วันพุธ ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ต่อต้านคอร์รัปชัน
ต่อต้านคอร์รัปชัน

ต่อต้านคอร์รัปชัน

ต่อตระกูล-ต่อภัสสร์
วันพุธ ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559, 02.00 น.
10 ข้อเข้าใจผิดเกี่ยวกับคอร์รัปชัน (1)

ดูทั้งหมด

  •  

คำว่า“คอร์รัปชัน” เป็นคำที่เราได้อ่านและได้ยินกันแทบจะทุกวัน ถ้าไม่ได้อ่านเจอตามหน้าหนังสือพิมพ์ตอนเช้าก่อนออกไปทำงาน ก็ได้ยินจากวิทยุหรือโทรทัศน์ที่รายงานข่าว หรือในบทสนทนาที่เพื่อนชวนคุยระหว่างกินข้าว เรียกได้ว่า เรื่องราวของการคอร์รัปชันมันวนเวียนอยู่ในชีวิตประจำวันของพวกเราไปแล้ว จนทำให้บางทีเรารู้สึกชินชาและเพิกเฉยกับภัยอันตรายร้ายแรงต่อการพัฒนาประเทศชาตินี้ไป

นี่จึงเป็นที่มาของความเข้าใจผิดหลายประการเกี่ยวกับการคอร์รัปชัน ที่วันนี้ผมได้รวบรวมมา 10 ข้อสำคัญ ที่จะติดอาวุธความรู้ให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจข่าวสารเกี่ยวกับการคอร์รัปชันได้ดีขึ้น พร้อมโต้ตอบเพื่อนในวงสนทนา และเพียงแค่รู้เพิ่มขึ้นก็นับเป็นการต่อต้านคอร์รัปชันไปด้วยแล้ว

ประการที่ 1 สะกดคำว่า “คอร์รัปชัน” เป็น “คอรัปชั่น”

ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 นั้นระบุว่า “คอร์รัปชัน” ซึ่งแปลมาจากภาษาอังกฤษ Corruption นั้น มีความหมายว่า โกง, เบียดบัง, ทุจริต, ฉ้อราษฎร์บังหลวง, รับสินบน. ตัวสะกดนั้น ต้องไม่มี“ไม้เอก”ตรงคำว่า“ชัน” ซึ่งเรามักจะพบตัวสะกดผิดๆแบบนี้ตามหนังสือพิมพ์ ผมเองเวลาเขียนบทความไปตีพิมพ์ที่ไหน ก็จะต้องแจ้งเรื่องการสะกดคำนี้ให้ถูกต้องเสมอ

ที่ต้องระมัดระวังการสะกดคำนี้ ไม่ใช่เพราะผมเรื่องมาก หรือเป็นนักอนุรักษ์ที่ต้องการจะรักษาวัฒนธรรมการใช้ภาษาไทยอย่างเคร่งครัดแต่อย่างใด อันที่จริงผมกลับมีความเชื่อเสียด้วยว่าภาษาที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นต้องดิ้นได้ และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่เป็นเพราะเรื่องความสะดวกในการจัดเก็บฐานข้อมูล และการค้นหาบทความ งานเขียน งานวิจัยต่างๆ ที่มีปัญหามากในประเทศไทย เชื่อหรือไม่ว่า จนปัจจุบันงานวิชาการเหล่านี้ยังไม่มีการจัดเก็บไว้ให้เป็นระเบียบเลย บางแห่งแม้แต่ฐานข้อมูลยังไม่มีเลย เวลาจะค้นหาต้องไปไล่ถามเจ้าหน้าที่แต่ละคนว่า คุ้นๆ กับชื่อหัวข้อวิจัยเรื่องนี้บ้างหรือไม่ ถ้าจำไม่ได้หรือหาไม่เจอก็จบกัน งานชิ้นนั้นก็ลอยหายไปจากสารบบเลย บางแห่งดีหน่อย มีการจดชื่อเรื่องไว้ในสมุดเล่มโต พอจะเปิดค้นหาได้บ้าง แต่ถ้าตัวสะกดมันไม่เหมือนกัน จะตกไปอยู่คนละหน้าและจะหาไม่เจอ ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องตลก แต่นี่เป็นเรื่องจริงที่ผมประสบกับตัวเองมาแล้ว


ดังนั้นในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีระบบการจัดการฐานข้อมูลและค้นหาที่มีประสิทธิภาพอย่างในหลายประเทศ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ดีทางหนึ่ง คือ การพิถีพิถันกับการสะกดคำให้เหมือนกัน และในเมื่อราชบัณฑิตยสภาเขากำหนดให้เขียนว่า “คอร์รัปชัน” แล้ว ก็ได้โปรดสะกดให้ตรงกันด้วยนะครับ

ประการที่ 2 คนไทยกว่า 60% ยอมรับการคอร์รัปชันได้

ครั้งแรกที่ผมอ่านเจอในหนังสือพิมพ์ ผมตกใจมากจริงๆ รู้สึกหมดหวังในประเทศไทย และท้อใจกับงานที่ทำอยู่ในทันที และผมเชื่อว่าหลายท่านที่อ่านเจอพาดหัวข่าวแบบนี้ก็ต้องรู้สึกคล้ายๆ กับผม แต่ผมจะบอกข่าวดีให้ว่า อย่ารู้สึกหมดหวัง เพราะนี่คือความเข้าใจผิดอย่างรุนแรง

ผลสำรวจนี้ทำออกมาโดยสำนักโพลล์ชื่อดังแห่งหนึ่งในไทยเมื่อหลายปีมาแล้ว ซึ่งในฐานะนักวิชาการ ผมต้องวิจารณ์กระบวนการตั้งคำถามสำรวจอย่างมาก เพราะเมื่อลงไปดูในรายละเอียด ปรากฏว่าโพลล์สำนักแห่งนี้ถามประมาณว่า “คุณยอมรับการคอร์รัปชันได้หรือไม่ ถ้าหากประเทศชาติพัฒนา และคุณเองได้รับประโยชน์ด้วย” ถ้ามาถามผมแบบนี้ ผมก็ต้องบอกว่ายอมรับได้ และจะสนับสนุนด้วยซ้ำไป คำถามมันชักนำให้ตอบหลงประเด็นมาก เพราะคอร์รัปชันไม่มีทางทำให้ประเทศชาติพัฒนาได้ แย่ไปกว่านั้น คอร์รัปชันได้รับการพิสูจน์แล้วทางวิชาการด้วยงานวิจัยจากทั่วโลก และผลลัพธ์จากสถานการณ์จริง ว่า เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ประเทศชาติถดถอยทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

ดีที่ในเวลาต่อมา ดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทย โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจประเด็นนี้เพื่อความถูกต้อง โดยถามว่า “เห็นด้วยหรือไม่ว่าการที่รัฐบาลทุจริตคอร์รัปชัน แต่มีผลงานและทำประโยชน์ให้สังคมเป็นเรื่องที่ยอมรับได้” ปรากฏว่าล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคม 2558 มีคนยอมรับการคอร์รัปชันภายใต้เงื่อนไขนี้ได้เพียงแค่ 5% เท่านั้น ไม่ใช่ 60% อย่างที่สำนักโพลล์นั้นกล่าวอ้าง

ประการที่ 3 สถานการณ์คอร์รัปชันในไทยดีขึ้นมาก เพราะไทยได้เลื่อนอันดับการคอร์รัปชัน

ข้อที่แล้วเป็นข่าวดีที่สร้างความหวัง แต่ข้อนี้เป็นการดึงความคาดหวังลงมาสู่ความเป็นจริง เพราะทุกช่วงเดือนธันวาคมที่มีการประกาศดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชัน (Corruption Perception Index: CPI) โดยองค์กรความโปร่งใสระหว่างประเทศ (Transparency International: TI) ซึ่งเป็นดัชนีที่มีชื่อเสียงมากที่สุด และถูกนำไปอ้างอิงมากที่สุดทั้งในงานวิชาการและสื่อ ผมมักจะเห็นสื่อในไทยทั้งหนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์นำไปตีความกันอย่างไม่ถูกต้อง อย่างล่าสุดเมื่อธันวาคม 2558 มีสื่อหลายแห่งพาดหัวข่าวใหญ่ว่า ระดับคอร์รัปชันไทยดีขึ้น เพราะเราได้เลื่อนอันดับขึ้นมา 9 อันดับ จากที่ 85 ในปีก่อนมาเป็นที่ 76 ในปีนี้

การตีความเช่นนี้เรียกว่า ผิดมหันต์ทีเดียว เพราะจำนวนประเทศทั้งหมดที่สำรวจมันลดลงจาก 175 ประเทศในปี 2557 เหลือเพียง 168 ประเทศในปี 2558 ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่ไทยได้เลื่อนลำดับขึ้น และในทุกๆปีจำนวนประเทศมันก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ อันดับประเทศที่เปลี่ยนไปจึงแทบจะไม่สะท้อนระดับคอร์รัปชันของประเทศเลย ถ้าต้องการจะเปรียบเทียบปีต่อปีจริงๆ TI เขาเพิ่งปรับวิธีการคำนวณคะแนนใหม่ในปี 2555 ให้นำคะแนนมาเปรียบเทียบกันได้ ซึ่งคะแนนของไทยแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญเลยตั้งแต่ปี2555 เรียกได้ว่าระดับการคอร์รัปชันของไทยแม้ไม่ได้แย่ลง แต่ก็ไม่ได้ดีขึ้นอย่างชัดเจนเลย

อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ควรต้องรับรู้ไว้ คือ ดัชนีต่างๆ รวมทั้ง CPI นี้ ก็มีข้อด้อยหลายประการ และถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่บ่อยครั้งว่า ไม่สะท้อนความเป็นจริงของสถานการณ์ เราเองจึงไม่ควรยึดดัชนีใดดัชนีหนึ่งเป็นสรณะ แต่ให้วิเคราะห์หลายๆดัชนีพร้อมกัน ซึ่งก็ไม่ได้เป็นข่าวดีสำหรับประเทศไทยเท่าไหร่นัก เพราะเกือบทุกดัชนีที่ชี้วัดระดับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล ไม่มีตัวไหนบอกว่าไทยมีพัฒนาการที่ดีอย่างชัดเจนเลย

ประการที่ 4 ที่ ป.ป.ช. สร้างผลงานได้น้อยเพราะขาดแคลนงบประมาณ

อันที่จริง ผมไม่ได้จะปฏิเสธเสียทีเดียวว่า ในบางปี ป.ป.ช. ขาดงบประมาณจริงเพราะถูกรัฐบาลที่ไม่ให้ความสำคัญในการต่อต้านคอร์รัปชันตัดงบ และนี่ก็เป็นข้อจำกัดในการทำงานของ ป.ป.ช.จริง เพียงแต่จะบอกว่า ถ้าจะโยนให้เรื่องการขาดแคลนงบประมาณรับผิดชอบการที่ ป.ป.ช.ไม่สามารถนำพาประเทศไทยไปสู่ความใสสะอาดได้จริงๆ เสียที ก็คงง่ายเกินไป ไม่ใช่วิสัยนักวิชาการที่ชอบวิเคราะห์อะไรให้ลึกๆ หน่อย

ที่เสนอเช่นนี้ก็ไม่ใช่พูดขึ้นมาลอยๆ ผมไปได้ข้อมูลจำนวนเจ้าหน้าที่และสัดส่วนงบประมาณของหน่วยงานต่อต้านคอร์รัปชันของ 2 เพื่อนบ้านเราที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก คือIndependent Commission Against Corruption (ICAC) แห่งฮ่องกง และ Corrupt Practices Investigation Bureau (CPIB) แห่งสิงคโปร์ ตัวเลขแสดงให้เห็นว่าทั้งๆ ที่ CPIB มีจำนวนเจ้าหน้าที่น้อยกว่า ICAC เป็นสิบเท่า มีงบประมาณรวมและสัดส่วนงบประมาณต่อจำนวนประชากรน้อยกว่าเป็นเท่าตัว ก็ไม่ได้ส่งผลให้ CPIB ของสิงคโปร์ทำงานสู้ ICAC ของฮ่องกงไม่ได้แต่อย่างใด เปรียบเทียบกับ ป.ป.ช. ของไทย ซึ่งมีสัดส่วนงบประมาณและเจ้าหน้าที่ไม่ต่างกับสิงคโปร์มากนัก แต่ผลงานแตกต่างกันอย่างมาก

นี่จึงบอกได้ว่า เรื่องการขาดงบประมาณไม่ใช่ผู้ร้ายตัวหลักเสมอไป แต่ในละครเรื่องนี้มีผู้ร้ายที่น่ากลัวกว่านี้อีกหลายตัวเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นความขัดกันและความตึงเครียดระหว่าง ป.ป.ช. กับหน่วยงานราชการอื่นๆ ที่ต้องทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะกับคณะรัฐมนตรี ปัญหาการขาดความเข้าใจของผู้ออกแบบนโยบายต่อคอร์รัปชันในแต่ละวงการ ปัญหาการใช้นโยบายและการทำงานเชิงรับมากกว่าเชิงรุกหรือปัญหาการใช้ข้อมูลร่วมกันในองค์กรต่างๆล้วนเป็นปัญหาสำคัญที่สมควรได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ มากกว่าไปโทษสิ่งที่แก้ไขได้ยาก อย่างการขาดงบประมาณ เช่นนี้เสมอไป

เขียนมาเรื่อยๆ จนถึงประการที่ 4ก็เห็นว่านอกจากพื้นที่เขียนจะหมดแล้ว ถ้าเขียนต่อไปจะยืดยาวจนอ่านไม่สนุกเสียแล้ว ผมจึงขอหยุดพักเท่านี้ก่อน แล้วไว้จะมาต่อข้อ 5-10 ในตอนหน้านะครับ

รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค และดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
14:30 น. (คลิป) 'จตุพร'เปลือยนิสัย'ทักษิณ' เล่าหมดเปลือกแผนหนี'ตระกูลชินวัตร'หากบอก ไม่หนี คือ หนี !!
14:25 น. มาทีมแรก!เพเซอร์สทุบแคฟส์คารังลิ่วชิงแชมป์สายNBA
14:07 น. ดับฝันขาโจ๋!!! 'พิชัย'รับทบทวนเงินหมื่นเฟส 3 เซ่นพิษภาษีทรัมป์
14:05 น. ตำรวจเตรียมนำตัว 'สจ.กอล์ฟ' พร้อมลูกน้องรวม 7 คนฝากขังต่อศาลจังหวัดสงขลา
14:03 น. ‘โฮเซ มูฮิกา’อดีตปธน.'อุรุกวัย'ผู้สมถะ ถึงแก่อสัญกรรมในวัย89ปี
ดูทั้งหมด
'El Clásico2025' เมื่อเก้าอี้ดนตรีเริ่มบรรเลง
ชั้น 14 ส่อวุ่นอีก!!! 'รพ.ราชทัณฑ์'เล็งฟ้องศาลเพิกถอนมติ'แพทยสภา'
'ภูมิใจไทย' แตกหัก 'เพื่อไทย' คดีฮั้ว สว.เป็นเหตุ ส่อคว่ำร่าง พ.ร.บ.งบฯ 69 - ยุบสภา
เช็คผลที่นี่!!! 'เลือกตั้งเทศบาล'ส่วนใหญ่แชมป์เก่าคว้าชัย
'สมชาย'เคลียร์ชัดๆ ไขกระจ่าง'วิษณุ'ไปศาลอาญาทำไม?
ดูทั้งหมด
‘อุ๊งอิ๊งค์-ทวี-สมศักดิ์’อ้าปากเรื่อง‘ป่วยทิพย์’ก็เห็นลิ้นไก่
เมื่อตกอยู่ในมุมอับ ต้องถอยออกมาเริ่มต้นใหม่
มีเรื่องให้ต้อง ‘เอ๊ะ’
ดิจิทัลวอลเล็ตและหญ้าหวาน
บุคคลแนวหน้า : 14 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

(คลิป) 'จตุพร'เปลือยนิสัย'ทักษิณ' เล่าหมดเปลือกแผนหนี'ตระกูลชินวัตร'หากบอก ไม่หนี คือ หนี !!

มาทีมแรก!เพเซอร์สทุบแคฟส์คารังลิ่วชิงแชมป์สายNBA

‘โฮเซ มูฮิกา’อดีตปธน.'อุรุกวัย'ผู้สมถะ ถึงแก่อสัญกรรมในวัย89ปี

'แม่สะเรียง-สบเมย'เตือน ปชช.เฝ้าระวังน้ำป่าหลาก ถนนลื่นห้ามรถขึ้นกลอเซโล

สลด! พบตัวเงินตัวทองใหญ่มาก คาบ'ซากเด็ก'ในซอยกิ่งเเก้ว28

โค้งสุดท้าย!บทสรุปลีกดังลูกหนังยุโรป

  • Breaking News
  • (คลิป) \'จตุพร\'เปลือยนิสัย\'ทักษิณ\' เล่าหมดเปลือกแผนหนี\'ตระกูลชินวัตร\'หากบอก ไม่หนี คือ หนี !! (คลิป) 'จตุพร'เปลือยนิสัย'ทักษิณ' เล่าหมดเปลือกแผนหนี'ตระกูลชินวัตร'หากบอก ไม่หนี คือ หนี !!
  • มาทีมแรก!เพเซอร์สทุบแคฟส์คารังลิ่วชิงแชมป์สายNBA มาทีมแรก!เพเซอร์สทุบแคฟส์คารังลิ่วชิงแชมป์สายNBA
  • ดับฝันขาโจ๋!!! \'พิชัย\'รับทบทวนเงินหมื่นเฟส 3 เซ่นพิษภาษีทรัมป์ ดับฝันขาโจ๋!!! 'พิชัย'รับทบทวนเงินหมื่นเฟส 3 เซ่นพิษภาษีทรัมป์
  • ตำรวจเตรียมนำตัว \'สจ.กอล์ฟ\' พร้อมลูกน้องรวม 7 คนฝากขังต่อศาลจังหวัดสงขลา ตำรวจเตรียมนำตัว 'สจ.กอล์ฟ' พร้อมลูกน้องรวม 7 คนฝากขังต่อศาลจังหวัดสงขลา
  • ‘โฮเซ มูฮิกา’อดีตปธน.\'อุรุกวัย\'ผู้สมถะ ถึงแก่อสัญกรรมในวัย89ปี ‘โฮเซ มูฮิกา’อดีตปธน.'อุรุกวัย'ผู้สมถะ ถึงแก่อสัญกรรมในวัย89ปี
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ตึกถล่ม…ระบบถลำ: เมื่อคอร์รัปชันในวงการก่อสร้างไทยยังไม่หายไปไหน

ตึกถล่ม…ระบบถลำ: เมื่อคอร์รัปชันในวงการก่อสร้างไทยยังไม่หายไปไหน

7 พ.ค. 2568

บทเรียนจาก ตึก สตง.: จริยธรรมและความโปร่งใสแบบครึ่งๆ กลางๆ

บทเรียนจาก ตึก สตง.: จริยธรรมและความโปร่งใสแบบครึ่งๆ กลางๆ

2 เม.ย. 2568

ความหวัง...ในวันที่ดูจะไม่มีความหวัง

ความหวัง...ในวันที่ดูจะไม่มีความหวัง

5 มี.ค. 2568

ต้านโกง สื่อผิด ชีวิตเปลี่ยน กลยุทธ์สื่อสารที่ได้ผลจากงานวิจัย

ต้านโกง สื่อผิด ชีวิตเปลี่ยน กลยุทธ์สื่อสารที่ได้ผลจากงานวิจัย

5 ก.พ. 2568

ความหวังสู้โกงไทย ปี 2568

ความหวังสู้โกงไทย ปี 2568

8 ม.ค. 2568

โอกาสและความสำคัญของการกลับคืนเป็นภาคี TI Thailand

โอกาสและความสำคัญของการกลับคืนเป็นภาคี TI Thailand

4 ธ.ค. 2567

ปฏิวัติไม่ใช่ทางออก : การแก้ปัญหาคอร์รัปชันอย่างยั่งยืนในสังคมไทย

ปฏิวัติไม่ใช่ทางออก : การแก้ปัญหาคอร์รัปชันอย่างยั่งยืนในสังคมไทย

6 พ.ย. 2567

ข้อตกลงคุณธรรม : เครื่องมือสำคัญของประชาชน เพื่อต่อสู้คอร์รัปชัน เมื่อรัฐบาลเมินเฉย

ข้อตกลงคุณธรรม : เครื่องมือสำคัญของประชาชน เพื่อต่อสู้คอร์รัปชัน เมื่อรัฐบาลเมินเฉย

2 ต.ค. 2567

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved