วันอาทิตย์ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
‘The Grand Old Lady’ บทบันทึกก่อนอำลา ‘กูดิสัน พาร์ค’

‘The Grand Old Lady’ บทบันทึกก่อนอำลา ‘กูดิสัน พาร์ค’

วันอาทิตย์ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2568, 13.45 น.
Tag : บีแหลมสิงห์ พรีเมียร์ลีก ทอฟฟี่สีน้ำเงิน กูดิสันพาร์ด เอฟเวอร์ตัน
  •  

 

“งานเลี้ยงมีวันเลิกรา” อาจจะเป็นคำโบราณที่แสนเชย แต่ใช้ได้ทุกยุคสมัย


 

ในที่สุดอีกหนึ่งสนามแห่งตำนานวงการฟุตบอลอย่าง “กูดิสัน พาร์ค” รังเหย้าของ “ทอฟฟี่สีน้ำเงิน” เอฟเวอร์ตัน ก็จะอำลาจากวงการฟุตบอล

 

ยังดีที่ไม่มีการ “ทุบ” แต่จะให้ทีมหญิงของทอฟฟี่บลูส์ มาใช้ในการแข่งขันแทน

 

สนามมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นสนามฟุตบอลแห่งแรกที่สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์เพื่อฟุตบอลในอังกฤษโดยเฉพาะ 

 

เรื่องราวของสนามแห่งนี้เกี่ยวพันกับการเติบโตของลิเวอร์พูล ในฐานะศูนย์กลางอุตสาหกรรม ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมวิกตอเรีย ซึ่งขับเคลื่อนโดย “ท่าเรือ” ที่กว้างขวางตามแนวชายฝั่งทะเล ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นแหล่งขนส่งสินค้าของโลกถึง 40%

 

แต่เมื่อศตวรรษที่ 20 ผ่านไปและสถานะของลิเวอร์พูลในฐานะศูนย์กลางพลังแห่งอุตสาหกรรมก็เสื่อมถอย 

 

กูดิสัน พาร์ค ก็เดียวเช่นกัน.............

 

ทีมจะย้ายไปยังสนามแห่งใหม่ที่อยู่ริมน้ำของเมืองที่แบรมชี่ย์-มอร์ ด็อค ตั้งแต่ฤดูกาลหน้าเป็นต้นไป เรื่องราวของบันทึกบทใหม่ที่สร้างขึ้นจากรุ่นสู่รุ่นครั้งใหม่

 

จะถูกเขียนขึ้นทางทิศตะวันตกห่างจากเดิมออกไปเพียงสองไมล์เท่านั้น.............

 

“กูดิสัน พาร์ค” ใช้เป็นสนามเหย้ายาวนานถึง 133 ปีของเหล่า “ทอฟฟี่เมน” นับตั้งแต่เก็บข้าวของออกมาจากแอนฟิลด์ ปี 1892 จากนั้นก็เกิดตำนานต่าง ๆ มากมายนัก

 

1.สนามฟุตบอล 4 ด้านแห่งแรกในอังกฤษ

 

2.สนามกีฬาแห่งแรกที่จะมีอัฒจันทร์ 3 ชั้น

 

3.สนามฟุตบอลแห่งแรกที่จะมีการติดตั้งซุ้มม้านั่งในอังกฤษ

 

4. สนามกีฬาแห่งแรกที่มีระบบทำความร้อนใต้ดิน

 

5. สนามกีฬาใหญ่แห่งแรกที่มี 2 ชั้นทั้ง 4 ด้าน

 

สำหรับตัวผม ไม่ใช่แฟนบอลเอฟเวอร์ตัน แต่เสื้อบอลตัวแรกดันเป็น “เสือเยือนสีเหลือง” ของ เอฟเวอร์ตัน เมื่อปี 1986

 

ยิ่งไปกว่านั้นการเดินทางมายังอังกฤษครั้งแรก เมื่อปี 2004 หรือเมื่อ 21 ปีที่แล้ว สนามฟุตบอลแห่งแรกที่เดินทางมาถึง ก็คือ กูดิสัน พาร์ค และเป็นสนามฟุตบอลแห่งแรกบนเกาะอังกฤษที่ได้เข้ามาชมเกมการแข่งขัน

 

มีโอกาสเข้าชมฟุตบอลที่นี่รวมทั้งสิ้น 3 นัด นั่นคือนัดเปิดสนามปี 2004 เอฟเวอร์ตัน แพ้ อาร์เซนอล ที่มาป้องกันแชมป์จากยุคไร้พ่าย 1-4 

 

เกมนั้นไอ้หนูดาวรุ่ง เวย์น รูนี่ย์ ที่เพิ่งหล่นวลี Once a Blue, always a Blue ลงมาโชว์ตัวให้พวกเราเห็นในวันเซ็นสัญญาเปิดตัว เครื่องดื่มตราช้างบนหน้าอกของเอฟเวอร์ตัน และได้เห็น “บิ๊กดังค์” ดันแคน เฟอร์กูสัน ในช่วงท้ายปลายทางลงมาวอร์มเพราะไม่ฟิตพอได้แค่สำรอง

 

จากนั้นปี 2016 มาดูเกมที่พวกเขาเชือด บอร์นมัธ 2-1 ได้อยู่ในบรรยากาศพอดีกับการรำลึกถึงแฟนฟุตบอลของ ลิเวอร์พูล ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ฮิลล์สโบโร่ ครบรอบ 27 ปี

 

และเกมที่ 3 ซึ่งถือเป็นเกมสุดท้าย เกิดขึ้นในปี 2022 ด้วยการพลิกกลับมาชนะ คริสตัล พาเลซ 3-2 หนีตกชั้นได้สำเร็จ

 

ด้วยการที่มาทำข่าวหลายครั้ง ทำให้ได้เข้าไปชมสนามมากกว่าแมทช์เดย์ ผมมีความรู้สึกว่า แฟนบอลที่นี่เชียร์กันได้อย่างเดือด ดุเด็ดเผ็ดมันส์ และมีความน่าเกรงขามอย่างมาก 

 

แมทช์ที่พวกเขาวิ่งลงไปในสนามหลังจากตีเสมอ พาเลซ 2-2 ปาทริค วิเอร่า กุนซือพาเลซ โมโหแฟนทอฟฟี่จนลุกขึ้นมาเตะ และแฟนบอลลงไปอีกทีตอนพลิกนำ 3-2 ก่อนจะวิ่งวุ่นลงไปในช่วงจบเกมเพราะพวกเขารอดตกชั้น

 

ผมก็กะจะมั่วดริงค์ลงไปเหมือนกับแฟนบอลเหล่านั้น แต่เจ้าหน้าที่สนามห้ามไว้ บอกว่า คุณไม่ใช่คนที่มาประจำ อย่าลงไปดีกว่า มันเสี่ยงเกินไป

 

…..หรือเรื่องแปลก ๆ ก็คือ ผมได้ไปสนามซ้อมเอฟเวอร์ตัน ก่อนสโมสรอื่นในลีกอังกฤษ และได้เจอกับทีมงานของ เดวิด มอยส์ ในช่วงปลายซีซั่น 2013 ก่อนที่ มอยส์ จะย้ายไปอยู่กับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ในอีกไม่กี่วันต่อมา

 

ทั้งหมดนั้น....ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะเชียร์อยู่ฝั่งตรงข้ามห่างกันไปเพียงกิโลเดียว ทำไมดวงถึงพันธุ์ผูกกับทีมนี้ ผูกกับทีมสีน้ำเงินก่อนทีมสีแดงอยู่เสมอ

 

บางครั้งก็ตั้งคำถามกับตัวเองว่า มันอาจจะเป็นการ “ตามรอย” ตำนานที่ เอฟเวอร์ตัน ตัดสินใจ “ถอนรากถอนโคก” ออกจากแอนฟิลด์ แล้วมา “ตั้งหลักปักฐาน” ที่กูดิสัน พาร์ค ก็เป็นได้…..หรือไม่

 

ไม่ได้มาระลึกชาติเล่น ๆ กันนะครับ แต่ผมรู้สึกว่าไปถึง “แซนดอน โฮเทล”(โรงแรมที่ประชุมก่อตั้งสโมสรลิเวอร์พูล มาเล่นทีแอนฟิลด์ แทน เอฟเวอร์ตัน) แล้วมันคุ้นหูคุ้นตากว่าโรงแรมใด ๆ บนโลกใบนี้ แต่ผมที่ไปอังกฤษมาแล้ว 23 รอบ ส่วนใหญ่อยู่เมืองลิเวอร์พูล ซะด้วย แต่ไม่เคยมีโอกาสเดินเข้าไปในโรงแรมนี้เลย

 

เหมือนกับว่า โดนใบสั่งไม่ให้เข้าไปที่นี่ และผมหวังว่าสักวันผมจะเข้าไปให้ได้.............

 

สนามกำลังจะไม่ค่อยได้เห็นอีกต่อไปในการถ่ายทอดสด แต่ยังดีที่ยังคงอยู่ตรงนี้ 

 

แน่นอนว่า มีการรวบรวมสถิติที่น่าสนใจออกมาก่อนเกมนัดสุดท้ายวันอาทิตย์นี้ ระหว่าง เอฟเวอร์ตัน กับ เซาธ์แฮมป์ตัน จึงนำมาฝากกันเพื่อระลึกถึงสนามนี้ที่เริ่มเตะนัดแรก 24 สิงหาคม 1892 เป็นครั้งสุดท้าย...........

 

2,791 เกมในทุกรายการเตะที่นี่ และแปลกสุดคือ เกมเอฟเอคัพ รอบ 4 เมื่อปี 1991 กับ โวคกิ้ง ทีมนอกลีกที่ร้องขอมาเตะที่นี่เป็นสนามเหย้า ทำให้ เอฟเวอร์ตัน เป็นทีมเยือนทั้งที่เตะในบ้านตัวเอง และต้องใส่ชุดน้ำเงินทั้งชุดอีกต่างหาก เพราะ โวคกิ้ง เจ้าบ้านเทียม นุ่งกางเกงขาว!!! 

 

1,538 – ชัยชนะในทุกรายการที่สนามนี้

 

5,370 – ประตูที่ทำได้

 

3,028 – ประตูที่คู่แข่งทำได้

 

17 – สถิติชนะติดต่อกันมากสุดที่นี่ เกิดขึ้นระหว่างเดือนตุลาคม 1930 ถึง เมษายน 1931

 

43 – เกมที่ไม่แพ้ใครยาวนานที่สุดที่นี่้ ตั้งแต่เดือนกันยายน 1961 ถึง สิงหาคม 1963

 

840 – นาทีที่ไม่เสียประตูในทุกรายการ ระหว่างธันวาคม 1906 ถึงมีนาคม 1907 

 

8 - ไม่เสียประตู(คลีนชีต)ติดต่อกัน 8 ครั้ง รวม 633 นาทีเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล 2012/13 และต่อเนื่องมาถึงเกมที่สองของฤดูกาลถัดมา

 

856 – คือจำนวนนักเตะที่ลงสนามให้กับเอฟเวอร์ตัน ในสนามนี้

 

376 – นัด ที่นายประตูแห่งเวลส์ “เนวิลล์ เซาท์ธอลล์” ลงเล่นในสนามนี้มากกว่าใคร

 

241 – ประตู ที่ ดิกซี่ ดีน กลายเป็นผู้ทำประตูสูงสุดที่นี่

 

9 – ประตูในเกมเดียว คือจำนวนที่ เอฟเวอร์ตัน ทำได้ในนัดเดียว โดยทำได้ถึง 5 เกม 

 

8 – ประตู คือ ระยะห่างของชัยชนะที่นี่ ด้วยสกอร์ 9-1 เหนือแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ในปี 1906 และ 8-0 เหนือ เซาธ์แฮมป์ตัน ในปี 1971

 

12 – ประตู คือจำนวนการยิงมากที่สุดในเกมเดียว นั่นคือ ชนะ เชฟฟิลด์ เวนส์เดย์ 9-3 ในดิวิชั่น 1  ปี 1931 และ ชนะ พลีมัธ อาร์ไกล์ 8-4 ในดิวิชั่น 2 ในปี 1954 

 

120 – นัด คือจำนวนแมตช์ที่พบกับลิเวอร์พูล ในทุกรายการ มากกว่าสโมสรอื่น

 

88 ล้านคน  – คือ จำนวนผู้ชมที่กูดิสันเพื่อดูเกมของเอฟเวอร์ตันในทุกรายการ โดยมีผู้ชมเฉลี่ย 32,000 คน

 

78,299 – คน คือ สถิติผู้ชมมากที่สุด เกิดขึ้นเกมกับลิเวอร์พูล ในเดือนกันยายน 1948

 

60 – นัด คือ ชัยชนะเหนือ ซันเดอร์แลนด์ มากกว่าทีมอื่นใด และยังยิง “เดอะแบล็คแคทส์”  ได้มากสุดด้วย รวม 216 ประตู

 

148 – สโมสร ที่ลงเตะที่สนามแห่งนี้

 

71 – สโมสร ลงเตะที่นี่เพียงครั้งเดียวเท่านั้น 

 

10 – วินาที คือเวลาที่เกิดการทำประตูเร็วสุดของสนามนี้ เกิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้เอง “อับดูลาย ดูกูเร่” ทำได้ในเกมพบกับ เลสเตอร์ ซิตี้ในเดือนกุมภาพันธ์ แต่ถ้านับเกมเยาวชนด้วยนั้น ศึกเอฟเอ ยูธ คัพ เมื่อเดือนธันวาคม 1969 เดวิด จอห์นสัน ของเอฟเวอร์ตัน ยิงได้ด้วยการใช้เวลาเพียง 5 วินาที

 

ขณะที่ประตูที่ช้าที่สุด เกิดขึ้นนาทีที่ 99 อเล็กซ์ อิโวบี ทำได้ในเกมกับนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด เมื่อเดือนมีนาคม 2022

 

52 – นาทีที่ โรเบิร์ต "บันนี่" เบลล์ ทำแฮตทริกได้สำเร็จในเกมกับลีดส์ที่นี่เมื่อเดือนตุลาคม 1938 ซึ่งเป็นเกมที่ทีมเอาชนะไปด้วยคะแนน 4-0 ประตูดังกล่าวเป็นประตูสุดท้ายของเบลล์สำหรับสโมสร 

 

1982 คือปีที่สุดท้ายที่ผู้เล่นเอาท์ฟิลด์ ต้องเล่นเป็นประตู นั่นคือ ไมค์ ไลออนส์ เข้ามาแทนที่เนวิลล์ เซาท์ฮอลที่ได้รับบาดเจ็บในเกมเสมอกับแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด 3-3 เมื่อเดือนเมษายน 1982 รวมเวลานานถึง 43 นาที

 

16 – ปี คืออายุนักเตะที่น้อยที่สุดของทีมที่ลงสนาม คือ “เธียร์รี สมอล” ด้วยวัย 16 ปี 176 วันเมื่อเขาลงมาเป็นตัวสำรองในเกมเอฟเอ คัพ พบกับเชฟฟิลด์ เวนส์เดย์ในเดือนมกราคม 2021

 

18 – เกม ที่สนามนี้ใช้แข่งทีมชาติ แบ่งเป็น 5 นัดในฟุตบอลโลกปี 1966, ใช้เตะศึกโฮม อินเตอร์เนชันแนล 10 นัด, 2 นัดกระชับมิตรที่ อังกฤษ ใช้เป็นรังเหย้า และเกมอัมโบร คัพ ปี 1995 ระหว่างบราซิล กับ ญี่ปุ่น

 

2 – ประตูที่บราซิลทำได้ในการเอาชนะบัลแกเรีย 2-0 ศึกฟุตบอลโลกปี 1966 ได้มาจาก “นกน้อย” การ์รินชาและ “ไข่มุกดำ” เปเล่ ถือเป็นครั้งเดียวที่สุดยอดนักเตะทั้งสองคนยิงประตูได้ในเกมเดียวกันสำหรับทีมชาติ

 

4 – ประตูสุดยอดที่ “เสือดำแห่งโมซัมบิก” ยูเซบิโอ ยิงในเกมที่ โปรตุเกส พลิกยิงแซงชนะ เกาหลีเหนือ 5-3 ในรอบก่อนรองชนะเลิศฟุตบอลโลกปี 1966 เกิดขึ้นที่นี่

 

7 – คือ จำนวนผู้เล่นเอฟเวอร์ตันที่เหลืออยู่ในสนามหลังจบเกมที่เอาชนะบาร์นสลีย์ 3-0 ในศึกเอฟเอคัพ ปี 1915  นั่นเพราะว่า มีนักเตะโดนไล่ออก 2 คน กับอีก 2 คนบาดเจ็บเล่นต่อไปไม่ไหว!!!

 

สุดท้ายก็คือ กูดิสัน พาร์ค เป็นสนามเดียวที่ผู้รักษาประตูยิงประตูได้มากกว่า 1 คนในพรีเมียร์ลีก ได้แก่ ปีเตอร์ ชไมเคิล ของแอสตัน วิลล่าในปี 2001 และทิม ฮาวเวิร์ด ยิงใส่โบลตันในปี 2012

 

ทุกหนทุกแห่งที่คุณมองไป ความทรงจำถึงประวัติศาสตร์ของเอฟเวอร์ตันก็ยังคงอยู่ ที่บริเวณพาร์คเอนด์มีรูปปั้นของดิกซี่ ดีน กองหน้าในตำนานที่ยิงประตูได้ 383 ประตูจากการลงสนาม 433 นัดให้กับท็อฟฟี่ รวมทั้งทำประตูสถิติในลีกที่ยากต่อการท้าทาย นั่นคือ 60 ประตูในปีเดียว เมื่อฤดูกาล 1927-28

 

อีกด้านหนึ่งของสนามมีรูปปั้น “Holy Trinity” ประกอบด้วย ฮาวเวิร์ด เคนดัลล์, โคลิน ฮาร์วีย์ และอลัน บอลล์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางสำคัญของทีมที่คว้าแชมป์ลีกในปี 1970 ในกาลต่อมา เคนดัลล์ กลายเป็นผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของสโมสร โดยคว้าแชมป์ลีกได้ 2 สมัย, เอฟเอคัพ 1 สมัย และคัพวินเนอร์สคัพของยุโรป 1 สมัย ในช่วงกลางทศวรรษ 1980

 

อัฒจันทร์ Bullens Road และ Gwladys Street ซึ่งสร้างเสร็จในปี 1926 และ 1938 ตามลำดับ ยังคงมีรูปแบบตาข่ายที่เป็นเอกลักษณ์ของ อาร์ชิบัลด์ ไลต์ช  สถาปนิกชาวสก็อตแลนด์ที่มีชื่อเสียง 

 

ไทม์ไลน์ภาพถ่ายที่มีภาพอันเป็นสัญลักษณ์ของอดีตของทีม Everton ทอดยาวไปทั้งสามด้านของสนาม นอกจากนี้ยังมีภาพรอบรองชนะเลิศฟุตบอลโลกปี 1966 ระหว่างทีมเยอรมันตะวันตกของ “ไกเซอร์ลูกหนัง” ฟรานซ์ เบ๊คเคนบาวเออร์ และทีมสหภาพโซเวียตของ “หมึกดำยักษ์” เลฟ ยาชิน

 

ทั้งหมดนี้ ถ่ายทอดมาเยอะก็จริง แต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเป็นแค่อาทิลุงทิเท่านั้น.........

 

เอาเข้าจริงรูปถ่ายของผมกับสนามนี้เมื่อครั้งมาเยือนหนแรก อาจจะหายไปเกือบหมดแล้ว เพราะเป็นเหตุจากความโชคร้ายในชีวิตของผมที่บ้านไฟไหม้ไปเมื่อปี 2007 

 

แต่ความทรงจำต่างหากที่ไม่เคยหายไป

 

ในฐานะ “คอลูกหนังคนหนึ่ง” ก็จะยังคงคิดถึงตลอดไป……..'One of the finest in the Land'

 

บี แหลมสิงห์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ครบ20ปีเทคโอเวอร์นรกผี! ครบ20ปีเทคโอเวอร์นรกผี!
  • \'El Clásico2025\' เมื่อเก้าอี้ดนตรีเริ่มบรรเลง 'El Clásico2025' เมื่อเก้าอี้ดนตรีเริ่มบรรเลง
  • 5ปีของ’อาร์เตต้า’ ยังไม่ถึงเวลาของ’อาร์เซนอล’ 5ปีของ’อาร์เตต้า’ ยังไม่ถึงเวลาของ’อาร์เซนอล’
  • จาก\'ลูกระเบิด\'สู่\'ไซโคลนนรก\' \'มังกรผงาดลาย\'จ้าวซินตง!!! จาก'ลูกระเบิด'สู่'ไซโคลนนรก' 'มังกรผงาดลาย'จ้าวซินตง!!!
  • แต้มสุดท้าย!5แชมเปี้ยนชิพพอยต์สของ\'หงส์แดง\' แต้มสุดท้าย!5แชมเปี้ยนชิพพอยต์สของ'หงส์แดง'
  • เดือดก่อนดวล! \'ชุดขาว\'ไล่กรรมการ-ยันพร้อมเตะบาร์ซ่า เดือดก่อนดวล! 'ชุดขาว'ไล่กรรมการ-ยันพร้อมเตะบาร์ซ่า
  •  

Breaking News

'วิว'สุดยอด! ทุบมือ3โลกแชมป์ไทยแลนด์โอเพ่น

'ธรรมนัส'ลั่นไม่โง่! จ่าย 55 ล้านแลก'งูเห่า' ปัด'กล้าธรรม'ใช้เงินดูด สส.

ล่าระทึก! นักโทษ 10 รายแหกคุกนิวออร์ลีน แถมเขียนข้อความเย้ยเจ้าหน้าที่

มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 17-23 พ.ค.68

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved