วันที่ 21 ตุลาคม ปี 1951 มุคเฮอร์จี ได้ก่อตั้ง พรรคภารติยะ ชันนะ ชังกห์(BHARATIYA JANA SANGH) โดยตัวเขาเองรับตำแหน่งประธานพรรค และ ในปีถัดมาพรรคก็ได้รับเลือกจากประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปของอินเดียถึง 3 ที่นั่ง โดยมุคเฮอร์จี เป็นหนึ่งในสามคนนั้น
(สัญลักษณ์ของพรรคภารติยะ ชันนะ ชังกห์ในตอนเลือกตั้งของปี 1951 เป็นรูปตะเกียงน้ำมันที่ชาวฮินดูใช้กันอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาล ดิวาลี(ภาพจากวิกิพีเดีย))
ในขณะที่ พรรค เนชั่นนัล คองเกรส ของเนห์รู และ ตระกูลคานธี ได้รับเลือกเข้ามาถึง 364 ที่นั่ง จากจำนวนทั้งหมด 489 ที่นั่ง
การเริ่มต้นทางการเมืองของมุคเฮอร์จี กับพรรคคองเกรสแล้วลาออกมา น่าจะเป็นประกายเล็กๆแห่งความไม่พอใจของผู้เฒ่าทั้งสองของพรรคคองเกรส แต่การที่มุคเฮอร์จี ก่อตั้งพรรคการเมืองอย่าง ภารติยะ ชันนะ ชังกห์ น่าจะเป็นลมที่โหมไฟให้กระพือแรงขึ้น
การที่พรรคภารติยะ ชันนะ ชังกห์ มีนโยบายที่ชัดเจนต่อกฎหมายมาตรา 370 ว่า ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายนี้อย่างสุดลิ่มที่มประตู และ หนึ่งในนโยบายหลักของพรรคก็คือ การยกเลิกมาตรา 370 นี้ให้ได้
เพราะเขามองว่า กฎหมายฉบับนี้เป็นภัยคุกคามอย่างร้ายแรงต่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติอย่างยิ่ง
(มุคเฮอร์จี ผู้จุดประกายการต่อต้านกฎหมายมาตรา 370 ขึ้นในประเทศอินเดีย ในช่วงเวลาที่มืดมนต์ที่สุดของแคชเมียร์-ภาพจากวิกิพีเดีย)
มุคเฮอร์จี เดินเกมส์ และ สร้างบทบาทในการต่อต้านกฎหมายนี้ทั้งในสภา และ นอกสภา เขาพยายามหาแนวร่วมทั้งในสภาล่าง และ วุฒิสภาไปพร้อมๆกัน
แน่อนว่า พรรคคองเกรสของเนห์รู ย่อมไม่พอใจ และ ไม่ไว้วางใจมุคเฮอร์จี
เมื่อมุคเฮอร์จี ดำริว่า จะเดินทางไปดูให้เห็นด้วยตาของตนเองสักครั้งในจามมู และ แคชเมียร์ เพื่อเป็นข้อมูล
นอกจากเรื่องการให้สิทธิ์แก่แคชมียร์ที่จะมีธงประจำรัฐของตนเอง มีกฎหมายรัฐธรรมนูญของตนเอง และ มีนายกรัฐมนตรีอิสระของตนเองแล้ว มาตรา 370 ยังให้อำนาจแก่แคชเมียร์ที่จะเป็นคนอนุญาต หรือ ไม่อนุญาตให้ใครก็ตามที่ต้องการจะเดินทางเข้าไปในรัฐด้วย
เสมือนเป็นประเทศอิสระประเทศหนึ่ง
เรื่องนี้เองที่มุคเฮอร์จี ได้แสดงจุดยืนของตนเองอย่างชัดเจนในการต่อต้านมาตรา 370 ตั้งแต่แรกว่า ชาติใดๆก็ตาม ไม่ควรจะมีสองรัฐธรรมนูญ สองนายกรัฐมนตรี และ สองธงประจำชาติ
ด้วยความไม่พอใจอย่างมาก เนห์รูไม่ปล่อยให้การอนุญาตในการเดินทางเข้าไปยังแคชเมียร์ของมุคเฮอร์จี เป็นหน้าที่ของรัฐแคชมียร์ แต่เขาเลือกที่จะออกคำสั่งด้วยตัวเอง ห้ามคนนอกรัฐเดินทางเข้าไปในรัฐจามมูและแคชเมียร์เป็นอันขาด
(เช็กห์ อับดุลลาห์ บนสแตมป์ที่ทำขึ้นในปี 1988 ในสมัยของราจีฟ คานธี-ภาพจากวิกิพีเดีย)
เนห์รู เป็นเพื่อนสนิทมากกับ เช็กห์ อับดุลลาห์ มาตั้งแต่ปี 1937 เช็กห์ อับดุลลาห์ ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลแคชเมียร์ เขาเป็นมุสลิม
เช็กห์ อับดุลลาห์ ตอบสนองต่อข้อห้ามของเนห์รู ที่ไม่ยอมให้ชาวอินเดียเดินทางเข้าไปในแคชเมียร์ด้วยการจับกุมตัวนายมุคเฮอร์จี ที่เมือง ลัคฮานปูร์ (LAKHANPUR)ทันทีที่เขาเดินทางข้ามเส้นพรมแดนของแคชเมียร์เข้าไป พร้อมทั้งยกเลิกบัตรประชาชนอินเดียของเขาด้วย
วันนั้นคือวันที่ 11 พฤษภาคม 1953
จากนั้น มุคเฮอร์จีก็ถูกส่งตัวไปคุมขังในคุกโดยไม่มีข่าวสารใดๆเกี่ยวกับตัวเขาอีกเลย เสมือนถูกขังลืม แน่นอนว่า เหตุการณ์ดังกล่าว เนห์รูย่อมจะทราบเรื่องเป็นอย่างดี แต่เลือกที่จะไม่ทำการใดๆ
วันที่ 23 มิถุนายน 1953 หลังจากที่มุคเฮอร์จี ถูกจับไปคุมขังในคุกประมาณ 40วันเศษ เขาก็ถูกประกาศว่า เสียชีวิตแล้วด้วยโรคหัวใจวาย โดยไม่มีการชัณสูตร
การตายของเขายังเป็นความลับจนทุกวันนี้
แต่สิ่งที่ไม่ตายไปกับตัวเขาก็คือ แนวคิดที่ชัดเจนของเขาเกี่ยวกับมาตรา 370 และ แคชมียร์ ถูกส่งผ่านต่อๆกันมาเพื่อสานภารกิจให้สำเร็จ แม้ว่าจะต้องใช้เวลาอีกกว่า 70 ปีก็ตาม
พบกับโปรแกรม เจาะลึกอียิปต์ 10 วัน 7 คืน ของฤดูกาลปลายปีนี้ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม เป็นต้นไป บรรยายชมโดยผู้เชียวชาญอียิปต์ และเป็นผู้เขียนหนังสือไกด์บุ๊ค 4 เล่ม รวมถึงไกด์บุ๊ค “อียิปต์-กรีซ-ตุรกี” สอบถามได้ที่โทร 0885786666 หรือ LINE ID – 14092498
รอติดตามตอนต่อไปครับ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี