วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / pet care
pet care

pet care

ผศ.น.สพ.ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร
วันอาทิตย์ ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566, 02.00 น.
สถานการณ์ฉุกเฉินที่ถือว่าสัตว์เลี้ยงตกอยู่ในภาวะวิกฤต

ดูทั้งหมด

  •  

สัตว์เลี้ยงของเราไม่สามารถพูดบอกเราได้ ดังนั้นเมื่อยามที่เค้าป่วยหนักจนถึงขั้นวิกฤตแล้ว เราจะทราบได้อย่างไร เจ้าของสัตว์ เป็นส่วนสำคัญมากในการที่จะสังเกตและระบุว่าสัตว์เลี้ยงเกิดความผิดปกติเพื่อประเมินให้ได้ว่าควรรีบนำส่งสัตวแพทย์ทันทีหรือไม่ โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดในช่วงกลางคืน วันนี้เรามาทำความเข้าใจเบื้องต้นกันว่าเหตุฉุกเฉินในสุนัขและแมวนั้น มีอะไรที่เจ้าของสัตว์ควรทราบบ้าง โดยข้อมูลจากคลินิกฉุกเฉิน คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครับ

@หลักการประเมินว่าสัตว์ป่วยอยู่ในสภาวะวิกฤต มีอะไรบ้าง


การประเมินว่า สัตว์ป่วยอยู่ในสภาวะวิกฤตหรือไม่นั้น เราใช้ “หลัก ABCD” ซึ่งเป็นอักษรย่อ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจและสะดวกในการจดจำ โดยอักษรแต่ละตัวนั้น ย่อมาจากคำเหล่านี้

A (Airway) ท่อทางเดินหายใจ คือการประเมินว่า สัตว์สามารถหายใจผ่านทางเดินหายใจได้หรือไม่ ดังนั้นทางเดินหายใจควรจะปลอดจากสิ่งต่างๆ ที่ขัดขวางการหายใจ เช่น ของเหลว เยื่อเมือก เศษอาหาร วัตถุแปลกปลอมที่กีดขวางทางเดินหายใจ ที่จะทำให้ทางเดินหายใจตีบตัน 

B (Breathing) การหายใจ คือการประเมินว่าสัตว์สามารถหายใจได้เองเป็นปกติหรือไม่ การหายใจที่ไม่ปกติที่สังเกตเห็นได้ เช่นสัตว์แสดงอาการหอบ หายใจตื้นและถี่ อ้าปากหายใจ ใช้ช่องท้องช่วยในการหายใจ หายใจไม่ออกเหมือนมีอะไรอุดคออยู่

C (Circulation)  การไหลเวียนเลือด คือการประเมินว่าสัตว์มีอัตราการเต้นของหัวใจที่ปกติสม่ำเสมอหรือไม่ ลักษณะการเต้นของชีพจรเราสามารถคลำได้จากบริเวณขาหนีบด้านใน หรือลำคอบริเวณใต้ขากรรไกรล่าง (ซึ่งอาจต้องฝึกคลำในสภาพสัตว์เลี้ยงปกติให้เกิดความคุ้นชินกับการวัดชีพจรจนชำนาญเสียก่อน) หากคลำแล้วพบการเต้นของชีพจรเบามาก หรือไม่มีเลย ก็ถือว่าผิดปกติ มักพบร่วมกับอาการปลายขาทั้งสี่เย็นสีของเยื่อเมือกที่เป็นสีขาวซีด ม่วง หรือแดงเช้ม(สีเยื่อเมือกปกติจะเป็นสีชมพูสด)

D (Disability) ความพิการหรือการไร้สมรรถภาพของร่างกายคือการประเมินการทำงานของระบบประสาท เช่น มีประวัติการกระทบกระแทกที่บริเวณศีรษะแบบรุนแรง จนมีอาการชักกระตุก เหยียดเกร็งหรือมีการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังอย่างรุนแรงจนไม่สามารถเดินได้เป็นต้น  

@ แล้วอาการเช่นไรบ้าง ที่เราจะเรียกว่า สัตว์อยู่ในภาวะฉุกเฉิน ที่ต้องพามารับการรักษาที่แผนกฉุกเฉินโดยเร่งด่วน

ตัวอย่างอาการเหล่านี้ เราถือว่าอยู่ในสภาวะฉุกเฉินถึงขั้นวิกฤต ได้แก่

1. หายใจลำบาก  เช่น หายใจมีเสียงดัง มีเยื่อเมือกที่ลิ้นเป็นม่วงหรือใช้การอ้าปากเพื่อช่วยในการหายใจ เป็นต้น

2. มีบาดแผลขนาดใหญ่ และ/หรือ มีเลือดไหลไม่หยุด 

3. ช่องท้องขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยอาจจะมี/หรือไม่มีอาการอาเจียนร่วมด้วยก็ตาม

4. ไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้ โดยเจ้าของสามารถสังเกตได้จากการที่สัตว์เลี้ยงแสดงอาการเบ่งปัสสาวะ แต่ไม่มีปัสสาวะไหลออกมาหรืออาจมีอาการร้องแสดงความเจ็บปวดเวลาเบ่งปัสสาวะ

5. อุจจาระเป็นเลือด หรือปัสสาวะเป็นเลือดสด รวมถึงการอาเจียนเป็นเลือดด้วย

6. ตัวร้อนจัด อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็วจนเกิน 105 องศาเซลเซียส

7. แม่สัตว์ที่ตั้งครรภ์จนครบกำหนดคลอดแล้ว แต่ไม่สามารถคลอดได้ภายใน 1 ชั่วโมง หลังจากมีอาการเบ่งหรือแสดงอาการพยายามคลอด รวมถึงการที่ไม่สามารถคลอดได้ภายใน 15 นาที หลังจากมีน้ำคร่ำสีเขียวไหลออกมา หรือมีส่วนใดส่วนหนึ่งของลูกสัตว์โผล่ออกมาจากช่องคลอดแล้ว

8. สูญเสียความสามารถในการทรงตัวแบบเฉียบพลัน เช่นไม่สามารถยืนทรงตัวได้หรือเมื่อจับให้ยืนแล้วล้ม

9. มีอาการชักและขาเหยียดเกร็ง

10.ได้รับบาดเจ็บ จากการถูกรถชน หรือตกจากที่สูง

11. การได้รับสารพิษ สารเคมีทำความสะอาดหรือสารกัดกร่อนโดยการกิน

12. สภาพสัตว์เลี้ยงที่หมดสติหรือไม่รู้สึกตัว

ในกรณีที่พบว่าสัตว์เลี้ยงมีอาการดังกล่าวข้อใดข้อหนึ่ง นั่นหมายความว่าสัตว์เลี้ยงควรได้รับการรักษาโดยสัตวแพทย์อย่าง “ทันท่วงที” ครับ

แต่หากสัตว์เลี้ยงมีอาการนอกเหนือจากอาการที่กล่าวมานี้ เราจะยังถือว่า “สัตว์ยังไม่อยู่ในสภาวะฉุกเฉิน” ซึ่งอาจยังไม่ถึงกับต้องรีบพาไปยังแผนกฉุกเฉินทันที (กรณีที่เกิดเหตุการณ์ในช่วงกลางคืน) แต่ยังสามารถปฐมพยาบาล และให้พาสุนัขและแมวมาพบคุณหมอที่แผนกอายุรกรรมในวันรุ่งขึ้นช่วงเวลาทำการตามปกติของโรงพยาบาลได้

ทั้งนี้ การรับมือกับภาวะฉุกเฉินจะสำเร็จและราบรื่นไปได้นั้นควรอยู่ภายใต้ “สติและความรวดเร็ว” นอกจากนี้ การตรวจสุขภาพสัตว์เลี้ยงเป็นประจำจะช่วยป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ซึ่งถือเป็นเกราะป้องกันโรคร้ายได้เป็นอย่างดีครับ

หมอโอห์ม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กร

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
12:12 น. ไม่ใช่แค่ม็อบคนแก่! ม็อบ 28 มิถุนาฯ คือฐานเสียง'พรรค ปชน.' ชี้ฝ่ายค้านเอาแต่แก้ รธน. เมินปากท้องคนไทย
12:06 น. 'บี-วีณา-อามชุ'จูงมือชาว LGBTQIA+ เติมสีสันความเท่าเทียมใน 'พัทยา อินเตอร์เนชั่นแนล ไพรด์ เฟสติวัล 2025'
12:04 น. ประเดิม'สุริยะ'ทำหน้าที่นายกฯวันแรก ลงนามแต่งตั้ง'ภูมิธรรม'รักษาการนายกฯลำดับที่ 1
12:04 น. ‘รวบโจรวิ่งราวทรัพย์’ก่อเหตุ2จังหวัด-รวมเกือบ10ครั้ง เผย!เลือกเหยื่อเป็นผู้สูงวัย
12:01 น. ชาวบ้านผวา! ชายคลุ้มคลั่งอาละวาดทำร้ายผู้หญิงบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
แกว่งเท้าหาเสี้ยน! ปรากฏการณ์แฉโพย‘สายส้ม’เข้มข้น-ล่อนจ้อน
'ออสเตรเลีย'ออกคำเตือนพลเมืองมา'ไทย'หลังพบวัตถุต้องสงสัยหลายเมืองท่องเที่ยวภาคใต้
ดูทั้งหมด
ต้นสนยักษ์ร่วมสมัยกับฟาโรห์
‘คลิปเขมร’เหตุอัปยศ‘แพทองธาร’
รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม
วาทกรรมเจ็บจี๊ด
อุ๊งอิ๊งค์ 2 ปรับ ครม. ฟอร์มาลีน
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ไม่ใช่แค่ม็อบคนแก่! ม็อบ 28 มิถุนาฯ คือฐานเสียง'พรรค ปชน.' ชี้ฝ่ายค้านเอาแต่แก้ รธน. เมินปากท้องคนไทย

ยันเป็นเขตแดนไทย! ทบ.แจง Google Map ไม่มีผลด้านกฎหมาย หลังหมุดปราสาทโผล่เขมร

ชาวบ้านผวา! ชายคลุ้มคลั่งอาละวาดทำร้ายผู้หญิงบาดเจ็บ

'ภูมิธรรม'นั่งมท.1 ปัดหวังล้างแค้น'ภท.'คดีเขากระโดง ลั่นหากไม่ผิด ก็ไม่มีใครทำอะไรได้

บุกทลายร้านชำกระทุ่มแบน! พบปืนเถื่อน บุหรี่ไฟฟ้า น้ำท่อม ยาแก้ไอ วงพนันครบครัน

‘ผู้หญิง’ก็ต้องเกณฑ์ทหาร! ‘เดนมาร์ก’แก้กฎหมายรับสถานการณ์ความมั่นคง

  • Breaking News
  • ไม่ใช่แค่ม็อบคนแก่! ม็อบ 28 มิถุนาฯ คือฐานเสียง\'พรรค ปชน.\' ชี้ฝ่ายค้านเอาแต่แก้ รธน. เมินปากท้องคนไทย ไม่ใช่แค่ม็อบคนแก่! ม็อบ 28 มิถุนาฯ คือฐานเสียง'พรรค ปชน.' ชี้ฝ่ายค้านเอาแต่แก้ รธน. เมินปากท้องคนไทย
  • \'บี-วีณา-อามชุ\'จูงมือชาว LGBTQIA+ เติมสีสันความเท่าเทียมใน \'พัทยา อินเตอร์เนชั่นแนล ไพรด์ เฟสติวัล 2025\' 'บี-วีณา-อามชุ'จูงมือชาว LGBTQIA+ เติมสีสันความเท่าเทียมใน 'พัทยา อินเตอร์เนชั่นแนล ไพรด์ เฟสติวัล 2025'
  • ประเดิม\'สุริยะ\'ทำหน้าที่นายกฯวันแรก ลงนามแต่งตั้ง\'ภูมิธรรม\'รักษาการนายกฯลำดับที่ 1 ประเดิม'สุริยะ'ทำหน้าที่นายกฯวันแรก ลงนามแต่งตั้ง'ภูมิธรรม'รักษาการนายกฯลำดับที่ 1
  • ‘รวบโจรวิ่งราวทรัพย์’ก่อเหตุ2จังหวัด-รวมเกือบ10ครั้ง เผย!เลือกเหยื่อเป็นผู้สูงวัย ‘รวบโจรวิ่งราวทรัพย์’ก่อเหตุ2จังหวัด-รวมเกือบ10ครั้ง เผย!เลือกเหยื่อเป็นผู้สูงวัย
  • ชาวบ้านผวา! ชายคลุ้มคลั่งอาละวาดทำร้ายผู้หญิงบาดเจ็บ ชาวบ้านผวา! ชายคลุ้มคลั่งอาละวาดทำร้ายผู้หญิงบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

14 ก.ค. 2567

‘สุนัขปากเหม็น’

‘สุนัขปากเหม็น’

7 ก.ค. 2567

อยากแปรงฟันให้น้องหมา ต้องเตรียมตัวอย่างไร

อยากแปรงฟันให้น้องหมา ต้องเตรียมตัวอย่างไร

30 มิ.ย. 2567

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

23 มิ.ย. 2567

สุนัขปากเหม็น

สุนัขปากเหม็น

16 มิ.ย. 2567

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอนจบ)

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอนจบ)

9 มิ.ย. 2567

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอน1)

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอน1)

2 มิ.ย. 2567

โรคเบาหวาน หรือ Diabetes mellitus (DM)

โรคเบาหวาน หรือ Diabetes mellitus (DM)

26 พ.ค. 2567

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved