วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ / ลงมือสู้โกง โดย...ภัทรชัย อ่อนน่วม
ลงมือสู้โกง โดย...ภัทรชัย อ่อนน่วม

ลงมือสู้โกง โดย...ภัทรชัย อ่อนน่วม

ภัทรชัย อ่อนน่วม
วันพุธ ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2566, 02.00 น.
ภาษาศาสตร์เชิงต้านโกง

ดูทั้งหมด

  •  

ภาษา ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญของมนุษย์สำหรับใช้สำหรับการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ถ่ายทอดองค์ความรู้
ของศาสตร์หลากหลายแขนง บันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ และเป็นสื่อกลางในการแสดงความรู้สึกนึกคิดต่างๆ มาเป็นเวลาอย่างยาวนาน อย่างไรก็ตามในบางครั้งภาษา ก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการโกง และคอร์รัปชันได้ ยกตัวอย่างเช่น มิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่มักจะชอบโทรมาหลอกลวงให้คนโอนเงินไปให้จนหมดบัญชี การปลอมแปลงเอกสารหรือหลักฐานต่างๆ ที่ต้องใช้ประกอบการพิจารณาในกระบวนการยุติธรรม หรือการร่างเอกสารสัญญาการจัดซื้อจัดจ้างที่มีการใช้ภาษาที่กำกวมเพื่อเอื้อต่อการให้ผลประโยชน์ต่อกันระหว่างหน่วยงานรัฐ และผู้รับเหมา

จากรูปแบบการโกงต่างๆ ที่กล่าวไปเบื้องต้นผู้เขียนจึงอยากพาผู้อ่านทุกท่านมาค้นหาวิธีการต้านโกงทาง “ภาษา” ด้วย “ภาษา” ผ่านมุมมอง “ภาษาศาสตร์” มาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญ ทั้งนี้ภาษาศาสตร์ไม่ใช่เป็นการศึกษาการเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาแต่อย่างใด แต่เป็นการศึกษาภาษาเพื่อให้เข้าใจระบบภาษาของมนุษย์ ผ่านการใช้ทฤษฎี กรอบแนวคิด และระเบียบวิธีการวิจัยที่เป็นหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งขอบเขตของการศึกษาภาษาศาสตร์มีตั้งแต่ระดับที่เล็กที่สุดของภาษาที่มนุษย์ผลิตออกมา นั่นก็คือการศึกษาเรื่องเสียง ขยายขอบเขตใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ไปสู่การศึกษาในระดับคำ โครงสร้างไวยากรณ์ กระบวนการเปลี่ยนแปลง และอิทธิพลของภาษาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ ทางสังคม


ผู้เขียนขอเริ่มต้นด้วย การต้านโกงระดับเสียง ซึ่งถือเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของภาษา โดยขอบเขตการศึกษาที่เกี่ยวข้องคือ กลสัทศาสตร์ (Acoustic Phonetics) อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ การศึกษาลักษณะทางกายภาพของเสียง ผ่านการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่ต่อจากกระบวนการผลิตเสียงจากผู้พูดไปสู่ผู้ฟังโดยเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการศึกษาทางกายภาพของเสียงคือ “คลื่นเสียง” (Waveform) จะเป็นตัวที่บอกถึงความถี่ของเสียง (Frequency) และ ความเข้มของเสียง (Intensity) ซึ่งแต่ละคนก็จะมีรูปแบบคลื่นเสียงที่แตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะของบุคคล ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยระบุตัวตนของแต่ละบุคคลได้ค่อนข้างชัดเจน

ทั้งนี้เราสามารถที่จะใช้คลื่นเสียง มาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์หลักฐานในการพิสูจน์การทุจริตที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรม ผ่านกรณีการปลอมแปลงเสียงสำหรับใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีได้ หรือนำมาเป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ในลักษณะการให้ปากคำ/ชี้มูลว่าข้อมูลที่ผู้พูดส่งออกมามีความจริงเท็จแค่ไหน เนื่องจากคลื่นเสียงจะช่วยให้เราเห็นถึงข้อมูลในเชิงลักษณะการสื่อสารของตัวบุคคล เช่น หน่วยเสียง ความหมาย คุณสมบัติทางสรีระของผู้พูด และข้อมูลในเชิงปัจจัยทางสังคมเช่น ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ หรืออาชีพได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีลักษณะเฉพาะตัว เราสามารถนำมาวิเคราะห์และหาความสัมพันธ์จากแผนภาพคลื่นเสียงที่แสดงข้อมูลจำพวกระยะเวลา ค่าความถี่ และความเข้มเสียง ปัจจุบันมีศาสตร์ที่มุ่งศึกษาในประเด็นนี้โดยเฉพาะ คือ นิติสัทศาสตร์ (Forensic Phonetics) โดยในประเทศไทยได้มีการดำเนินงานวิจัยในลักษณะนี้มาเป็นสักระยะแล้ว ดำเนินการโดยอาจารย์ ดร.ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หากผู้อ่านสนใจสามารถลองไปติดตามเพื่อศึกษาเพิ่มเติมได้ครับ

ถัดมาผู้เขียนขอขยับขึ้นสู่ระดับที่ใหญ่ขึ้น คือ การต้านโกงระดับความหมาย ขอบเขตการศึกษาที่เกี่ยวข้องคือ อรรถศาสตร์ (Semantics) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายทางภาษาที่มนุษย์ใช้สำหรับการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ซึ่งหนึ่งในแนวคิดของอรรถศาสตร์ ที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าใครเป็นสายภาษาศาสตร์จะต้องรู้จักนั้นก็คือ แนวคิดอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ (Conceptual Metaphor) (Lakoff & Johnson, 1980) แนวคิดดังกล่าวอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างความหมายเปรียบเทียบ และระบบความคิดของมนุษย์ โดยเราเรียกสิ่งนี้ว่า “อุปลักษณ์” (Metaphor) ทั้งนี้มันมักจะส่งผลและมีอิทธิพลต่อระบบความคิดของผู้ใช้ภาษาในสังคมหรือวัฒนธรรมเดียวกันให้มีความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่งร่วมกัน ยกตัวอย่างให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้นเช่น ในสังคมอังกฤษมักจะมีวลีที่ว่า “Time is money” หรือ “เวลาเป็นเงินเป็นทอง” จากวลีนี้สามารถสะท้อนให้เห็นว่าผู้คนในสังคมอังกฤษต่างเห็นว่า “เวลา” ซึ่งเป็นสิ่งที่มีลักษณะเป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่าง และไม่สามารถจับต้องไม่ได้ แต่เป็นสิ่งที่มีมูลค่าเหมือนกับเงินทอง หรือแบงก์ธนบัตรที่เราสามารถจับต้องได้เพื่อใช้ในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

ซึ่งเราสามารถนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้ในการทำความเข้าใจถึงการรับรู้และการให้ความหมายเกี่ยวกับการทุจริตของผู้คนในสังคมไทยได้ ซึ่งก็มีนักวิจัยไทยได้มีการดำเนินงานวิจัยในลักษณะนี้เช่นกันโดยข้อมูลจากโครงการวิจัยอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์และการใช้เหตุผลในการเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน ดำเนินการโดย ดร.นฤดล จันทร์จารุ และคณะ (2563) โครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการย่อยของโครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2 ได้รับการสนับสนุนโดย วช. และ สกสว. โครงการดังกล่าวมุ่งศึกษาผลของการใช้ภาษาเชิงอุปลักษณ์ที่มีต่อการความเข้าใจในปัญหาการคอร์รัปชันและการเสนอแนวทางการแก้ไข โดยมีเป้าหมายในการทำการวิจัยที่ว่าถ้าต้องการจะทำให้บุคคลที่ขาดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอร์รัปชันสามารถเกิดความเข้าใจและเสนอแนวทางในการป้องกันและปราบปรามปัญหาคอร์รัปชันได้ จะต้องสื่อสารด้วยชุดของภาษาเชิงอุปลักษณ์รูปแบบอย่างไร ถ้าผู้อ่านทุกท่านอยากทราบผลการวิจัยว่าเป็นอย่างไร สามารถไปตามงานอ่านวิจัยฉบับเต็มได้เลยครับ

มาสู่ระดับสุดท้าย เรียกได้ว่าเป็นระดับแอดวานซ์ คือ การต้านโกงระดับการประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing: NLP) ผู้อ่านหลายท่านอาจจะคุ้นๆ คำว่า NLP แต่ยังงงๆ ว่ามันคืออะไร ผู้เขียนขอสรุปให้เข้าใจแบบภาษาง่ายๆ ว่า มันคือการศึกษาและพัฒนาการประมวลผลเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถสื่อสารกับมนุษย์ได้ซึ่งถือเป็นสาขาการศึกษาหนึ่งของภาษาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Linguistics) ที่มุ่งศึกษาภาษาศาสตร์โดยเชื่อมโยงกับศาสตร์วิทยาการคอมพิวเตอร์ และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยในปัจจุบัน NLP ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยสร้างความสะดวกกับเราอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น กูเกิลแปลภาษา (Google Translator) หรือ แชทจีทีพี (ChatGPT) ผู้ช่วย A.I. อัจฉริยะที่กำลังเป็นกระแสมาก่อนหน้านี้ก็มีการนำ NLP มาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเช่นกัน

ทั้งนี้เราสามารถนำ NLP มาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจจับ และวัดประเมินความเสี่ยงการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นได้
ผู้เขียนขอยกข้อมูลแนวทางการพัฒนาจากรายงาน Using Machine Learning for Anti-Corruption Risk and Compliance จัดทำโดยองค์กร Coalition for Integrity (2021) ได้มีการนำเสนอถึงการนำ NLP มาพัฒนาเพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์ได้เรียนรู้สำหรับการประเมินความเสี่ยงการทุจริต และการรับสินบนที่อาจเกิดขึ้นในภาคธุรกิจ โดยวัตถุดิบสำคัญในการพัฒนา คือ “ข้อมูล” ซึ่งจะต้องใช้ข้อมูลจำนวนมาก และในขณะเดียวกันต้องมีความหลากหลายที่เพียงพอ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ได้เรียนรู้ถึงรูปแบบของการทุจริตที่อาจเกิดขึ้น และสามารถวิเคราะห์ความถี่ของรูปแบบการทุจริต นำไปสู่การคำนวณค่าความเสี่ยงของการเกิดทุจริตได้ ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีการนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้กันอย่างแพร่หลายในภาคธุรกิจ ของประเทศทางแถบยุโรป ยกตัวอย่างเช่น Red flags แพลตฟอร์มตรวจจับการทุจริตในระบบการจัดซื้อจัดจ้างของสหภาพยุโรป โดยมีการป้อนข้อมูลจำนวนรูปแบบการทุจริตต่างๆ และข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างมากกว่า 54,002 โครงการ เข้ามาในระบบสำหรับออกแบบการประเมินความเสี่ยง และตรวจจับการทุจริตในระบบการจัดซื้อจัดจ้างผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลที่อิงร่วมกันตัวชี้วัดความเสี่ยงจำนวน 32 หัวข้อ ซึ่งพัฒนาขึ้นจากเกณฑ์การประเมินตามมาตรฐานของสหภาพยุโรป (EU Standard) และกรอบกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างภายในประเทศ

จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันรูปแบบการต่อต้าน และการเฝ้าระวังการทุจริตนั้นมีความหลากหลายและ มีการพัฒนาโดยมุ่งบูรณาการร่วมกับศาสตร์อื่นๆ มากยิ่งขึ้น หนึ่งในนั้นคือองค์ความรู้ทางภาษาศาสตร์ โดยสิ่งที่ผู้เขียนได้นำเสนอในวันนี้ถือเป็นต้นแบบการพัฒนาที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ถูกกระทำผ่านการพูด การศึกษาเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจ และมุมมองของคนในสังคมต่อการทุจริต และการพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการติดตาม และเฝ้าระวังการทุจริตที่เกิดขึ้นได้สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดล้วนเกิดจากพลังของ “ภาษา” ทั้งสิ้น ซึ่งผู้เขียนเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าพลังเหล่านี้จะช่วยเป็นเชื้อเพลิงที่สำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนให้การแก้ไขปัญหาการทุจริตไปสู่ทิศทางที่ดีในอนาคตครับ

ภัทรชัย อ่อนน่วม HAND Social Enterprise

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
14:35 น. บันไดมาพาดแล้ว! ‘หมอเปรม’แนะ‘อิ๊งค์’ลาออก เปิดทางสภาฯเลือก‘นายกฯคนใหม่’
14:33 น. รวมตัวสายบู๊! ช่อง7ยิงสดสามมวยดังสุดสัปดาห์นี้
14:18 น. ยืนกราน! 'ฮุน มาเนต'ลั่นไม่เจรจากับไทยหากยังไม่เปิดด่านพรมแดน
14:14 น. (คลิป) อย่าดันทุรัง! 'อุ๊งอิ๊งค์' นั่ง 'รมว.วัฒนธรรม' อย่าตะแบงตีความมั่วซั่วเอาใจนาย
14:04 น. แม้อยู่ช่วง'ปรับ ครม.' 'ศบ.ทก.'ยันภารกิจชายแดนยังต่อเนื่อง
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
แกว่งเท้าหาเสี้ยน! ปรากฏการณ์แฉโพย‘สายส้ม’เข้มข้น-ล่อนจ้อน
'ออสเตรเลีย'ออกคำเตือนพลเมืองมา'ไทย'หลังพบวัตถุต้องสงสัยหลายเมืองท่องเที่ยวภาคใต้
ดูทั้งหมด
ต้นสนยักษ์ร่วมสมัยกับฟาโรห์
‘คลิปเขมร’เหตุอัปยศ‘แพทองธาร’
รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม
วาทกรรมเจ็บจี๊ด
อุ๊งอิ๊งค์ 2 ปรับ ครม. ฟอร์มาลีน
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ยืนกราน! 'ฮุน มาเนต'ลั่นไม่เจรจากับไทยหากยังไม่เปิดด่านพรมแดน

(คลิป) อย่าดันทุรัง! 'อุ๊งอิ๊งค์' นั่ง 'รมว.วัฒนธรรม' อย่าตะแบงตีความมั่วซั่วเอาใจนาย

'ฮุน มาเนต'เข้าหารือกับ'ศาสตราจารย์โซแรล' ผู้ที่เคยช่วยให้'กัมพูชา'ชนะคดีปราสาทพระวิหาร

(คลิป) ระทึก! นักกฎหมายดัง ฟันฉับ! สึนามิการเมือง จ่อถล่มรัฐบาล ส.ค.นี้ กวาดเรียบ!

ประเดิมส.ค.นี้!กำหนดวันเปิดสนามไทยลีกฤดูกาลใหม่

'พิธา' ของจริง หรือ ของปลอม? วิจารณ์แนวคิด'ขี้ข้าชาวตะวันตก' ไม่สอดคล้องความจริง

  • Breaking News
  • บันไดมาพาดแล้ว! ‘หมอเปรม’แนะ‘อิ๊งค์’ลาออก เปิดทางสภาฯเลือก‘นายกฯคนใหม่’ บันไดมาพาดแล้ว! ‘หมอเปรม’แนะ‘อิ๊งค์’ลาออก เปิดทางสภาฯเลือก‘นายกฯคนใหม่’
  • รวมตัวสายบู๊! ช่อง7ยิงสดสามมวยดังสุดสัปดาห์นี้ รวมตัวสายบู๊! ช่อง7ยิงสดสามมวยดังสุดสัปดาห์นี้
  • ยืนกราน! \'ฮุน มาเนต\'ลั่นไม่เจรจากับไทยหากยังไม่เปิดด่านพรมแดน ยืนกราน! 'ฮุน มาเนต'ลั่นไม่เจรจากับไทยหากยังไม่เปิดด่านพรมแดน
  • (คลิป) อย่าดันทุรัง! \'อุ๊งอิ๊งค์\' นั่ง \'รมว.วัฒนธรรม\' อย่าตะแบงตีความมั่วซั่วเอาใจนาย (คลิป) อย่าดันทุรัง! 'อุ๊งอิ๊งค์' นั่ง 'รมว.วัฒนธรรม' อย่าตะแบงตีความมั่วซั่วเอาใจนาย
  • แม้อยู่ช่วง\'ปรับ ครม.\' \'ศบ.ทก.\'ยันภารกิจชายแดนยังต่อเนื่อง แม้อยู่ช่วง'ปรับ ครม.' 'ศบ.ทก.'ยันภารกิจชายแดนยังต่อเนื่อง
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ภาษาศาสตร์เชิงต้านโกง

ภาษาศาสตร์เชิงต้านโกง

8 มี.ค. 2566

การเรียนรู้ปกติใหม่ (New Normal) ผ่านมุมมองธรรมาภิบาล

การเรียนรู้ปกติใหม่ (New Normal) ผ่านมุมมองธรรมาภิบาล

31 ส.ค. 2565

Learn & Teach Moral เรียนรู้คุณธรรม...ในแบบอาเซียน

Learn & Teach Moral เรียนรู้คุณธรรม...ในแบบอาเซียน

20 เม.ย. 2565

การศึกษาไทยหลังโควิด : รอยบาดแผลที่ต้องเร่งรักษา

การศึกษาไทยหลังโควิด : รอยบาดแผลที่ต้องเร่งรักษา

3 พ.ย. 2564

ความ (ไม่) เท่าเทียมแบบไทยๆ ผ่านวิกฤติโควิด-19

ความ (ไม่) เท่าเทียมแบบไทยๆ ผ่านวิกฤติโควิด-19

12 พ.ค. 2564

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved