ก่อนอื่น ผมขอแสดงความเสียใจ และ ไว้อาลัยต่อการเสียชีวิตของชาวฮินดู และ คริสต์ 26 ศพใน เมืองพาฮาลกัม (PAHALGAM) รัฐจามมูและแคชเมียร์ของอินเดีย เมื่อเวลา 14.45 น.ของวันที่ 22 เมษายน 2568 โดยฝีมือของผู้ก่อการร้ายมุสลิมที่เลือกสังหารเฉพาะพลเรือนที่ไม่ใช่ชาวมุสลิมเท่านั้น
ที่น่าเวทนาก็คือ บางคู่เพิ่งจะแต่งงานเมื่อสัปดาห์ก่อน และเลือกที่จะมาฮันนีมูนที่นี่
เหตุการณ์เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่ผมเขียนมา 37 ตอนแล้ว ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้สูญเสียครับ
กลับมาถึงเรื่องราวของการยกเลิกมาตรา 370
ผมขอนำเรื่องราวของ ชามา ปราสาด มุคเฮอร์จี ที่ประวัติศาสตร์ของอินเดียในช่วง 60 - 70 ถูกห้ามไม่ให้พูดถึงเลย เพราะเป็นช่วงที่อินเดียอยู่ภายใต้การปกครองของพรรคครอบครัวของตระกูลคานธี พรรค อินเดียน เนชั่นนัล คองเกรส หรือ เรียกสั้นๆว่า พรรคคองเกรส
มุคเฮอร์จี เริ่มอาชีพทางการเมืองในปี 1929 ด้วยการได้รับเลือกตั้งให้เป็นสภานิติบัญญัติของรัฐเบงกอล ในฐานะสมาชิกของ อินเดียน เนชั่นนัล คองเกรส ที่มีผู้นำขณะนั้นก็คือ เนห์รู และ คานธี
อย่างไรก็ตาม เขาลาออกจากตำแหน่งในปีต่อมา เมื่อพรรคคองเกรส ตัดสินใจที่จะบอยคอตต่อสภานิติบัญญัติดังกล่าว แต่เขาก็ได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในฐานะผู้สมัครอิสระในปี 1930
เขาได้รับเลือกตั้งจากประชาชนตลอดมา จนในที่สุดก็ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเศรษฐกิจของรัฐบาลท้องถิ่นของเบงกอลระหว่างปี 1941-1942 หลังจากรัฐบาลจากพรรคคองเกรสได้ลาออก
ตลอดเวลาที่เขาอยู่ในตำแหน่ง ทุกคำพูดของเขาที่ไม่เป็นไปในทางเดียวกับรัฐบาลกลางของพรรคคองเกรสจะถูกเซ็นต์เซอร์ และ ทุกความเคลื่อนไหวของเขาถูกขัดขวาง
(เขตมิดนาปอร์ ในรัฐเบงกอล-ภาพจากวิกิพีเดีย)
เขาถูกรัฐบาลกลาง ที่นำโดยนห์รู ห้ามไม่ให้เดินทางไปเยี่ยมประชาชนในเขต มิดนาปอร์(MIDNAPORE DISTRICT)ของรัฐเบงกอลในปี 1942 เมื่อพื้นที่แห่งนี้ถูกน้ำท่วมอย่างรุนแรงและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก
เขาจึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 1942
ต่อมา เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 1946 หนึ่งปีก่อนที่อินเดียจะได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ และหนึ่งเดือนก่อนที่จะเกิดเหตุโศกนาฎกรรมที่ชาวมุสลิมไล่สังหารชาวฮินดูในรัฐเบงกอล จนลามไปทั่วประเทศ ที่รู้จักกันในนามของ “วันปฎิบัติการตรง” (DIRECT ACTION DAY) เขาได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาแห่งอินเดีย ที่เดลี ในนามผู้สมัครอิสระ
(ถนนในกัลกัตตาหลังจากเหตุการณ์ “วันปฎิบัติการตรง” - ภาพจากวิกิพีเดีย )
แนวคิดของเขาชัดเจนมากในประเด็นเรื่องที่มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ ต้องการจะแยกประเทศอินเดียออกไปเป็นประเทศปากีสถาน เพื่อประชาชนชาวมุสลิมตั้งแต่ปี 1941 แล้วว่า
“ชาวอินเดียที่ต้องการจะอาศัยอยู่ในประเทศปากีสถาน ควรจัดกระเป๋าและออกจากอินเดียเสียในทันทีที่เขาต้องการ”
ก่อนหน้าที่อินเดียจะได้อิสรภาพ 1 ปี มุคเฮอร์จี ยังสนับสนุน และเรียกร้องให้มีการแบ่งดินแดนของรัฐเบงกอล เพื่อป้องการไม่ให้มีการดึงเอาพื้นที่ที่มีชาวฮินดูจำนวนมากอาศัยอยู่ในเบงกอลตะวันตกไปเป็นประเทศปากีสถานตะวันออก
เขาต่อสู้ในเรื่องนี้อย่างหนักแน่นและชัดเจน ถึงขนาดเขียนจดหมายไปยังลอร์ด เมาท์แบตเทน เมื่อเดือนพฤษภาคม 1947 ก่อนหน้าที่อินเดียจะได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ 3 เดือน เรียกร้องให้แบ่งรัฐเบงกอลออกเป็นสองส่วน เป็นบางกอลตะวันตกที่มีชาวฮินดูส่วนใหญ่อาศัยอยู่ และ เบงกอลตะวันออก ซึ่งมีชาวมุสลิมจำนวนมากอาศัยอยู่ ไม่ว่าอินเดียจะแยกประเทศหรือไม่ก็ตาม
เพราะขณะนั้น กลุ่มมุสลิม ลีก ของจินนาห์ มีเป้าหมายที่จะขอดินแดนในรัฐเบงกอลทั้งหมดมาเป็นปากีสถานตะวันออก
มุคเฮอร์จี เล็งเห็นว่าชะตากรรมของชาวฮินดูในดินแดนของมุสลิมจะประสบชะตากรรมอย่างไร เพราะเห็นได้จากกรณีฆ่าล้างเผ่าพันธ์ในเขตนัวอาคาลี ในเบงกอลตะวันออก (ปัจจุบันนี้อยู่ในปากีสถานตะวันออก และ เปลี่ยนมาเป็นประเทศบังคลาเทศในปี 1971) ที่ยังมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์แม้จนปัจจุบันนี้
ยิ่งไปกว่านั้น ในปี 1942 ด้วยมติของฮินดู มหาสภา โดยมุคเฮอร์จี ได้ประกาศหยุดการสนับสนุน โครงการรณรงค์ที่เรียกว่า อังกฤษจงออกไปจากอินเดีย(QUIT INDIA) ของคานธีด้วย
บทบาทและท่าทีของมุคเฮอร์จี ไม่เป็นที่สบอารมณ์ของสองผู้เฒ่าของพรรคคองเกรสอย่าง เนห์รู และ คานธีแน่นอน
พบกับโปรแกรม เจาะลึกอียิปต์ 10 วัน 7 คืน ของฤดูกาลปลายปีนี้ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม เป็นต้นไป บรรยายชมโดยผู้เชียวชาญอียิปต์ และเป็นผู้เขียนหนังสือไกด์บุ๊ค 4 เล่ม รวมถึงไกด์บุ๊ค “อียิปต์-กรีซ-ตุรกี” สอบถามได้ที่โทร 0885786666 หรือ LINE ID – 14092498
ชะตากรรมของมุคเฮอร์จีจะเป็นอย่างไร ติดตามต่อในสัปดาห์หน้าครับ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี