วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / pet care
pet care

pet care

ผศ.น.สพ.ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร
วันอาทิตย์ ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566, 02.00 น.
การเตรียมสภาพสัตว์ก่อนทำการผ่าตัด

ดูทั้งหมด

  •  

มั่นใจว่าไม่มีใครอยากให้สัตว์เลี้ยงของเราต้องเข้ารับการผ่าตัดอย่างแน่นอน แต่หากมีความจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดและการวางยาสลบอย่างเลี่ยงไม่ได้จริงๆ เจ้าของจำเป็นต้องศึกษาขั้นตอนและวิธีการเตรียมตัวสัตว์ก่อนทำการผ่าตัด เพื่อจะได้เตรียมตัวให้การผ่าตัดนั้นๆ ประสบความสำเร็จสูงสุด รวมถึงเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาตามมาด้วย ปัจจัยเหล่านั้นมีอะไรบ้าง วันนี้ผมมีข้อมูลจากสพญ.เบญจพร พูลชะโก จากโรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์จุฬาฯ มาฝากครับ

ปัจจัยหลักที่ต้องปฏิบัติ เพื่อเตรียมสภาพสัตว์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด สามารถแบ่งได้ 4 ข้อดังนี้


1. ปัจจัยจากเจ้าของสัตว์

สิ่งที่สำคัญที่เจ้าของจะต้องจัดเตรียมอย่างเคร่งครัดคือ การงดน้ำและอาหารประมาณ 8-12 ชม. ก่อนรับการผ่าตัด ทั้งนี้ก็เพื่อลดความเสี่ยงจากการสำลักอาหารและน้ำระหว่างทำการวางยาสลบเพื่อรับการผ่าตัด หากเราไม่ทำการงดอาหารและน้ำแล้ว ระหว่างวางยาสลบ สัตว์อาจสำลักเอาอาหารและน้ำเข้าปอดและหลอดลม จะทำให้สัตว์เกิดภาวะปอดติดเชื้อ ปอดบวม รวมถึงติดเชื้อแทรกซ้อนในทางเดินหายใจได้และอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ 

2. ปัจจัยจากตัวสัตว์เอง

ความเสี่ยงนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยในตัวเอง  แบ่งได้คร่าวๆ ดังนี้

- อายุของตัวสัตว์ ถ้าอายุของสัตว์มาก ก็จะมีความเสี่ยงในการผ่าตัดสูงกว่าสัตว์อายุน้อย เนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย ได้แก่หัวใจและปอด โดยที่สัตวแพทย์จะฟังเสียงหัวใจเพื่อประเมินความผิดปกติของสัตว์ หากเป็นสัตว์อายุที่มาก เจ้าของควรเข้าใจถึงความจำเป็นในการตรวจหัวใจเพิ่มเติม เบื้องต้นอาจเริ่มจากการเอกซเรย์ เพื่อตรวจหัวใจ ปอด และอวัยวะต่างๆ ในช่องอกอีกด้วย

การทำ echo อาจทำร่วมกันเพื่อประเมินการทำงานของหัวใจให้ละเอียด โดยในรายที่พบว่าหัวใจมีความผิดปกติ เราจะได้ทำการเตรียมตัวสัตว์เพิ่มให้พร้อมมากที่สุดก่อนทำการผ่าตัด โดยในบางรายอาจจะต้องมีการให้กินยาหรือฉีดยาเพื่อควบคุมอาการก่อนการผ่าตัดถ้ามีปัญหาโรคปอดเรื้อรัง ก็ต้องทำการเอกซเรย์เพื่อดูรอยโรคว่าเป็นมากแค่ไหน เพื่อทำการประเมินสัตว์ก่อนผ่าตัดได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้นทั้งนี้เพื่อลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด 

- พันธุ์สัตว์ สายพันธุ์ของสัตว์นั้น ก็มีส่วนสำคัญในการวางยาสลบ เช่น สุนัขพันธุ์หน้าสั้น ก็จะมีความเสี่ยงในการวางยาสลบสูงกว่า เนื่องจากระบบทางเดินหายใจที่ค่อนข้างแคบและสั้น

- ปัญหาหรือโรคที่ต้องทำการผ่าตัดแก้ไข จะต้องพิจารณาก่อนว่าเป็นภาวะฉุกเฉินหรือไม่ เช่น ภาวะเสียเลือดแบบเฉียบพลัน เช่นม้ามหรือตับได้รับการกระแทกจนฉีกขาดเสียหาย หลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด ต้องทำการถ่ายเลือดฉุกเฉิน หรือแม้แต่โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ เช่น กะบังลมฉีกขาด สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องผ่าตัดฉุกเฉินเร่งด่วน โดยก่อนผ่าตัด จะต้องให้อยู่ในตู้ออกซิเจนเพื่อช่วยในเรื่องการหายใจ เนื่องจากไม่สามารถแลกเปลี่ยนแก๊สได้เหมือนภาวะปกติ รวมไปถึงภาวะมดลูกอักเสบเป็นหนอง ทางเดินอาหารฉีกขาดหรืออุดตัน ท่อปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะฉีกขาดหรืออุดตัน รวมไปถึงภาวะต่างๆ ควรที่จะทำการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อลดสภาพการติดเชื้อที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาให้น้อยที่สุด รวมไปถึงภาวะของเสียในเลือดสูง อาจจะส่งผลทำให้อวัยวะล้มเหลวตามมาได้ ส่วนปัญหาหรือโรคที่ไม่ได้อยู่ในภาวะฉุกเฉินได้แก่ เนื้องอก มะเร็ง กระดูกหักในส่วนที่สามารถรอได้ โรคกลุ่มเหล่านี้ควรทำการเตรียมตัวสัตว์ก่อนถ้าเป็น ในส่วนของมะเร็ง ก้อนเนื้อบางกลุ่มก็อาจจะทำการเคมีบำบัด เพื่อให้ขนาดก้อนเล็กลงก่อน เพื่อช่วยในการทำหัตถการผ่าตัดให้ทำงานได้ง่ายขึ้น ช่วยลดระยะเวลาในการวางยาสลบ เป็นการเพิ่มความปลอดภัยในการวางยาสลบด้วย

3. การตรวจร่างกายสัตว์เบื้องต้นก่อนการผ่าตัด

การตรวจร่างกายนี้ก็จะรวมไปถึงการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือดและการตรวจทางรังสีวิทยา เพื่อประเมินความพร้อมของสัตว์ เช่น ตรวจเลือดดูค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ค่าการทำงานของตับและไต ถ้ากรณีค่าไตสูงก็ควรปรับสภาพค่าไตให้พร้อมก่อน อย่างน้อยที่จะพอก่อนผ่าตัดได้ ค่าเม็ดเลือดแดงถ้าสัตว์มีภาวะโลหิตจางหรือเกล็ดเลือดจาง ค่าแอลบูมินต่ำเราก็ควรที่จะทำการถ่ายเลือดให้ตัวสัตว์พร้อมก่อนเพื่อความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับการตัวสัตว์ให้น้อยลง 

การตรวจร่างกายส่วนนี้ก็สำคัญได้แก่ถ้าเราพบว่าตัวสัตว์มีภาวะแห้งน้ำมาก ก็ควรที่จะต้องทำการแก้ไขให้สัตว์กลับมาอยู่ในสภาวะปกติให้มากที่สุดก่อนการผ่าตัด

4. การตรวจวินิจฉัยอื่นๆ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคก่อนการผ่าตัด

การตรวจวินิจฉัยอื่นๆ ก่อนการทำหัตถการต่างๆ ก็มีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงก่อนการผ่าและช่วยในการวินิจฉัยโรคให้ละเอียดมากขึ้น เช่น การที่เราจะหาจุดที่จะมีปัญหาอุดตันให้ละเอียดมากยิ่งขึ้นอาจจะทำการคอนเฟิร์มด้วยการทำ CT scan อาจจะทำให้เราเจอรอยโรคเพิ่มเติมซึ่งการวินิจฉัยเบื้องต้นไปแล้ว อาจจะไม่ครอบคลุมได้เพียงพอก็เป็นได้ 

เรียนย้ำว่า การเตรียมสภาพสัตว์ก่อนการผ่าตัดและวางยาสลบตามปัจจัยที่กล่าวมานั้น เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อตัวสัตว์ นั่นคือความปลอดภัย ความสมเหตุสมผลในการผ่าตัด และความแม่นยำในการผ่าตัดครับ

หมอโอห์ม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร 

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์

ฝ่ายประชาสัมพันธ์และส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
17:50 น. ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท.
17:32 น. 'DSI'ลงนามด่วนถึง'ผบ.ตร.-ปลัด มท.' ร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วเลือก สว.
17:28 น. 'รมว.ยุติธรรม'เป็น ปธ.มอบเงินเยียวยาให้เหยื่อตึก สตง.ถล่ม
17:15 น. ตลาดสี่มุมเมืองจัดงานเอ็กซ์โป ขายทุเรียนเริ่มต้นพูละ 5 บาท แจกทุเรียนกว่า 200 ลูก
17:09 น. ตัวมัมพันธุ์ใหม่!!! ได้ทีกระทืบซ้ำ‘สายสีน้ำเงิน’ สอนมารยาททางการเมือง
ดูทั้งหมด
ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
‘ลาออก’ไปเถอะ! ฉะ‘นายกฯ’มีสติปัญญาแค่นี้ แผ่นเสียงตกร่องชู‘กาสิโน’แก้เศรษฐกิจ
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 4-10 พ.ค.68
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
ดูทั้งหมด
อวสาน‘ทักษิณ’คุกรออยู่
ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย
คุกนรก (1)
นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’
บุคคลแนวหน้า : 9 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท.

'DSI'ลงนามด่วนถึง'ผบ.ตร.-ปลัด มท.' ร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วเลือก สว.

ไม่ปล่อยให้ผ่านมือ!'รอง ผกก.สืบฯฮีโร่'ขับรถกลางดึกเจอโจรผัวเมียงัดตู้เติมเงินจับทันที

ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มแหล่งอาทิตย์เสริมความมั่นคงพลังงานไทย

ครั้งประวัติศาสตร์!อังกฤษลุยถ้วยใหญ่ยุโรป6ทีม

(คลิป) หลอกหลอน 'โฆษกพรรคเพื่อไทย' ไปตลอดชีวิต

  • Breaking News
  • ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท. ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท.
  • \'DSI\'ลงนามด่วนถึง\'ผบ.ตร.-ปลัด มท.\' ร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วเลือก สว. 'DSI'ลงนามด่วนถึง'ผบ.ตร.-ปลัด มท.' ร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วเลือก สว.
  • \'รมว.ยุติธรรม\'เป็น ปธ.มอบเงินเยียวยาให้เหยื่อตึก สตง.ถล่ม 'รมว.ยุติธรรม'เป็น ปธ.มอบเงินเยียวยาให้เหยื่อตึก สตง.ถล่ม
  • ตลาดสี่มุมเมืองจัดงานเอ็กซ์โป ขายทุเรียนเริ่มต้นพูละ 5 บาท แจกทุเรียนกว่า 200 ลูก ตลาดสี่มุมเมืองจัดงานเอ็กซ์โป ขายทุเรียนเริ่มต้นพูละ 5 บาท แจกทุเรียนกว่า 200 ลูก
  • ตัวมัมพันธุ์ใหม่!!! ได้ทีกระทืบซ้ำ‘สายสีน้ำเงิน’ สอนมารยาททางการเมือง ตัวมัมพันธุ์ใหม่!!! ได้ทีกระทืบซ้ำ‘สายสีน้ำเงิน’ สอนมารยาททางการเมือง
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

14 ก.ค. 2567

‘สุนัขปากเหม็น’

‘สุนัขปากเหม็น’

7 ก.ค. 2567

อยากแปรงฟันให้น้องหมา ต้องเตรียมตัวอย่างไร

อยากแปรงฟันให้น้องหมา ต้องเตรียมตัวอย่างไร

30 มิ.ย. 2567

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

23 มิ.ย. 2567

สุนัขปากเหม็น

สุนัขปากเหม็น

16 มิ.ย. 2567

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอนจบ)

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอนจบ)

9 มิ.ย. 2567

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอน1)

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอน1)

2 มิ.ย. 2567

โรคเบาหวาน หรือ Diabetes mellitus (DM)

โรคเบาหวาน หรือ Diabetes mellitus (DM)

26 พ.ค. 2567

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved