วันเสาร์ ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ / ลงมือสู้โกง โดย...ธิดาภรณ์ แป๊ะสมัน
ลงมือสู้โกง โดย...ธิดาภรณ์ แป๊ะสมัน

ลงมือสู้โกง โดย...ธิดาภรณ์ แป๊ะสมัน

ธิดาภรณ์ แป๊ะสมัน
วันพุธ ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2565, 02.00 น.
เปลี่ยนการศึกษาไทย ด้วยการเปิดข้อมูลโรงเรียน

ดูทั้งหมด

  •  

ผู้เขียนเป็นคนที่ชื่นชอบการฟังเพลงเป็นอย่างมาก ถ้าได้ไปเดินเล่นที่ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่ไหน แล้วบังเอิญได้ยินเสียงเพลงที่ไพเราะถูกใจ ก็อดไม่ได้ที่จะต้องรีบหยิบโทรศัพท์มือถือของตัวเองขึ้นมาเปิด Shazam (แอปพลิเคชั่นในมือถือ) เพื่อหาเพลงที่ได้ยินอยู่คือเพลงของศิลปินคนไหน ชื่อเพลงอะไร หรือถ้ายังหาไม่เจอ ผู้เขียนก็จะพยายามจำเนื้อเพลงแล้วนำไปค้นต่อใน Google จนเจอทั้งชื่อเพลงและชื่อศิลปินในที่สุด

ต้องขอบคุณโลกนี้ที่มีทั้งอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำให้การสืบค้นข้อมูลต่างๆ เป็นเรื่องง่ายดาย ใครๆก็สามารถหาคำตอบเพื่อคลายข้อสงสัยให้ตัวเองได้ภายในไม่กี่นาที กลับกัน ถ้าหากผู้เขียนพูดถึงการตั้งข้อสงสัยหรือการตั้งคำถามในโรงเรียนบ้าง เราจะสามารถสืบค้นข้อมูลเพื่อหาคำตอบเหมือนอย่างที่ผู้เขียนสงสัยและสืบค้นชื่อเพลงได้หรือไม่?


ในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราคงจะได้เห็นความเคลื่อนไหวและการตั้งคำถามมากมายของน้องๆ เยาวชนวัยเรียน ที่มีความตื่นตัวต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในระบบการศึกษาไทย แน่นอนว่า “โรงเรียน” สถานที่ที่เปรียบเสมือนฉากชีวิตสำคัญฉากหนึ่งของเด็กทุกคน ก็คงหนีไม่พ้นที่จะถูกตั้งคำถามและเรียกร้องคำตอบเช่นกัน จากงานวิจัยการออกแบบและการทดลองต้นแบบเครื่องมือการป้องกันปัญหาคอร์รัปชันของเยาวชน ภายใต้โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2 ได้ทำการสังเกตการณ์รวบรวมข้อมูลความเคลื่อนไหวในทวิตเตอร์เป็นระยะเวลา 3 เดือน (มกราคม - มีนาคม พ.ศ. 2563) พบว่า ผู้ใช้งานทวิตเตอร์มีการตั้งแฮชแท็ก (Hashtag) เพื่อพูดถึงประเด็นปัญหาในโรงเรียนมากถึง 16 หัวข้อ เช่น #โรงเรียนดังเขตสายไหม #โรงเรียนชื่อดังย่านศาลายา #รร.ชื่อดังย่านหอนาฬิกา เป็นต้น โดยในหัวข้อแฮชแท็กดังกล่าวสามารถสรุปประเด็นที่ผู้ใช้งานพูดถึงเกี่ยวกับโรงเรียนได้ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.) การบริหารจัดการและการใช้งบประมาณในโรงเรียน 2.) คุณภาพการให้บริการของโรงเรียนในเชิงกายภาพ เช่น คุณภาพห้องน้ำ คุณภาพห้องเรียนและอุปกรณ์การเรียน เป็นต้น และ 3.) ความต้องการพื้นที่ในการร้องเรียนหรือพัฒนาโรงเรียนให้ดีขึ้น

จากข้อค้นพบดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า สถานที่ที่เรียกว่า “โรงเรียน” ยังคงมีจุดมืดบางแห่งที่แสงยังส่องไปไม่ถึง ซึ่งจุดมืดนี้อาจหมายถึง “ข้อมูลโรงเรียน” ที่ยังรอการเปิดเผยสู่สาธารณะเพื่อให้ผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรงอย่าง “นักเรียน”
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่าง “ผู้ปกครอง ชุมชน และสังคม” เข้ามามีส่วนร่วมตรวจสอบและติดตามการทำงานของโรงเรียนได้อย่างใกล้ชิด ทำให้แสงส่องไปถึงและนั้นจะช่วยเปลี่ยนจากจุดมืดให้กลายเป็นจุดสว่างได้

การเปิดข้อมูลโรงเรียน หรือ Open School Data อาจฟังดูเป็นสิ่งใหม่ในบ้านเรา แต่ในระดับนานาชาติ การเปิดข้อมูลโรงเรียนเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจและมีการศึกษาพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่อง ในปี 2014 องค์กร Open Education Working Group ได้นำเสนอมาตรฐานการเปิดข้อมูลการศึกษา (Open Education Data) ที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาคุณภาพด้านการศึกษาอย่างมีส่วนร่วมจากผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยระบุถึงมาตรฐานข้อมูลเปิดที่จะต้องประกอบด้วย ข้อมูลด้านผู้เรียน ข้อมูลด้านหลักสูตรการศึกษา ข้อมูลด้านสถานศึกษา ข้อมูลที่ได้จากผู้เรียน/ผู้สอน และข้อมูลที่ได้จากการดำเนินงานของรัฐบาล

ทำนองเดียวกัน ในปี 2021 ที่ผ่านมา สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการวางแผนการศึกษา โดยองค์กรยูเนสโก (UNESCO
International Institute for Educational Planning: IEP-UNESCO) ได้นำเสนอมาตรฐานข้อมูลเปิดโรงเรียนที่เป็นผลจากการวิจัยภายใต้หัวข้อ “การใช้ข้อมูลเปิดโรงเรียนเพื่อปรับปรุงความโปร่งใส (Transparency) และความสามารถตรวจสอบได้ (Accountability) ในภาคการศึกษา” โดยเป็นการศึกษาแนวทางการลดปัญหาคอร์รัปชันในภาคการศึกษาผ่านการปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องให้กับบุคลากรและเยาวชน ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวได้ระบุถึงชุดข้อมูลที่โรงเรียนควรพิจารณาให้มีการสำรวจและนำมาเปิดเผยต่อสาธารณะ เช่น ข้อมูลทุนอุดหนุนของโรงเรียน ข้อมูลการกำกับดูแลและการดำเนินงานของโรงเรียน ข้อมูลความพึงพอใจของผู้ปกครองและนักเรียน เป็นต้น ทั้งนี้ยังได้อธิบายถึงหลักการพื้นฐานการเปิดข้อมูลโรงเรียนด้วยว่า ต้องเป็นข้อมูลระดับโรงเรียนที่มีความครอบคลุมและมีความถูกต้องแม่นยำทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือมีการลงทะเบียนใดๆ เพิ่มเติม และที่สำคัญที่สุดข้อมูลจะต้องเป็นปัจจุบันและสามารถนำไปใช้ต่อได้อย่างเสรี

ข้อมูลโดย IEP-UNESCO (2021) ยังนำเสนอให้เห็นว่าแนวคิดการเปิดข้อมูลโรงเรียนได้ถูกนำไปพัฒนาและเอาไปใช้จริงแล้วในหลายประเทศ ยกตัวอย่าง เช่น ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนอย่างประเทศอินโดนีเซียได้มีการพัฒนาแพลตฟอร์มชื่อ “Sekolah Kita” ในภาษามาเลย์ แปลว่า “โรงเรียนของเรา” ขึ้นในปี 2015 โดยการดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลและสถิติการศึกษาและวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรมซึ่งชุดข้อมูลที่นำมาเปิดเผยบนแพลตฟอร์มเป็นการดึงเอาข้อมูลจากระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา (Education Management Information System: EMIS) มาจัดทำโดยแพลตฟอร์มแสดงข้อมูลเปิดของโรงเรียนทั้งในระดับอนุบาลไปจนถึงโรงเรียนในระดับมัธยม จำนวนทั้งหมด 215,697 โรงเรียนทั่วประเทศ

อีกหนึ่งตัวอย่างจากประเทศฟิลิปปินส์ โครงการ Check My School ที่เน้นหลักการเปิดข้อมูลที่ส่งเสริมพื้นที่การมี
ส่วนร่วมด้วยการให้นักเรียน ผู้ปกครอง และอาสาสมัครในชุมชนร่วมตรวจสอบคุณภาพและรายงานปัญหาในโรงเรียน เพื่อนำข้อมูลการตรวจสอบที่ได้ไปเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยแนวทางการทำงานดังกล่าวของโครงการช่วยสร้างแรงกดดันให้โรงเรียนทำงานพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่ได้รับรายงานรวดเร็วมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความโปร่งใสและป้องกันปัญหาคอร์รัปชันในโรงเรียนจากการจัดสรรงบประมาณที่ไม่เหมาะสมได้อย่างเห็นผลชัดเจน

กลับมาสู่คำถามในตอนต้นว่า สุดท้ายแล้วเด็กนักเรียนในรั้วโรงเรียนไทย จะมีสิทธิตั้งคำถามและสามารถหาคำตอบให้กับข้อสงสัยที่เกิดขึ้นในโรงเรียนจากการสืบค้นข้อมูลเองได้หรือไม่? ปัจจุบันได้เริ่มมีความพยายามผลักดันให้เกิดการเปิดข้อมูลโรงเรียนในระบบการศึกษาไทยอย่างจริงจัง เช่น โครงการ We The Students โดย HAND Social Enterprise ที่สนับสนุนให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการตรวจสอบและสำรวจคุณภาพการบริการของโรงเรียนภายใต้การใช้หลักการ
เปิดเผยข้อมูล (open) ปฏิบัติอย่างมีส่วนร่วม (join) และเรียนรู้กระบวนการตรวจสอบที่เป็นไปตามข้อเท็จจริงอิงเกณฑ์มาตรฐาน (learn) ปัจจุบัน โครงการกำลังอยู่ในขั้นพัฒนาข้อมูลเปิดหรือ School Data ให้เป็นไปตามมาตรฐานการเปิดข้อมูลโรงเรียนอันประกอบด้วยข้อมูล เช่น ข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผู้สอน ข้อมูลครุภัณฑ์ เป็นต้น เพื่อเผยแพร่บนแพลตฟอร์ม wethestudents.co ให้นักเรียนสามารถเข้าถึงและนำข้อมูลไปใช้ประกอบการสำรวจ รายงานคุณภาพการบริการของโรงเรียนต่อไป หรือ โครงการการจัดทำมาตรฐานปัจจัยพื้นที่ในการจัดการศึกษาขั้นต่ำ (Fundamental School Quality Level: FSQL) โดยความร่วมมือระหว่างองค์กร World Bank และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดทำแผนที่สำรวจเก็บข้อมูลความขาดแคลนและความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรของแต่ละโรงเรียน เพื่อนำมาสร้างเป็นมาตรฐานกำหนดงบประมาณสนับสนุนที่เหมาะสมกับแต่ละโรงเรียนทั่วพื้นที่ประเทศไทย

ผู้เขียนในฐานะผู้ดูแลโครงการ We The Students ก็มีความตั้งใจเช่นกันที่จะผลักดันให้โรงเรียนทุกโรงเรียนในประเทศไทยหันมาสนใจการเปิดข้อมูลโรงเรียนและพัฒนาให้เกิดระบบการเปิดข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน นักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถเข้าถึงและนำเอาข้อมูลไปต่อยอดเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งในโรงเรียนและในระบบการศึกษาต่อไป ซึ่งนี้จะเป็นการสร้างจุดเปลี่ยนสำคัญให้กับภาคการศึกษาไทยทั้งในด้านการพัฒนาคุณภาพและการป้องกันปัญหาคอร์รัปชันได้อย่างยั่งยืน

ธิดาภรณ์ แป๊ะสมัน Hand Social Enterprise

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
06:00 น. ‘พิชัย’โวเจรจาภาษีสหรัฐราบรื่น คาดเก็บไทย20% ลุ้นประกาศก่อนเส้นตาย1ส.ค.นี้
06:00 น. ‘ไมค์ ภิรมย์พร’ รับไม้ต่อเพลงประกอบละคร‘ผาแดง นางไอ่’ เพลงที่ 2 ‘บ่วงฮัก’
06:00 น. ‘มท.1’สั่งอธิบดีปภ. พร้อมรับมือน้ำท่วม ฝนถล่มหนักทั่วไทย ห่วงพายุลูกใหม่‘วิภา’
06:00 น. ชินภัสร์ กิจเลิศสิริวัฒนา มอง‘ทักษิณ’คนตกยุคทางการเมือง ‘รวมไทยสร้างชาติ’ไม่ปรับใหญ่อยู่ยาก
06:00 น. ‘บิ๊กเล็ก’ไม่นิ่ง ฮึ่ม!ผลสอบชัดระเบิดใหม่ ‘ทบ.’ปูนบำเหน็จ3ทหาร
ดูทั้งหมด
ชุดทหารพรานก็ไม่รอด!! เขมรแต่งเครื่องแบบคล้ายชุดทหารพรานไทย สวนสนามต้อนรับ'ฮุน มาเนต'
ช็อก! คลินิกความงาม หลอกขายคอร์ส เปิดหรูในห้างดัง พบเงินบัญชีม้าเกือบ 50 ล้าน
(คลิป) 'รัชดา ธนาดิเรก'คายเรื่องลับ ยุคลุงตู่!! เล่าหมดเปลือก ปมดราม่า
‘ไพศาล’ปูดตั้ง‘วิษณุ’หัวหน้าทีมแก้ต่างคดี‘คลิปเสียง’ เปรียบรัฐบาลใช้ช่างทำรองเท้าไปทำฟัน
'ผอ.พศ.'แจงแล้ว! ปม'บิ๊กเต่า'สวดไม่จริงใจแก้ปัญหา ยันทำตามหน้าที่ ไม่ใช้ความรู้สึกตัดสิน
ดูทั้งหมด
นายกฯ ตัวจริง คือนักโทษพักคดี
บุคคลแนวหน้า : 19 กรกฎาคม 2568
ป่าช้าแตก
พม่าจัดเลือกตั้งปลายปีนี้ไทยควรสนับสนุนด้วยความยินดี
โกงไปจนวันสิ้นอำนาจรัฐ หรือหมดลมหายใจ
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ตกปลาทั้งคืนไหว! เช้าขับรถกลับบ้านหลับในหวิดตกสะพาน

โจรขโมย'หลวงพ่อพระเบา'พระพุทธรูปคู่อ.หนองหาน ชาวบ้านเชื่อไม่เกิน7วันได้คืน

'รอง ผอ.พศ.'แนะมองลึกกว่าข่าวฉาว แยกแยะ'จีวรจากใจ' ย้ำ'พุทธศาสนาไม่เคยสึกไปพร้อมใคร'

'ลอนดอน'ไม่ปลอดภัยอีกต่อไป! 'คนไทย'เตือนภัยโจรใช้วัตถุคล้ายระเบิดทุบกระจกรถก่อนฉกทรัพย์

‘เจิมศักดิ์’สวน‘ทักษิณ’ชงถมทะเล ย้อนฟังนักวิชาการเคยเตือนแล้วทำเมื่อไรกระทบสิ่งแวดล้อมแน่

โนหนึ่งโลก! 'จีน'ผงาดค้นพบแร่แรร์เอิร์ธชนิดใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในมองโกเลีย

  • Breaking News
  • ‘พิชัย’โวเจรจาภาษีสหรัฐราบรื่น คาดเก็บไทย20% ลุ้นประกาศก่อนเส้นตาย1ส.ค.นี้ ‘พิชัย’โวเจรจาภาษีสหรัฐราบรื่น คาดเก็บไทย20% ลุ้นประกาศก่อนเส้นตาย1ส.ค.นี้
  • ‘ไมค์ ภิรมย์พร’ รับไม้ต่อเพลงประกอบละคร‘ผาแดง นางไอ่’ เพลงที่ 2 ‘บ่วงฮัก’ ‘ไมค์ ภิรมย์พร’ รับไม้ต่อเพลงประกอบละคร‘ผาแดง นางไอ่’ เพลงที่ 2 ‘บ่วงฮัก’
  • ‘มท.1’สั่งอธิบดีปภ. พร้อมรับมือน้ำท่วม ฝนถล่มหนักทั่วไทย ห่วงพายุลูกใหม่‘วิภา’ ‘มท.1’สั่งอธิบดีปภ. พร้อมรับมือน้ำท่วม ฝนถล่มหนักทั่วไทย ห่วงพายุลูกใหม่‘วิภา’
  • ชินภัสร์ กิจเลิศสิริวัฒนา  มอง‘ทักษิณ’คนตกยุคทางการเมือง  ‘รวมไทยสร้างชาติ’ไม่ปรับใหญ่อยู่ยาก ชินภัสร์ กิจเลิศสิริวัฒนา มอง‘ทักษิณ’คนตกยุคทางการเมือง ‘รวมไทยสร้างชาติ’ไม่ปรับใหญ่อยู่ยาก
  • ‘บิ๊กเล็ก’ไม่นิ่ง ฮึ่ม!ผลสอบชัดระเบิดใหม่ ‘ทบ.’ปูนบำเหน็จ3ทหาร ‘บิ๊กเล็ก’ไม่นิ่ง ฮึ่ม!ผลสอบชัดระเบิดใหม่ ‘ทบ.’ปูนบำเหน็จ3ทหาร
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

CPI ไทย ปี’65 คะแนนบวก 1 สะท้อนอะไรบ้าง

CPI ไทย ปี’65 คะแนนบวก 1 สะท้อนอะไรบ้าง

8 ก.พ. 2566

องค์กรจะลดความเสี่ยงการทุจริตภายในได้ ต้องเริ่มที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล

องค์กรจะลดความเสี่ยงการทุจริตภายในได้ ต้องเริ่มที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล

10 ส.ค. 2565

เปลี่ยนการศึกษาไทย ด้วยการเปิดข้อมูลโรงเรียน

เปลี่ยนการศึกษาไทย ด้วยการเปิดข้อมูลโรงเรียน

23 มี.ค. 2565

ลดโกง เพิ่มกำไร สร้างธุรกิจยั่งยืน ด้วยการกำกับดูแลกิจการที่ดี

ลดโกง เพิ่มกำไร สร้างธุรกิจยั่งยืน ด้วยการกำกับดูแลกิจการที่ดี

22 ก.ย. 2564

Bully เพราะไม่ตั้งใจ จึงอยากให้เข้าใจผ่านมุมมองธรรมาภิบาล

Bully เพราะไม่ตั้งใจ จึงอยากให้เข้าใจผ่านมุมมองธรรมาภิบาล

31 มี.ค. 2564

SaveChana : วิถีชีวิต เศรษฐกิจ และสิทธิของชาวจะนะ

SaveChana : วิถีชีวิต เศรษฐกิจ และสิทธิของชาวจะนะ

4 พ.ย. 2563

นวัตกรรม + สังคม + ธรรมาภิบาล = สูตรสำเร็จแก้โจทย์วิกฤติ

นวัตกรรม + สังคม + ธรรมาภิบาล = สูตรสำเร็จแก้โจทย์วิกฤติ

26 ส.ค. 2563

‘ผู้ฟังที่ดี’คุณสมบัติที่หายไปจากวงการการพัฒนาการศึกษาไทย

‘ผู้ฟังที่ดี’คุณสมบัติที่หายไปจากวงการการพัฒนาการศึกษาไทย

22 เม.ย. 2563

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved