วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ออนไลน์ / ซอกซอนตะลอนไป
ซอกซอนตะลอนไป

ซอกซอนตะลอนไป

โดย...เสรษฐวิทย์ ชีรวินิจ
วันอาทิตย์ ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2568, 02.00 น.
ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน37) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ดูทั้งหมด

  •  

อาจเป็นได้ว่า  ที่มาของกฏหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 370 ของอินเดีย เพราะมีการตกลงกันระหว่างรัฐบาลอินเดีย กับ มหาราชาฮารี ซิงห์ เอาไว้ในสัญญาตอนแคชเมียร์เข้าร่วมกับอินเดีย ที่เรียกว่า INSTRUMENT OF ACCESSION  ที่ระบุว่า

รัฐจามมูและแคชเมียร์จะต้องไม่ถูกบังคับให้ยอมรับกฎหมายรัฐธรรมนูญของอินเดียในอนาคต


และรัฐจามมูแคชเมียร์ มีสิทธิในการร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญของตนเอง  และ รัฐจามมูและแคชเมียร์มีสิทธิในการตัดสินใจว่า  รัฐจามมูและแคชเมียร์ จะสามารถเลือกที่จะมอบอำนาจใดๆให้เป็นอำนาจของรัฐบาลกลางก็ได้

 

(มหาราชา ฮารี ซิงห์ - ภาพจากวิกิพีเดีย)

เป็นสิ่งที่รัฐบาลอินเดียยอมอ่อนข้อให้แก่รัฐจามมูแคชเมียรโดยเฉพาะ  เพื่อแลกกับอะไรบางอย่าง  เช่น  ความสงบในดินแดนดังกล่าว   หรือผลประโยชน์ส่วนตัวของใครบางคนก็ได้    ไม่มีใครรู้

หลังจากมาตรา 370 บังคับใช้  ชาวอินเดียส่วนใหญ่ดูเหมือนจะไม่มีปฎิกิริยาใดๆต่อกฎหมายฉบับนี้   ราวกับว่า  พวกเขาไม่ได้อ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญหรืออย่างไร 

หรือพวกเขามองไม่ออกว่ามาตรา 370 จะทำให้ชาวอินเดียโดยเฉพาะชาวฮินดูสูญเสียสิทธิของตนเองไปอย่างมาก

แต่ก็มีอย่างน้อย 1 คน ที่มีจุดยืนที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้   เพียงแต่แทบจะไม่มีใครรู้จักชื่อของเขาเลย  เพราะถูกอำนาจมืดปกปิดเอาไว้กว่า 70 ปี

 

 

(ชามา ปราสาท มุคเฮอร์จี- ภาพจากวิกิพีเดีย)

คนผู้นี้คือ  ชามา ปราสาท มุคเฮอร์จี (SYAMA PRASAD MUKHERJEE)  ผู้สร้างปณิธานของตนเองที่กลายเป็นคำขวัญของชาวอินเดียในยุคนี้  และ ของพรรคภารติยะ ชันตะ ด้วย

คำขวัญของเขาก็คือ  “อินเดียเดียว  ชาติเดียว” (ONE INDIA , ONE NATION)

เขาเป็นบุคคลคุณภาพของอินเดียอย่างแท้จริง  เกิดในรัฐเบงกอล  ขณะที่อายุเพียง 33 ปี เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยกัลกัตตา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของอินเดีย

หากใครเคยอ่านหนังสือที่เนห์รูเขียน 2 เล่มคือ GLIMPSES OF WORLD HISTORY และ  THE DISCOVERY OF INDIA ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของเขาอย่างยิ่ง  แต่ว่ากันว่า  ความเชี่ยวชาญในภาษาอังกฤษของมุคเฮอร์จี เหนือว่าของเนห์รูด้วยซ้ำ

 

 

(หนังสือที่เนห์รู เขียน)

ในปี 1929   เขาเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มการเมืองที่เรียกว่า อินเดียน เนชั่นนัล คองเกรส (INDIAN NATIONA CONGRESS)  เพื่อเป็นตัวแทนรับเลือกตั้งเพื่อชิงตำแหน่งสมาชิกสภาของรัฐเบงกอล  และได้รับเลือกด้วย

ต้องเข้าใจบริบทของอินเดียในยุคนั้นก่อนว่า  ช่วงก่อนอินเดียได้รับอิสรภาพนั้น  คองเกรสมีสถานะเหมือนกลุ่มการเมืองของชาวอินเดียผู้รักชาติ  และ  เป็นช่องทางการเข้าสู่วงการเมือง  เพราะในขณะนั้น  อินเดียมีกลุ่มการเมืองอีกกลุ่มหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นมาในปี 1925 คือ กลุ่มการเมืองนิยมคอมมิวนิสต์

แต่ในปีถัดมา   เขาก็ลาออกจากการเป็นสมาชิกของคองเกรส  เมื่อกลุ่มคองเกรสตัดสินใจที่จะบอยคอตต่อสภาแห่งเบงกอล

ไม่มีบันทึกอย่างเป็นทางการถึงสาเหตุของการลาออกจากกลุ่มคองเกรส ที่มีมหาตะมะ คานธี และ เนห์รู เป็นผู้ทรงอิทธิพลในกลุ่ม   แต่หลักฐานในภายหลังระบุว่า   มุคเฮอร์จี  น่าจะเห็นความไม่ชอบมาพากลของ คานธี และ เนห์รู ในการนำพากลุ่ม

จะว่าไป   คานธี และ เนห์รู ก็คือเผด็จการในกลุ่มคองเกรสนั่นเอง

คานธี และ เนห์รู เป็นเผด็จการอย่างไร  และ มุคเฮอร์จี เป็นใคร  รออ่านในสัปดาห์หน้าครับ

                พบกับโปรแกรม เจาะลึกอียิปต์ 10 วัน 7 คืน ของฤดูกาลปลายปีนี้  ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม เป็นต้นไป  บรรยายชมโดยผู้เชียวชาญอียิปต์ และเป็นผู้เขียนหนังสือไกด์บุ๊ค 4 เล่ม  รวมถึงไกด์บุ๊ค “อียิปต์-กรีซ-ตุรกี” สอบถามได้ที่โทร 0885786666 หรือ LINE ID – 14092498

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
09:26 น. รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า
09:14 น. ‘นฤมล’สั่ง'สพฐ.-สพท.'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด
09:05 น. เอื้อประโยชน์หรือไม่? รถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย ระวังอย่าแถมเงินให้นายทุน
08:53 น. 'สวนดุสิตโพล'เผยชุมนุมการเมือง คนไทยคาดหวังอยากให้รัฐบาลลาออก ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร
08:43 น. ใครจะถูกหักเหลี่ยม! 'เทพไท'ชี้ 'นายกฯชั่วคราว'เกมชิงอำนาจชิงไหวชิงพริบ ระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ดูทั้งหมด
ต้องเลือกตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ
บุคคลแนวหน้า : 6 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน
หน้าต้องทนสูงมาก จึงทำแบบนี้ได้
วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า

‘นฤมล’สั่ง'สพฐ.-สพท.'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด

'สวนดุสิตโพล'เผยชุมนุมการเมือง คนไทยคาดหวังอยากให้รัฐบาลลาออก ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร

กระบะชนหนี! จยย.พ่วงข้างคว่ำล้อชี้ฟ้า หนุ่มเมียนมาบาดเจ็บ

'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!

ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม

  • Breaking News
  • รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า
  • ‘นฤมล’สั่ง\'สพฐ.-สพท.\'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม  หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด ‘นฤมล’สั่ง'สพฐ.-สพท.'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด
  • เอื้อประโยชน์หรือไม่? รถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย ระวังอย่าแถมเงินให้นายทุน เอื้อประโยชน์หรือไม่? รถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย ระวังอย่าแถมเงินให้นายทุน
  • \'สวนดุสิตโพล\'เผยชุมนุมการเมือง คนไทยคาดหวังอยากให้รัฐบาลลาออก ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร 'สวนดุสิตโพล'เผยชุมนุมการเมือง คนไทยคาดหวังอยากให้รัฐบาลลาออก ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร
  • ใครจะถูกหักเหลี่ยม! \'เทพไท\'ชี้ \'นายกฯชั่วคราว\'เกมชิงอำนาจชิงไหวชิงพริบ ระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน ใครจะถูกหักเหลี่ยม! 'เทพไท'ชี้ 'นายกฯชั่วคราว'เกมชิงอำนาจชิงไหวชิงพริบ ระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน47)  หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน47) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

6 ก.ค. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน46) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน46) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

29 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน45) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน45) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

22 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน44) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน44) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

15 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน43) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน43) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

8 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน42) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน42) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

1 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน41) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน41) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

25 พ.ค. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน40) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน40) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

11 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved