วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2568, 02.00 น.
บริหารจัดการประชากรข้ามชาติ

ดูทั้งหมด

  •  

“แรงงานข้ามชาติในประเทศไทยตอนนี้ตัวเลขประมาณ 3 ล้านกว่าคนที่ขออนุญาตทำงานอย่างถูกกฎหมาย 2 ล้านกว่าเป็นแรงงานจากพม่า แล้วก็ 5 อันดับแรกของกิจการที่แรงงานข้ามชาติทำ อันดับแรกก็จะเป็นก่อสร้าง เห็นแรงงานก่อสร้างค่อนข้างมาก เกษตรและกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตร ก็คือเอาเกษตรมาแปรรูปทั้งหลายแหล่ แล้วก็งานบริการ หลังๆ มางานบริการเป็นกิจการที่มาแรงแซงหลายๆ กิจการที่เคยมีมาในอดีต แล้วก็อันสุดท้ายเป็นงานเกี่ยวกับพวกอาหาร พวกค้าขายอาหาร ผลิตอาหาร จะเห็นได้ว่า 2 อันดับท้าย หลังๆ มามันจะมาค่อนข้างมาก ดังนั้นมันชี้ให้เห็นว่าจริงๆ ว่าสังคมไทยเริ่มขาดแคลนแรงงานประเภทนี้เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด”

อดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG) กล่าวในงานเสวนา “เรียนรู้ เพื่ออยู่ร่วมกัน” ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง ช่วงกลางเดือน ธ.ค. 2567 ที่ผ่านมา ฉายภาพสถานการณ์แรงงานข้ามชาติกับการเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของแรงงานข้ามชาติในภาคบริการ เช่น โรงแรม ร้านนวด (ไม่รวมลูกจ้างทำงานบ้าน) สะท้อนการขาดแคลนแรงงานไทยในภาคส่วนดังกล่าว


คำถามที่น่าสนใจ “ในระยะยาวความต้องการจ้างแรงงานข้ามชาติในไทยจะเพิ่มขึ้นหรือไม่?” เพราะประเทศไทยมีอัตราการเกิดน้อยกว่าอัตราการตายมา 3 ปีแล้ว และมีการคาดการณ์ว่าอีก 20-30 ปีข้างหน้า กำลังแรงงานไทยอาจหายไปประมาณครึ่งหนึ่ง และแม้รัฐบาลจะพยายามออกนโยบายส่งเสริมให้คนไทยมีลูกมากขึ้น แต่ก็มีตัวเลขที่ชี้ชัดว่าคนเป็นโสดมากขึ้น หรือแม้แต่จะแต่งงานแต่ก็มีลูกกันน้อยลง

อดิศร ยกตัวอย่างย่านเยาวราช-ตลาดน้อย ภาพจำในอดีตคือย่านของคนไทยเชื้อสายจีน แต่ปัจจุบันมีชาวเมียนมา (พม่า) ลาวและกัมพูชาอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงถือว่าแรงงานข้ามชาติเข้ามาช่วยให้เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มซบเซาลง เช่น ร้านขายอาหาร ได้กลับมาคึกคักอีกครั้ง ซึ่งหลายร้านแม้ยังมีเจ้าของเป็นคนไทย แต่คนทำอาหารมาเสิร์ฟเป็นลูกจ้างที่เป็นแรงงานข้ามชาติ

เมื่อ “ดูนโยบายของรัฐไทย” จะพบว่า “ด้านหนึ่งมีความพยายามดึงกำลังแรงงานที่มีศักยภาพให้อยู่ในประเทศไทย” เช่น บุตรหลานแรงงานข้ามชาติที่เติบโตและเรียนหนังสือในไทยจนจบระดับ ป.ตรี สามารถขอสัญชาติไทยได้ “แต่อีกด้านหนึ่ง ทัศนคติของเจ้าหน้าที่และตนไทยบางส่วนยังเป็นข้อจำกัด” แม้จะมีกติกากำหนดไว้แต่การไปให้ถึงปลายทางแต่ก็มีเจ้าหน้าที่เป็นเหมือนกำแพงกั้น หรือมีคนบางกลุ่มพยายามเคลื่อนไหวไม่เอาแรงงานชาวเมียนมา

“กฎระเบียบก็มีปัญหาโดยตรงเช่นกัน” อาทิ การพัฒนาทักษะแรงงานข้ามชาติที่อยู่ในไทยมานาน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเพราะไม่เช่นนั้นไทยก็จะยังคงเป็นประเทศที่พึ่งพาแรงงานกลุ่มไร้ทักษะเป็นหลักต่อไป แต่กฎหมายยังกำหนดให้พัฒนาได้เฉพาะแรงงานไทยเท่านั้น หรือแม้แต่ในส่วนของแรงงานวิชาชีพ ที่มีข้อตกลงว่าบางอาชีพสามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ได้อย่างเสรี เช่น แพทย์ พยาบาล ไทยนั้นกำหนดให้สอบใบประกอบวิชาชีพเป็นภาษาไทย ในขณะที่สิงคโปร์ให้สอบเป็นภาษาอังกฤษได้

ขณะที่ ชลธิชา ตั้งวรมงคล ผู้ประสานงานองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) กล่าวว่า ย้อนไปในปี 2556จำนวนประชากรย้ายถิ่น อยู่ที่ร้อยละ 3 ของประชากรทั้งโลก แต่ในปี 2564 อยู่ที่เกือบร้อยละ 30 และในจำนวนนี้ร้อยละ 70เป็นการย้ายถิ่นเพื่อการทำงาน นอกจากนั้นก็จะเป็นการย้ายเพื่อหนีภัยอันตรายจากสงครามหรือความรุนแรงในประเทศบ้านเกิด หรือปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำทะเลหนุนสูงทำให้บางชุมชนต้องย้ายออกจากพื้นที่เดิม

สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากกรมการจัดหางาน พบว่า “มีคนไทยไปทำงานในต่างประเทศกระจายตัวมากกว่า 80 ประเทศ และมีชาวต่างชาติราว 40 ประเทศเข้ามาทำงานในไทย” ทั้งนี้ ในระดับสากลมี “ข้อตกลงระดับโลกว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย เป็นระเบียบ และสม่ำเสมอ (GCM)” ที่ออกมาในปี 2561 เป็นแนวทางให้ประเทศต่างๆ ใช้กำหนดนโยบายรับมือการย้ายถิ่น ซึ่งจะมีผลต่อการเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติ

เช่น คนที่ตั้งใจจะไปทำงานต่างประเทศ มีการเตรียมตัวอย่างดี หาข้อมูลว่าต้องไปช่องทางใด มีค่าใช้จ่ายเท่าใด ต้องจ่ายทางไหนบ้าง มีทักษะอะไรที่จำเป็นต้องฝึกฝนก่อนเดินทาง ซึ่งแม้ประเทศปลายทางจะไม่ได้ใช้ภาษาที่คนคนนั้นรู้ แต่การเตรียมตัวก็ช่วยได้มากในการทำให้ใช้ชีวิตในประเทศปลายทางได้อย่างกลมเกลียว แตกต่างกับคนที่ต้องหนีภัยซึ่งต้องรีบตัดสินใจในเวลาอันสั้น หรือคนที่แม้จะมีเวลาเพียงพอแต่ไม่มีข้อมูลให้เตรียมตัว สภาพก็จะเข้าทำนองไปตายเอาดาบหน้า แล้วก็จะมีเสียงสะท้อนในแง่ลบจากประชาชนในประเทศปลายทางนั้น

อาทิ คนไทยวิพากษ์วิจารณ์ชาวเมียนมาที่เข้ามาในประเทศไทยแล้วขับขี่ยานพาหนะว่าไม่มีวินัยจราจร แต่อีกมุมหนึ่งหากเป็นชาวเมียนมาที่เพิ่งเข้ามาแล้วจะรู้กฎจราจรของไทยได้อย่างไร ซึ่ง “การย้ายถิ่นอย่างปลอดภัย หมายถึงการรับรู้ข้อมูลตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง และย้ายผ่านช่องทางที่ถูกกฎหมาย” โดยกรณีของประเทศไทย ความท้าทายที่สำคัญคือการลี้ภัยของชาวเมียนมาจากปัญหาความรุนแรงจากเหตุขัดแย้ง

“ที่ประเมินคือมีประมาณ 14 ล้านคน ในเมียนมาที่จะถูกบังคับเกณฑ์ทหาร แล้วคิดภาพถ้า 14 ล้านคนเขาอยากมาประเทศไทยแล้วเราไม่รับมือกับสิ่งนี้ เรายังพยายามผลักเขากลับในขณะที่เขาอยากจะเอาชีวิตรอด เราก็ต้องคิดภาพว่ามันจะสร้างความสนั่นหวั่นไหวของความปะทะกัน ไม่ใช่ปะทะจริงๆแต่เป็นปะทะในแง่กลุ่มคนจำนวนมากที่ไม่รู้กฎเกณฑ์ในประเทศไทย ไม่รู้ภาษาไทย ไม่รู้อะไรเลย มันก็จะเกิดการปะทะที่อาจจะไม่สังสรรค์เท่าไร” ชลธิชา กล่าว

ด้าน ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงมุมมองของรัฐหรือเมืองที่มอง “ประชากรแฝง” อันหมายถึงประชากรที่ไม่ได้เข้าระบบลงทะเบียนในรัฐหรือเมืองนั้นๆ ว่าเป็นภาระ เช่น แรงงานข้ามชาติ หรือคนในประเทศนั้นเองที่ย้ายจากเมืองหนึ่งไปทำงานหรือไปเรียนในอีกเมืองหนึ่ง(อาทิ คนต่างจังหวัดเข้ามาในกรุงเทพฯ) แต่ในการมองว่าเป็นภาระก็สะท้อนความไม่พร้อมของรัฐ เพราะไม่มีหน่วยงานใดที่จัดทำงบประมาณที่นับรวมประชากรแฝง

“ประชากรแฝงเขาไม่ได้เป็นภาระ เขาเป็นผู้ให้ประโยชน์กับตัวเมือง เพราะถ้าเขาไม่มาใครจะทำงาน แล้วเขาจ่ายภาษี ยังเห็นทะเลาะกันจาก 7% เป็น 15% VAT (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) มันเก็บตรง ฉะนั้นมันไม่ควรมีอคติ คนงานต่างด้าวทั้งหลายไม่จ่ายภาษีให้ประเทศไทย มีใครไม่กินเครื่องดื่มชูกำลัง มีใครไม่เข้าร้านสะดวกซื้อไหม? บัตรโทรศัพท์ก็ยังมี มีใครไม่เปิดบัญชีบ้าง? ดังนั้นเรื่องนี้มันจึงไม่ควรจะมองว่ามันมีสิ่งที่เรียกว่าแรงงานต่างด้าว ในบางกรณี การสู้เรื่องสิทธิแรงงานเรื่องหนึ่ง แต่ในแง่การเป็นพลเมืองทุกคนช่วยเมืองให้เติบโต แต่ในด้านกลับกันคุณไม่ดูแลเขา” ผศ.ดร.พิชญ์ กล่าว

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
08:45 น. ด่วน!!! โปรดเกล้าฯ'ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2' 'นายกฯ'ควบ'รมว.วัฒนธรรม'
08:33 น. รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว
08:27 น. 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
08:01 น. ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
07:56 น. หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า
ดูทั้งหมด
วอน'ญี่ปุ่น'ช่วยหย่าศึก! 'ฮุน เซน'ขอร้องให้ช่วยพูดกับไทย จี้ให้ศาลโลกช่วยตัดสินปมพื้นที่พิพาท
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
'ลุงเตีย'ลำบากใจ!ร่วม'ฮุนเซน'ตรวจชายแดนท่ามกลางสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด
'ปานเทพ' พอใจภาพรวมชุมนุม 28 มิ.ย. เผยยอดเงินหนุน 'มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน' 24 ล้านแล้ว
ดูทั้งหมด
แวดวงการเงิน : 1 กรกฎาคม 2568
หุ้นเด่น : 1 กรกฎาคม 2568
วิกฤตกัญชาในพายุการเมือง
ขำกันหลังวันม็อบ
กูไม่ออก?
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย

'ไพศาล'แทงสวน! หาก'อิ๊งค์'หยุดปฏิบัติหน้าที่'นั่ง'รมว.วธ.'ได้

หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า

ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด

‘ชูวิทย์’เลคเชอร์‘เรื่องตลก’พรรคร่วมฯ เหน็บจุกๆทุกครั้ง‘เพื่อไทย’เป็นรัฐบาล ต้องไล่ถึงจะลง

'หมอสุรพล'ชี้ทางออก!!! 'ถ้าไม่เปลี่ยนวัฒนธรรมพลเมืองวันนี้ ประเทศไทยจะไม่มีวันเปลี่ยน'

  • Breaking News
  • ด่วน!!! โปรดเกล้าฯ\'ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2\' \'นายกฯ\'ควบ\'รมว.วัฒนธรรม\' ด่วน!!! โปรดเกล้าฯ'ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2' 'นายกฯ'ควบ'รมว.วัฒนธรรม'
  • รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว
  • \'ปากีสถาน\'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
  • ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่ ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
  • หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

17 พ.ค. 2568

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

10 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved