วันจันทร์ ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ / ลงมือสู้โกง โดย...ธิดาภรณ์ แป๊ะสมัน
ลงมือสู้โกง โดย...ธิดาภรณ์ แป๊ะสมัน

ลงมือสู้โกง โดย...ธิดาภรณ์ แป๊ะสมัน

ธิดาภรณ์ แป๊ะสมัน
วันพุธ ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2565, 02.00 น.

องค์กรจะลดความเสี่ยงการทุจริตภายในได้ ต้องเริ่มที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อพูดถึงการจัดการความเสี่ยง สิ่งหนึ่งที่ทุกองค์กรต้องนึกถึงได้ทันทีคือความเสี่ยงการทุจริตและคอร์รัปชันแต่ในทางกลับกันหากพูดถึงแนวทางการลดความเสี่ยง หลายองค์กรอาจนึกไม่ถึงว่าตัวแปรสำคัญที่จะเพิ่มหรือลดความเสี่ยงการทุจริตภายในองค์กรได้ มาจากการบริหารจัดการของฝ่ายทรัพยากรบุคคล

ในปี 2014 สมาคมต่อต้านการทุจริตสากล หรือ AFCE (Association of Certified Fraud Examiners) ได้รายงานผลการสำรวจศึกษาจากกรณีสอบสวนคดีฉ้อโกงต่างๆ ทั่วโลก กว่า 1,483 คดี ตั้งแต่ปี 2012 ถึง ปี 2013 พบว่า ร้อยละ 22 ขององค์กรที่พบปัญหาการฉ้อโกงโดยบุคคลภายใน รวมความเสียหายคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และที่น่าตกใจไปกว่านั้นคือ กว่าองค์กรจะพบว่าเกิดปัญหาการฉ้อโกงโดยคนในก็กินเวลาให้ผู้กระทำการทุจริตได้อิ่มหมีพีมันไปแล้วกว่า 18 เดือน ซึ่งลักษณะการทุจริตโดยการฉ้อโกงที่พบเจอมักเป็นพฤติกรรมการยักยอกทรัพย์สิน การคอร์รัปชันด้วยการรับ-ให้สินบนหรือฮั้วประมูล และการตกแต่งงบการเงินหรือข้อมูลบัญชี


จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันโดยคนใน มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้กับทุกองค์กร โดย AFCE ได้อธิบายเพิ่มเติมว่าผู้ที่กระทำการทุจริตภายในองค์กรมักมีพฤติกรรมน่าสงสัยหรือผิดสังเกตไปจากเดิม ก่อนที่พวกเขาเหล่านั้นจะถูกจับได้ว่ากระทำการทุจริต เช่น มีลักษณะการใช้จ่ายเกินตัว มีความใกล้ชิดหรือสนิทสนมกับลูกค้าหรือคู่ค้าคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ หรือ มีปัญหาทางการเงิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยจาก Harvard Business Review ยืนยันว่า สังคมเพื่อนร่วมงานและสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานมีส่วนกระตุ้นให้บุคลากรในองค์กรกระทำการทุจริตด้วยเช่นกัน กล่าวคือหากมีใครคนใดคนหนึ่งในกลุ่มเพื่อนร่วมงานกระทำการทุจริต ความเสี่ยงที่เพื่อนร่วมงานคนอื่นจะกระทำการทุจริตเหมือนกันก็มีสูงตามไปด้วย หรือที่เรียกว่า “The Rotten Apple” แปลเป็นภาษาไทยเข้าใจง่ายๆ ก็คือ “ปลาเน่าตัวเดียวเหม็นไปทั้งห้อง”

ดังนั้น ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) จึงเปรียบเสมือนฟันเฟืองสำคัญขององค์กรในการบริหารจัดการทรัพยากรคนให้อยู่ในกรอบความเข้าใจที่มีต่อแนวทางการปฏิบัติงาน เป้าหมาย และคุณค่าขององค์กรที่เหมือนกัน โดยทั่วไปการบริหารทรัพยากรบุคคลจะประกอบด้วยหลักการบริหารจัดการ 3 หลักที่สำคัญ ได้แก่ หนึ่ง การสรรหาและพิจารณาปรับตำแหน่งพนักงาน สอง การดูแลปกป้องวาระตำแหน่งของพนักงานให้พ้นจากการถูกแทรกแซงโดยอำนาจที่มิชอบ และสาม การสร้างกรอบมาตรฐานในการจ่ายค่าตอบแทนและเงื่อนไขต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับพนักงานอย่างเป็นธรรม ซึ่งทั้ง 3 หลักการสำคัญนี้ หากมีการบริหารจัดการที่ไม่ดี ขาดความชัดเจนและโปร่งใสของกระบวนการ หรือไม่สามารถชี้แจงที่มาที่ไปได้ ก็จะส่งผลต่อความเสี่ยงปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันภายในองค์กรที่เพิ่มมากขึ้นด้วย

ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลการต่อต้านคอร์รัปชันโดยสถาบันมิเชลเซน (Chr. Michelsen Institute) ประเทศนอร์เวย์ อธิบายไว้ในรายงานเรื่อง Corruption and anti-corruption practices in human resource management in the public sector (2015) ว่า ความเสี่ยงการเกิดทุจริตคอร์รัปชันจากการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลมีความสัมพันธ์กับแนวคิดและพฤติกรรมการเล่นพรรคเล่นพวก (Nepotism) การเลือกที่รักมักที่ชัง (Favoritism) และการใช้อำนาจในทางมิชอบของฝ่ายทรัพยากรบุคคลในกระบวนการสรรหาและคัดเลือกพนักงาน การจัดฝึกอบรม การปรับเลื่อนตำแหน่ง หรือการโยกย้ายพนักงาน ลักษณะพฤติกรรมดังกล่าว จึงนำไปสู่การกระทำการทุจริต เช่น การจ่ายเงินหรือให้สินบนเพื่อให้ได้ตำแหน่งงานระดับสูง การยักยอกเงินเดือน และการใช้เส้นสายเครือข่ายความสัมพันธ์เพื่อให้ได้ตำแหน่งงาน เป็นต้น

เพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตในการบริหารทรัพยากรบุคคลดังกล่าว องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติแห่งสหราชอาณาจักร (Transparency International: UK) ได้เผยแพร่คู่มือแนวปฏิบัติในการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อต่อต้านการทุจริตโดยการรับ-ให้สินบน ชื่อ Human Resources Controls: Anti-Bribery Guidance Chapter 7 (2017) โดยนำเสนอหัวใจสำคัญของแนวปฏิบัติที่ดีของฝ่ายทรัพยากรบุคคล ที่ “ต้อง” ปฏิบัติ ซึ่งสามารถสรุปได้เป็น 4 ต้อง ดังนี้ ต้องที่หนึ่ง ต้องมีการจัดรับสมัครและแต่งตั้งพนักงานด้วยความสุจริต พร้อมทั้งดูแลพนักงานใหม่ให้มีความเข้าใจต่อคุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริตขององค์กร รวมถึงแนวปฏิบัติงานต่อต้านการให้-รับสินบนขององค์กร ต้องที่สอง ต้องมีส่วนร่วมออกแบบและให้คำแนะนำในการกำหนดแผนงานต่อต้านการให้-รับสินบนที่มีความสอดคล้องกับการบริหารงานด้านบุคลากร ต้องที่สาม ต้องสร้างแรงจูงใจ หรือผลประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับเมื่อพวกเขาร่วมปฏิบัติตามแนวทาง หรือร่วมสนับสนุนแผนงานต่อต้านการให้-รับสินบน และต้องที่สี่ ต้องกำหนดและบังคับใช้บทลงโทษอย่างเหมาะสม เป็นธรรม กับผู้ที่กระทำการทุจริตให้-รับสินบนทุกคน

การสนับสนุนให้พนักงานภายในองค์กรมีส่วนร่วมต่อต้านการทุจริตการให้-รับสินบนที่มีประสิทธิผลมากที่สุด คือ การจัดให้มีระบบการแจ้งเบาะแส หรือ Whistle Blowing ที่พนักงานสามารถมีส่วนร่วมให้เบาะแสการให้-รับสินบนหรือการทุจริตอื่นๆ
ได้อย่างปลอดภัย รวมถึงระบบมีความเอื้ออำนวยให้ผู้แจ้งสามารถติดตามการดำเนินงาน และรับทราบผลการสอบสวนในท้ายที่สุด ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการร่วมออกแบบระบบการแจ้งเบาะแสภายในองค์กรให้
ช่องทางการรับเรื่องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับการทำงานของทุกภาคส่วน การคำนึงถึงความปลอดภัยและการปกป้องข้อมูล สิทธิส่วนบุคคลของผู้แจ้งตลอดการดำเนินการ รวมถึงการควบคุมดูแลกระบวนการทางวินัยกับผู้ที่ถูกตัดสินว่ากระทำการทุจริตอย่างเป็นธรรม

ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจมากมาจากประเทศแอฟริกาใต้ เป็นการสนับสนุนให้พนักงานออกมาแจ้งเบาะแสผ่านเครื่องมือ Corruption Watch ที่เปิดรับเบาะแสการทุจริตคอร์รัปชันในวงกว้างครอบคลุมทั้งภาครัฐ บริษัทหรือองค์กรเอกชน ผ่านช่องทางที่หลากหลายทั้งรูปแบบออนไลน์ สายด่วน หรือการส่งข้อความ SMS ติดต่อกลับ โดยระบบให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผู้แจ้งและมีการรายงานติดตามผลให้กับผู้แจ้งผ่านทางข้อความ SMS อีกด้วย

นอกจากนี้ การสร้างเสริมวัฒนธรรมองค์กรให้มีความสุจริต โปร่งใส และไม่ยอมรับต่อการทุจริต คอร์รัปชันก็เป็นหน้าที่รับผิดชอบที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลสามารถช่วยปลูกฝังให้กับพนักงานภายในมีความรับรู้ที่ตรงกันได้ ผ่านการจัดฝึกอบรมและการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อร่วมกำหนดแนวทางปฏิบัติและจรรยาบรรณขององค์กร ในประเทศไทยมีตัวอย่างเครื่องมือ “องค์กรคุณธรรม” ที่มุ่งเน้นการสร้างจรรยาบรรณองค์กรที่มาจากการมีส่วนรวมของทั้งองค์กร มีขั้นตอนในการดำเนินการ 6 ขั้นตอน คือ หนึ่ง การสร้างการรับรู้และการยอมรับของทุกภาคส่วนในองค์กร สอง รวมกันระดมความคิดจัดทำบัญชีพฤติกรรมพึงประสงค์และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ สาม ร่วมกันกำหนดคุณธรรมหลัก สี่ แปลงคุณธรรมหลักให้เป็นนโยบายหรือแนวปฏิบัติ ห้า นำไปปฏิบัติจริงในองค์กร และ หก ประเมินผลภายหลังการนำนโยบายหรือแนวปฏิบัติไปใช้

ด้วยเหตุนี้ หลักการบริหารทรัพยากรบุคคลทั้ง 3 หลักในข้างต้นจึงจำเป็นต้องได้รับการให้ความสำคัญตั้งแต่ในกระบวนการสรรหาและคัดเลือกพนักงาน การพิจารณาประเมินผลงานปรับเลื่อนตำแหน่ง และการดูแลสวัสดิการ ค่าตอบแทนที่ควรมีความโปร่งใส ชัดเจน ตรวจสอบ และชี้แจงที่มาที่ไปของการดำเนินงานได้ อีกทั้งในการกำหนดกรอบมาตรฐาน หลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขใดๆ ในกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลจะต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายและสิทธิแรงงานที่พนักงานควรได้รับ ตลอดจนการปกป้องพนักงานจากการถูกแทรกแซงโดยอำนาจที่มิชอบ การรับประกันความปลอดภัยของพนักงานจากการมีส่วนร่วมแจ้งเบาะแสผู้มีความเสี่ยงกระทำการทุจริต หรือการบังคับใช้บทลงโทษกับผู้กระทำการทุจริตภายในองค์กรอย่างจริงจัง ก็นับเป็นส่วนหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญของฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่จะช่วยยกระดับการรับรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณค่าขององค์กรให้กับพนักงานได้ ส่งผลต่อการสร้างสังคมและวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ยอมรับต่อการทุจริต การมีแนวทางปฏิบัติงานที่ให้ความสำคัญกับความโปร่งใสตรวจสอบได้ นำไปสู่การลดความเสี่ยงการทุจริตคอร์รัปชันภายในองค์กรที่ยั่งยืน

 

ธิดาภรณ์ แป๊ะสมัน HAND Social Enterprise

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:05 น. 'ตรีนุช'เป็นประธานพิธีเททองหล่อตราเสมาธรรมจักร ประจำ ศธ.
21:56 น. 'รมช.สันติ'เผย งานระดมทุน พปชร. คนอุดมการณ์เดียวกันร่วมงานล้นหลาม
21:45 น. 'ชัยภูมิ'นำชาวบ้านทำธนาคารน้ำใช้แล้วลงดิน แก้ปัญหาน้ำเสียจากครัวเรือน
21:27 น. เปิดงานสมโภชแห่เจ้ามูลนิธิอำเภอเบตง ชาวบ้านขอให้เกิดความสงบสุข
21:25 น. 'บิ๊กน้อย' เปิดงานศึกมวยไทย ต้านไฟป่า
ดูทั้งหมด
มาแล้ว!! อุตุฯคาดหมายลักษณะอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 25 -31 มกราฯ
งานเข้า! แห่แจ้งความจับ 'มาดาม' ประธานทีมฟุตบอลดัง หลอกพาไปทำงานเกาหลี
ไขก๊อกอีก7คน! สภาฯแจ้ง‘ส.ส.’ลาออก ‘4ส.ส.บัญชีรายชื่อใหม่’เสียบแทน
ซ้ำรอย‘รบ.ยิ่งลักษณ์’? เมื่อหนทางคืนทำเนียบริบหรี่ เปิดกลยุทธ์อยู่ในอำนาจให้นานที่สุด
‘อรรถพล’ลงนามคำสั่งแรกแก้ไขโยกย้ายไม่เป็นธรรมในกรมอุทยานฯ ขีดเส้นเสร็จใน 1 เดือน
ดูทั้งหมด
ฝุ่นอันตราย PM2.5
‘จุดจบ’แบบจุกๆ สลากแพลตฟอร์มผิดกฎหมาย
สังคมไทยประชาธิปไตยเรื่อง หมา...หมา
บุคคลแนวหน้า : 30 มกราคม 2566
เจมส์ ป้อม 700
ดูทั้งหมด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'อุ๊งอิ๊ง'ประกาศลั่น! รอนโยบายเด็ดๆจากพรรคเพื่อไทยได้หลังยุบสภานี้

หนึ่งเดียวในไทย!! 'วัดสามเรือน' จัดประเพณีหว่านทาน 'ลูกมะกรูด'

เจาะฐานเสียงกทม.! ‘อนุทิน’นำ‘ภูมิใจไทย’ลงพื้นที่ พร้อมเผยกลยุทธ์เด็ด

พปชร. ปะทะ รทสช.!พรรคไหนได้ส.ส.มากกว่ากัน- ‘2ป.’แตกคอกันจริง?

ฝ่ายการเมืองไม่เกี่ยว! ‘อนุทิน’โยนเผือกร้อน ปมโยก‘หมอสุภัทร’

เดือดพลั่ก!‘จตุพร’ฟาดกลับ‘อดิศร’ขี้ขลาด พูดดังบนเวทีกลับทิ้งหมู่มิตรหนีไปลาว

  • Breaking News
  • \'ตรีนุช\'เป็นประธานพิธีเททองหล่อตราเสมาธรรมจักร ประจำ ศธ. 'ตรีนุช'เป็นประธานพิธีเททองหล่อตราเสมาธรรมจักร ประจำ ศธ.
  • \'รมช.สันติ\'เผย งานระดมทุน พปชร. คนอุดมการณ์เดียวกันร่วมงานล้นหลาม 'รมช.สันติ'เผย งานระดมทุน พปชร. คนอุดมการณ์เดียวกันร่วมงานล้นหลาม
  • \'ชัยภูมิ\'นำชาวบ้านทำธนาคารน้ำใช้แล้วลงดิน แก้ปัญหาน้ำเสียจากครัวเรือน 'ชัยภูมิ'นำชาวบ้านทำธนาคารน้ำใช้แล้วลงดิน แก้ปัญหาน้ำเสียจากครัวเรือน
  • เปิดงานสมโภชแห่เจ้ามูลนิธิอำเภอเบตง ชาวบ้านขอให้เกิดความสงบสุข เปิดงานสมโภชแห่เจ้ามูลนิธิอำเภอเบตง ชาวบ้านขอให้เกิดความสงบสุข
  • \'บิ๊กน้อย\' เปิดงานศึกมวยไทย ต้านไฟป่า 'บิ๊กน้อย' เปิดงานศึกมวยไทย ต้านไฟป่า
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

องค์กรจะลดความเสี่ยงการทุจริตภายในได้ ต้องเริ่มที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล

องค์กรจะลดความเสี่ยงการทุจริตภายในได้ ต้องเริ่มที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล

10 ส.ค. 2565

เปลี่ยนการศึกษาไทย ด้วยการเปิดข้อมูลโรงเรียน

เปลี่ยนการศึกษาไทย ด้วยการเปิดข้อมูลโรงเรียน

23 มี.ค. 2565

ลดโกง เพิ่มกำไร สร้างธุรกิจยั่งยืน ด้วยการกำกับดูแลกิจการที่ดี

ลดโกง เพิ่มกำไร สร้างธุรกิจยั่งยืน ด้วยการกำกับดูแลกิจการที่ดี

22 ก.ย. 2564

Bully เพราะไม่ตั้งใจ จึงอยากให้เข้าใจผ่านมุมมองธรรมาภิบาล

Bully เพราะไม่ตั้งใจ จึงอยากให้เข้าใจผ่านมุมมองธรรมาภิบาล

31 มี.ค. 2564

SaveChana : วิถีชีวิต เศรษฐกิจ และสิทธิของชาวจะนะ

SaveChana : วิถีชีวิต เศรษฐกิจ และสิทธิของชาวจะนะ

4 พ.ย. 2563

นวัตกรรม + สังคม + ธรรมาภิบาล = สูตรสำเร็จแก้โจทย์วิกฤติ

นวัตกรรม + สังคม + ธรรมาภิบาล = สูตรสำเร็จแก้โจทย์วิกฤติ

26 ส.ค. 2563

‘ผู้ฟังที่ดี’คุณสมบัติที่หายไปจากวงการการพัฒนาการศึกษาไทย

‘ผู้ฟังที่ดี’คุณสมบัติที่หายไปจากวงการการพัฒนาการศึกษาไทย

22 เม.ย. 2563

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved