วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์โลกธุรกิจ / โลกการค้า
โลกการค้า

โลกการค้า

วันพฤหัสบดี ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2567, 06.00 น.
3ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การเติบโตที่ต่ำ

ดูทั้งหมด

  •  

ll KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์เกี่ยวกับภาพรวมเศรษฐกิจไทย โดยระบุว่า เศรษฐกิจไทยกำลังเจอปัจจัยเสี่ยงทั้งจากภายในและภายนอก หากไม่ปรับตัวมีความเสี่ยงเข้าสู่แนวโน้มขาลง โดยเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญกับภาวะชะลอตัวอย่างต่อเนื่องแม้จะผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 โดยภาพรวมเศรษฐกิจยังไม่สามารถกลับมาเท่าศักยภาพเดิมที่ 3.0%-3.5% โดยไทยยังถือเป็นหนึ่งในประเทศที่เติบโตได้ช้าที่สุดในภูมิภาค ASEAN ในช่วงหลังวิกฤตโควิด-19 KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตเพียง 2.6% ในปี 2568 และเติบโตได้ 2.4%ในปี 2569 โดยเศรษฐกิจไทยที่อ่อนแอลงในปีหน้าเป็นผลมาจากทั้งปัจจัยระยะสั้นและระยะยาวไม่ว่าจะเป็น 1.ปัญหาความสามารถในการแข่งขัน ที่สะท้อนจากการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของไทยที่หดตัวลงต่อเนื่องมามากกว่าปีและยังมีความเสี่ยงชะลอตัวเพิ่มเติมโดยเฉพาะหากมีการปรับภาษีนำเข้าสินค้าขึ้นจากสหรัฐฯ ซึ่งจะส่งกระทบเพิ่มเติมต่อภาคการส่งออกไทย 2.ภาคบริการที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ช้าลง หลังจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าใกล้ระดับปกติมากขึ้น 3.การหดตัวของสินเชื่อในภาคธนาคารจะยังคงดำเนินต่อไป ซึ่งจะกระทบกับการบริโภคในระยะข้างหน้า และ 4.การเข้าสู่สังคมสูงอายุ กดดันแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว

ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยในปีหน้ามีแนวโน้มเผชิญกับการเติบโตต่ำจากปัจจัยหลัก 3 ประการได้แก่ 1.ภาคบริการและการท่องเที่ยวจะไม่ส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจมากเท่าเดิม : การท่องเที่ยวซึ่งเคยเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วงฟื้นตัวเริ่มแสดงสัญญาณชะลอตัว ในช่วงตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2564 เป็นต้นมา การท่องเที่ยวส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึง 2.2ppt เทียบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ระดับเฉลี่ย 2.4% หรือการเติบโตเกือบทั้งหมดมาจากภาคการท่องเที่ยวอย่างไรก็ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในปี 2568-2569 คาดว่าจะเติบโตเฉลี่ยเพียง6.9% ต่อปี ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับการฟื้นตัวช่วงหลังการเปิดประเทศหลังโควิดที่โตได้กว่า 255%


2.ภาคการผลิตของไทยยังไม่เห็นสัญญาณฟื้นตัว อุตสาหกรรมหลักของไทย คือ ยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความต้องการของตลาดโลก ตัวอย่างเช่น การผลิตรถยนต์ที่ลดลงกว่า 14% จากปี 2564 จากการ
เข้ามาแข่งขันของรถยนต์ค่ายจีน โดยการหดตัวของภาคการผลิตไทยในปี 2567 เกิดจากการหดตัวของการผลิตรถยนต์เป็นหลักในขณะที่เริ่มเห็นการฟื้นตัวในสินค้ากลุ่มอื่นบ้างแล้ว นอกจากนี้ การผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ซึ่งเคยเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทย กำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากหน่วยความจำแบบ SSDเข้ามาแทนที่ ส่งผลให้การผลิต HDD ลดลงกว่า50% ตั้งแต่ปี 2564

3.ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงและการลดลงของการปล่อยสินเชื่อใหม่ ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงถึง 90% ของ GDP ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อใหม่มากขึ้น โดยหนี้ต่อ GDP ของไทยเริ่มปรับตัวลดลงจากสินเชื่อภาคธนาคารที่เติบโตติดลบ ส่งผลให้การบริโภคสินค้าคงทนในไทยหดตัวลงต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะยังคงชะลอตัวลงต่อเนื่อง

จากอุปสงค์ในประเทศที่ซบเซาและปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้รัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการแจกเงินสดขนาดใหญ่ในปี 2567 และ 2568 ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญที่ช่วยพยุงให้เศรษฐกิจไทยพอขยายตัวต่อได้ โดยแบ่งเป็น ระยะที่ 1 : งบประมาณ142,000 ล้านบาท (คิดเป็น 0.7% ของ GDP)ถูกใช้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2567 ผ่านการแจกเงินสด10,000 บาท ให้กับกลุ่มเปราะบาง ระยะที่ 2 :รัฐบาลจัดสรรงบประมาณ 184,000 ล้านบาท (คิดเป็น 0.9% ของ GDP) จะถูกแจกเป็นเงินสดให้กับผู้สูงอายุ 5-8 ล้านคนภายในเดือนมกราคม และระยะที่ 3 : หลังจากสองระยะแรกยังเหลืองบประมาณราว 100,000 ล้านบาท ซึ่งจะนำไปแจกให้กับประชาชน 10 ล้านคนที่ลงทะเบียนในโครงการกระเป๋าเงินดิจิทัล โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการในไตรมาสที่ 2 ปี 2568 อย่างไรก็ตามแม้จะมีการแจกเงินสดรอบใหม่ KKP Research คาดว่ามาตรการนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากปัจจัยสำคัญอื่นๆ เช่น ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังอ่อนแอ สภาวะสินเชื่อที่เข้มงวดจากธนาคาร และการฟื้นตัวของรายได้ที่ยังล่าช้า มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นและผลกระทบต่อการบริโภคมากกว่าการแจกเงินสดเพียงครั้งเดียว

เศรษฐกิจไทยตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2568 ยังมีความเสี่ยงโตต่ำกว่าที่ประเมินว่าจากความเสี่ยงของนโยบายภาษีของว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่มีการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ มากเป็นลำดับต้นๆ ของเอเชีย โดยมีการส่งออกไปยังสหรัฐฯ คิดเป็นประมาณ 9% ของ GDP และเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ อเมริกามูลค่ากว่าสี่หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นลำดับที่ 12 ของโลก และการเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าในช่วงสามปีที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่อาจเป็นผลมาจากสินค้านำเข้าจากจีน ซึ่งอาจทำให้ไทยมีความเสี่ยงถูกมาตรการการค้าเพิ่มเติมได้

อย่างไรก็ตาม นโยบายการค้าของสหรัฐยังมีความไม่แน่นอนอยู่ค่อนข้างมาก KKP ประเมินว่าการขึ้นภาษีนำเข้าขนาดใหญ่มีแนวโน้มใช้เพื่อเป็นเครื่องมือเจรจาต่อรองด้านการค้าระหว่างประเทศโดยสินค้าในกลุม Rerouting ที่นำเข้าจากจีนเพื่อส่งออกไป US มีแนวโน้มได้รับผลกระทบก่อน เช่น Solar Panel, Wifi Router ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยไม่มากเพราะมูลค่าเพิ่มที่ถูกสร้างในประเทศอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามความเสี่ยงที่อาจกระทบกับสินค้ากลุ่มอื่นๆ เพิ่มเติม คือ 1.กลุ่มสินค้าที่ไทยส่งออกไปยังสหรัฐฯ หากมีการปรับขึ้นภาษีนำเข้า 10% กับทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งจะกระทบสินค้าในกลุ่มเครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ยาง รถยนต์ 2.กลุ่มสินค้าที่ไทยมีการคิดภาษีกับสหรัฐฯ สูงกว่าสหรัฐฯ คิดกับไทย โดยสหรัฐฯ มีแนวโน้มต่อรองให้ไทยลดภาษีนำเข้าสินค้าบางกลุ่มกับสหรัฐฯ ลงเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม กระทบสินค้าในกลุ่มอาหารและภาคเกษตรฯ 3.กลุ่มสินค้านำเข้าจากประเทศจีน ในสถานการณ์ที่สหรัฐฯ ขึ้นภาษีกับประเทศจีนที่ 60% มากกว่าประเทศอื่นๆ จะเป็นความเสี่ยงที่อาจเห็นสินค้าจีนทะลักเข้าสู่ตลาด ASEAN และไทยเพิ่มเติม สินค้าที่มีการขาดดุลเยอะในช่วงที่ผ่านมา คือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและยานยนต์และชิ้นส่วน

KKP Research ประเมินว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 3 ครั้งในปีหน้ามาที่ระดับ 1.5% จากระดับปัจจุบันที่ 2.25% แม้ว่าแนวทางการสื่อสารของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) จะมีท่าทีค่อนข้างเข้มงวด โดยเน้นย้ำว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมที่ผ่านมาเป็นการปรับสมดุลใหม่ (recalibration) ไม่ใช่การเริ่มต้นของนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย อย่างไรก็ตาม KKP Research ประเมินว่าธนาคารแห่งประเทศไทยยังมีความจำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่อ่อนแอ และภาวะทางการเงินในปัจจุบันมีตึงตัว โดยเฉพาะจากสินเชื่อภาคธนาคารที่หดตัวจนส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศ

KKP Research ตั้งข้อสังเกตว่า ในระหว่างปี 2558-2562 เมื่อเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงต่ำกว่า 1% และการเติบโตของเศรษฐกิจอยู่ที่ประมาณ 3-4% อัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงนั้นยังคงอยู่ที่ 1.5% อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมเงินเฟ้อในปัจจุบันอ่อนแอพอๆ กันกับช่วงปี 2558-2562 และอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจอ่อนแอกว่าในช่วงนั้นมาก แต่อัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันกลับสูงกว่าช่วงเวลาดังกล่าวมากซึ่งเป็นหนึ่งในข้อสังเกตว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันอาจตึงตัวเกินไปเมื่อเทียบกับศักยภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประกอบกับเศรษฐกิจที่มีสัญญาณอ่อนแอลงและหนี้เสียที่เร่งตัวขึ้นจะเป็นปัจจัยกดดันเพิ่มเติมต่อธนาคารแห่งประเทศไทย

KKP Research

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
11:48 น. จับลุงหนีคดีฆ่านับ10ปีถูกตร.ขึ้นบัญชีดำ
11:35 น. ‘ดร.เอ้’เปิดใจ! ลั่นเปลี่ยนเป้าเล่นการเมืองระดับประเทศ
11:32 น. ศาลอุทธรณ์ยืนจำคุก 'ตี้ วรรณวลี' 2 ปี 8 เดือน ไม่รอลงอาญา คดี ม.112
11:29 น. จับแหล่งผลิตน้ำกระท่อม4x100สูตรใหม่ส่งขายขาโจ๋
11:27 น. 'วันนอร์'แจงสภาล่มวันแรก เชื่อแม้รัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ งานฝ่ายนิติบัญญัติไม่สะดุด
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ชวนให้คิด! 'หมอพรทิพย์'โพสต์ 'นายกฯตระกูลชิน'กับระบบการเมืองไทย
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
ดูทั้งหมด
ตายยกรัง? เจตนาเล็งเห็นผล บิดเบือนหลบเลี่ยงรัฐธรรมนูญ
ธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) ของไทย
กลัวเลือกตั้ง?
บุคคลแนวหน้า : 4 กรกฎาคม 2568
ดวงพิฆาตสองพ่อลูก‘ทักษิณ-แพทองธาร’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ศาลอุทธรณ์ยืนจำคุก 'ตี้ วรรณวลี' 2 ปี 8 เดือน ไม่รอลงอาญา คดี ม.112

จับแหล่งผลิตน้ำกระท่อม4x100สูตรใหม่ส่งขายขาโจ๋

รีไทร์เบอร์20: ลิเวอร์พูลอุทิศให้ โชต้า ผู้ล่วงลับ

‘ภูมิธรรม’นำ 2 รมช.มหาดไทย เข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช หลังเข้ารับตำแหน่ง

GC ผนึกกำลัง TPBI Group ยกระดับการพัฒนานวัตกรรมพลาสติกเพื่อสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยวัสดุเพื่อโลกอนาคตอย่างยั่งยืน

'ญี่ปุ่น'ระส่ำ!! 'ภูเขาไฟชินโมเอะดาเกะ'พ่นเถ้าถ่านสูง5,000เมตร หวั่นปะทุแมกมาออกมา

  • Breaking News
  • จับลุงหนีคดีฆ่านับ10ปีถูกตร.ขึ้นบัญชีดำ จับลุงหนีคดีฆ่านับ10ปีถูกตร.ขึ้นบัญชีดำ
  • ‘ดร.เอ้’เปิดใจ! ลั่นเปลี่ยนเป้าเล่นการเมืองระดับประเทศ ‘ดร.เอ้’เปิดใจ! ลั่นเปลี่ยนเป้าเล่นการเมืองระดับประเทศ
  • ศาลอุทธรณ์ยืนจำคุก \'ตี้ วรรณวลี\' 2 ปี 8 เดือน ไม่รอลงอาญา คดี ม.112 ศาลอุทธรณ์ยืนจำคุก 'ตี้ วรรณวลี' 2 ปี 8 เดือน ไม่รอลงอาญา คดี ม.112
  • จับแหล่งผลิตน้ำกระท่อม4x100สูตรใหม่ส่งขายขาโจ๋ จับแหล่งผลิตน้ำกระท่อม4x100สูตรใหม่ส่งขายขาโจ๋
  • \'วันนอร์\'แจงสภาล่มวันแรก เชื่อแม้รัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ งานฝ่ายนิติบัญญัติไม่สะดุด 'วันนอร์'แจงสภาล่มวันแรก เชื่อแม้รัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ งานฝ่ายนิติบัญญัติไม่สะดุด
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

พาณิชย์...ถอดรหัสพฤติกรรมการบริโภคผลไม้ของคนไทย

พาณิชย์...ถอดรหัสพฤติกรรมการบริโภคผลไม้ของคนไทย

3 ก.ค. 2568

โลกการค้า : 26 มิถุนายน 2566

โลกการค้า : 26 มิถุนายน 2566

26 มิ.ย. 2568

3ตลาดสำคัญในอาเซียนของสินค้าไทย ที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากภาษีสหรัฐฯ

3ตลาดสำคัญในอาเซียนของสินค้าไทย ที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากภาษีสหรัฐฯ

19 มิ.ย. 2568

ความเสี่ยง”ภาษีทรัมป์”ลากยาว  การค้าโลกไม่สมดุล...คือต้นตอของปัญหา

ความเสี่ยง”ภาษีทรัมป์”ลากยาว การค้าโลกไม่สมดุล...คือต้นตอของปัญหา

12 มิ.ย. 2568

โลกการค้า : 5 มิถุนายน 2568

โลกการค้า : 5 มิถุนายน 2568

5 มิ.ย. 2568

โลกการค้า : 29 พฤษภาคม 2568

โลกการค้า : 29 พฤษภาคม 2568

29 พ.ค. 2568

7-11 ยังเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ที่จะยกระดับSMEไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

7-11 ยังเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ที่จะยกระดับSMEไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

22 พ.ค. 2568

ผู้ประกอบไทยหันมาทางนี้ มีวิธีรับมือ” Reciprocal Tariffs “ มาฝาก

ผู้ประกอบไทยหันมาทางนี้ มีวิธีรับมือ” Reciprocal Tariffs “ มาฝาก

15 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved