วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / พินิจ-พิจารณ์
พินิจ-พิจารณ์

พินิจ-พิจารณ์

นพ.พินิจ กุลละวณิชย์
วันอาทิตย์ ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2568, 02.00 น.
โลกร้อน–เราช่วยชาติได้อย่างไร

ดูทั้งหมด

  •  

โลกร้อน – Global warming หรือที่ปัจจุบันนี้เรียกว่า Global boiling –โลกเดือด ดูจะเหมาะสมกว่า เกิดจาก Climate Change หรือการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (ที่ร้อนขึ้น) ที่มาจากการที่มนุษย์ใช้พลังงานจาก fossil (ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซ) ซึ่งเริ่มตั้งแต่หลังปฏิวัติอุตสาหกรรม (industrial revolution ค.ศ.1750 – 1850)

มีวิธีการลดโลกร้อนต่างๆ นานา ที่ทุกคนอาจให้ความร่วมมือได้ เช่น ลดการใช้พลังงานจาก fossil โดยหันมาใช้พลังงานที่ยั่งยืน หรือ renewable energy หรือพลังงานหมุนเวียน เช่น น้ำ ลม แสงอาทิตย์ ฯลฯ และเพิ่มการกำจัดก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ด้วยการปลูกป่า ต้นไม้ หรืออย่างน้อยอย่าตัดต้นไม้ ทำลายป่า เพื่อให้ต้นไม้ต่างๆ ช่วยดูดซึมก๊าซ CO2 รวมทั้งในชีวิตประจำวันมีการปฏิบัติตนเองเพื่อลดการใช้พลังงานจาก fossil เช่น ปิดไฟ ปิดแอร์ เมื่อไม่ใช้ เดิน ถีบจักรยาน ใช้ระบบขนส่งมวลชนแทนที่จะขับรถเอง ประชุม online หลีกเลี่ยงการบิน ซื้อเสื้อผ้า อาหารเท่าที่จำเป็น ฯลฯ


วันนี้จะขอพูดเฉพาะต้นไม้ ป่าไม้ นะครับ ต้นไม้ ป่า มีประโยชน์อย่างไร? ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่ามหาศาลต่อทั้งมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม โดยมีประโยชน์หลักๆ ดังนี้ ประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อม คือ ช่วยดูดซึมคาร์บอนไดออกไซด์ ผลิตออกซิเจน ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน รักษาความชุ่มชื้นของดิน ป้องกันน้ำท่วมและภัยแล้งโดยเก็บน้ำไว้ในดิน ค่อยๆ ปล่อยน้ำออกมา เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและพันธุ์พืชนานาชนิด และรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ

ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ คือ เป็นแหล่งไม้ใช้สอย เช่น ไม้สร้างบ้านเฟอร์นิเจอร์ เป็นแหล่งอาหาร ยา สมุนไพร และเชื้อเพลิงธรรมชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ รวมทั้งมีประโยชน์ทางสังคมและวัฒนธรรม คือ เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติ แหล่งเรียนรู้เชื่อมโยงกับวิถีชีวิต ความเชื่อ และวัฒนธรรมของชุมชน

ป่าแบ่งออกเป็นกี่ชนิด? ประเทศไทยแบ่งประเภทของป่าออกเป็นหลักๆ ดังนี้ คือ 1) ป่าดิบชื้น (Tropical Rainforest) พบได้ในภาคใต้มีฝนตกตลอดปี พืชพรรณหลากหลาย อุดมสมบูรณ์ที่สุดในประเทศ 2) ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) พบบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความแห้งแล้งมากกว่าป่าดิบชื้น แต่ยังมีความเขียวชอุ่ม 3) ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest) พบทั่วไปในภาคเหนือและภาคกลาง มีไม้ผลัดใบ เช่น ไม้สัก เป็นไม้เศรษฐกิจสำคัญ 4) ป่าเต็ง รัง (Dry Dipterocarp Forest) พบมากในภาคอีสานเป็นป่าโปร่ง มีความแห้งแล้ง ต้นไม้ผลัดใบในฤดูแล้ง 5) ป่าชายเลน (Mangrove Forest) พบตามชายฝั่งทะเล สำคัญต่อระบบนิเวศทะเล และช่วยป้องกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง

เราควรปลูกต้นไม้แบบไหน จึงจะได้ประโยชน์มากที่สุด? ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และพื้นที่ เช่น วัตถุประสงค์และต้นไม้ที่แนะนำ 1) ฟื้นฟูป่าและอนุรักษ์ธรรมชาติ ปลูกยางนา เต็ง รัง สัก พะยอม 2) ป้องกันน้ำหลาก ดินถล่ม ปลูกไผ่ หว้าไทร สนสามใบ 3) ใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ปลูกสัก ยางนา กระถินเทพา มะฮอกกานี 4) ใช้เป็นอาหาร สมุนไพร คือ มะม่วง ขนุน กล้วย มะขาม เพกา 5) ปลูกในเมือง เพื่อดูดซึมมลพิษ คือ พะยอม ปีบ อินทนิล ตีนเป็ดน้ำ

แนวทางที่ดี คือ ปลูกไม้ยืนต้นผสมหลายชนิด ปลูกตามสภาพพื้นที่และภูมิอากาศ เน้นพันธุ์ไม้พื้นถิ่นเพราะจะเติบโตได้ดีและดูแลง่าย ณ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2568 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 101,818,155.76 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 31.47% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ

ในอดีต พื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยมีมากกว่านี้ แต่ได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรม การพัฒนาเมืองและกิจกรรมอื่นๆ ของมนุษย์ ตามรายงานของกรมป่าไม้ ในปี พ.ศ.2556 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 102.12 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 31.68 ของพื้นที่ประเทศ

รัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายในการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ ตามนโยบายป่าไม้ของชาติ พ.ศ.2562 โดยแบ่งเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ร้อยละ 25 และพื้นที่ป่าเศรษฐกิจและป่าชุมชน ร้อยละ 15

อย่างไรก็ตาม การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้ถึงเป้าหมายดังกล่าว ยังคงเป็นความท้าทาย เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง ปี พ.ศ.2566 ถึง พ.ศ.2567 ที่มีการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ถึง 317,819.20 ไร่ ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบ 10 ปี ดังนั้นการบรรลุเป้าหมายการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ จำเป็นต้องมีการดำเนินนโยบายและมาตรการที่เข้มข้นและต่อเนื่อง ทั้งการฟื้นฟูป่า การป้องกัน การบุกรุก และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าไม้

ควรปลูกป่าที่ไหนมากที่สุดของประเทศ? ควรปลูกในพื้นที่ที่ประสบปัญหาการสูญเสียป่าอย่างรุนแรง หรือเป็นพื้นที่ที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่ถูกบุกรุกมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะ 1) ภาคเหนือ จังหวัดที่มีป่า ต้นน้ำที่สำคัญ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง น่าน แม่ฮ่องสอน เพราะมีปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย ปลูกพืชเชิงเดี่ยว (เช่น ข้าวโพด) และการลักลอบตัดไม้ มีความสำคัญ เพราะเป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน ซึ่งรวมกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา 2) ภาคตะวันตก จังหวัดที่ควรปลูก กาญจนบุรี ตาก ราชบุรี มีปัญหาจากการทำเหมือง การสร้างเขื่อน และการแผ้วถางป่าเพื่อเกษตรกรรม มีความสำคัญเพราะมีป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์ และเชื่อมต่อกับพื้นที่อนุรักษ์ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร 3) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) จังหวัดที่ควรปลูก คือ เลย อุบลราชธานี ศรีสะเกษ มุกดาหาร เพราะปัญหาคือการเสื่อมโทรมของป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ การแผ้วถางป่าเพื่อปลูกมันสำปะหลัง อ้อย มีความสำคัญเพราะเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารสาขาของแม่น้ำโขง เช่น ลำน้ำมูล ลำน้ำชี

หลักเกณฑ์ในการกำหนดพื้นที่ควรปลูก คือ 1) พื้นที่ต้นน้ำลำธารที่เสื่อมโทรม 2) พื้นที่ภูเขาที่ดินเสื่อมสภาพ (มักพบในภาคเหนือ) 3) พื้นที่เขตป่าถูกบุกรุก เช่น เขตป่าสงวนแห่งชาติ 4) พื้นที่ชุมชนต้องการร่วมฟื้นฟูป่า (ปลูกแบบป่าชุมชน ป่าเศรษฐกิจ)

ผมอยากให้ประชาชนทุกๆ คน ชุมชน หน่วยงานของรัฐและเอกชน หันมาปลูกต้นไม้ให้มากขึ้น และต้องพยายามไม่ตัดต้นไม้ ถ้าตัดก็ต้องปลูกทดแทน ถ้าแต่ละคนโดยเฉลี่ยปลูกต้นไม้ยืนต้นคนละต้นก็ 66 ล้านต้นแล้ว อยากให้รัฐบาลประกาศในปี พ.ศ. อะไรก็แล้วแต่ ว่า เป็นปีปลูกป่า แล้วมอบให้องค์กรต่างๆ ดูแลการปลูกต้นไม้ในแต่ละอำเภอ จังหวัด เช่น สโมสรโรตารี่ในประเทศไทยมีหลายร้อยสโมสร (?414 สโมสร) และแบ่งออกเป็น 4 ภาค ถ้ารัฐบาลจะขอความร่วมมือกับสโมสรต่างๆ เหล่านี้ให้ช่วยดูแลป่าไม้ ปลูกต้นไม้สโมสรละ 2 อำเภอ ก็เกือบครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว

ทุกอย่างถ้าเราเอาประชากรทั้งประเทศมาร่วมมือกันความสำเร็จจะเป็นไปได้ไม่ยาก

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
16:05 น. ติดเชื้อ'ไวรัสซิกา' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้
16:00 น. ‘วิสุทธิ์’ย้อนเกล็ด‘ภท’ สส.โหวตสวนเรียก‘งูเห่า’ ตอนย้ายคอกเข้าพรรคบอก‘อุดมการณ์’
15:48 น. เปิดสาเหตุ'แอร์อินเดีย'โหม่งโลก 'สวิตช์ควบคุมน้ำมัน'ถูกสับลง เสียงจากห้องนักบินเพิ่มเงื่อนงำ
15:43 น. 'อ.ทองย้อย' ชี้ 'เสพกามคาจีวร' คือกามวิตถาร! ย้ำขาดความเป็นพระทันที เมื่อแตะต้องเมถุน
15:31 น. ‘ไผ่ ลิกค์’คาดคุยโควตารองประธานสภา วงกินข้าวพรรคร่วมรัฐบาล 22 ก.ค.นี้
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ติดเชื้อ'ไวรัสซิกา' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้

‘วิสุทธิ์’ย้อนเกล็ด‘ภท’ สส.โหวตสวนเรียก‘งูเห่า’ ตอนย้ายคอกเข้าพรรคบอก‘อุดมการณ์’

อดีตผู้พิพากษาเลคเชอร์ 6 ข้อ ‘ทักษิณ’ทำอย่างน้อย 4 ครั้ง เสี่ยงครอบงำ-‘พท.’อาจถูกยุบพรรค

เกษตรกรกำแพงเพชร บุกพรรคประชาชน หลัง'ไอซ์'ปูดงบ 'ไผ่' หวั่นเดือดร้อนถูกตัดงบ

‘ไผ่’ซัด‘รักชนก’เป็นเหตุ‘ม็อบชาวกำแพงเพชร’บุกศูนย์ ปชน. โวยพาดพิงงบพัฒนา

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

  • Breaking News
  • ติดเชื้อ\'ไวรัสซิกา\' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้ ติดเชื้อ'ไวรัสซิกา' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้
  • ‘วิสุทธิ์’ย้อนเกล็ด‘ภท’ สส.โหวตสวนเรียก‘งูเห่า’ ตอนย้ายคอกเข้าพรรคบอก‘อุดมการณ์’ ‘วิสุทธิ์’ย้อนเกล็ด‘ภท’ สส.โหวตสวนเรียก‘งูเห่า’ ตอนย้ายคอกเข้าพรรคบอก‘อุดมการณ์’
  • เปิดสาเหตุ\'แอร์อินเดีย\'โหม่งโลก \'สวิตช์ควบคุมน้ำมัน\'ถูกสับลง เสียงจากห้องนักบินเพิ่มเงื่อนงำ เปิดสาเหตุ'แอร์อินเดีย'โหม่งโลก 'สวิตช์ควบคุมน้ำมัน'ถูกสับลง เสียงจากห้องนักบินเพิ่มเงื่อนงำ
  • \'อ.ทองย้อย\' ชี้ \'เสพกามคาจีวร\' คือกามวิตถาร! ย้ำขาดความเป็นพระทันที เมื่อแตะต้องเมถุน 'อ.ทองย้อย' ชี้ 'เสพกามคาจีวร' คือกามวิตถาร! ย้ำขาดความเป็นพระทันที เมื่อแตะต้องเมถุน
  • ‘ไผ่ ลิกค์’คาดคุยโควตารองประธานสภา วงกินข้าวพรรคร่วมรัฐบาล 22 ก.ค.นี้ ‘ไผ่ ลิกค์’คาดคุยโควตารองประธานสภา วงกินข้าวพรรคร่วมรัฐบาล 22 ก.ค.นี้
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน

ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน

6 ก.ค. 2568

Grand Shanghai Chinese (แกรนด์ เซี่ยงไฮ้ ไชนีส)

Grand Shanghai Chinese (แกรนด์ เซี่ยงไฮ้ ไชนีส)

29 มิ.ย. 2568

รายงาน ทีดีอาร์ไอ ฉบับที่ 212 พฤษภาคม 2567-ความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพของประเทศไทย

รายงาน ทีดีอาร์ไอ ฉบับที่ 212 พฤษภาคม 2567-ความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพของประเทศไทย

22 มิ.ย. 2568

ชีวิตประจำวัน-การออกกำลังกาย

ชีวิตประจำวัน-การออกกำลังกาย

15 มิ.ย. 2568

หน้าที่ที่ดี - เก่งคิด

หน้าที่ที่ดี - เก่งคิด

8 มิ.ย. 2568

ต้องไปสนามบินตั้งแต่เช้าควรปฏิบัติตัวอย่างไร

ต้องไปสนามบินตั้งแต่เช้าควรปฏิบัติตัวอย่างไร

25 พ.ค. 2568

ชีวิตประจำวันของผม

ชีวิตประจำวันของผม

18 พ.ค. 2568

แต่ละคนจะช่วยชาติได้อย่างไร

แต่ละคนจะช่วยชาติได้อย่างไร

11 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved