศ
  • \'กัน จอมพลัง\'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน 'กัน จอมพลัง'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน
  • \'ทิดประดิษฐ์\'อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย โชว์ส่งมอบเอกสารวัด ปัดข่าวหอบเงินหนี 'ทิดประดิษฐ์'อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย โชว์ส่งมอบเอกสารวัด ปัดข่าวหอบเงินหนี
  • \'สะพานเข้าชุมชนถล่ม\' ชาวบ้านกว่า30หลังคาเรือน-ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก 'สะพานเข้าชุมชนถล่ม' ชาวบ้านกว่า30หลังคาเรือน-ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก
  • ‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้ ‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว

ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว

12 ก.ค. 2568

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

5 ก.ค. 2568

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved