วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / pet care
pet care

pet care

ผศ.น.สพ.ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร
วันอาทิตย์ ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2566, 02.00 น.
วิธีให้ยารูปแบบต่างๆ ในสัตว์เลี้ยง

ดูทั้งหมด

  •  

ปัจจุบัน ยาที่ใช้สำหรับสัตว์นั้น มีรูปแบบการเตรียมที่หลากหลาย ทั้งเพื่อใช้ป้องกันและใช้รักษาโรคหรือความผิดปกติ ซึ่งเมื่อต้องให้ยาแก่สัตว์เลี้ยงแล้ว เจ้าของสัตว์ควรให้ยาตามคำแนะนำของสัตวแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีที่สุด และเป็นการป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่อาจเกิดขึ้นด้วย วันนี้เราจะมาคุยกันถึงวิธีการให้ยาในแต่ละรูปแบบกันครับ

รูปแบบยาที่เป็นที่นิยมใช้และพบได้บ่อย ได้แก่ 


1) ยากินชนิดเม็ดหรือแคปซูล 

ยาชนิดนี้ เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้ป้อนยาแก่ตัวสัตว์ โดยสามารถทำได้โดยการจับสัตว์เลี้ยงเงยหน้าขึ้นพอประมาณ พร้อมทั้งเปิดปากของสัตว์เลี้ยง วางยาไว้ที่โคนลิ้นของสัตว์ และปิดปากอย่างรวดเร็ว ทำการลูบบริเวณลำคอเพื่อกระตุ้นให้สัตว์กลืนเม็ดยา โดยเจ้าของสัตว์อาจป้อนน้ำหรือให้สัตว์ดื่มน้ำภายหลังจากการป้อนยา เพื่อป้องกันไม่ให้เม็ดยาหรือแคปซูลยาติดค้างในหลอดอาหาร 

ในปัจจุบัน มียาในรูปแบบยากินชนิดเม็ดเคี้ยว (chewable tablet) ซึ่งมีการแต่งกลิ่นและรสให้มีความน่ากิน โดยยากินในรูปแบบนี้ สามารถให้โดยวิธีป้อนให้สัตว์เคี้ยว หรือให้สัตว์กินเม็ดยาเองได้โดยตรง

2) ยากินชนิดน้ำ 

ยาชนิดนี้ต้องอาศัยอุปกรณ์ในการป้อนยา ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กระบอกฉีดยา (syringe) ในขนาดที่เหมาะสมต่อตัวสัตว์และปริมาตรยาที่ต้องให้ ก่อนให้ยาทุกครั้งควรเขย่าขวดยาให้ยาเข้ากันเสียก่อน และใช้กระบอกฉีดยาดูดตัวยาในปริมาตรที่สัตวแพทย์ระบุไว้ในฉลากยา

การป้อนให้แก่สัตว์เลี้ยงทำได้โดยจับให้สัตว์เงยหน้าเล็กน้อยค่อยๆ สอดปลายกระบอกฉีดยาเข้าด้านข้างปาก ระหว่างช่องของฟันกรามด้านข้างตรงกระพุ้งแก้มอย่างนุ่มนวล ค่อยๆ ดันตัวยาอย่างช้าๆ เพื่อให้สัตว์ค่อยๆ กลืนยา ระหว่างนั้นก็ควรรูปคอเพื่อกระตุ้นให้สัตว์กลืนยาเข้าไป

ไม่ควรดันตัวยาเร็วเกินไปหรือสอดกระบอกฉีดยาลงในลำคอของสัตว์โดยตรง เนื่องจากอาจทำให้สัตว์สำลักและมีตัวยาหลุดเข้าไปในหลอดลมซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาในระบบทางเดินหายใจตามมาได้

3) ยาหยอดตาและยาป้ายตา 

การหยอดตานั้น โดยปกติเราจะหยอดครั้งละ 1-2 หยด โดยประคองใบหน้าของสัตว์เลี้ยงให้เงยขึ้นพอประมาณ กดหนังตาล่างลงและหยดยาบริเวณหัวตาของสัตว์เลี้ยงด้วยความนุ่มนวล 

สำหรับการป้ายตาชนิดครีมหรือ ointment นั้น เราจะป้ายจากหัวตาไปทางหางตา ในบริเวณเปลือกตาล่างด้านใน ทั้งนี้ ต้องประคองใบหน้าของสัตว์ให้นิ่ง เพื่อลดโอกาสเกิดอันตรายจากการสะบัด 

ในการหยอดตาหรือป้ายตานี้ สิ่งที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ ต้องระมัดระวังไม่ให้ปลายหลอดยาสัมผัสกับมือเจ้าของสัตว์ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของตัวสัตว์ เนื่องจากอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกในหลอดยา ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนเข้าสู่ดวงตาในการให้ยาครั้งต่อไปได้

4) ยาหยอดหู 

ในการใช้ยาหยอดหูสำหรับสัตว์เลี้ยงนั้น ควรทำความสะอาดช่องหูก่อนการให้ยา โดยใช้สำลีพันปลายไม้ที่มีขนาดสำลีใหญ่กว่าในคนเพราะจะไม่ทำให้สัตว์เจ็บเวลาเช็ด

ใช้มือข้างหนึ่งจับใบหูข้างที่ต้องการหยอดยาขึ้น ใช้มืออีกข้างหยอดยาลงไปในช่องหูตามจำนวนหยดหรือตามขนาดที่สัตวแพทย์แนะนำ จากนั้นให้จับใบหูค้างไว้ก่อน (เพราะเมื่อมียาหรือน้ำเข้าหูแล้วตามสัญชาตญาณแล้ว สัตว์พยายามสะบัดเพื่อไล่เอาสิ่งแปลกปลอมออก)จากนั้นทำการนวดเบาๆ ที่บริเวณโคนหูเพื่อให้ตัวยากระจายอย่างทั่วถึง 

หลังการใช้ยาแล้ว ควรทำความสะอาดปลายหลอดยาหยอดหู เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกที่อาจติดค้างก่อนเก็บทุกครั้งด้วย

5) ยาป้องกันและกำจัดปรสิตภายนอกชนิดหยดบนผิวหนัง (spot on)

ปัจจุบันมียากำจัดเห็บ หมัด และปรสิตภายนอก ชนิดหยดที่ใช้หยดบนผิวหนัง ในหลายชื่อการค้าและตัวยาออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันหลายชนิด โดยทั่วไปการใช้ยาในรูปแบบนี้จะแนะนำให้หยดบนผิวหนังบริเวณหลังคอเหนือหัวไหล่ หรือระหว่างหัวไหล่ทั้งสองข้าง 

โดยในช่วงระยะเวลา 2-4 ชั่วโมง ภายหลังจากการหยดยา เจ้าของสัตว์ไม่ควรสัมผัสบริเวณที่หยดยา และไม่ควรให้สัตว์สัมผัสหรือคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงตัวอื่น เพื่อป้องกันการสัมผัสยาโดยไม่ได้ตั้งใจรวมถึงต้องคอยสังเกตว่าสัตว์ไม่เอาตัวไปถูกับผนังบ้านหรือพื้น เพราะจะเป็นการเช็ดยาออกด้วย

สำหรับตัวยาออกฤทธิ์บางชนิด อาจจะมีข้อกำหนดเรื่องการงดอาบน้ำในช่วงระยะเวลาก่อนและหลังการหยดยา ซึ่งเจ้าของสัตว์ควรปฏิบัติตามที่สัตวแพทย์แนะนำ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของตัวยาสูงสุด 

นอกจากนั้นควรให้ยาเป็นประจำและสม่ำเสมอตามที่สัตวแพทย์แนะนำ และไม่ควรแบ่งยา เนื่องจากปริมาณยาที่สัตว์เลี้ยงได้รับอาจไม่เพียงพอต่อการออกฤทธิ์ด้วยครับ

หวังว่า ท่านที่ได้อ่านข้อมูลเรื่องนี้แล้วคงจะคลายความสงสัยและทราบวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องในการให้ยาแต่ละชนิดกันนะครับ

หมอโอห์ม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร 

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ฝ่ายประชาสัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กร

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
15:03 น. ไอจีไฟลุก! 'เป้ย ปานวาด'อวดหุ่นเซ็กซี่ในชุดชั้นในลูกไม้
14:58 น. โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง! ‘นายก-สท.เทศบาลเมืองมุกดาหาร’ ออกหาเสียงกันเข้มข้น
14:55 น. 'สพฐ.' แจ้งสถานศึกษาไม่ตื่นตระหนกข่าวลือ 'โควิด' ย้ำไม่ประมาท
14:46 น. (คลิป) หลอกหลอน 'โฆษกพรรคเพื่อไทย' ไปตลอดชีวิต
14:46 น. 'ดร.เสรี' ถาม 'รมว.สธ.'ตัดสินใจอย่างไร จะยึดความถูกต้องหรือจะยึดการรับใช้?
ดูทั้งหมด
ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
‘ลาออก’ไปเถอะ! ฉะ‘นายกฯ’มีสติปัญญาแค่นี้ แผ่นเสียงตกร่องชู‘กาสิโน’แก้เศรษฐกิจ
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 4-10 พ.ค.68
'แก้ว อภิรดี'ควงลูกสาวเปิดสถานะหัวใจ เผยเตรียมสละโสดก่อนอายุ 35
ดูทั้งหมด
อวสาน‘ทักษิณ’คุกรออยู่
ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย
คุกนรก (1)
นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’
บุคคลแนวหน้า : 9 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ไอจีไฟลุก! 'เป้ย ปานวาด'อวดหุ่นเซ็กซี่ในชุดชั้นในลูกไม้

'สพฐ.' แจ้งสถานศึกษาไม่ตื่นตระหนกข่าวลือ 'โควิด' ย้ำไม่ประมาท

'ไพศาล'ปูด!!! จับตา'แก๊งไสยศาสตร์' ส่งมือวางระดับบิ๊กยึด'สถาบันพระปกเกล้า'

(คลิป) หลอกหลอน 'โฆษกพรรคเพื่อไทย' ไปตลอดชีวิต

ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มแหล่งอาทิตย์เสริมความมั่นคงพลังงานไทย

'ดร.เสรี' ถาม 'รมว.สธ.'ตัดสินใจอย่างไร จะยึดความถูกต้องหรือจะยึดการรับใช้?

  • Breaking News
  • ไอจีไฟลุก! \'เป้ย ปานวาด\'อวดหุ่นเซ็กซี่ในชุดชั้นในลูกไม้ ไอจีไฟลุก! 'เป้ย ปานวาด'อวดหุ่นเซ็กซี่ในชุดชั้นในลูกไม้
  • โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง! ‘นายก-สท.เทศบาลเมืองมุกดาหาร’ ออกหาเสียงกันเข้มข้น โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง! ‘นายก-สท.เทศบาลเมืองมุกดาหาร’ ออกหาเสียงกันเข้มข้น
  • \'สพฐ.\' แจ้งสถานศึกษาไม่ตื่นตระหนกข่าวลือ \'โควิด\' ย้ำไม่ประมาท 'สพฐ.' แจ้งสถานศึกษาไม่ตื่นตระหนกข่าวลือ 'โควิด' ย้ำไม่ประมาท
  • (คลิป) หลอกหลอน \'โฆษกพรรคเพื่อไทย\' ไปตลอดชีวิต (คลิป) หลอกหลอน 'โฆษกพรรคเพื่อไทย' ไปตลอดชีวิต
  • \'ดร.เสรี\' ถาม \'รมว.สธ.\'ตัดสินใจอย่างไร จะยึดความถูกต้องหรือจะยึดการรับใช้? 'ดร.เสรี' ถาม 'รมว.สธ.'ตัดสินใจอย่างไร จะยึดความถูกต้องหรือจะยึดการรับใช้?
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

14 ก.ค. 2567

‘สุนัขปากเหม็น’

‘สุนัขปากเหม็น’

7 ก.ค. 2567

อยากแปรงฟันให้น้องหมา ต้องเตรียมตัวอย่างไร

อยากแปรงฟันให้น้องหมา ต้องเตรียมตัวอย่างไร

30 มิ.ย. 2567

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

23 มิ.ย. 2567

สุนัขปากเหม็น

สุนัขปากเหม็น

16 มิ.ย. 2567

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอนจบ)

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอนจบ)

9 มิ.ย. 2567

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอน1)

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอน1)

2 มิ.ย. 2567

โรคเบาหวาน หรือ Diabetes mellitus (DM)

โรคเบาหวาน หรือ Diabetes mellitus (DM)

26 พ.ค. 2567

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved