วันอาทิตย์ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / เปิดโลก
เปิดโลก

เปิดโลก

ศิริภา อินทวิเชียร
วันอาทิตย์ ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2563, 02.00 น.
เมืองปัญญาประดิษฐ์

ดูทั้งหมด

  •  

ประชากรบนโลกใบนี้เกินกว่าครึ่งหนึ่งอยู่อาศัยในชุมชนเมือง และแน่นอนว่าในเรื่องของความหนาแน่นของประชากร ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของความเป็นเมืองนั้น มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกพื้นที่เมืองของโลก โดยการคาดการณ์ในปี ค.ศ. 2025 ประชากรโลกถึง 2 ใน 3 จะอาศัยอยู่ในชุมชนเมือง และนี่จะเป็นการเพิ่มพูนปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่แล้วให้ทวีคูณขึ้นอีกหรือไม่ ไหนจะเรื่องทรัพยากรเมืองที่มีจำกัด อาจจะไม่เพียงพอต่ออัตราคนเมืองที่ล้นเกิน คำถามในเรื่องของความยั่งยืนด้านคุณภาพชีวิตของประชากรในลักษณะเช่นนี้กำลังทยอยออกมา เพื่อแสดงความมีส่วนร่วมต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชนเมืองที่จะเกิดขึ้นต่อไป ว่าควรต้องมีทิศทางไปในลักษณะไหนที่จะตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้อยู่อาศัยได้อย่างครบถ้วนเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของที่อยู่อาศัยที่มีราคายุติธรรม ทางเลือกด้านการคมนาคมที่ทั่วถึงและเสมอภาค การบริหารจัดการน้ำและพลังงาน รวมไปถึงบริหารด้านต่างๆ ที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ เหล่านี้เป็นประเด็นที่ต้องร่วมกันคิด ช่วยกันออกแบบ สร้างการเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐกับประชาชนให้เกิดขึ้น เพื่อมีเป้าหมายไปยังการพัฒนาที่ตอบโจทย์ของประชากรในพื้นที่นั้นๆ อย่างเท่าเทียม และเป็นธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ

ในรูปแบบที่เกิดขึ้นสำหรับหลายชุมชนเมืองก่อนหน้านี้ ในการยกระดับคุณภาพเพื่อรองรับความหนาแน่นของประชากร เทคโนโลยีได้รับการหยิบขึ้นมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการตอบปัญหาต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคสำหรับการพัฒนาอย่างทั่วถึง และทำให้การใช้ทรัพยากรเมืองที่มีอยู่ใช้ไปกับคำว่าคุณภาพอย่างแท้จริง คือ การสิ้นเปลืองทั้งกำลังทรัพย์ แรงงาน หรือแม้แต่เวลาให้น้อยที่สุด แต่เกิดประโยชน์ต่อเมือง ผู้คน และระบบของชุมชนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้


แน่นอนว่า การเกิดขึ้นของ “เมืองอัจฉริยะ” ที่เชื่อมร้อยด้วยเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร อาจได้สร้างความตื่นตาตื่นใจไปแล้วสำหรับใครหลายคน แต่นั้นก็เป็นแค่การเชื่อมโยงเครือข่ายของเมืองเท่านั้น เปรียบได้เพียงแค่อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer) ก่อนอาหารจานหลักที่จะมาในลำดับถัดไป เพราะบริบทแท้จริงของคำว่า “เมืองอัจฉริยะ” มีมากกว่าแค่การเชื่อมโยงการสื่อสาร แต่ต้องเป็นการติดตาม ควบคุม และบริหารจัดการการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการให้บริการในด้านสาธารณะต่างๆ ของชุมชนเมือง “ปัญญาประดิษฐ์” (Artificial Intelligence) จึงได้รับการนำมาใช้เพื่อเพิ่มความชาญฉลาดให้กับโครงสร้างในการบริหารจัดการการบริการและการดูแลรักษาเมือง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเฝ้าระวังอาชญากรรม ระบบการควบคุมการจราจรที่ทันสมัย รวมไปถึงการอำนวยความสะดวก อาทิ “ที่จอดรถอัจฉริยะ” สำหรับในบางเมืองที่มีความจำกัดของพื้นที่ ฯลฯ

อันที่จริงแนวคิด “เมืองอัจฉริยะ” ได้รับการพูดถึงและดำเนินการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 และได้รับการศึกษาและลงมือปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง จนกลายมาเป็นแนวคิดเรื่อง “เมืองปัญญาประดิษฐ์”ในปัจจุบัน ซึ่งตามความเข้าใจแล้ว ส่วนใหญ่จะมองว่า หัวใจสำคัญของระบบนี้จะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีอันทันสมัยเท่านั้นทั้งๆ ที่จริงแล้วมันไม่ใช่ เพราะความเป็นเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ที่จะนำมาปัญญาประดิษฐ์เข้ามาขับเคลื่อนร่วมด้วยนั้นโดยหลักพื้นฐานจะมีองค์ประกอบสำคัญถึง 4 ประการด้วยกัน คือ

1.การใช้เทคโนโลยี หรือ ICT : (Information Communication Technology) ดังที่ได้เกริ่นไปแล้วในเบื้องต้น ในเรื่องของเทคโนโลยีเชื่อมโยงการสื่อสาร และปัจจุบันทั่วโลก็มีแนวคิดในเรื่อง Internet of Things : (IoT) เพิ่มเข้ามาเพื่อพัฒนาการดูแลและบริการประชาชนในรูปแบบของความเป็นชุมชนเมืองให้กระชับในส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้น โดยผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านสัญญาณอินเตอร์เนตในระบบโครงข่าย 5จี ที่มีการวางระบบกันในหัวเมืองใหญ่ชั้นนำทั่วโลกในตอนนี้

2.ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ในส่วนนี้จำเป็นต้องพึ่งการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเป็นสำคัญ เพื่อผลักดันการพัฒนาภายใต้พื้นฐานด้านการศึกษา การเรียนรู้ และทักษะหรือความชำนาญ ซึ่งภาครัฐควรต้องส่งเสริมในส่วนนี้ หรืออาจต้องลงทุนตั้งเป็นองค์กรขึ้นมาในการระดมบุคคลภายนอก (ในชุมชนเมือง)เข้ามามีส่วนร่วมกับทิศทางของเมืองอย่างเป็นระบบ

3.พลังของชุมชน เป็นโครงสร้างที่ควรจะเกิดขึ้นเพื่อรองรับแนวคิดต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากในส่วนของความคิดสร้างสรรค์จากคนในชุมชน ดังนั้น ภาครัฐ
ต้องสร้างการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนของชุมชน ผลักดันหน่วยงานบริหารชุมชนเมืองให้ทำงานเป็นอิสระจากส่วนกลาง แต่เชื่อมร้อยกับหน่วยงานอิสระ หรือภาคธุรกิจในชุมชนนั้นๆ เพื่อที่จะมีความคล่องตัวสำหรับการรวบรวมแนวทางต่างๆ มากลั่นกรองเป็นนโยบายสำหรับการพัฒนาเมืองของตนเองโดยเฉพาะ แต่ก็เปิดช่องทางสำหรับการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนของชุมชนให้สามารถเข้ามากำกับความเป็นไปในการพัฒนาเมืองได้อย่างสะดวก

4.ความร่วมมือจากภาครัฐ ซึ่งแน่นอนว่า ต้องมองไปถึงเรื่องของการกระจายอำนาจจากส่วนกลางอย่างจริงจัง เพราะในบางประเทศที่ความเป็นอัจฉริยะของเมืองเกิดขึ้นได้อย่างยากลำบาก แม้จะมีงบประมาณในส่วนของการพัฒนาเมืองอย่างมหาศาล ก็เพราะแนวนโยบายของการพัฒนาถูกจัดทำขึ้นมาจากส่วนกลางที่ขาดความเข้าใจในแต่ละบริบทของแต่ละชุมชนเมือง ที่สำคัญ กฎหมายบางบทก็เป็นอุปสรรคสำหรับการพัฒนา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องเข้ามาจัดการในเรื่องความเป็นไปได้อย่างเหมาะสม รวมไปถึงภาคประชาสังคมที่ต้องเข้ามากำกับในเรื่องของสภาพแวดล้อมที่ต้องไม่สร้างปัญหาในอนาคต

องค์ประกอบทั้ง 4 ด้านนี้เองที่จะเป็นเสมือนแกนของการยกระดับการพัฒนาชุมชนเมืองให้ตอบโจทย์ในเรื่องการแก้ไขปัญหาอันมีที่มาจากความหนาแน่นของจำนวนประชากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเครื่องมืออันทันสมัย ความคิดที่มีความเข้าใจและสร้างสรรค์ การประสานพลังของผู้คนในชุมชน และการสนับสนุนจากทางรัฐบาล อย่างประเทศสิงคโปร์ ดังที่ทราบกันดีว่าด้วยพื้นที่อันจำกัด ทำให้มีปัญหาเรื่องความหนาแน่นของประชากรพอสมควร แต่ระบบการบริหารจัดการในเรื่องความปลอดภัย และคุณภาพชีวิตต่อประชาชน ก็ถือเป็นที่ยอมรับจากพลเมืองในประเทศ รวมไปถึงรัฐบาลในหลายประเทศที่ยินดีบินข้ามน้ำข้ามทะเลเพื่อไปศึกษาดูงาน
ในเรื่องนี้กันอย่างคึกคัก อาทิ เรื่องการสร้าง “ภาพฮอโลแกรม 3 มิติ” ของทั้งประเทศเชื่อมโยงเข้ากับฐานข้อมูลทั้งหมด (Big Data) เพื่อให้นักออกแบบนโยบายเมือง รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนพัฒนาเมือง ได้เห็นรายละเอียดทั้งหมดของสิงคโปร์ ทั้งอาคารสถานที่สวนสาธารณะ เส้นทางน้ำขึ้น น้ำลง รวมไปถึงรายละเอียดที่ลึกมากๆ ทั้งการใช้พลังงานในสถานที่ต่างๆ ระดับมลพิษที่มีต่อสถานที่จากนั้นก็นำมาบริหารจัดการวางแผนที่เป็นรูปธรรมต่อไปในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของเมือง ที่สำคัญ ด้วยรูปแบบเดียวกันนี้ ทางทีมความมั่นคงก็ได้ใช้ในการจำลองการให้ความช่วยเหลือ การสร้างการป้องกันสถานการณ์ฉุกเฉินในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นการเตรียมรับมืออย่างสมบูรณ์แบบในอนาคตอีกด้วย

หรือที่เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา กับ “ห้องทดลองริมทางเดิน”(Sidewalk Lab) ที่ทำการเก็บข้อมูลด้วยเทคโนโลยีการตรวจวัดการสัญจร การใช้บริการ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ผ่าน IoT และปัญญาประดิษฐ์ ที่สามารถบันทึกข้อมูลทั้งหมด เพื่อออกแบบความปลอดภัยในด้านต่างๆ และอำนวยความสะดวกในเรื่องของบริการและการคมนาคม อาทิ การติดตามรถไร้คนขับการใช้หุ่นยนต์ในการส่งจดหมายหรือพัสดุ รวมไปถึงใช้เป็นข้อมูลในการประกอบแผนการพัฒนาเมืองต่อไปในอนาคต

กระนั้น เหรียญก็มี 2 ด้านเสมอปัญญาประดิษฐ์ก็เช่นกัน ความพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดของเมือง อาจมีความสุ่มเสี่ยงในเรื่องของความเป็นส่วนตัว การใช้ประโยชน์จากข้อมูลของเราไปในทางที่ไม่ถูกต้อง รวมไปถึงความกังวลอีกสารพัดแต่ทุกปัญหาก็มีทางออกให้เสมอ ขอแค่หาความสมดุลของผลลัพธ์ที่ต้องการร่วมกันของคนในชุมชนให้เจอเท่านั้น

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:27 น. พบศพนักท่องเที่ยวอินเดีย ถูกถุงดำรัดคอลอยทะเลเกาะเสม็ด ตร.เร่งสอบสวน
22:14 น. 'มิลลิ'สู้ยิบตารัวแข้งรัวหมัด ก่อนแพ้คะแนนคู่ชกชาวจีน ศึก'Fairtex Fight'
21:17 น. (คลิป) แนวหน้าTAlk : ตีแผ่!! การเมืองภาคใต้ ยุคที่ต้องใช้ทั้งเงินและปืน
21:15 น. คนร้ายยิงสองผัวเมียดับคาที่หน้าบ้าน ในพื้นที่ อ.รามัน จ.ยะลา
20:57 น. 'ประเสริฐ' ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำเชิงรุก 4 จังหวัดอีสานกลาง
ดูทั้งหมด
หนาวทั้งบาง! ‘ดิเรกฤทธิ์’ชี้หากราชทัณฑ์ไร้หลักฐานปมชั้น 14 คาดคนผิดรับโทษเพียบ
สั่งย้าย! รอง ผบ.พัน กองบิน 23 พ้นตำแหน่ง หลังใช้ทหารวิ่งไรเดอร์เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
นายกสมาคมทนาย ชี้'ทักษิณ'รักษาตัวชั้น 14 เจ้าตัวถูกจำคุกตามหมายศาลเเล้ว
ชีวิตครอบครัวพัง! อดีตเมียพลทหารขับไรเดอร์เผย เลิกกันเพราะผัวขอยืมเงินเอาไปปิดยอดส่งนาย
ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันศุกร์ 16​ ​พฤษภาคม​ ​2568
ดูทั้งหมด
บูรณาการรับมือฤดูฝน ปี 2568
ชีวิตประจำวันของผม
บทบรรณาธิการ : 18 พ.ค. 2568
เงิน พระ สีกา และการพนันออนไลน์
ทิดแย้ม ไร่ขิง ปัญหาบนยอดภูเขาน้ำแข็ง
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

พบศพนักท่องเที่ยวอินเดีย ถูกถุงดำรัดคอลอยทะเลเกาะเสม็ด ตร.เร่งสอบสวน

'มิลลิ'สู้ยิบตารัวแข้งรัวหมัด ก่อนแพ้คะแนนคู่ชกชาวจีน ศึก'Fairtex Fight'

(คลิป) แนวหน้าTAlk : ตีแผ่!! การเมืองภาคใต้ ยุคที่ต้องใช้ทั้งเงินและปืน

'ตูมตาม ยุทธนา'บวชเงียบ7วัน ทดแทนคุณพ่อแม่ ได้รับฉายาพระ 'สุขจิตฺโต'

ปิดฉากฆ่าโหด! รวบ 4 ทรชนยิง-เผานั่งยาง 3 ศพ ญาติสาปแช่ง 'ไอ้บิน' เคยฆ่ามาแล้ว 8 ศพ

รวบสองผัวเมีย หลอกคนไปทำงานต่างประเทศ ผู้เสียหาย กว่า 10 ราย

  • Breaking News
  • พบศพนักท่องเที่ยวอินเดีย ถูกถุงดำรัดคอลอยทะเลเกาะเสม็ด ตร.เร่งสอบสวน พบศพนักท่องเที่ยวอินเดีย ถูกถุงดำรัดคอลอยทะเลเกาะเสม็ด ตร.เร่งสอบสวน
  • \'มิลลิ\'สู้ยิบตารัวแข้งรัวหมัด ก่อนแพ้คะแนนคู่ชกชาวจีน ศึก\'Fairtex Fight\' 'มิลลิ'สู้ยิบตารัวแข้งรัวหมัด ก่อนแพ้คะแนนคู่ชกชาวจีน ศึก'Fairtex Fight'
  • (คลิป) แนวหน้าTAlk : ตีแผ่!! การเมืองภาคใต้ ยุคที่ต้องใช้ทั้งเงินและปืน (คลิป) แนวหน้าTAlk : ตีแผ่!! การเมืองภาคใต้ ยุคที่ต้องใช้ทั้งเงินและปืน
  • คนร้ายยิงสองผัวเมียดับคาที่หน้าบ้าน ในพื้นที่ อ.รามัน จ.ยะลา คนร้ายยิงสองผัวเมียดับคาที่หน้าบ้าน ในพื้นที่ อ.รามัน จ.ยะลา
  • \'ประเสริฐ\' ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำเชิงรุก 4 จังหวัดอีสานกลาง 'ประเสริฐ' ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำเชิงรุก 4 จังหวัดอีสานกลาง
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

กลับมามองกระแส #MeToo กันอีกครั้ง

กลับมามองกระแส #MeToo กันอีกครั้ง

24 เม.ย. 2565

ความสำคัญของพื้นที่ทางความมั่นคง

ความสำคัญของพื้นที่ทางความมั่นคง

17 เม.ย. 2565

รู้จัก ‘สินทรัพย์’ แห่งอนาคต

รู้จัก ‘สินทรัพย์’ แห่งอนาคต

20 มี.ค. 2565

‘การสื่อสาร’ คือ ความสำคัญของ ‘ผู้นำ’ ประเทศ

‘การสื่อสาร’ คือ ความสำคัญของ ‘ผู้นำ’ ประเทศ

13 มี.ค. 2565

อะไร คือ ‘ชัยชนะ’ ของ ‘ปูติน’

อะไร คือ ‘ชัยชนะ’ ของ ‘ปูติน’

6 มี.ค. 2565

เมื่อ ‘หมีขาว’ ผงาด

เมื่อ ‘หมีขาว’ ผงาด

27 ก.พ. 2565

‘ประชาชน’ ต้องเป็น ‘คำตอบ’ สำหรับ ‘การเจรจา’

‘ประชาชน’ ต้องเป็น ‘คำตอบ’ สำหรับ ‘การเจรจา’

20 ก.พ. 2565

หรือจะมี ‘สงครามโลก’ ครั้งที่ 3

หรือจะมี ‘สงครามโลก’ ครั้งที่ 3

13 ก.พ. 2565

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved