วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2568, 02.00 น.
‘ทุนโต-เทคโนโลยีก้าวไปไว’ แต่‘กลไกกำกับดูแล’ตามไม่ทัน

ดูทั้งหมด

  •  

“จริงๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด มันมีปัญหาที่ใหญ่กว่านั้นหลายเรื่อง เรื่องแรกคือต้องบอกว่าโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการแข่งขันมันเปลี่ยนแปลงไปมาก ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้มันสะท้อนปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ก็คือด้วยเหตุผลของเทคโนโลยีหรือผลของการพัฒนาเศรษฐกิจที่ผ่านมา ปัจจุบันต้องบอกว่าโครงสร้างทางเศรษฐกิจมีการกระจุกตัวของอำนาจทางเศรษฐกิจและการผูกขาดในรูปแบบใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลามีปัญหาว่าเทคโนโลยีวิ่งเร็วกว่ากฎหมายไม่รู้กี่เท่าตัว”

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวในวงเสวนา “พิรงรอง Effect : สะเทือนอุตสาหกรรมสื่อ?” ซึ่งจัดโดยสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติร่วมกับภาคีเครือข่ายอีกหลายองค์กร เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2568 ที่ผ่านมา และแม้ชื่องานเสวนาครั้งนี้จะอิงตามคดีดังที่เป็นข่าวใหญ่โตเมื่อช่วงต้นเดือน ก.พ. 2568 แต่อดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ อยากชวนให้ผู้ฟังมองเห็นปรากฏการณ์บางอย่างที่กำลังเกิดขึ้นในยุคนี้ และไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยแต่เป็นทั่วโลก ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวได้กลายเป็นอุปสรรคของภาครัฐอย่างมากในการทำหน้าที่คุ้มครองประโยชน์สาธารณะ


ทั้งนี้ ความแตกต่างระหว่างกฎหมายเอกชนกับกฎหมายมหาชน คือ กฎหมายเอกชนมีหลักว่าหากไม่ห้ามย่อมสามารถทำได้ ในขณะที่กฎหมายมหาชนซึ่งต้องการคุ้มครองสิทธิ์ของคนที่ได้รับผลกระทบจากอำนาจรัฐ จึงมีหลักว่าหากเจ้าหน้าที่รัฐจะทำอะไรเรื่องนั้นก็ต้องมีกฎหมายให้อำนาจไว้ แต่ด้วยสถานการณ์ที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา ทำให้จะพยายามเขียนกฎหมายอย่างไรก็ตามไม่ทัน หรือแม้จะมีกฎหมายออกมาแล้วแต่การทำความเข้าใจก็ยังเป็นเรื่องยาก

แต่เมื่ออำนาจไปกระจุกตัวอยู่กับผู้ที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจมาก สิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลกคือองค์กรกำกับดูแลมีปัญหาว่าใครกำกับใครกันแน่ และไม่ใช่เฉพาะในแวดวงสื่อ เมื่อมองไปยังแวดวงพลังงาน โทรคมนาคม สาธารณูปโภค การขนส่ง การเงิน ฯลฯ ก็มีปัญหาแบบเดียวกัน นอกจากนั้น การทำงานขององค์กรอิสระต่างๆ หากมีอะไรบิดเบี้ยวในกระบวนการ เช่น การสรรหา แม้จะมีกฎหมายที่ดีแต่ก็ไม่สามารถทำให้องค์กรเหล่านี้ทำงานได้

หรือแม้กระทั่งการมาพูดถึงผลประโยชน์ของผู้บริโภคหรือการแข่งขันที่เป็นธรรมก็ยังมีความสลับซับซ้อน อาทิ หากไปถามทุนภายในประเทศ ก็อาจได้รับเสียงสะท้อนว่า ในขณะที่มีการกำกับดูแลผู้ประกอบการภายในประเทศ แต่ผู้ประกอบการจากต่างประเทศไม่ได้ถูกดำเนินการในลักษณะเดียวกันแบบนี้ผู้ประกอบการในประเทศจะไม่เสียเปรียบหรือ?

หรือการที่แพลตฟอร์มต่างๆ ไปใส่โฆษณาในเนื้อหาของช่องโทรทัศน์ปกติ (Free TV) ที่นำไปเผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์มของตนเอง ก็อาจมีเสียงโต้แย้งจากผู้บริโภคที่บอกว่าแม้จะไม่ได้ชอบโฆษณาเหล่านั้น แต่การที่สามารถเข้าถึง Free TV ผ่านแพลตฟอร์มก็เป็นประโยชน์กับตัวเขา หรือแม้แต่คนที่ได้รับผลกระทบในการแข่งขัน คือผู้ประกอบการ Free TV ก็ไม่แน่ใจว่าจะร้องเรียนหรือไม่? เพราะด้านหนึ่งก็ได้ยอดผู้ชม (Eyeball) เพิ่มขึ้น รวมถึงความสัมพันธ์กับธุรกิจที่เกี่ยวข้องจะมากระทบกับรายได้ในด้านอื่นของผู้ประกอบการหรือไม่?

“แม้กระทั่งตอนนี้ เอาว่าธุรกิจทั่วไปทั้งหมดนะ ไม่ต้องพูดถึงเรื่องสื่อแล้ว ปัญหาใหญ่ที่สุดของผู้ประกอบการในประเทศไทยวันนี้ก่อน เจอของราคาถูกที่เข้ามาในแพลตฟอร์มต่างๆ ถูกกฎหมาย-ผิดกฎหมาย ถามว่าจริงๆ ถ้าดูแลเรื่องการแข่งขันที่เป็นธรรมก็ต้องไปสกัด แต่หลายประเทศพอเริ่มสกัดเกิดอะไรขึ้น? ผู้บริโภคโวยว่า..อ้าว! กำลังได้ซื้อของถูกอยู่แล้วทำไมอยู่ดีๆ มาทำตรงนี้? โดยที่ผู้บริโภคเหล่านั้นอาจไม่ได้คิดถึงว่าจริงๆ ถ้ามองยาวออกไป สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่าวิธีการแข่งขันที่ใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจว่า “ฆ่าคู่แข่งก่อน” ครองตลาดแล้วค่อยว่ากัน” อดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ กล่าว

ส่วนคำถามที่ว่า “ในเมื่อปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นทั่วโลก..นั่นหมายความว่า “สิ้นหวังแล้ว ใช่หรือไม่?” อดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ ให้มุมมองว่า ตนไม่มีเจตนาทำให้ใครสิ้นหวัง และท้ายที่สุดยังเชื่อว่าจะมีวิวัฒนาการ แต่ปัญหาช่องว่างที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้มาจากการที่กรอบความคิดตามไม่ทันความเป็นจริง และ ณ วันนี้ สิ่งที่ตนกลัวคือการกำกับดูแลเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพราะผู้นำทางเทคโนโลยีแต่ละค่ายมีมุมมองแตกต่างกัน

กล่าวคือ “สหรัฐอเมริกา” มีปรัชญาที่แทบจะเรียกว่าไม่ควบคุมอะไรเลยเพราะเชื่อว่าการควบคุมทำให้การพัฒนานวัตกรรมและการแข่งขันไม่เกิดขึ้น ขณะที่ “ยุโรป” จะตรงกันข้ามคือควบคุมทุกอย่างแล้วก็เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ส่วน “จีน” จะพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้กับสังคมของตนเองแบบควบคุมได้ แต่ก็ไม่สามารถส่งออกไปแล้วใช้รูปแบบเดียวกันได้ รวมถึงอาจมีคนที่ไม่อยากนำเข้ารูปแบบนั้นก็ได้

ดังนั้น “หากไม่อยากสิ้นหวังก็ต้องสร้างความตื่นตัวให้เห็นความสำคัญของการแข่งขันที่เป็นธรรม” รวมถึงความสำคัญของผู้บริโภคและผู้แทนของประชาชนที่จะต้องดูแลผู้บริโภค ต้องผนึกกำลังกันสร้างแรงกดดันต่อสู้กับผู้ที่มีอิทธิพล และตนก็มองว่าอย่าไปกล่าวโทษหรือมีอคติกับทุน เพราะเขาก็อยู่ในโลกการแข่งขันเช่นกัน ซึ่งตนเชื่อว่าทุนขนาดใหญ่ทุกค่ายก็จะอ้างว่าจำเป็นต้องใหญ่เพราะไม่เช่นนั้นก็สู้ต่างชาติไม่ได้ ดังนั้นจะทำอย่างไรที่จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายกำกับดูแล นอกจากนั้น แม้จะมีอิทธิพลอื่นพยายามครอบงำ แต่หากสังคมเป็นประชาธิปไตย เสียงจากประชาชนในวงกว้างก็ยังมีผลที่ทำให้ผู้มีอำนาจต้องตอบสนอง

ขณะที่ รศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยกตัวอย่างการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมในวงการสื่อบันเทิง กล่าวคือ “ในขณะที่การทำละครซีรี่ส์ออกอากาศทางช่องโทรทัศน์ปกติ (Free TV) มีข้อห้ามต่างๆ มากมาย แต่การทำละครซีรี่ส์เผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ (OTT หรือ Streaming) ไม่ได้อยู่ภายใต้กฎเดียวกัน” ทำให้เกิดเสียงสะท้อนจากคนทำละครซีรี่ส์ป้อนให้ช่อง Free TV ว่าที่พวกตนถูกมองว่าเนื้อหาไม่ไปถึงไหนก็เพราะถูกควบคุม แต่หากให้อิสระแบบที่ป้อนให้แพลตฟอร์ม OTT ก็สามารถทำแบบนั้นได้เหมือนกัน!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:42 น. ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
13:22 น. ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
13:14 น. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
13:08 น. 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
12:24 น. ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

‘ทนายวันชัย’มองเรื่อง‘สีกากอล์ฟ’ เปรียบฆาตกามต่อเนื่อง กระชากหน้ากาก‘คนห่มเหลือง’

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

สุดทน!‘สุทิน’จี้ผู้รักษากฎหมายต้องขยับ ปล่อยให้‘สทร.’ย่ำยีประเทศไม่ได้อีกแล้ว

‘นักเขียนซีไรต์’ฟาดนักการเมืองขี้ขลาด มุ่งแก้ ม.112 นิรโทษกรรมตัวเอง

  • Breaking News
  • ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้ ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
  • รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
  • \'ตะไลชนโคม\' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน\'งานบุญวันเข้าพรรษา\' 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
  • ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว

ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว

12 ก.ค. 2568

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

5 ก.ค. 2568

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved