วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / สถานีพัฒนาสังคม
สถานีพัฒนาสังคม

สถานีพัฒนาสังคม

สถานีพัฒนาสังคม
วันเสาร์ ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
แนวทางการจัดบริการสำหรับคนพิการทางจิตสังคม ตามหลักการของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ

ดูทั้งหมด

  •  

ตามที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการแห่งสหประชาชาติ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities : CRPD) และประเทศไทยได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานตาม CPRD พร้อมทั้งนำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการ CPRDเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยคณะกรรมการ CRPDได้จัดทำข้อสังเกตเชิงสรุปต่อรายงานของประเทศไทย (Concluding observations on the initial report of Thailand) ซึ่งประเทศไทยต้องรับข้อสังเกตดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยประเทศไทยจะต้องนำเสนอรายงานผลการดำเนินการตาม CRPD ครั้งต่อไป ในปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ทั้งนี้ ประเด็น “คนพิการทางจิตสังคม” เป็นประเด็นหนึ่งในข้อสังเกตเชิงสรุปดังกล่าวที่ประเทศไทยยังมีประสบการณ์น้อยและการดำเนินงานยังไม่สอดคล้องกับ CRPD

คำว่า “คนพิการทางจิตสังคม (Psycho Social Disability)” เป็นชื่อที่กลุ่มคนพิการทางจิตสังคมในระดับโลกซึ่งเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิของกลุ่มตนอย่างเป็นระบบใช้เรียกแทนกลุ่มของตนเอง ดังนั้น รายงานของคณะกรรมาธิการ จึงใช้คำว่า “คนพิการทางจิตสังคม” เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อที่กลุ่มบุคคลดังกล่าวใช้เรียกกลุ่มตนเอง เนื่องจากแต่ละหน่วยงาน แต่ละกฎหมาย หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้อง อาจจะเรียกคนกลุ่มนี้แตกต่างกันไปตามสภาวะการเจ็บป่วยหรือความบกพร่อง เช่น คนพิการทางจิต ผู้ป่วยจิตเวช เป็นต้น


ผู้บกพร่องทางจิต ถือเป็นคำกลางๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แม้ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ข้อบทที่ ๑ ว่าด้วยประเภทความบกพร่องจะใช้คำว่า Mental แต่การอธิบายและการจัดทำรายงาน รวมถึงความเห็นทั่วไปของคณะกรรมการ CRPD ใช้คำว่า “คนพิการทางจิตสังคม” เพื่อเน้นย้ำถึงเงื่อนไขทางสังคมว่ามีผลต่อความรุนแรงของความพิการ ไม่ใช่ความบกพร่องทางจิต จึงเกิดคำถามกรณีการดำเนินงานของประเทศไทยต่อประชากรกลุ่มนี้ในฐานะผู้ป่วยทางจิต ผู้บกพร่องทางจิต หรือคนพิการทางจิตสังคม ภายใต้พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. ๒๕๕๑

CRPD มองว่ามนุษย์ทุกคนมีเจตจำนงเสรี เป็นเจ้าของสิทธิที่ควรจะได้รับความคุ้มครองและส่งเสริม ทุกคนมีความเท่าเทียมกันในเรื่องของความสามารถทางกฎหมาย และสามารถที่จะตัดสินใจด้วยตัวเองทั้งในเรื่องสุขภาพ การดำรงชีวิต การจะรักษาโรค อย่างไรก็ตามCRPD ไม่ได้ปฏิเสธว่าบุคคลย่อมมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน CPRD จึงสนับสนุนให้มีกระบวนการสนับสนุนการตัดสินใจด้วยตนเอง (Supported Decision-Making) ซึ่งปัจจุบันกระบวนการดังกล่าวมีน้อยมาก โดยพื้นฐานของกฎหมายเดิมของประเทศไทยและทั่วโลก เมื่อเป็นผู้ป่วยทางจิตก็มักจะอยู่ในฐานะที่ไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง ความเจ็บป่วยทำให้มีการตัดสินใจแทน รวมถึงการรักษา การกักขัง การนำไปไว้ในสถานสงเคราะห์โดยไม่สมัครใจ และถือเป็นประเด็นที่ประเทศไทยจะต้องเตรียมตอบคำถามของกรรมการ CRPD ใน ๖ ปีข้างหน้าต่อไป

นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลก หรือ WHO (World Health Organization) ได้ออก “WHO Quality Rights guidance and training tools” ซึ่งเป็นแนวทางและเครื่องมือเพื่อนำไปใช้สร้างความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาศักยภาพคนที่ทำงานด้านสุขภาพจิต (Mental Health) ตั้งแต่ผู้ปฏิบัติไปจนถึงตัวคนพิการทางจิตสังคมเองโดยการนำหลักสิทธิมนุษยชนไปปรับใช้กับงานสุขภาพจิตซึ่งสอดคล้องกับ CRPD และมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระดับสากล (International Human Rights Standards) มีวัตถุประสงค์หลัก ๕ ประการ ได้แก่ ๑) สร้างความเข้าใจและส่งเสริมหลักสิทธิมนุษยชน ๒) สร้างชุมชนเพื่อมุ่งเน้นการบำบัดฟื้นฟูโดยชุมชนเป็นหลัก ๓) พัฒนาคุณภาพของการรักษาโดยผนวกรวมเข้ากับหลักสิทธิมนุษยชน๔) พัฒนาภาคประชาสังคมให้เกิดการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจที่จะส่งเสริมเรื่องสิทธิมนุษยชน และ ๕) ปฏิรูปนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ดังนั้น เพื่อให้แนวทางการจัดบริการสำหรับคนพิการทางจิตสังคมสอดคล้องตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ตามข้อสังเกตเชิงสรุปซึ่งคณะกรรมการ CRPD มีต่อประเทศไทยหลังจากที่ได้นำเสนอรายงานการอนุวัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการแล้ว คณะอนุกรรมาธิการกิจการคนพิการจึงเห็นควรพิจารณาศึกษาสถานการณ์ด้านคนพิการทางจิตสังคมในประเทศไทย แนวทางการให้บริการด้านสุขภาพจิต และการให้บริการคนพิการทางจิตสังคมในประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนประเด็นสุขภาพจิตทั้งกฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิต องค์กรที่ดูแลคนพิการทางจิตสังคมแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับคนพิการทางจิตสังคม การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายที่ทำงานด้านสุขภาพจิตและคนพิการทางจิตสังคม เพื่อส่งเสริมให้สังคมไทยเกิดความเข้าใจ ด้านสุขภาพจิตและคนพิการทางจิตสังคมตามหลักสิทธิมนุษยชน และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อแนวทางการจัดบริการสำหรับคนพิการทางจิตสังคมตามหลักการของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ

คณะกรรมาธิการการสังคม เด็ก เยาวชน สตรีผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมาธิการกิจการคนพิการ ได้พิจารณาศึกษาและจัดทำรายงานแนวทางการจัดบริการสำหรับคนพิการทางจิตสังคมที่เหมาะสมในประเทศไทยตามหลักการของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ “คนพิการทางจิตสังคม” ถือเป็นคำใหม่ซึ่งในกฎหมายไทยยังไม่มี แม้แต่ในสังคมโลกก็เพิ่งเริ่มใช้ ในกรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการแห่งสหประชาชาติที่แนะนำให้ใช้คำนี้ เนื่องจากเป็นคำที่มีการบูรณาการผสมกันระหว่างความบกพร่องทางจิตกับเงื่อนไขที่สังคมสร้างขึ้น ทั้งนี้ ผลการพิจารณาพบว่าประเด็นสำคัญของการให้บริการคนพิการทางจิตสังคมต้องทำให้สังคมยอมรับปัญหาของคนพิการทางจิตสังคม ทั้งนี้ เพื่อเป็น จุดเริ่มต้นในการทำงานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการทางจิตสังคมให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีของคนพิการถือเป็นตัวชี้วัดสำคัญว่าสังคมโดยรวมมีความสุข และตัวชี้วัดความสำเร็จของงานคนพิการ คือ คนพิการทางจิตสังคม เนื่องจากเป็นงานที่ยากที่สุดในการขับเคลื่อนงานด้านคนพิการ ซึ่งภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานไปด้วยกัน และแนวทางแก้ไขปัญหาที่สำคัญในการจัดบริการสำหรับคนพิการทางจิตสังคม คือ การผลักดันให้กระจายบริการสำหรับคนพิการทางจิตสังคมลงไปสู่ชุมชน พร้อมทั้งสร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับคนพิการทางจิตสังคม เพื่อไม่ให้กฎหมายเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตตามปกติของคนพิการ โดยความร่วมมือของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ต้องช่วยกันขับเคลื่อนงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรม รวมทั้งเร่งสร้างความเข้าใจกับสังคมให้รับทราบว่า หากมีบริการสำหรับคนพิการทางจิตสังคมในชุมชนจะช่วยทำให้คนพิการทางจิตสังคมสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ปกติเช่นคนทั่วไป

(อ่านต่อสัปดาห์หน้า)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
06:00 น. ศบ.ทก.ข้องใจเอกสารหลุด! ยันไทยไม่มีนโยบายปิดด่าน
06:00 น. ‘วิน เมธวิน’ ร่วมกิจกรรม ‘เทศกาลอาหารผู้ลี้ภัยเนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก’ ขอเป็นกระบอกเสียงเนื่องใน ‘วันผู้ลี้ภัยโลก’
06:00 น. ศาลรธน.นัดพิจารณาคลิปเสียงหลุด1ก.ค. เขย่าขวัญ‘อุ๊งอิ๊งค์’ ลุ้น!ศาลรับ-ไม่รับพิจารณา
06:00 น. ‘เข้ม-พิ้งค์พลอย’จับมือท้าทายอำนาจมืด ใน ‘เมืองแก้ว’ ร่วมทวงคืนความยุติธรรม เริ่ม 2 ก.ค.นี้
06:00 น. เปิดวาร์ป ‘โบนัส ณัฐวัฒน์’ที่จะมาขโมยซีนทุกไทม์ไลน์
ดูทั้งหมด
วอน'ญี่ปุ่น'ช่วยหย่าศึก! 'ฮุน เซน'ขอร้องให้ช่วยพูดกับไทย จี้ให้ศาลโลกช่วยตัดสินปมพื้นที่พิพาท
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
'ลุงเตีย'ลำบากใจ!ร่วม'ฮุนเซน'ตรวจชายแดนท่ามกลางสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด
'ปานเทพ' พอใจภาพรวมชุมนุม 28 มิ.ย. เผยยอดเงินหนุน 'มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน' 24 ล้านแล้ว
ดูทั้งหมด
แวดวงการเงิน : 1 กรกฎาคม 2568
หุ้นเด่น : 1 กรกฎาคม 2568
วิกฤตกัญชาในพายุการเมือง
ขำกันหลังวันม็อบ
กูไม่ออก?
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

รวบเขมรลอบเข้าเมือง! ซิมเถื่อน200เบอร์-เงินแสนในมือ คาดโยงแก๊งอาชญากรข้ามชาติ!

ศาลสั่งคุก 3 ปีไม่รอลงอาญา 2 ผู้ต้องหาแก๊งเถื่อน ลอบขุดดิน‘ร่อนทอง’อุทยานฯทองผาภูมิ

ล่าตัวลูกชายโหด! โมโหแทนแม่ ยิงเจ้าหนี้ทวงเงินหน้าบ้าน

จยย.เฉี่ยวรถยนต์ ร่างลอยกระแทกขอบปูนหมดสติ ยื้อไม่ไหวเสียชีวิต

แกว่งเท้าหาเสี้ยน! ปรากฏการณ์แฉโพย‘สายส้ม’เข้มข้น-ล่อนจ้อน

(คลิป) จับตา! 1 ก.ค. ศาลรัฐธรรมนูญ 'อุ๊งอิ๊งค์' พ้นเก้าอี้ 'นายกฯ'

  • Breaking News
  • ศบ.ทก.ข้องใจเอกสารหลุด! ยันไทยไม่มีนโยบายปิดด่าน ศบ.ทก.ข้องใจเอกสารหลุด! ยันไทยไม่มีนโยบายปิดด่าน
  • ‘วิน เมธวิน’ ร่วมกิจกรรม ‘เทศกาลอาหารผู้ลี้ภัยเนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก’ ขอเป็นกระบอกเสียงเนื่องใน ‘วันผู้ลี้ภัยโลก’ ‘วิน เมธวิน’ ร่วมกิจกรรม ‘เทศกาลอาหารผู้ลี้ภัยเนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก’ ขอเป็นกระบอกเสียงเนื่องใน ‘วันผู้ลี้ภัยโลก’
  • ศาลรธน.นัดพิจารณาคลิปเสียงหลุด1ก.ค. เขย่าขวัญ‘อุ๊งอิ๊งค์’ ลุ้น!ศาลรับ-ไม่รับพิจารณา ศาลรธน.นัดพิจารณาคลิปเสียงหลุด1ก.ค. เขย่าขวัญ‘อุ๊งอิ๊งค์’ ลุ้น!ศาลรับ-ไม่รับพิจารณา
  • ‘เข้ม-พิ้งค์พลอย’จับมือท้าทายอำนาจมืด ใน ‘เมืองแก้ว’ ร่วมทวงคืนความยุติธรรม เริ่ม 2 ก.ค.นี้ ‘เข้ม-พิ้งค์พลอย’จับมือท้าทายอำนาจมืด ใน ‘เมืองแก้ว’ ร่วมทวงคืนความยุติธรรม เริ่ม 2 ก.ค.นี้
  • เปิดวาร์ป ‘โบนัส ณัฐวัฒน์’ที่จะมาขโมยซีนทุกไทม์ไลน์ เปิดวาร์ป ‘โบนัส ณัฐวัฒน์’ที่จะมาขโมยซีนทุกไทม์ไลน์
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

มิชลิน เปิดเวทีเยาวชนประชันภาพวาด ‘สมาร์ทซิตี้’  ผลักดัน Gen Z สะท้อนไอเดีย ‘อนาคตเมืองอัจฉริยะของไทย’

มิชลิน เปิดเวทีเยาวชนประชันภาพวาด ‘สมาร์ทซิตี้’ ผลักดัน Gen Z สะท้อนไอเดีย ‘อนาคตเมืองอัจฉริยะของไทย’

7 ธ.ค. 2562

มหัศจรรย์ !!! เด็กเล่นอิสระความสุขพื้นฐานสู่การพัฒนาสมอง

มหัศจรรย์ !!! เด็กเล่นอิสระความสุขพื้นฐานสู่การพัฒนาสมอง

5 ต.ค. 2562

บราเดอร์ ร่วมปลูกชีวิต ฟื้นคืนพื้นที่ป่าชายเลน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 11

บราเดอร์ ร่วมปลูกชีวิต ฟื้นคืนพื้นที่ป่าชายเลน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 11

21 ก.ย. 2562

จิตอาสาในสถานสงเคราะห์เด็ก  ‘นางฟ้า’ เติมพลังมหัศจรรย์1,000 วัน

จิตอาสาในสถานสงเคราะห์เด็ก ‘นางฟ้า’ เติมพลังมหัศจรรย์1,000 วัน

7 ก.ย. 2562

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

31 ส.ค. 2562

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

24 ส.ค. 2562

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

17 ส.ค. 2562

แนวทางการจัดบริการสำหรับคนพิการทางจิตสังคม  ตามหลักการของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ

แนวทางการจัดบริการสำหรับคนพิการทางจิตสังคม ตามหลักการของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ

10 ส.ค. 2562

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved