ดูทั้งหมด
ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นปอด เป็นภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์ที่ไม่มีผู้ใดอยากให้เกิดขึ้นเนื่องจากเป็นภาวะที่อันตราย และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ในปี พ.ศ. 2484 ได้มีการรายงานโรคนี้เป็นครั้งแรกหลังจากพบส่วนเยื่อบุผิวของทารกอยู่ในเส้นเลือดปอดของมารดาที่เสียชีวิตอย่างกะทันหันในขณะคลอด จากรายงานของต่างประเทศพบว่าภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นปอดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในหญิงตั้งครรภ์เป็นอันดับหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนในประเทศที่กำลังพัฒนานั้นพบว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 10
ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นปอดพบได้น้อย ประมาณ 2 ถึง 8 ของการคลอด 100,000 ครั้ง ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละสถาบันเนื่องจากเกณฑ์การวินิจฉัยยังมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง
กลไกการเกิดของภาวะนี้เกิดจากส่วนประกอบของเด็กในน้ำคร่ำเข้าสู่กระแสเลือดของมารดา ผ่านทางเส้นเลือดดำบริเวณปากมดลูก หรือบริเวณที่มีการบาดเจ็บของมดลูก น้ำคร่ำและเศษเนื้อเยื่อของทารกซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมปะปนอยู่ในกระแสเลือดของมารดา จะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของมารดาให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อน้ำคร่ำและเศษเนื้อเยื่อของทารก เป็นเหตุให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงและเฉียบพลัน ซึ่งจัดว่าเป็นภาวะที่อันตรายอย่างมาก
ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะนี้ ประกอบด้วย อายุของมารดา การตั้งครรภ์มากกว่า 5 ครั้ง การคลอดเร็ว การชักนำการคลอดด้วยยา การใช้เครื่องมือช่วยคลอด การผ่าตัดคลอดบุตร ภาวะรกเกาะต่ำ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะชักจากครรภ์เป็นพิษ และภาวะทารกเครียดในครรภ์ ปัจจัยข้างต้นอาจไม่ใช่สาเหตุโดยตรง แต่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นปอด และไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ จะเกิดขึ้นเมื่อใด อีกทั้งยังไม่สามารถป้องกันได้
อาการของน้ำคร่ำอุดกั้นที่ปอดจะเกิดระหว่างเจ็บครรภ์ การคลอด หรือหลังการคลอดไม่นาน อาการจะเกิดอย่างรวดเร็วและรุนแรง จากความดันต่ำเฉียบพลันหรือหัวใจหยุดเต้น มีการขาดออกซิเจนในเลือดเฉียบพลันโดยผู้ป่วยจะมีอาการหายใจหอบ เขียวระบบหายใจล้มเหลว หยุดหายใจอย่างรวดเร็วและเลือดไม่แข็งตัวอย่างรุนแรง ซึ่งการรักษาไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจง แต่เป้าหมายของการรักษาคือ การแก้ไขภาวะขาดออกซิเจนและความดันต่ำ เพื่อป้องกันภาวะขาดเลือดเลี้ยงอวัยวะสำคัญของมารดา และมีออกซิเจนเพียงพอสู่ทารกในครรภ์ใน โดยอาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจร่วมกับใช้เครื่องช่วยหายใจ ยากระตุ้นหัวใจ ให้เลือดและองค์ประกอบของเลือด
เมื่อเกิดภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นปอดขึ้นแล้วจะพบอัตราการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 20 ถึง 90 ขึ้นอยู่กับความพร้อมของสถานพยาบาลแต่ละแห่ง และหากมารดารอดชีวิตก็จะพบว่ามีการบาดเจ็บทางระบบประสาทอย่างรุนแรงได้มากถึงร้อยละ 85 ส่วนผลลัพธ์ของทารกในครรภ์นั้นยังมีอัตราการเสียชีวิตถึงร้อยละ 20 ถึง60 ในส่วนของทารกที่รอดชีวิตจะมีระบบประสาทปกติเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นปอดจะเป็นภาวะที่ฉุกเฉิน อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ไม่สามารถทำนายได้ล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ อีกทั้งยังไม่สามารถป้องกันได้ แต่ก็พบได้เพียงส่วนน้อยของหญิงตั้งครรภ์เท่านั้น
ด้วยความปรารถนาดี
พญ.รัชดาพร ฤกษ์ยินดี
อาจารย์ประจำภาควิชาสูตินรีเวชศาสตร์
โรงพยาบาลราชวิถี
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี