ป่าชายเลนมีความสำคัญต่อประเทศเป็นอย่างยิ่ง ไม่แพ้ป่าทั่วๆ ไป ป่าชายเลนเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ เป็นที่อยู่อาศัยวางไข่และเจริญเติบโตของสัตว์น้ำวัยอ่อน เช่น กุ้ง หอย ปู ปลาซึ่งมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและการประมง ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เพราะรากของต้นไม้ในป่าชายเลนช่วยลดความรุนแรงของคลื่นลม ป้องกันการพังทลายของชายฝั่ง ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และกักเก็บช่วยลดภาวะโลกร้อนรวมทั้งกรองของเสียและสารพิษ โดยรากของป่าชายเลนทำหน้าที่ดักจับและลดปริมาณสารพิษต่างๆ ที่ไหลลงสู่แหล่งน้ำ รักษาคุณภาพน้ำให้สะอาด และยังเป็นแหล่งทรัพยากรและรายได้เป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับการก่อสร้าง อุตสาหกรรม และเป็นแหล่งประมงใกล้ชายฝั่ง สร้างรายได้ให้กับชุมชน
การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศและประโยชน์ที่ยั่งยืนต่อประเทศ
ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศไทย ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม แต่พื้นที่ป่าชายเลนของประเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา
ในปี พ.ศ.2504 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 2,299,375 ไร่ ครอบคลุม 24 จังหวัดชายฝั่ง ในปี พ.ศ.2539 พื้นที่ป่าชายเลนลดลงเหลือประมาณ 1,047,390 ไร่ เนื่องจากการพัฒนาพื้นที่เพื่อการเกษตรและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปี พ.ศ.2543 มีการฟื้นฟูป่าชายเลนทำให้พื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 1,578,750 ไร่ และในปี พ.ศ.2562 พื้นที่ป่าชายเลนอยู่ที่ประมาณ 1,739,020 ไร่ ซึ่งถึงแม้ว่าพื้นที่ป่าชายเลนจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการฟื้นฟู แต่ยังคงต่ำกว่าพื้นที่เดิมในอดีต
รัฐบาลไทยตระหนักถึงความสำคัญของป่าชายเลนและได้ดำเนินนโยบายเพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่ดังกล่าว มีการประกาศเขตอนุรักษ์ป่าชายเลนในหลายจังหวัด และส่งเสริมการปลูกป่าชายเลนเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายที่เป็นตัวเลขเฉพาะในการเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนของประเทศ
จังหวัดที่มีพื้นที่ป่าชายเลนมากที่สุดคือ พังงา สตูล กระบี่ ตรัง ระนอง และจังหวัดที่มีป่าชายเลนลดลงอย่างมากคือ ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา ระนอง ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล
วิธีการดูแลรักษา และปลูกป่าชายเลน ต้องมีการอนุรักษ์และฟื้นฟู ด้วยการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือของประชาชนในท้องถิ่นในการอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลน โดยให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ป่าชายเลน ส่วนการปลูกป่าชายเลนควรเลือกพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และสภาพแวดล้อม โดยปลูกในพื้นที่ที่เคยเป็นป่าชายเลนมาก่อนหรือพื้นที่ที่มีศักยภาพในการฟื้นฟู รวมทั้งต้องมีการติดตามและบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกเพื่อให้เติบโตอย่างยั่งยืน
จึงอยากรณรงค์ให้ทุกองค์กร เช่น โรงเรียน หน่วยงานต่างๆ พยายามวางแผนไปปลูกป่าชายเลนกันทุกๆ ปี ปีละครั้ง โดยหาข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ เช่น กระทรวงเกษตรพัฒนาสังคม มหาดไทย ว่าควรจะไปปลูกป่าชายเลนที่ไหนดีต้องเตรียมตัวอย่างไร ต้องเอาอะไรไปบ้าง หรือไปซื้อของแถวๆ นั้น หรือหน่วยงานของรัฐเตรียมให้ทุกอย่างแล้วเราเตรียมบุคลากรไปปลูก และจ่ายงบประมาณเท่าที่จำเป็น โดยมีผู้เชี่ยวชาญแถวๆ นั้นเป็นผู้สาธิตการปลูกป่า อาจถือเป็นโอกาสไปสัมมนางานของหน่วยงานนั้นๆ แถวๆ นั้น ถือว่าเป็นการพักผ่อนหย่อนใจไปในตัว
ถ้าทุกๆ หน่วยงานวางแผนเช่นนี้ เช่นปีนี้ไปปลูกป่า ปีหน้าไปปลูกป่าชายเลน ปีโน้นไปเก็บขยะชายทะเล รวมทั้งทุกครั้งที่ไปรณรงค์ให้ประชาชนรักป่า รักป่าชายเลน ไม่ทิ้งขยะรวมทั้งถุงพลาสติก และงดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง ทุกๆ คน ทุกๆ บ้าน ควรมีถุงใส่ของที่ทำจากผ้าจะได้ลดการใช้ถุงพลาสติก และถ้าทุกๆ คนไม่ทิ้งพลาสติก ก็ไม่ต้องมีคนไปช่วยเก็บให้ ฯลฯ
เห็นไหมครับว่า ถ้าทุกคนเป็นคนดี ปัญหาต่างๆ แทบจะหมดไป เช่น ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ไม่ใช้พลาสติก และถ้าใช้ ก็กรุณาทิ้งในที่ทิ้งขยะ ไม่ใช่ทิ้งทั่วไป
ทุกๆ คนมีหน้าที่ หน้าที่หนึ่งคือ การเป็นพลเมืองที่ดี ไม่มักง่าย (ทิ้งขยะผิดที่) รู้จักพอ (ไม่ซื้อของกิน เสื้อผ้ามากไปเพื่อช่วยลด ป้องกันโลกร้อน) ไม่ทำผิดกฎหมาย (ตัดไม้ทำลายป่า เผาอะไรที่บ้านเมืองห้าม สวมหมวกกันน็อก รัดเข็มขัดนิรภัยเมื่อขับรถไม่ดื่มแล้วขับ) ก็จะสามารถช่วยสังคม ประเทศชาติได้มากมาย
นพ.พินิจ กุลละวณิชย์
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี