วันจันทร์ ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562, 02.00 น.
‘ละครไทย’ในอาเซียนและจีน

ดูทั้งหมด

  •  

สัปดาห์นี้ “ที่นี่แนวหน้า” ขอนำเสนอเรื่องเล่าจาก ผศ.ดร.อัมพร จิรัฐติกร อาจารย์คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในงานเสวนา “ผลักดันละครไทยไปสู่สากล” ซึ่งจัดโดยกลุ่มจับตาอาเซียน (ASEAN Watch) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ว่าด้วยงานวิจัยเรื่อง “การบริโภคละครไทยในกลุ่มประเทศอาเซียนและจีน” เนื่องจากผู้บริโภคละครไทยทุกวันนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงในประเทศไทยอีกต่อไป แต่ยังขยายไปยังกลุ่มประชาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และประเทศใกล้เคียงอย่างจีน

อาทิ เพื่อนบ้านของไทยอย่าง เมียนมา ลาว กัมพูชา ที่คุ้นเคยกับละครไทยมากว่า 2 ทศวรรษ โดยชาวเมียนมา กัมพูชา รวมถึงชาวม้งในลาว จะนำละครไทยไปพากย์ในภาษาของตนเอง แต่ชาวลาวจะดูละครไทยแบบเสียงภาษาไทยได้โดยตรงเพราะฟังกันรู้เรื่อง “ละครไทยเสมือนเป็นสื่อสร้างความคุ้นเคยกับสังคมไทยเบื้องต้นก่อนที่คนจากประเทศเพื่อนบ้านจะเข้ามาทำงานในประเทศไทย” การพากย์นั้นในยุคแรกๆ ด้วยความที่ดูกันแบบไม่มีลิขสิทธิ์จึงทำกันเองตามมีตามเกิดหลายครั้งพบว่าเสียงประกอบฉากหายไป เช่น ฉากริมทะเลแต่ไม่ได้ยินเสียงทะเล เป็นต้น


“การเกิดทีวีดิจิทัลทำให้ละครไทยยุคใหม่มีหลากหลายแนวมากขึ้นจากในอดีต” อีกทั้งยังมี “บริษัทจัดจำหน่าย” เข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น ทำหน้าที่แทนผู้ผลิตเพราะผู้ผลิตอาจไม่รู้จักหรือไม่เชี่ยวชาญด้านตลาด ซึ่งปัจจุบันละครไทยมีตลาดใหม่ๆ เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และจีน ขณะที่ตลาดเดิมอย่างกัมพูชาเริ่มเปลี่ยนจากการรับชมแบบไม่มีลิขสิทธิ์เป็นการนำเข้าละครไทยแบบถูกลิขสิทธิ์มากขึ้น โดยเมื่อเจาะเป็นรายประเทศ พบว่า

เวียดนาม มีการนำละครไทยไปฉายในช่วงที่เรียกว่า “ไพรม์ไทม์ (Prime Time)” หรือช่วงเวลาที่มีผู้ชมโทรทัศน์มากที่สุดของวัน สำหรับแนวโน้มตลาด “เวียดนามเป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับละครไทย แต่มีอินเดียเป็นคู่แข่งที่สำคัญเพราะละครจากแดนภารตะราคาถูกกว่า” ปัจจัยที่ละครไทยเรื่องใดจะได้ไปฉายในเวียดนามเช่น นักแสดงเป็นที่ชื่นชอบในหมู่ชาวเวียดนาม (ซึ่งอาจไม่ตรงกับกระแสนิยมของชาวไทยก็ได้)

อินโดนีเซีย ตลาดแดนอิเหนาจะเน้นไปทางภาพยนตร์เป็นหลัก มีการนำเข้าภาพยนตร์ไทยไปฉายอย่างต่อเนื่อง ส่วนละครยังมีไม่มากนัก เนื่องจากอินโดนีเซียมีวัฒนธรรมที่แตกต่างจากไทยและมีระบบการเซ็นเซอร์ (Censorship) ค่อนข้างเข้มงวด ฟิลิปปินส์มีลักษณะเช่นเดียวกับอินโดนีเซีย คือที่ผ่านมาจะนิยมภาพยนตร์ไทยเป็นหลัก มีละครไทยเข้าไปฉายไม่มากนักแต่เมื่อเทียบระหว่างละครไทยที่ได้เข้าไปฉายกับละครเกาหลีใต้ที่ได้ฉายในเวลาเดียวกัน พบว่าละครไทยมีเรตติ้ง(Rating) สูงกว่าละครแดนกิมจิ ฟิลิปปินส์จึงเป็นอีกตลาดที่น่าสนใจ

จีน ในช่วงปี 2551-2554 ถือเป็นยุคทองของละครไทยในจีนอย่างแท้จริง สถานีโทรทัศน์ของจีนบางแห่งนำละครไทยไปฉายถึงปีละ 10 เรื่อง กระทั่งในปี 2555 ทางการจีนมีนโยบายปกป้องอุตสาหกรรมบันเทิงในประเทศ หนึ่งในมาตรการสำคัญคือจำกัดโควตาละครจากต่างประเทศ รวมถึงห้ามเนื้อหาหลายประเภท เช่น เรื่องศาสนา ไสยศาสตร์ ภูตผีวิญญาณ การเมือง เรื่องเพศเพศทางเลือก (เพศที่ 3) การสลับร่าง นอกจากนี้ยังต้องเจอคู่แข่งอย่างอินเดียที่ราคาละครถูกกว่าอีกต่างหาก

อาจารย์อัมพร เล่าต่อไปถึง “รสนิยมของชาวต่างชาติที่ชมละครไทย” พบว่า “ชาวเวียดนาม” นิยมละครไทยทุกแนว โดยให้เหตุผลว่ามีวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ผู้ชมบางกลุ่มชอบที่ละครไทยมีฉากอารมณ์แรงกว่าละครเกาหลีใต้ อาทิ มีบทนางอิจฉา-นางร้าย ขณะที่ “ชาวอินโดนีเซีย” มองว่าละครเกาหลีใต้ดูเป็นผู้หญิงเกินไป โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นชาย อีกทั้งมองว่าวิถีชีวิตคนหนุ่ม-สาวของชาวไทยใกล้เคียงกับตนเองมากกว่า

“ชาวจีน” นั้นด้านหนึ่งนิยมละครไทยมากแม้จะต้องรับชมผ่านอินเตอร์เนตที่มีกลุ่มแปลบทบรรยาย (Subtitle) เป็นภาษาไทยแบบทำกันเอง (เพราะหลายเรื่องไม่ผ่านเซ็นเซอร์ของจีน) แต่อีกด้านหนึ่งก็มีคำพูดเชิงประชดประชันทำนอง “ดูละครไทยไม่ต้องใช้สมองคิดเยอะ” เช่น ตัวละครหนึ่งโดนรถชน ตัวละครอื่นๆ ก็มานั่งร้องไห้แทนที่จะโทรศัพท์เรียกรถพยาบาล หรือ “หูหนวก-ตาบอดแบบไทย” หมายถึงฉากที่มีตัวละครกระซิบกันเสียงดังแต่ตัวละครอื่นๆ ที่อยู่ใกล้ๆ กลับ
ไม่ได้ยิน หรือตัวละครหนึ่งยืนอยู่ใกล้ๆ แต่อีกตัวละครหนึ่งกลับมองไม่เห็น เป็นต้น

อนึ่ง “ละครแนวตัวเอกเป็นคนรักเพศเดียวกัน (ซีรี่ส์วาย) จากไทยได้รับความนิยมไม่ว่าในจีน อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์อย่างมีนัยสำคัญ” ซึ่งสาเหตุอาจมาจากปัจจัยของสังคมและการเมืองที่กดทับ เช่น วัฒนธรรมอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ผูกพันกับศาสนาที่ไม่เปิดรับเพศที่ 3 ขณะที่นโยบายจำกัดการมีบุตรของรัฐบาลจีน ครอบครัวจึงคาดหวังให้ลูกหลานต้องเป็นคนรักต่างเพศ (ชาย-หญิง) เพื่อมีทายาทสืบสกุล นอกจากนี้ซีรี่ส์วายยังดำเนินเรื่องแบบให้เวลาตัวละครพัฒนาความสัมพันธ์ได้ละเอียดกว่าละครแบบพระ-นางชาย-หญิง ผู้ชมจึงมีอารมณ์ร่วมมากกว่า

“อุปสรรคในการทำตลาดละคร (และภาพยนตร์) ไทยในต่างแดน” มีหลายประการ 1.ละครไทยมีราคาสูงแม้อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์อยากซื้อละครไทยแต่ก็มองว่าผู้จำหน่ายละครไทยไม่ควรตั้งราคาไว้สูงเท่าละครจากเกาหลีใต้ เพราะมาตรฐานแดนกิมจิสูงกว่า 2.บางประเทศอยากซื้อละครไทยแต่ต้องแลกเปลี่ยนกับละครของประเทศตนเองด้วย เช่น ฟิลิปปินส์ แต่ฝ่ายไทยไม่อยากได้เพราะไม่เป็นที่รู้จักในหมู่ชาวไทย

3.ภาพยนตร์ไทยที่มีคุณภาพยังมีจำนวนไม่เพียงพอ เช่น อินโดนีเซีย ต้องการภาพยนตร์ไทยไปฉายเดือนละ 1 เรื่อง แต่ผู้ผลิตในไทยไม่สามารถจัดให้ได้ 4.มาตรการเซ็นเซอร์ โดยเฉพาะจีนที่มีข้อห้ามมากมาย 4.ละครไทยยาวเกินไป เช่น ฉายในไทย 15 ตอนพอนำไปฉายในต่างประเทศแล้วต้องตัดให้เหลือตอนละ45 นาที ทำให้กลายเป็น 37 ตอน แต่ข้อนี้น่าจะไม่เสมอไป เพราะอินโดนีเซีย จีน และฟิลิปปินส์ ก็มีการทำละครที่ความยาวหลักร้อยตอนเช่นกัน

5.แก่นเรื่องที่อิงกับอารมณ์ความรู้สึกและชุดความคิดแบบไทยๆ เช่น ตัวร้ายต้องร้ายมาแต่กำเนิดตัวเอกเป็นผู้ถูกกระทำตลอด หรือมีการแสดงอารมณ์รุนแรงข้อนี้หากเป็นประเภทเพื่อนบ้านติดกันจะค่อนข้างชอบเช่น ชาวกัมพูชาไม่ค่อยชอบละครเกาหลีใต้เพราะตัวละครชอบเก็บความรู้สึก แต่ชอบละครไทยเพราะตัวละครแสดงอารมณ์ออกมาชัดเจน ขณะที่ประเทศที่ห่างออกไปจะตรงข้าม เช่น ชาวฟิลิปปินส์ไม่เข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรมเพราะนับถือศาสนาแตกต่างจากชาวไทย เป็นต้น

แม้จะเป็นภูมิภาคเดียวกันอย่างอาเซียน (หรือใกล้กันอย่างจีน) และนิยมละครไทยเหมือนกัน แต่แนวละครที่นิยมก็แตกต่างกัน!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
23:05 น. ศบภ.มทบ.38 ผนึกกำลังจิตอาสา ฟื้นฟูโรงเรียนบ้านน้ำพางหลังน้ำลด
22:56 น. บิ๊กไบค์ซิ่งเสียงสนั่นกลางชุมชน ก่อนชนกระบะเจ็บสาหัส
22:17 น. ‘คำชะโนด’แทบแตก! ปชช.แห่ไหว้ขอพร‘ปู่ศรีสุทโธ-ย่าประทุมมา’
22:08 น. ‘ศาลปกครอง’มีคำสั่ง คุ้มครองที่ดิน 995 ฉบับ-แปลงอื่นๆในพื้นที่‘เขากระโดง’
22:05 น. ช้างป่ากลับบ้าน! 'อุทยานฯทับลาน'ผลักดันช้าง 70 ตัวกลับสู่ธรรมชาติ
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
อื้อหือ! เพจดังเปิดภาพ 'สีกากอล์ฟ' ย้อนอดีต 10 ปี ไม่แปลกใจทำไมพระหวั่นไหว
วินาที'ในหลวง'ส่งสัญญาณพระหัตถ์ถึง'พระราชินี' ทรงรีบเข้าประคองพระองค์อย่างว่องไว
สิงห์ทะยานชิง! 'เปโดร'เปิดซิงเบิ้ลล่าแชมป์สโมสรโลก
เปิดแผนร้ายนารีพิฆาต! พระโยงคลิปฉาว‘สีกากอล์ฟ’ทยอยสึก ยังไร้เงา‘ผู้ช่วยวัดโสธร’
ดูทั้งหมด
การดูแลรักษาสุนัขมีค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติ
ผู้ว่าฯแบงก์ชาติต้องมีกระดูกสันหลัง
บุคคลแนวหน้า : 13 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-ความเก่ง
บทบรรณาธิการ : 13 กรกฎาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บิ๊กไบค์ซิ่งเสียงสนั่นกลางชุมชน ก่อนชนกระบะเจ็บสาหัส

ช้างป่ากลับบ้าน! 'อุทยานฯทับลาน'ผลักดันช้าง 70 ตัวกลับสู่ธรรมชาติ

ปืนผูกดักยิง! เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าภูเวียงถูกยิงกลางป่าระหว่างลาดตระเวน

ปีหน้าหนักมาก! 'อ.ทวีสุข'เตือน'มนุษย์เงินเดือน'รับมือความเสี่ยง

‘ภาษีทรัมป์’36%น่าห่วงสำหรับไทย! เปิดตลาดเสรีต้องเป็นธรรม-เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ

'วัดภูม่านฟ้า'คนแน่น! นักท่องเที่ยวพุ่ง 2 เท่า หลังเขมรอ้างเลียนแบบนครวัด

  • Breaking News
  • ศบภ.มทบ.38 ผนึกกำลังจิตอาสา ฟื้นฟูโรงเรียนบ้านน้ำพางหลังน้ำลด ศบภ.มทบ.38 ผนึกกำลังจิตอาสา ฟื้นฟูโรงเรียนบ้านน้ำพางหลังน้ำลด
  • บิ๊กไบค์ซิ่งเสียงสนั่นกลางชุมชน ก่อนชนกระบะเจ็บสาหัส บิ๊กไบค์ซิ่งเสียงสนั่นกลางชุมชน ก่อนชนกระบะเจ็บสาหัส
  • ‘คำชะโนด’แทบแตก! ปชช.แห่ไหว้ขอพร‘ปู่ศรีสุทโธ-ย่าประทุมมา’ ‘คำชะโนด’แทบแตก! ปชช.แห่ไหว้ขอพร‘ปู่ศรีสุทโธ-ย่าประทุมมา’
  • ‘ศาลปกครอง’มีคำสั่ง คุ้มครองที่ดิน 995 ฉบับ-แปลงอื่นๆในพื้นที่‘เขากระโดง’ ‘ศาลปกครอง’มีคำสั่ง คุ้มครองที่ดิน 995 ฉบับ-แปลงอื่นๆในพื้นที่‘เขากระโดง’
  • ช้างป่ากลับบ้าน! \'อุทยานฯทับลาน\'ผลักดันช้าง 70 ตัวกลับสู่ธรรมชาติ ช้างป่ากลับบ้าน! 'อุทยานฯทับลาน'ผลักดันช้าง 70 ตัวกลับสู่ธรรมชาติ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว

ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว

12 ก.ค. 2568

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

5 ก.ค. 2568

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved