โดย เสรษฐวิทย์ ชีรวินิจ
ตัดภาพเหตุการณ์มาสู่หลังปี 1950 เมื่ออินเดียได้ประกาศกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับแรก โดยมีมาตรา 370 ที่ให้สิทธิพิเศษอย่างมากแก่ชาวมุสลิมในรัฐจามมู และ แคชเมียร์
และตัดสิทธิ์จำนวนมากของชาวฮินดู และ ชาวซิกห์ ออกไปด้วย
(นาธูราม กอดเซ่ ผู้สังหารคานธี - ภาพจากวิกิพีเดีย)
ในวันที่กฎหมายรัฐธรรมนูญของอินเดียบังคับใช้ อาจไม่มีใครสนใจในประเด็นดังกล่าวมากนัก เพราะประเทศเพิ่งผ่านเหตุการณ์สะเทือนขวัญเมื่อวันที่ 30 มกราคม ปี 1948 ที่มหาตะมะ คานธีถูกสังหารโดย นายนาธูราม กอดเซ่ (NATHURAM GODSE) มาไม่นาน
หากมีโอกาส ผมจะนำเรื่องราวการลอบสังหารนี้ และ แนวคิดของคนอินเดียในปัจจุบันนี้ต่อการลอบสังหารนี้มาเล่าให้ฟัง
(คณะรัฐมนตรีชุดแรกของอินเดีย นายชามา ปราสาด มุคเฮอร์จี (แถวนั่งขาวสุด)-ภาพจากวิกิพีเดีย)
เนห์รู เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดียตั้งแต่ปี 1947 และเรื่อยมาติดต่อกัน 4 สมัยจนเสียชีวิตในปี 1964 เพราะขณะนั้น พรรคคองเกรสที่มีเนห์รู และ คานธี เป็นตัวชูโรงกำลังได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างมาก
ในคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลเนห์รู 1 มีนายชามา ปราสาด มุกเฮอร์จี ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม แต่เขาก็ลาออกก่อนพร้อมกับนาย เค ซี นีโอจี(K.C.NEOGY)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 8 เมษายน ในปี 1950
(นายเลียกัต อาลี ข่าน นายกรัฐมนตรีคนแรกของปากีสถานภาพจากวิกิพีเดีย)
เหตุผลขอการลาออกก็คือ ความไม่พอใจต่อการลงนามระหว่างนายเนห์รู กับ นายเลียกัต อาลี นายกรัฐมนตรีฝ่ายปากีสถาน ในสนธิสัญญาที่เรียกว่า สนธิสัญญาเลียกัต-เนห์รู ที่มีสาระเกี่ยวกับคนส่วนน้อยที่ยังติดอยู่ในประเทศอินเดีย และปากีสถาน
สาระของสนธิสัญญาที่ดูดี แต่ไร้ผลในเรื่องการบังคับใช้
นับแต่นั้นมา นายชามา ปราสาด มุกเฮอร์จี ก็ไม่เคยถูกเชิญให้เข้าดำรงตำแหน่งใดๆของรัฐบาลเนห์รูอีกเลย เพราะเนห์รูคงประเมินแล้วเห็นว่า นายมุคเฮอร์จี อาจจะสร้างปัญหาแก่เขาในอนาคตได้ เพราะควบคุมยาก
ที่สำคัญก็คือ ในขณะนั้นบุคคลที่ทุกคนในคณะรัฐบาลและในประเทศอินเดีย ให้ความเกรงใจก็คือ มหาตะมะ คานธี ก็ไม่อยู่แล้ว ยิ่งไม่มีใครที่จะสามารถพูดคุยขอร้องกับนายมุคเฮอร์จีได้
(ดินแดนหุบเขาแคชเมียร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด-ภาพจากกูเกิล)
มุคเฮอร์จี คงจะได้รับการร้องเรียน และ ร้องทุกข์จากชาวฮินดูที่ตั้งถิ่นฐานในจามมู และ แคชเมียร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหุบเขาแคชเมียร์ ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด อันเป็นผลกระทบจากกฎหมายพิเศษมาตรา 370
ชาวฮินดู ในแคชเมียร์ ไม่ได้รับสิทธิทางกฎหมายของอินเดีย เหมือนกันกับชาวฮินดูที่อาศัยอยู่ในรัฐอื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้น ชาวฮินดูในแคชเมียร์ ยังได้รับสิทธิทางกฎหมายน้อยกว่าชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในแคชเมียร์ และรัฐอื่นๆของอินเดียด้วย
ราวกับว่า พวกเขาไม่ได้อยู่ในประเทศเดียวกัน
นายชามา ปราสาด มุคเฮอร์จี จึงได้ตั้งสโลแกนขึ้นมาว่า “อินเดียเดียว ประเทศชาติเดียว” (ONE INDIA , ONE NATION) เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้
แล้วเขาก็ตัดสินใจเดินทางไปแคชเมียร์ เพื่อสำรวจให้เห็นกับตาว่า กฎหมาย 370 ส่งผลอะไรต่อชาวฮินดูในแคชมียร์
เขาไม่รู้เลยว่า นั่นจะเป็นการเดินทางครั้งสุดท้ายของเขา
พบกับโปรแกรม เจาะลึกอียิปต์ 10 วัน 7 คืน ของฤดูกาลปลายปีนี้ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม เป็นต้นไป บรรยายชมโดยผู้เชียวชาญอียิปต์ และเป็นผู้เขียนหนังสือไกด์บุ๊ค 4 เล่ม รวมถึงไกด์บุ๊ค “อียิปต์-กรีซ-ตุรกี” สอบถามได้ที่โทร 0885786666 หรือ LINE ID – 14092498
พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี