วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปพิเศษ : กฎหมาย‘ทรมาน-อุ้มหาย’ ก้าวแรกปฏิรูประบบยุติธรรม

สกู๊ปพิเศษ : กฎหมาย‘ทรมาน-อุ้มหาย’ ก้าวแรกปฏิรูประบบยุติธรรม

วันพฤหัสบดี ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag :
  •  

“ไปดูมาตรา 90 ของวิธีพิจารณาความอาญา เขาบอกว่าถ้ามีการจับโดยไม่ชอบ ให้อัยการขอปล่อยทันที จับโดยไม่ชอบนี่มันรวมหมดเลย ไม่ว่าเขาไม่ผิดก็ใช่ จับโดยวิธีที่ไม่ถูกต้องก็ใช่แล้วมาตรา 90 วิธีพิจารณาความอาญาที่มาตรฐานโลกด้วยนะ ถ้าท่านไปดูเกาหลี (ใต้) ญี่ปุ่น อเมริกา หรือแม้แต่ประเทศของ Civil Law (กฎหมายลายลักษณ์อักษร) ทางฝรั่งเศส เยอรมนี ก็มีมาตราแบบนี้เหมือนกัน แต่มาตรา 90 เราไม่ได้ใช้แล้วเพราะพอเราแยกหน่วยแต่เราดันไม่ให้เขาแจ้งการจับ

ถ้าท่านไปดูกฎหมาย Common Law (กฎหมายจารีตประเพณี) Civil Law อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เขียนเหมือนกันหมดเลยว่าเมื่อเกิดเหตุอาชญากรรมให้แจ้งหน่วยเหล่านี้ให้ทราบ หน่วยปกครอง หน่วยอัยการ เพราะฉะนั้นเขาจึงไม่จำเป็นต้องอยู่องค์กรเดียวกัน เพราะวิธีพิจารณาความเขา Link (เชื่อม) กันอยู่แล้วให้ตรวจสอบกัน แต่เพราะความไม่รู้ ผมใช้คำว่าไม่รู้ เราก็ดันไปแยกออกแล้วการทำงานแยกออกจากกัน อัยการก็เลยกลายเป็นคนที่อ่านนิยายที่มีคนพูดมากมายว่ามันเป็นความโกหกทั้งนั้น”


น้ำแท้ มีบุญสล้าง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาการสอบสวนและการดำเนินคดี สำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวในงานเสวนา “พ.ร.บ. ซ้อมทรมานและอุ้มหายเดินหน้าหรือชะลอ ใครได้ ใครเสีย?” ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เมื่อเร็วๆ นี้ ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิฯ อาญา) แม้จะกำหนดให้การจับกุมผู้ต้องหาเมื่อจับแล้วต้องนำตัวไปยังที่ทำการ (สถานีตำรวจ) ทันที เพียงแต่ที่ผ่านมาไม่มีบทลงโทษสำหรับการไม่ปฏิบัติตาม

นอกจากนั้น การแยกอัยการออกจากตำรวจและกระทรวงมหาดไทย ส่งผลให้ระบบที่อัยการเข้าไปดูคดีความตั้งแต่แรกหายไป ซึ่งมีหลักฐานเป็นเอกสารบันทึกการจับกุมและสอบสวนในอดีตเมื่อหลายสิบปีก่อน ระบุว่า หากเป็นคดีสำคัญอัยการจะมาดูคดีตั้งแต่แรกในทันที รวมถึงการที่ออกกฎหมายให้อำนาจตำรวจขอหมายจับ-หมายค้นกับศาลได้โดยตรงไม่ต้องผ่านอัยการ ซึ่งแตกต่างไปจากหลายประเทศในโลก แต่การให้อำนาจแบบนี้ก็มีผลเสีย

“จะค้นบ้านใครถามผู้ที่จะดำเนินคดีก่อนว่าเขาต้องการพยานหลักฐานชิ้นนี้ในการดำเนินคดีข้อหานี้หรือเปล่า? ฐานความผิดประเทศอื่นๆ ไม่เป็นผู้ต้องหาง่ายแบบประเทศไทย ประเทศไทยเขาไม่พอใจคุณเขาก็เดินรอบรถหาข้อหาให้ แต่ประเทศอื่นที่เอ่ยชื่อมาแล้วเขาจะสืบสวน-สอบสวนจนได้ความชัดเจนแล้วก็แจ้งอัยการ เมื่อมีเหตุอาชญากรรมอะไรเกิดขึ้นแจ้งอัยการทราบ ต้องการพยานหลักฐานอะไร? จะค้นบ้านใคร? อัยการเซ็นหมายค้น ไปขอหมายค้นที่ศาล เมื่อได้หมายค้นมาเข้าบ้านคนที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ใช่เข้าบ้านใครก็ได้ตามที่เจ้าหน้าที่อยากเข้า

พอไปค้น พยานหลักฐานพอหรือยัง? พอแล้ว พร้อมจะฟ้องแล้ว มั่นใจจะดำเนินคดีได้มาซึ่งคำพิพากษาลงโทษแล้วค่อยเซ็นหมายจับมาเพื่อฟ้อง ไม่ใช่จับมาขังไว้เล่นๆ 80 กว่าวันอย่างบ้านเรา แล้วไปเร่งอะไรไม่รู้ 145 145/1 (ม.145,ม.145/1 ป.วิฯ อาญา) แย้งสิเพราะคนจับก็กลัว 157 (ม.157 ประมวลกฎหมายอาญา) ก็ต้องแย้งตายเลยเพื่อให้ฟ้องให้ได้คนบริสุทธิ์-คนผิดไม่ต้องพูดแล้ว กลัว 157 ขอให้ฟ้องให้ได้อย่างเดียวถึงจะได้ ที่บอกว่า วิฯ อาญา ที่ออกหมายโดยไปศาลเลย คนเขียนเหลวไหลมาก” น้ำแท้ ระบุ

อัยการผู้นี้ ย้ำว่า ในต่างประเทศการจะไปจับใครคนที่มีอำนาจฟ้องต้องมั่นใจว่าพร้มดำเนินคดีให้ได้มาซึ่งคำพิพากษาลงโทษจากศาล ดังนั้ นสถานะผู้ต้องหาจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีการส่งฟ้อง ไม่ใช่ถูกจับมาขังไว้ก่อน (ป.วิฯ อาญา ม.87 ให้ฝากขังได้สูงสุดไม่เกิน 84 วัน) โดยไม่รู้ว่าท้ายที่สุดจะมีคำสั่งฟ้องหรือไม่ ทำให้มีกรณีผู้บริสุทธิ์ต้องติดคุกโดยไม่ถูกฟ้อง หรือไม่ก็ต้องหาทางส่งฟ้องไปก่อนให้ได้ก่อนครบกำหนดเวลาสูงสุดที่ฝากขังได้ ทั้งที่ยังไม่พร้อมในการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าบุคคลที่จะส่งฟ้องนั้นมีมูลความเผิดจริงหรือไม่

ดังนั้นสภาพของกฎหมายที่เป็นอยู่จึงส่งผลกระทบทั้งต่อบุคคลที่ถูกขังไว้ก่อนโดยไม่รู้ว่าจะถูกดำเนินคดีหรือไม่ และต่อรัฐที่ต้องสูญเสียทรัพยากรไปกับการขังคนเหล่านี้ ซึ่งใน ป.วิฯ อาญา มาตรา 227 ระบุว่า ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทําผิดจริงและจําเลยเป็นผู้กระทําความผิดนั้น แต่หลักการนี้ควรถูกนำมาใช้ตั้งแต่จุดแรกของการดำเนินคดี

ตัวอย่างที่น่าสนใจจากต่างประเทศ เช่น อังกฤษ มีกฎหมายกำหนดว่า อัยการจะฟ้องคดีกับบุคคลใดต้องมั่นใจว่าฟ้องแล้วจะได้มาซึ่งคำพิพากษาลงโทษ แต่หากไม่มั่นใจก็ห้ามฟ้องแม้จะเป็นคดีแบบใดก็ตาม ซึ่งกฎหมายใหม่ของไทยอย่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 22 ก.พ. 2566 จะมีข้อกำหนดให้ตำรวจเมื่อจับกุมผู้ต้องหาแล้วต้องแจ้งอัยการและฝ่ายปกครองด้วย

“เมื่อคุณจับแล้ว ตามระเบียบที่เราร่าง แจ้งทางอิเล็กทรอนิกส์ง่ายๆ ชื่อผู้ถูกจับ วิธีการจับ รูปถ่ายเขาคุณไม่รู้จักชื่อเขา เขาไม่มีบัตรก็ถ่ายรูปเขามา ถ่ายรูปนี่มันแทนถ้อยคำเป็นร้อยๆ ล้านๆ คำนะ เพราะว่าเขาอยู่ในสภาพที่ดี เนื้อตัวร่างกายเขาปกติดี พยานหลักฐานที่คุณกล่าวหาเขา ถ้าคุณบอกว่าเขาค้ายาก็ต้องมียา เขามีอาวุธก็ต้องมีอาวุธตรงนั้น ต้องมีรูปถ่ายทันที แล้วก็ชื่อ-สกุลผู้จับกุม” ผอ.สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาการสอบสวนและการดำเนินคดี สำนักงานอัยการสูงสุด อธิบาย

มีตัวอย่างคล้ายกันในการบังคับใช้กฎหมายลักษณะนี้ที่ สหรัฐอเมริกา โดยจะมีศูนย์ข้อมูลกลางคอยดูว่าแต่ละวันมีการจับกุมใครในคดีอะไรบ้าง โดยเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมจะส่งรายงานเข้ามาทันทีเมื่อจับกุมได้ แต่การวางระบบนี้ไม่ใช่เรื่องยากที่ประเทศไทยจะทำบ้าง เพราะไม่ได้ใช้เทคโนโลยีซับซ้อน มีเพียงกล้อง สัญญาณอินเตอร์เนต โปรแกรม และมีช่องทางการติดต่อก็สามารถทำได้แล้ว

ขณะที่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ในมาตรา 7 ระบุให้เจ้าหน้าที่รัฐเมื่อควบคุมตัวบุคคลใด ห้ามปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำการนั้น หรือปกปิดชะตากรรม หรือไม่แจ้งสถานที่ เพราะการกระทำดังกล่าวทำให้ผู้ถูกควบคุมตัวขาดการเข้าถึงสิทธิตามกฎหมาย (เช่น การพบทนายความหรือแพทย์) ซึ่งผู้ฝ่าฝืนจะมีความผิดตาม พ.ร.บ. นี้ทันทีโดยไม่ต้องอาศัยเงื่อนไขระยะเวลา (เช่น หายตัวไปนานเท่าไร) ส่วนปฏิบัติการจับกุมซึ่งเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมต้องบันทึกภาพและเสียงตลอดเหตุการณ์จะอยู่ในมาตรา 22

“กฎหมายฉบับนี้ถือเป็นการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในรอบร้อยกว่าปี พูดได้เลยว่าปฏิรูประบบวิธีพิจารณาความอาญา มันทำให้ Due Process of Law (กระบวนการอันชอบด้วยกฎหมาย) เป็นความจริง” น้ำแท้ กล่าว

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • แนวหน้าวิเคราะห์ : ‘หมูเถื่อน’...ปัญหาที่ยังต้องแก้ต่อเนื่อง แนวหน้าวิเคราะห์ : ‘หมูเถื่อน’...ปัญหาที่ยังต้องแก้ต่อเนื่อง
  • ‘หญ้าหวาน’พืชนี้มีประโยชน์..และ‘คนกินได้’ ‘หญ้าหวาน’พืชนี้มีประโยชน์..และ‘คนกินได้’
  • ล้มได้ก็ลุกเป็น ‘นิน เพชรพัณณิน’กีฬา การเมือง ชีวิต ความรัก ล้มได้ก็ลุกเป็น ‘นิน เพชรพัณณิน’กีฬา การเมือง ชีวิต ความรัก
  • เปิดปูม‘วิทยา กันส์แทคติกส์’ ปรมาจารย์อาวุธปืน ผู้เซฟชีวิต‘ครู’ชายแดนใต้ เปิดปูม‘วิทยา กันส์แทคติกส์’ ปรมาจารย์อาวุธปืน ผู้เซฟชีวิต‘ครู’ชายแดนใต้
  • สกู๊ปพิเศษ : ถอดบทเรียนแก้ปัญหาการพนันในสถานประกอบการไทย สกู๊ปพิเศษ : ถอดบทเรียนแก้ปัญหาการพนันในสถานประกอบการไทย
  • ‘ชุมชนนำ’โอบอุ้มเด็กและครอบครัว ‘ชุมชนนำ’โอบอุ้มเด็กและครอบครัว
  •  

Breaking News

(คลิป) FCส้มเดือดพลั่ก!! บุกสภาฯ รุมสาป‘สส.กฤษฎิ์’แถลงแยกทาง‘ปชน.’ซบ'กล้าธรรม'

(คลิป) เตือน!! ข่าวลือระวังเป็นข่าวจริง 'แดง-น้ำเงิน' ตีกัน ขู่! คว่ำร่างพรบ.งยประมาณ

‘ฮั้ว สว.’บาน! ‘ดีเอสไอ’เผยพบเครือข่ายขบวนการ‘อั้งยี่ฟอกเงิน’ 1,200 รายทั่วประเทศ

‘ดูเตอร์เต’อดีตผู้นำปินส์ชนะเลือกตั้งท้องถิ่น แม้ถูกคุมตัวตามหมายจับศาลโลก

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved