วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / เปิดโลก
เปิดโลก

เปิดโลก

ศิริภา อินทวิเชียร
วันอาทิตย์ ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563, 02.00 น.
น้อยแต่มาก อนาคตระบบการทำงานของโลก

ดูทั้งหมด

  •  

“ฉันเชื่อว่าผู้คนควรใช้เวลากับครอบครัว คนที่รัก งานอดิเรกและด้านอื่นๆ ของชีวิต เช่น ด้านวัฒนธรรม นี่อาจเป็นอีกขั้นตอนต่อไป สำหรับพวกเราในชีวิตการทำงาน” นี่เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับแนวคิด “การทำงานแบบยืดหยุ่น” ของ“ซานนา มาริน” นายกรัฐมนตรีวัย 34 ปีแห่งประเทศฟินแลนด์ ที่ได้ไปบรรยายในงานครบรอบ 120 ปี ของพรรคสังคมประชาธิปไตยแห่งฟินแลนด์ (SDP) ณ เมืองทัวร์คู ซึ่งในช่วงเวลานั้นเธอดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

เมื่อเธอได้รับการรับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี แนวคิดดังกล่าวนี้เองจึงได้รับการคาดหวังจากประชาชนว่าจะกลายเป็นนโยบายที่สามารถนำมาใช้ได้จริงในประเทศฟินแลนด์ ผ่านความเชื่อที่ว่า การลดเวลาในการทำงานลงเป็นวันละ6 ชั่วโมง และทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นซึ่งปัจจุบันแรงงานในฟินแลนด์ มีรูปแบบตารางการทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ8 ชั่วโมง เหมือนหลายๆ ประเทศ


หลังการเผยแพร่ประเด็นดังกล่าวนี้บนโลกออนไลน์เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ก็ได้รับความสนใจจากนักบริหารจัดการทั่วโลกที่เห็นด้วยกับแนวทางนี้ และคิดว่าน่าจะมีประสิทธิภาพกว่ารูปแบบการทำงานเดิมๆ กระนั้น ทวิตเตอร์อย่างเป็นทางการของรัฐบาลฟินแลนด์ได้สื่อสารชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายนี้ว่า ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด แต่นโยบายหรือแนวทางดังกล่าวนี้ก็เข้าไปอยู่ในหัวใจของประชาชนชาวฟินแลนด์และคนทั่วโลกไปเสียแล้ว ดังนั้น คำถามที่ตามมาก็คือว่า “ซานนา มาริน” ผู้นำประเทศที่มีอายุน้อยที่สุดในโลกคนนี้ คิดได้ถูกต้องเกี่ยวกับผลลัพธ์ของแนวทางหรือนโยบายดังกล่าวหรือไม่

ในการทดลองหนึ่งของบริษัทไมโครซอฟท์ ประเทศญี่ปุ่น ที่มีชื่อว่า “Work-Life Choice Challenge Summer2019” ได้เชิญชวนให้พนักงานกว่า 2,300 คน ให้หยุดงานทุกวันศุกร์ต่อเนื่องกัน 5 สัปดาห์ โดยไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของการหักเงินเดือน ลงโทษ หรือถูกเจ้านายต่อว่า ซึ่งมีผลลัพธ์ที่ออกมาน่าสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากหลังพนักงานมีวันหยุดเพิ่มขึ้นเป็น 3 วันต่อสัปดาห์ มีการประเมินออกมาว่า พวกเขามีความสุขมากขึ้น และกระฉับกระเฉงในการทำงานส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ที่สำคัญบริษัทยังได้อานิสงส์จากวันหยุดที่เพิ่มขึ้นด้วยรายจ่ายทางธุรการที่ลดลง อาทิ ค่าไฟและการใช้เครื่องพิมพ์เอกสาร เป็นต้น

“ผมต้องการให้พนักงานได้สัมผัสประสบการณ์ด้วยตัวเอง ว่าพวกเขาสามารถทำผลงานให้ดีขึ้นได้ด้วยเวลาการทำงานที่ลดลงถึง 20%” นี่คือเหตุผลในการดำเนินนโยบายดังกล่าวนี้ของ“ทาคุยะ ฮิราโนะ” ผู้บริหารของไมโครซอฟท์ที่ประกาศผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของบริษัท

และถึงแม้ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้น จะยังไม่ถูกนำมาปรับใช้ให้เป็นนโยบายของบริษัทแห่งนี้อย่างถาวร แต่ทางผู้บริหารก็มีแนวทางการทดลองในรูปแบบอื่นๆ เกี่ยวกับการลดชั่วโมงในการทำงาน เพื่อสร้างประสิทธิภาพของพนักงาน วางอยู่ในแผนประจำปีของบริษัทเอาไว้ เพื่อทดสอบจนแน่ใจในผลลัพธ์ที่แสดงออกมาให้ชัดเจนที่สุด อาทิ การลดชั่วโมงในการทำงานจาก8 เหลือ 6 ชั่วโมง และการเลือกวันหยุดประจำสัปดาห์เอง เป็นต้น

อีกแนวทางหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นได้นำมาทดลองใช้อย่างเป็นทางการ ในการลดเวลาการทำงานลง แม้จะไม่ได้เป็นการตัดเวลาออกไป แต่ก็กำหนดเวลาการทำงานที่แน่นอนเอาไว้ เพื่อลดปัญหา “การทำงานหนัก” จนเสียชีวิต ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของแต่ละบริษัทในประเทศญี่ปุ่น โดยผู้ว่าราชการในจังหวัดโอซากา“ฮิโรฮูมิ โยชิมูระ” ได้ออกมาตรการ “ปิดระบบคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ” ต่อข้าราชการประจำ ประมาณ 7,600 คน รวมถึงตำรวจและโรงเรียนรัฐบาล เพื่อลดการทำงานล่วงเวลา ด้วยการส่งคำเตือนก่อนเวลาเลิกงาน 30 นาที บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของพนักงานทุกคน จากนั้นคอมพิวเตอร์จะทำการปิดตัวเองเมื่อถึงเวลาที่กำหนด

สำหรับผลจากการนำมาตรการดังกล่าวมาบังคับใช้ สามารถประหยัดงบประมาณไปได้กว่า 50 ล้านเยน จากเรื่องค่าน้ำ-ค่าไฟ และค่าทำงานล่วงเวลา แต่สำหรับเรื่องแก้ปัญหาการ “ทำงานหนัก”ของชาวญี่ปุ่นนั้น ยังไม่ตอบโจทย์เท่าไหร่นักเพราะค่านิยมในการทำงานลักษณะนี้ถูกส่งต่อความเชื่อมาอย่างยาวนาน และยากจะเปลี่ยนความเข้าใจในเรื่องนี้ได้ในทันที ดังนั้น เรื่องของการทำงานที่เกี่ยวเนื่องกับเวลาในการปฏิบัติ ที่มี 2 ทฤษฎีกำลังปะทะกันอยู่นั้น คือ ใช้เวลาให้มากเพื่อความคุ้มค่า และผลสัมฤทธิ์ หรือใช้เวลาให้น้อยลง แต่เพิ่มประสิทธิภาพ จึงกลายเป็นความสนใจของนักวางแผนนโยบายเป็นอย่างมากในเรื่องของคำตอบที่พวกเขาต้องการ ว่าควรวางอยู่บนรูปแบบใดถึงจะได้ผลลัพธ์สูงสุดจากการทำงานของพนักงานคนหนึ่ง

มีบทความหนึ่งของ “ทิม วอล์กเกอร์”ชาวอเมริกัน ที่เข้าไปอยู่ในระบบการศึกษาของฟินแลนด์ในฐานะคุณครู ที่แปลกใจกับระบบการเรียนการสอนแบบ 45/15 เป็นอย่างมาก ในตอนที่เขาเข้าไปสอนใหม่ๆที่โรงเรียนจะให้นักเรียนอยู่ในห้องเรียน45 นาที และออกไปพักนอกห้องเรียน15 นาที สลับกันไปในแต่ละคาบเรียนของทั้งวัน ซึ่งในตอนแรกเขาไม่เห็นด้วย และไม่ยอมนำระบบนี้มาใช้ในคาบเรียนของเขา

จนกระทั่ง วันหนึ่ง “ทิม วอล์กเกอร์”อยากจะพิสูจน์ให้ชัดว่า ตกลงระบบ 45/15 กับระบบปกติแบบไหนจะมีประสิทธิภาพกว่ากัน เขาจึงลองใช้ระบบ 45/15 กับนักเรียนของเขาเพื่อเปรียบเทียบในสิ่งที่เกิดขึ้น และผลของการประเมินก็ทำให้เขาได้ทราบว่า ช่วงเวลา 15 นาทีนั้น เป็นช่วงเวลาที่พิเศษมากเสมือนเป็นการชาร์ตพลังให้กับนักเรียนอีกครั้ง นี่เองที่ทำให้การกลับไปเข้าห้องเรียนหลังจากการพัก นักเรียนจะมีความกระปรี้กระเปร่า เต็มไปด้วยสมาธิ และกระหายที่จะเรียนรู้มากขึ้น

ส่วน “ทอม แรธ” (Tom Rath) ผู้เขียนหนังสือ Are You Fully Charged ได้หยิบเอาแนวคิดนี้ไปเปรียบเทียบกับตารางการทำงานของคนทั่วไป (พนักงานเงินเดือน) โดยไปหาข้อมูลจากแอพพลิเคชั่นเดสก์ไทม์ (Desk Time) บริการสำหรับเก็บข้อมูลการทำงานของพนักงานในแต่ละวันโดยเมื่อเข้าไปดูสถิติของพนักงาน 36,000 คนหรือ 10% ของทั้งหมด ซึ่งเป็นสัดส่วนของพนักงานที่ทำผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะมีการแสดงออกมาว่า คนกลุ่มนี้จะใช้เวลาทำงานประมาณ 52 นาที และจะพัก 17 นาที จากนั้นก็จะกลับมาทำงานอีกครั้งอย่างจดจ่อ “ทอม แรธ” จึงได้แนะนำให้ผู้อ่านหนังสือของเขาทดลองใช้ระบบ 45/15 ในการทำงาน และปรับช่วงเวลาพักให้เหมาะสมกับบริบทของงาน เพราะเชื่อว่า การพัก หรือใช้เวลาในการทำงานให้น้อยลง จะทำให้เกิดศักยภาพของงานมากยิ่งขึ้น แม้แต่จะเอาเวลาในนั้นไปออกกำลังกายก็ตาม

สำหรับประเทศไทยของเรา ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งทั่วไป ปี 2562 ก็เคยมีบางพรรคการเมืองเสนอแนวคิดหรือนโยบาย “การทำงานแบบยืดหยุ่น” อาทิ สัปดาห์ละ 4 วัน ที่บริษัท และอีก 1 วันที่บ้าน เพื่อลดปัญหา PM2.5 หรือช่วงโควิด-19 กับการ Work from Home หลายบริษัทก็ออกมายอมรับว่า ได้ผลลัพธ์ของผลงานที่มีประสิทธิภาพกว่าการนั่งทำงานในออฟฟิศ (สำหรับบางงาน และหลายงานก็ได้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีนัก) หรือก่อนหน้านี้ ก็มีแนวคิดเรื่องการเหลื่อมเวลาในการเข้า-ออกงานของพนักงานเสนอมา เพื่อหลีกเลี่ยงการจราจรติดขัด ซึ่งมีผลต่อสุขภาพจิตและความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน

เหล่านี้ล้วนเป็นข้อเสนอที่จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ของการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยที่ลดการใช้แรงงานบุคคลและการใช้ทรัพยากรให้น้อยลง ซึ่งเป็นสิ่งที่โลกสมัยใหม่ หรือระบบการทำงานในอนาคตกำลังดำเนินไปในทางนี้ จึงเห็นว่า เรื่องนี้ควรเป็นประเด็นที่พวกเรา หรือภาครัฐควรจะต้องคิดพิจารณาว่าทิศทางที่เหมาะสมต่อประเทศไทยควรจะไปทางไหน และเป็นอย่างไร จะได้ไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
10:07 น. พบศพ! 'อดีตปลัดอำเภอ'อืดคาเก๋ง ชาวบ้านเห็นจอดรถแง้มประตูไว้3วัน
09:26 น. รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า
09:14 น. ‘นฤมล’สั่ง'สพฐ.-สพท.'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด
09:05 น. เอื้อประโยชน์หรือไม่? รถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย ระวังอย่าแถมเงินให้นายทุน
08:53 น. 'สวนดุสิตโพล'เผยชุมนุมการเมือง คนไทยคาดหวังอยากให้รัฐบาลลาออก ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ดูทั้งหมด
ต้องเลือกตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ
บุคคลแนวหน้า : 6 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน
หน้าต้องทนสูงมาก จึงทำแบบนี้ได้
วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

พบศพ! 'อดีตปลัดอำเภอ'อืดคาเก๋ง ชาวบ้านเห็นจอดรถแง้มประตูไว้3วัน

รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า

‘นฤมล’สั่ง'สพฐ.-สพท.'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด

'สวนดุสิตโพล'เผยชุมนุมการเมือง คนไทยคาดหวังอยากให้รัฐบาลลาออก ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร

กระบะชนหนี! จยย.พ่วงข้างคว่ำล้อชี้ฟ้า หนุ่มเมียนมาบาดเจ็บ

'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!

  • Breaking News
  • พบศพ! \'อดีตปลัดอำเภอ\'อืดคาเก๋ง ชาวบ้านเห็นจอดรถแง้มประตูไว้3วัน พบศพ! 'อดีตปลัดอำเภอ'อืดคาเก๋ง ชาวบ้านเห็นจอดรถแง้มประตูไว้3วัน
  • รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า
  • ‘นฤมล’สั่ง\'สพฐ.-สพท.\'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม  หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด ‘นฤมล’สั่ง'สพฐ.-สพท.'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด
  • เอื้อประโยชน์หรือไม่? รถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย ระวังอย่าแถมเงินให้นายทุน เอื้อประโยชน์หรือไม่? รถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย ระวังอย่าแถมเงินให้นายทุน
  • \'สวนดุสิตโพล\'เผยชุมนุมการเมือง คนไทยคาดหวังอยากให้รัฐบาลลาออก ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร 'สวนดุสิตโพล'เผยชุมนุมการเมือง คนไทยคาดหวังอยากให้รัฐบาลลาออก ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

กลับมามองกระแส #MeToo กันอีกครั้ง

กลับมามองกระแส #MeToo กันอีกครั้ง

24 เม.ย. 2565

ความสำคัญของพื้นที่ทางความมั่นคง

ความสำคัญของพื้นที่ทางความมั่นคง

17 เม.ย. 2565

รู้จัก ‘สินทรัพย์’ แห่งอนาคต

รู้จัก ‘สินทรัพย์’ แห่งอนาคต

20 มี.ค. 2565

‘การสื่อสาร’ คือ ความสำคัญของ ‘ผู้นำ’ ประเทศ

‘การสื่อสาร’ คือ ความสำคัญของ ‘ผู้นำ’ ประเทศ

13 มี.ค. 2565

อะไร คือ ‘ชัยชนะ’ ของ ‘ปูติน’

อะไร คือ ‘ชัยชนะ’ ของ ‘ปูติน’

6 มี.ค. 2565

เมื่อ ‘หมีขาว’ ผงาด

เมื่อ ‘หมีขาว’ ผงาด

27 ก.พ. 2565

‘ประชาชน’ ต้องเป็น ‘คำตอบ’ สำหรับ ‘การเจรจา’

‘ประชาชน’ ต้องเป็น ‘คำตอบ’ สำหรับ ‘การเจรจา’

20 ก.พ. 2565

หรือจะมี ‘สงครามโลก’ ครั้งที่ 3

หรือจะมี ‘สงครามโลก’ ครั้งที่ 3

13 ก.พ. 2565

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved