วันเสาร์ ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ออนไลน์ / ซอกซอนตะลอนไป
ซอกซอนตะลอนไป

ซอกซอนตะลอนไป

โดย...เสรษฐวิทย์ ชีรวินิจ
วันอาทิตย์ ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2565, 02.00 น.
วันไหว้ครู สิ่งที่สูญหายไป (ตอน2)

ดูทั้งหมด

  •  

ผมจำได้เคร่าๆว่า  เช้าของวันไหว้ครู  นักเรียนจะเข้าแถวกันหน้าเสาธง  หลังจากเชิญธงขึ้นยอดเสาแล้ว  ก็จะเป็นพิธีไหว้ครู  นักเรียนจะพนมมือถือดอกไม้ธูปเทียนที่เตรียมมา  แล้วว่าตามผู้นำที่กล่าวสรรเสริญพระคุณของครู  โดยเริ่มต้นด้วยบทสวดเป็นภาษาบาลีว่า

 “ปาเจราจริยาโหนติ คุณุตตรา นุสาสกา”   แล้วต่อด้วยความหมายในภาษาไทยเริ่มต้นว่า  “ข้าขอประณตน้อมสักการ...........”  จนจบ


(ภาพงานวันไหว้ครูของโรงเรียนหนึ่ง  ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นของโรงเรียนอะไร – ภาพจากอินเตอร์เน็ต)

 จากนั้น  นักเรียนก็จะรวบรวมดอกไม้ธูปเทียนใส่พานแล้วให้ตัวแทนนำไปมอบให้แก่ครูประจำชั้น  ประมาณนี้

ในปัจจุบันชาวอินเดียฮินดู  ก็มีวันไหว้ครูที่เรียกว่า  กูรูปูรนิมา  และ วัฒนธรรมนี้เองที่ถ่ายทอดมาสู่ประเพณีการไหว้ครูของไทย

แต่แนวคิดวันไหว้ครูของฮินดูนั้นแตกต่างจากวันไหว้ครูของไทยในหลายๆประเด็น  ข้อแรก  วันไหว้ของครูไทยถูกกำหนดวันที่แน่นอนคือวันที่ 16 มกราคม ซึ่งเป็นมติของคณะรัฐมนตรีที่มีจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499  โดยไม่แน่ใจว่าอ้างอิงจากอะไร

ทำให้  ต่อมาวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 จึงได้มีพิธีไหว้ครูขึ้นเป็นครั้งแรก

จะเห็นว่าวันไหว้ครูของไทยถูกกำหนดขึ้นโดยไม่ได้คำนึงถึงองค์ประกอบใดอื่น  เช่น  เป็นวันพฤหัสฯ  หรือ  วันขึ้น หรือ แรมกี่ค่ำ  คงจะเป็นเพราะเป็นการกำหนดตามปฎิทินแบบสุริยคติ

(ปฎิทินของฮินดู กำหนดให้วันที่ 13 กรกฎาคม 2565 ตรงกับวัน กูรูปูรนิมา)

แต่วันครูของชาวฮินดูซึ่งเป็นต้นธารของวัฒนธรรมไทยนั้น กำหนดให้วันครูก็คือวัน กูรูปูรนิมา(GURU PURNIMA) ตรงกับขึ้น 15 ค่ำเดือนอัษฎา (ASHADHA) หรือ อาสาฬหะ หรือ เดือนที่ 4 ตามปฎิทินของฮินดู  จะตกอยู่ระหว่างเดือนมิถุนายน และ กรกฎาคม ตามปฎิทินแบบเกรกอเรียนที่ทั่วโลกใช้กัน

(วันอาสาฬหบูชา - ภาพจาก KAPOOK.COM)

คติทางศาสนาพุทธถือว่า  วันดังกล่าวเป็นวันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิติปัตนะมฤคทายวัน  หรือเมืองสารนาถ ในประเทศอินเดีย

แสดงนัยว่า  เป็นวันกำเนิด “ครู” และ “ลูกศิษย์”ขึ้นในโลก  แม้ว่า ก่อนหน้านั้นจะมีครูและลูกศิษย์มาแล้ว

ในวันดังกล่าว  ชาวฮินดูส่วนหนึ่งโดยเฉพาะคนในวรรณะพราหมณ์จะทำพิธีปูจา เพื่อบูชาคุณของพระพุทธเจ้า เพราะนับถือว่า  พระพุทธเจ้าได้ค้นพบสัจธรรมแห่งโลก และ ชีวิต อันเป็นความจริงสูงสุด

(ปัจจุบัน  องค์การสหประชาชาติกำหนดให้ วันที่ 5 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันครูโลก  ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของอาชีพครู)

ในวันดังกล่าว  บรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่เล่าเรียนจบ ทำงานทำการแล้ว และยังระลึกถึงครูบาอาจารย์ของตน  ก็จะเดินทางไปที่บ้านครู เพื่อแสดงความสำนึกในพระคุณ และ แสดงกตเวทิตา ต่อครูผู้เคยสั่งสอนตนเอง  โดยจะต้องนัดหมายกับครูบาอาจารย์ให้เรียบร้อยล่วงหน้า

สำหรับลูกศิษย์บางคนที่ประสบความสำเร็จในอาชีพ  เช่นเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักเขียน หรือ  กำลังจะทำปริญญาเอก  ก็มักจะเอาผลงาน หรือ วิทยานิพนธ์ (THESIS) ที่กำลังทำไปให้ครูดู และมักจะเขียนอุทิศให้แก่ครูผู้นั้นด้วย 

การแสดงมุทิตาต่อครูเป็นไปอย่างเรียบง่าย คุณครูจะเอาถาดโลหะที่มีหญ้าแพรก ข้าวเปลือก  ดอกไม้  และ โยเกิร์ตวางอยู่  รวมถึงอาจมีเทียนจุดไฟวางอยู่   ครูจะถือถาดวนเหนือศรีษะลูกศิษย์เป็นการให้พร  เช่น  อวยพรให้มีอายุยืน  ขอให้มีชื่อเสียง  ขอให้มีโชคดี  ขอให้มีลูก 100 คน  ขอให้มีชัยชนะในการทำงาน เป็นต้น  แล้วใช้นิ้วจิ้มโยเกิร์ตแล้วไปแตะที่หน้าผากของลูกศิษย์ รวมเรียกว่า พิธีอาชิรวาด(ASHIRWAD)  หรือ พิธีให้พร

แล้วก็มอบหญ้าแพรก  ข้าวเปลือก  หรือ ดอกดาวเรืองให้แก่ลูกศิษย์ถือกลับไป และบอกกับลูกศิษย์ให้รำลึกถึงความหมายของสิ่งเหล่านี้  

หญ้าแพรก เป็นหญ้าศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาฮินดู  เรียกว่า DARBHA GRASS หมายถึงความเข้มแข็ง อดทน พร้อมที่จะเจริญงอกงามได้แม้ในพื้นที่แห้งแล้ง ข้าวเปลือกเป็นความหมายว่า ไม่ว่าจะตกลงที่ใดก็สามารถเจริญงอกงามได้

สำหรับนักเรียนชั้นเล็กๆเช่นชั้นประถม  จะมีการทำพิธีบูชาครูกันในห้องเรียน  เป็นพิธีง่ายๆคือ  นักเรียนจะก้มลงใช้มือแตะที่เท้าของครู แล้วเอามาแตะที่หน้าอก เป็นการเคารพสูงสุดที่เรียกว่า ประนาม(PRANAM) ขณะเดียวกัน ครูก็จะเอามือแตะที่ศรีษะของเด็กแล้วให้พร  จากนั้น  ครูจะมอบของขวัญเล็กๆน้อยๆให้ลูกศิษย์เช่น  ดินสอ  ยางลบ หรือ หนังสือ

ส่วนชั้นที่โตกว่า บางครั้งนักเรียนจะเลือกเพื่อนคนหนึ่งขึ้นไปทำหน้าที่สอนแทนครู โดยครูจะลงมานั่งฟังร่วมกับนักเรียนในชั้นด้วย เป็นการเปลี่ยนการรับรู้ในบทบาทหน้าที่ซึ่งกันและกัน  

เห็นความแตกต่างของการไหว้ครูของอินเดียซึ่งเป็นต้นตำรับ  กับพิธีไหว้ครูของไทยที่ถูกดัดแปลงไปจากเดิมอย่างมาก  ใครจะชอบแบบไหนก็ตามถนัด

พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
09:43 น. ตม.สมุทรสาครรวบหนุ่มชาวจีนปลอมแปลงเอกสารราชการตบตาเจ้าหน้าที่
09:37 น. โบกมือลาเมืองไทย! 'โตโน่'โกอินเตอร์ทัวร์คอนเสิร์ตยุโรปนาน2เดือน ทำแฟนเพลงใจหาย
09:37 น. อย่ายอมการเมืองทุนนิยม! 'สนธิรัตน์'ห่วง'กระแส-กระสุน'ครอบงำการเมืองไทย จี้สร้างจิตสำนึกใหม่
09:27 น. เฮลั่นบ้าน! วิญญาณตามาเข้าฝันสาวสุริทร์ให้ซื้อ 09 รับโชคก้อนใหญ่รางวัลที่ 1
09:25 น. ย้าย'ผอ.ทสจ.ฉะเชิงเทรา' มือปราบทุนจีนรุกป่า ปลูกทุเรียนคลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบ ไปพิษณุโลก
ดูทั้งหมด
สั่งย้าย! รอง ผบ.พัน กองบิน 23 พ้นตำแหน่ง หลังใช้ทหารวิ่งไรเดอร์เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
นายกสมาคมทนาย ชี้'ทักษิณ'รักษาตัวชั้น 14 เจ้าตัวถูกจำคุกตามหมายศาลเเล้ว
เช็คผลเลือกตั้งเทศบาลบุรีรัมย์ ‘บิ๊กเนม’พาเหรดยึดเก้าอี้นายกเทศมนตรี
หนาวทั้งบาง! ‘ดิเรกฤทธิ์’ชี้หากราชทัณฑ์ไร้หลักฐานปมชั้น 14 คาดคนผิดรับโทษเพียบ
ล้มช้าง! เปิดผลเลือกตั้งเทศบาล‘อุดรธานี’แชมป์เก่าร่วงระนาว จิตอาสาซิวชัยที่‘บ้านดุง’
ดูทั้งหมด
บุคคลแนวหน้า : 17 พฤษภาคม 2568
จีนเตือนอย่าบิดเบือนประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 และธรรมนูญ UN
ไทยไม่รอด เพราะนายกรัฐมนตรีไร้ปัญญา
ตึกถล่มผ่านไป 51 วัน จับคนผิดไม่ได้สักคน
อีโก้ทะลุเมฆ (2)
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ตม.สมุทรสาครรวบหนุ่มชาวจีนปลอมแปลงเอกสารราชการตบตาเจ้าหน้าที่

โบกมือลาเมืองไทย! 'โตโน่'โกอินเตอร์ทัวร์คอนเสิร์ตยุโรปนาน2เดือน ทำแฟนเพลงใจหาย

ยิ่งใหญ่! พ่อเมืองกาญจน์ เปิด 'งานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช'

สมมงควีนออฟคานส์! 'ชมพู่ อารยา'สวยสง่าดุจเจ้าหญิง เสิร์ฟลุค3จากแบรนด์ไทย'SIRIVANNAVARI'

ห่มเหลืองอยู่วัด แต่คุณธรรมต่ำกว่าชาวบ้าน อับอายไปถึงนรกอเวจี

สื่อเวียดนามจับตา‘ทุเรียนไทย’ ชี้ปัจจัยทำไม‘จีน’ให้การยอมรับ?

  • Breaking News
  • ตม.สมุทรสาครรวบหนุ่มชาวจีนปลอมแปลงเอกสารราชการตบตาเจ้าหน้าที่ ตม.สมุทรสาครรวบหนุ่มชาวจีนปลอมแปลงเอกสารราชการตบตาเจ้าหน้าที่
  • โบกมือลาเมืองไทย! \'โตโน่\'โกอินเตอร์ทัวร์คอนเสิร์ตยุโรปนาน2เดือน ทำแฟนเพลงใจหาย โบกมือลาเมืองไทย! 'โตโน่'โกอินเตอร์ทัวร์คอนเสิร์ตยุโรปนาน2เดือน ทำแฟนเพลงใจหาย
  • อย่ายอมการเมืองทุนนิยม! \'สนธิรัตน์\'ห่วง\'กระแส-กระสุน\'ครอบงำการเมืองไทย จี้สร้างจิตสำนึกใหม่ อย่ายอมการเมืองทุนนิยม! 'สนธิรัตน์'ห่วง'กระแส-กระสุน'ครอบงำการเมืองไทย จี้สร้างจิตสำนึกใหม่
  • เฮลั่นบ้าน! วิญญาณตามาเข้าฝันสาวสุริทร์ให้ซื้อ 09 รับโชคก้อนใหญ่รางวัลที่ 1 เฮลั่นบ้าน! วิญญาณตามาเข้าฝันสาวสุริทร์ให้ซื้อ 09 รับโชคก้อนใหญ่รางวัลที่ 1
  • ย้าย\'ผอ.ทสจ.ฉะเชิงเทรา\' มือปราบทุนจีนรุกป่า ปลูกทุเรียนคลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบ ไปพิษณุโลก ย้าย'ผอ.ทสจ.ฉะเชิงเทรา' มือปราบทุนจีนรุกป่า ปลูกทุเรียนคลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบ ไปพิษณุโลก
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน40) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน40) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

11 พ.ค. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน39)  หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน39) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

4 พ.ค. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน38) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน38) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

27 เม.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน37) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน37) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

20 เม.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน36)  หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน36) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

13 เม.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน35) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน35) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

6 เม.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน34) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน34) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

30 มี.ค. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน33) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน33) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

23 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved