วันศุกร์ ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / ทันโลกทันเหตุการณ์
ทันโลกทันเหตุการณ์

ทันโลกทันเหตุการณ์

แพทยสภา
วันเสาร์ ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.
โรคนิ้วล็อค (Trigger Finger)

ดูทั้งหมด

  •  

โรคนิ้วล็อค คืออะไร?


โรคนิ้วล็อค หรือ Trigger finger เป็นภาวการณ์อักเสบบริเวณปลอกหุ้มเส้นเอ็น ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยเนื่องจากมือเป็นอวัยวะสำคัญที่เราใช้ในชีวิตประจำวันในการทำงาน ยกหรือหยิบจับสิ่งของต่างๆ ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้ว รู้สึกสะดุด หรือล็อคขณะงอเหยียดนิ้ว ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการของโรคนิ้วล็อคทั้งสิ้น

ทำไมถึงเป็นโรคนิ้วล็อค?

โรคนิ้วล็อคเกิดจากการอักเสบบริเวณปลอกหุ้มเส้นเอ็น ซึ่งมักจะสัมพันธ์กับการใช้งานหนัก โดยเฉพาะการเหยียดและงอข้อนิ้วซ้ำๆ หรือการกำสิ่งของแน่นๆ เป็นเวลานาน โดยโรคนี้มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย พบมากที่สุดในผู้หญิงวัยกลางคน และมีโอกาสเป็นได้มากขึ้นในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน หรือโรคไต

โรคนิ้วล็อคมีอาการอย่างไร?

อาการและอาการแสดงของโรคนิ้วล็อคมีหลายระดับ สามารถแบ่งตามความรุนแรงได้ดังนี้

1.มีอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้ว และอาจรู้สึกติดแข็งในตอนเช้า

2.รู้สึกสะดุด หรือมีเสียงเวลาขยับข้อนิ้ว และอาจคลำได้ก้อนบริเวณโคนนิ้ว

3.นิ้วล็อคติดในท่างอ แต่ยังสามารถจับเหยียดนิ้วออกมาได้

4.นิ้วล็อคติดในท่างอ โดยที่ไม่สามารจับเหยียดออกมาได้

การวินิจฉัยโรคนิ้วล็อค

โรคนิ้วล็อคสามารถวินิจฉัยได้โดยใช้การซักประวัติ และการตรวจร่างกาย โดยแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ หรือแพทย์ทั่วไปที่มีความชำนาญ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการตรวจเอกซเรย์ หรือส่งตรวจพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติมหากแพทย์ไม่ได้สงสัยภาวะอื่นๆ

การรักษาโรคนิ้วล็อค

การรักษาโรคนิ้วล็อคมีทั้งการรักษาแบบไม่ผ่าตัดและการรักษาโดยการผ่าตัด โดยขึ้นกับความรุนแรงของอาการที่เป็น

การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

ในรายที่พึ่งเริ่มมีอาการมาไม่นาน หรืออาการไม่รุนแรง แพทย์มักจะแนะนำให้ใช้การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัดก่อน โดยมีข้อแนะนำดังนี้

l ให้พักใช้งานมือข้างที่มีอาการ และหลีกเลี่ยงการกำและเหยียดนิ้วมือซ้ำๆ อย่างน้อยสองสัปดาห์

l แนะนำให้แช่น้ำอุ่นและนวดบริเวณโคนนิ้ว โดยเฉพาะในตอนเช้าอย่างน้อย 5-10 นาทีต่อวัน

l การใส่อุปกรณ์ดามนิ้ว (Finger splint) ให้นิ้วอยู่ในท่าเหยียดตรง โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดในตอนเช้าได้

l หากผู้ป่วยไม่สามารถเหยียดนิ้วได้สุด ควรจะทำการบริหารเหยียดนิ้วดังกล่าวบ่อยๆ เพื่อป้องกันภาวะข้อติดในท่างอ

l การรับประทานยาแก้ปวด หรือยาลดการอักเสบที่ไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs) เพื่อลดการอักเสบของปลอกหุ้มเส้นเอ็น อย่างไรก็ตามยาในกลุ่มนี้มีผลข้างเคียง ควรปรึกษาแพทย์และได้รับคำแนะนำก่อนใช้ยา

l ผู้ป่วยที่มีอาการเป็นมานาน หรือการรักษาโดยวิธีต่างๆ ข้างต้นไม่ได้ผล แพทย์อาจจะพิจารณาการรักษาโดยฉีดยาสเตียรอยด์ (steroid injection) เข้าบริเวณปลอกหุ้มเอ็นบริเวณโคนนิ้ว เพื่อลดการอักเสบของปลอกหุ้มเส้นเอ็น ซึ่งการฉีดยาควรทำโดยแพทย์ผู้ชำนาญเท่านั้น โดยทั่วไปการฉีดยาจะให้ผลการรักษาดี แต่อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยยังมีความจำเป็นต้องใช้งานมือข้างที่มีอาการอยู่ ก็มีโอกาสที่จะกลับมามีอาการกำเริบซ้ำขึ้นอีกได้ โดยอาจจะมีอาการกลับมาหลังฉีดยาประมาณ 3-6 เดือน และหากมีอาการกลับมาอีกครั้ง แพทย์อาจจะพิจารณาฉีดยาซ้ำได้อีกแต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรที่จะฉีดยามากกว่า 2 ครั้งในนิ้วเดียวกัน

การรักษาโดยการผ่าตัด

ในรายที่อาการเป็นรุนแรง หรือกลับมามีอาการกำเริบหลายหลังจากการได้รับการรักษาโดยวิธีต่างๆโดยวิธีการข้างต้น แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อเปิดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่มีการอักเสบออก โดยการผ่าตัดโรคนิ้วล็อคมีอยู่สองวิธีคือ

1.การผ่าตัดโดยมีแผลเปิด (Open release) โดยทั่วไปสามารทำได้โดยการฉีดยาชาฉพาะที่ และเปิดแผลขนาดเล็กประมาณ 1cm และใช้มีดกรีดเปิดปลอกหุ้มเส้นเอ็นออก หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ โดยแพทย์จะนัดมาตัดไหมที่ประมาณ 10-14 วันหลังการผ่าตัด

2.การผ่าตัดกรีดเปิดปลอกหุ้มเส้นเอ็นโดยไม่มีแผลเปิด (Percutaneous release) วิธีนี้จะต้องใช้เครื่องมือพิเศษเพื่อป้องกันการบาดเจ็บต่อเส้นเอ็น เส้นเลือดและเส้นประสาทของนิ้ว การผ่าตัดทำได้โดยใช้เข็มหรือของมีคมเขี่ยปลอกหุ้มเส้นเอ็น วิธีนี้มีข้อดีคือ แผลจะมีขนาดเล็กกว่าประมาณ 2mm ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์มากขึ้น และมีโอกาสเกิดการบาดเจ็บของเส้นเลือดหรือเส้นประสาทได้

ข้อควรปฏิบัติหลังการผ่าตัดโรคนิ้วล็อค

โดยทั่วไปหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะสามารถกลับบ้านได้เลย โดยมีข้อควรปฏิบัติดังนี้

- ระวังไม่ให้แผลเปียกน้ำ หากแผลเปียกน้ำ ควรทำแผลทันที

- ควรมาตรวจตามแพทย์นัดเพื่อตัดไหม ประมาณ 10-14 วันหลังการผ่าตัด

- เมื่อแผลแห้งดีแล้ว ควรจะต้องทำการนวดแผลผ่าตัด เพื่อให้แผลเป็นนุ่ม และลดความเสี่ยงที่จะกลับมามีอาการซ้ำได้

- ควรปฏิบัติตัวตามข้อแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากแผลมีภาวะผิดปกติ เช่น แผลซึม หรือมีเลือดออก ควรกลับมาพบแพทย์ทันที

นพ.ปิยบุตร กิตติธรรมวงศ์

สถาบันออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิดสิน

ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
09:55 น. เรียลไทม์! รายงานเหตุสู้รบชายแดนไทย-กัมพูชา 9 จุดสำคัญ
09:41 น. ชาวบุรีรัมย์ผวา!! เร่งอพยพ หลัง'เขมร'ระดมยิงกระสุนปืนใหญ่ตกใส่แล้วกว่า 50 ลูก
09:39 น. ประณามไทย! วุฒิสภากัมพูชาออกแถลงการณ์ 6 ข้อ วอนนานาชาติช่วย
09:33 น. ‘จักรภพ’ย้ำไทยยังไม่สูญเสียดินแดน แจงปมวิวาทะ‘น็อต วรฤทธิ์’
09:16 น. เช็กเลย!! หากประเทศเข้าสู่ภาวะสงคราม ปชช.ช่วยกองทัพได้อย่างไรบ้าง
ดูทั้งหมด
'น้องนนท์' เด็ก Gen Z อัดเขมร ชาวเน็ตชมความคิดดี เก่งกว่า รมต.บางคนอีก
'กัมพูชา'ขอโทษ!เปลี่ยนใช้โลโก้'ซีเกมส์'ไทยเป็นรูปควาย
เขมรถึงกับเหวอ!! เจอทหารไทยแก้เกม 'ห้ามไม่ได้ก็เข้าร่วมไปซะเลย' โผล่ร่วมเฟรมแชะภาพ (มีคลิป)
ด่วน! ทอ.ส่ง 'F-16' 6 ลำ ทิ้งระเบิดพื้นที่ช่องอานม้าของกัมพูชา
ชายชุดดำแฉเอง!‘ฮุน เซน’ส่งอาวุธสงคราม2ตู้คอนเทนเนอร์ ให้คนเสื้อแดงป่วนเมือง
ดูทั้งหมด
‘ชิน-ฮุน’ต้นตอปัญหา‘ไทย-เขมร’
กสทช. กับการใช้อำนาจที่เกินขอบเขต
ห้าวปะทะห้าว
ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด
บุคคลแนวหน้า : 25 กรกฎาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ชาวบุรีรัมย์ผวา!! เร่งอพยพ หลัง'เขมร'ระดมยิงกระสุนปืนใหญ่ตกใส่แล้วกว่า 50 ลูก

ประณามไทย! วุฒิสภากัมพูชาออกแถลงการณ์ 6 ข้อ วอนนานาชาติช่วย

‘จักรภพ’ย้ำไทยยังไม่สูญเสียดินแดน แจงปมวิวาทะ‘น็อต วรฤทธิ์’

ปะทะวันที่2! ‘เขมร’เปิดฉากยิงปืนใหญ่-BM-21 จ้องยึดเนิน 469 ไทยตอบโต้เดือด

'รัฐบาล'สั่ง'ผู้ว่าฯ ชายแดน'รวมรายชื่อผู้เสียชีวิต-บาดเจ็บ ใช้งบฯ จากกองทุนสำนักนายกฯ เยียวยาเบื้องต้น

‘ศาลฎีกา’เรียก‘แพทยสภา’ 6 ปาก ขึ้นไต่สวนคดี‘ทักษิณ’นอนชั้น 14

  • Breaking News
  • เรียลไทม์! รายงานเหตุสู้รบชายแดนไทย-กัมพูชา 9 จุดสำคัญ เรียลไทม์! รายงานเหตุสู้รบชายแดนไทย-กัมพูชา 9 จุดสำคัญ
  • ชาวบุรีรัมย์ผวา!! เร่งอพยพ หลัง\'เขมร\'ระดมยิงกระสุนปืนใหญ่ตกใส่แล้วกว่า 50 ลูก ชาวบุรีรัมย์ผวา!! เร่งอพยพ หลัง'เขมร'ระดมยิงกระสุนปืนใหญ่ตกใส่แล้วกว่า 50 ลูก
  • ประณามไทย! วุฒิสภากัมพูชาออกแถลงการณ์ 6 ข้อ วอนนานาชาติช่วย ประณามไทย! วุฒิสภากัมพูชาออกแถลงการณ์ 6 ข้อ วอนนานาชาติช่วย
  • ‘จักรภพ’ย้ำไทยยังไม่สูญเสียดินแดน แจงปมวิวาทะ‘น็อต วรฤทธิ์’ ‘จักรภพ’ย้ำไทยยังไม่สูญเสียดินแดน แจงปมวิวาทะ‘น็อต วรฤทธิ์’
  • เช็กเลย!! หากประเทศเข้าสู่ภาวะสงคราม ปชช.ช่วยกองทัพได้อย่างไรบ้าง เช็กเลย!! หากประเทศเข้าสู่ภาวะสงคราม ปชช.ช่วยกองทัพได้อย่างไรบ้าง
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Myasthenia Gravis)

โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Myasthenia Gravis)

19 ก.ค. 2568

บุหรี่ไฟฟ้า: ทางเลือกที่(ไม่)ปลอดภัย

บุหรี่ไฟฟ้า: ทางเลือกที่(ไม่)ปลอดภัย

12 ก.ค. 2568

การรักษานอนกรนด้วยเลเซอร์ ErYAG “เหมาะกับผู้ป่วยบางกลุ่มเท่านั้น ควรประเมินรายบุคคลโดยแพทย์เฉพาะทาง”

การรักษานอนกรนด้วยเลเซอร์ ErYAG “เหมาะกับผู้ป่วยบางกลุ่มเท่านั้น ควรประเมินรายบุคคลโดยแพทย์เฉพาะทาง”

5 ก.ค. 2568

ทำไมผู้สูงอายุต้องได้รับวัคซีนและวัคซีนที่แนะนำสำหรับผู้สูงอายุ

ทำไมผู้สูงอายุต้องได้รับวัคซีนและวัคซีนที่แนะนำสำหรับผู้สูงอายุ

28 มิ.ย. 2568

การเลือกนมและผลิตภัณฑ์ของนม

การเลือกนมและผลิตภัณฑ์ของนม

21 มิ.ย. 2568

โรคพาร์กินสัน : รู้เร็ว รักษาไว คุณภาพชีวิตยั่งยืน

โรคพาร์กินสัน : รู้เร็ว รักษาไว คุณภาพชีวิตยั่งยืน

14 มิ.ย. 2568

สุขภาพตา by สมาคมจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ‘ภูมิแพ้ขึ้นตา’ โดย นายแพทย์ วีรภัทร อุดมวงศ์

สุขภาพตา by สมาคมจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ‘ภูมิแพ้ขึ้นตา’ โดย นายแพทย์ วีรภัทร อุดมวงศ์

7 มิ.ย. 2568

แพทยสภา วัณโรคยุคใหม่ ต้องรู้ให้ทัน

แพทยสภา วัณโรคยุคใหม่ ต้องรู้ให้ทัน

31 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved