- หัวข้อ “โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Myasthenia Gravis)” โดย อ.วรพจน์ ศรีมานันท์
พื้นฐานของโรค
- กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง คือ ภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ เกิดจากการที่มี Antibody ไปยับยั้งสารสื่อประสาทที่ปลายประสาท ทำให้เส้นประสาทส่งสัญญาณไปกล้ามเนื้อได้ไม่ดี ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- อาการเริ่มแรกของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง มักมาด้วย 1.อาการหนังตาตก ข้างเดียวหรือ 2 ข้างก็ได้ หรือ 2.อาการเห็นภาพซ้อนหรือตาเข โดยสามารถเป็นอาการไหนก่อนก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักมีอาการเริ่มจากหนังตาตกก่อนและมีอาการเห็นภาพซ้อนตามมา
- ในประชากรทั่วไป 1:100,000 คนต่อปี พบได้ในทุกช่วงอายุ
อาการและสัญญาณเตือน
- อาการที่คนทั่วไปสามารถสังเกตเห็นได้หรือสัญญาณเตือน 1) หนังตาตก 2) เห็นภาพซ้อน
- ผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น ถ่ายรูปละตาปรือ มีคนทักว่าง่วงนอนอยู่ตลอดทั้งวัน
- อาการจะดีในช่วงเช้าหรือหลังพัก และจะแย่ลงในช่วงเย็น ๆ เนื่องจากมีการใช้งาน
- โรค Myasthenia Gravis นั้นอาจเป็นได้ทั่วร่างกาย แต่มักมาด้วยอาการที่ตาก่อน และจะสามารถเป็นทั่วร่างกายได้ภายในเวลา 2 ปี
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
- สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง: สาเหตุไม่แน่ชัด
- ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้คนหนึ่งคนมีโอกาสเป็นโรคมากกว่าคนอื่น คือ ความอ่อนล้าหรือพักผ่อนน้อย การติดเชื้อบางชนิด ความเครียด การผ่าตัด ยาบางชนิด การตั้งครรภ์ การได้รับวัคซีน (มีรายงานว่าการติดเชื้อ COVID-19 หรือการได้รับวัคซีน COVID-19 มีความสัมพันธ์กับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้)
- โรคนี้ไม่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ แต่พอจะมี Report บ้างว่าคนที่เป็นฝาแฝดกันมีอาการเหมือนกัน
การวินิจฉัยโรค
- วินิจฉัยได้จาก ซักประวัติที่ส่งเสริม คือ อาการขึ้น ๆ ลง ๆ โดยเฉพาะอาการที่ดีขึ้นในตอนเช้า และแย่ลงหลังใช้งานในตอนเย็น หรือว่าอาการที่ดีขึ้นในสถานที่อุณหภูมิเย็น และแย่ลงในสถานที่อุณหภูมิร้อน
- หลังจากการวินิจฉัยโรคแล้ว อาจต้องตรวจเพิ่มเติม เช่น CT Chest (ดูว่า Thymus โตหรือไม่), Thyroid function test เพิ่มเติมทุกราย เนื่องจากหากผ่าตัดอาจช่วยให้หายขาดได้
- ต้องตรวจอะไรบ้างก่อนที่จะสรุปว่าผู้ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
- การตรวจทางคลินิก: ประคบน้ำแข็งที่หนังตาตกเป็นเวลา 2 นาที (Ice test)-> หลังจาก 2 นาทีอาการหนังตาตกดีขึ้น
- การตรวจเลือด: ตรวจ Antibody ต่อ Acetylcholine receptor โดยพบได้ประมาณ 40-70% (sensitivity ไม่สูง)
- การตรวจการนำสัญญาณไฟฟ้า: ใช้เข็มกระตุ้นกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ และตรวจการนำสัญญาณไฟฟ้า
- การตรวจโดยการใช้ยา: ฉีดยาเข้าไปที่กล้ามเนื้อ หลังจากนั้นอาการหนังตาตกหาย
- การตรวจที่ผู้ป่วยสามารถทำได้เองที่บ้าน
- Ice test: ลองประคบน้ำแข็งที่บริเวณหนังตาตกเป็นเวลา 2 นาที มักจะสังเกตได้ชัดในคนที่หนังตาตกค่อนข้างเยอะ
- Sleep test: ให้คนไข้ลองนอนหลับพักผ่อนดู แล้วหลังจากการนอนหลับ อาการหนังตาตกดีขึ้น
การรักษาและการจัดการ
- วิธีการรักษา: รักษาด้วยยา 2 ชนิด
- Pyridostigmine (Mestinon) ยากิน ที่ช่วยให้มีสารสื่อประสาททำงานที่ปลายประสาทมากขึ้น เป็นยาบรรเทาอาการ ได้ผลดี ออกฤทธิ์เร็วและสั้น ผลข้างเคียงน้อย แต่จะไม่ค่อยได้ผลดีในคนไข้กลุ่มที่มีอาการภาพซ้อนหรือตาเข (จะต้อง add-on steroids กินเข้าไปด้วย)
- Steroid หรือยากดภูมิอื่น ๆ (มีรายงานว่า อาจช่วยลดโอกาสการเกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงทั่วร่างกายได้)
- Pyridostigmine (Mestinon) ผลข้างเคียงน้อย ไม่ค่อยมีผลต่อตับ/ไต แต่อาจมีอาการปวดมวลท้อง ถ่ายเหลว ในช่วงแรกที่กินยาได้ พึงระวังในผู้ป่วยโรคหอบหืด หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- Steroid หรือยากดภูมิอื่น ๆ ผลข้างเคียงเยอะ เช่น กระดูกพรุน กัดกระเพราะ นอนไม่หลับ เบาหวาน
- การบำบัดอื่น ๆ ที่ช่วยในการจัดการโรคนี้
- ผ่าตัดรักษา: ในกรณีไม่ตอบสนองต่อยากิน อาจต้องผ่าตัดรักษากล้ามเนื้อตา ผ่าตัดแก้หนังตาตก
- การทำกายภาพบำบัด อาจช่วยในคนที่มีอาการอ่อนแรงทั่วร่างกาย เช่น เพื่อช่วยในการฝึกการหายใจ
การใช้ชีวิตร่วมกับโรคนี้
- สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ การกินยาจะช่วยบรรเทาอาการ และมีอาการน้อยลงหลังกินยา แต่อาจมีผลข้างเคียงเยอะในยากลุ่ม steroids แนะนำให้สังเกตอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงทั่วร่างกาย เช่น กลืนติด กลืนลำบาก แขนขาอ่อนแรง หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบมาพบแพทย์
- คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลหรือครอบครัวของผู้ป่วย: ช่วยแพทย์สังเกตอาการหลังกินยาว่าอาการดีขึ้นหรือไม่ เช่น อาการหนังตาตกน้อยลง เพื่อช่วยแพทย์ใช้เป็นข้อมูลประกอบการปรับขนาดยาได้ รวมถึงสังเกตอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงทั่วร่างกาย
คำถามที่พบบ่อย “กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในคลินิกศัลยกรรมตาสองชั้น”ต่างกันอย่างไร? รักษาต่างกันอย่างไร?
- MG เป็นโรคที่สารสื่อประสาททำงานได้ไม่ดี โดยจะมีอาการจำเพาะเจาะจง คือ อาการขึ้น ๆ ลง ๆ ระหว่างวัน ต้องให้ยาเพื่อรักษา แต่กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในคลินิกศัลยกรรม มักจะพูดถึงภาวะหนังตาตก ตาปรือ ตาไม่เท่ากัน ส่วนใหญ่อาจต้องมาหาสาเหตุของหนังตาตกก่อน โดยสาเหตุส่วนใหญ่ ได้แก่ เป็นแต่กำเนิด อุบัติเหตุ ขยี้ตาเยอะจนกล้ามเนื้อตายืด หรืออายุเยอะขึ้นกล้ามเนื้อตายืดขึ้น ทำให้ต้องผ่าตัดแก้ไขภาวะหนังตาตกร่วมไปกับการทำตาสองชั้น
สิ่งที่อยากฝากถึงทางบ้าน
- หากสงสัยถึงอาการดังกล่าวให้มาปรึกษาจักษุแพทย์
- ประวัติอาการขึ้น ๆ ลง ๆ ระหว่างวัน และการตรวจร่างกายทางคลินิกช่วยในการวินิจฉัยเบื้องต้นได้
- โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงสามารถพัฒนาไปเป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรงของร่างกายได้ โดยมักมีอาการเริ่มจากที่ตาได้ก่อนประมาณ 50%
Clubhouse รู้เรื่องตาสู่ประชาชน
by ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย วันที่ 24 สิงหาคม 2567
บันทึกโดย นศพ. ณัฐณรัณ ณิชพัฒน์จิรากุล
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี