วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ขอคิดด้วยฅน
ขอคิดด้วยฅน

ขอคิดด้วยฅน

เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
วันจันทร์ ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562, 02.00 น.
ชวนอภิสิทธิ์ร่วมแก้รัฐธรรมนูญ

ดูทั้งหมด

  •  

พรรคประชาธิปัตย์มีมติเสนออดีตนายกฯอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ  ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลพยายามบ่ายเบี่ยง แต่กำหนดให้มีกรรมาธิการ ๔๙ คน ประกอบด้วย ตัวแทนพรรคร่วมฝ่ายรัฐบาล ๑๘ คน ตัวแทนพรรคร่วมฝ่ายค้าน ๑๙ คน และตัวแทนรัฐบาล ๑๒ คน


คำถามจึงมีอยู่ว่า

๑. รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ มีจุดบกพร่องที่จะต้องแก้ไขปรับปรุงหรือไม่?

รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ประกอบด้วย ๒๗๙ มาตรา มีประเด็นเกี่ยวข้องหลายพันประเด็น ย่อมมีผู้พอใจ เคลือบแคลงสงสัย อยากปรับเปลี่ยนให้ทันกับบริบทของโลกของสังคมอย่างแน่นอน อย่างน้อยก็มีประเด็น เรื่อง

(๑) วิธีการเลือกตั้งและการคำนวณจำนวน สส. ในระบบจัดสรรปันส่วนผสมที่รัฐธรรมนูญ’๖๐ ไปลอกเลียนแบบของประเทศเยอรมนี แต่นำมาไม่ครบและดัดแปลงวิธีการคำนวณการได้มาซึ่งจำนวน สส. ในแต่ละพรรคที่มีการปัดเศษ เมื่อมีการเลือกตั้งซ่อม จำนวน สส.ที่พึงมีตามรัฐธรรมนูญของแต่ละพรรคจึงเปลี่ยนไป กระทบ สส. บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคที่อาจจะเพิ่มหรือลดจำนวนได้ ที่ผ่านมาจึงได้พบ สส. ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคบางคน ได้เป็น สส. เพียง ๑ เดือน และเมื่อมีการเลือกตั้งซ่อม สส. คนดังกล่าวก็ต้องจากไปทั้งๆที่ไม่ได้กระทำอะไรผิด

(๒) หากรัฐสภาจะประกอบด้วย ๒ สภา วุฒิสภาควรจะมีที่มาอย่างไรจึงสอดคล้องกับอำนาจของวุฒิสภา เพราะหากให้วุฒิสภามีอำนาจมาก วิธีการได้มาของวุฒิสภาก็ต้องยึดโยงกับประชาชน  แต่หากวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งก็ควรจะมีอำนาจน้อย เพียงกลั่นกรองกฎหมายและท้วงติงการทำงานของรัฐบาล แต่ปัจจุบันวุฒิสภามีอำนาจมากและมีที่มาแบบค่อนข้างแปลกประหลาด คือ ให้มีการเลือกกันเองระหว่างผู้สมัคร

(๓) ความเป็นอิสระขององค์กรตามรัฐธรรมนูญมีจริงเพียงไร ความสัมพันธ์ระยะห่างระยะชิดกับฝ่ายรัฐบาลและนิติบัญญัติเป็นอย่างไร การได้มาซึ่งกรรมการขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญยังมีปัญหา

(๔) การกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปที่บรรจุในรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรกของประเทศไทย มีความถูกต้องเหมาะสมหรือไม่

(๕) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบถอดถอน ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและองค์กรอิสระ ควรจะมีเพิ่มเติมหรือไม่? อย่างไร?

 ๒. กรรมาธิการวิสามัญที่จะตั้งขึ้นมีขอบเขตอำนาจหน้าที่แค่ไหน? อย่างไร?

กมธ.ที่จะตั้งขึ้นจะมีอำนาจเพียงศึกษาว่า ถ้าจะแก้รัฐธรรมนูญควรแก้ด้วยวิธีใด เช่น ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ขึ้นยกร่างใหม่ เช่นเดียวกับที่มาของรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ หรือแก้ไขเฉพาะมาตรา  ซึ่งอาจต้องแก้ไขมาตราที่ว่าด้วยวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้สามารถแก้ไขให้ง่ายขึ้น เพราะตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ได้วางค่ายกลไว้ให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญยากมากๆ เพราะไม่เพียงแต่จะต้องได้คะแนนเสียงข้างมากของสมาชิกทั้งสองสภารวมกัน  แต่ยังจะต้องได้ความเห็นชอบจากวุฒิสภาและพรรคฝ่ายค้านในสัดส่วนที่สำคัญอีกด้วย หากวุฒิสภาไม่เห็นด้วย การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็คงเป็นไปไม่ได้ เว้นแต่จะต้องแก้ไขมาตราที่เกี่ยวข้องกับวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสียก่อน

๓. ประธานกรรมาธิการควรจะมีคุณสมบัติอย่างไร? อดีตนายกฯอภิสิทธิ์มีความเหมาะสมหรือไม่?

คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เคยเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุด เคยเป็น สส. มามากกว่า ๒๐ ปี มีประสบการณ์ด้านการเมืองระหว่างประเทศ เป็นที่ยอมรับของอานารยประเทศในด้านความรู้ความสามารถ ยิ่งกว่านั้นยังมีพื้นฐานการศึกษาและความสนใจอยู่ในแวดวงของปรัชญาการเมือง เศรษฐกิจ และกฎหมาย

ที่สำคัญ ชื่นชอบระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตย และเชื่อมั่นในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่เห็นด้วยกับเผด็จการทุนนิยมผูกขาด และไม่เห็นด้วยกับการสืบทอดอำนาจรัฐประหาร  ยิ่งกว่านั้น อดีตนายกฯอภิสิทธิ์เป็นผู้ที่มองการณ์ไกล เห็นทิศทางและบริบทของประเทศไทยที่ควรจะต้องดำเนินต่อไปในบริบทของโลก ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งเทคโนโลยีและอื่นๆ

ถ้าจะกล่าวในหลักการ  คุณอภิสิทธิ์มีคุณสมบัติมากเกินตำแหน่งประธานกรรมาธิการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ

 ๔. สภาพการเมืองที่แตกแยก แย่งชิงอำนาจ ในที่สุดจะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้หรือไม่?

ทันทีที่มีข่าวว่า มีผู้เสนออดีตนายกฯอภิสิทธิ์เป็นประธานกมธ.ฯ ก็มีคนในแวดวงพรรคร่วมรัฐบาลออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ประธานกมธ.ชุดนี้จะต้องดำรงตำแหน่งเป็น สส. ในขณะนี้เท่านั้น จะต้องเป็นคนของพรรคพลังประชารัฐ ที่เป็นแกนจัดตั้งรัฐบาลเท่านั้น  และยังมีเสียงโจมตีว่าคุณอภิสิทธิ์ไม่เหมาะสม เพราะเป็นผู้ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และไม่เห็นชอบที่จะให้พลเอกประยุทธ์สืบทอดเป็นนายกฯ อีกครั้ง

เหตุการณ์ดังกล่าวย่อมสะท้อน

(๑) คนของพรรคพลังประชารัฐยังมองว่า รัฐธรรมนูญ ๖๐ ควรจะเป็นรัฐธรรมนูญที่เอื้ออำนวยให้พปชร.จัดตั้งรัฐบาล และพลเอกประยุทธ์เป็นนายกฯ เหมือนดังที่ สส. บางคนได้เคยพูดก่อนหน้านี้

(๒) มองว่ารัฐธรรมนูญ คือ เครื่องมือในการได้มาซึ่งอำนาจและการปกครองประเทศ สามารถกีดกันคู่ขัดแย้งทางการเมืองอย่างได้ผล

(๓) พปชร.จำใจที่จะต้องให้มีกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเมื่อต้องการดึงพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์ได้เคยกำหนดเป็นนโยบายและมีสัญญาประชาคมกับประชาชนไว้ว่า จะดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ  และในนโยบายของรัฐบาลก็ได้แถลงต่อรัฐสภาว่า จะต้องมีการศึกษาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ

การแก้ไขที่เชื่องช้าเนิ่นนาน น่าจะเป็นประโยชน์กับรัฐบาลปัจจุบัน เพราะท่าทีของวิปรัฐบาลก็ได้แสดงออกมาว่า คงไม่ได้บรรจุวาระการตั้งกรรมาธิการชุดนี้ในระยะเวลาอันสั้น เนื่องจากมีเรื่องอื่นๆ อีกมากที่จะต้องพิจารณาในสภา

(๔) การที่คุณอภิสิทธิ์เคยประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ในการทำประชามติอย่างเปิดเผย และได้แสดงเหตุผลถึงประเด็นของรัฐธรรมนูญที่ควรมีการแก้ไข ยิ่งเหมาะสมที่จะเป็นประธานกรรมาธิการชุดนี้เพราะได้เห็นจุดอ่อนของรธน. ไม่มีเจตนาแอบแฝงซ้อนเร้นว่าตนคิดอย่างไร และที่สำคัญคงจะทำตามความต้องการของผู้มีอำนาจแอบแฝง

การประกาศไม่เห็นชอบ ที่จะให้พลเอกประยุทธ์สืบทอดเป็นนายกฯอีกครั้ง ก็ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความตรงไปตรงมา โปร่งใส ไม่นิยมการสืบทอดอำนาจทั้งด้วยปืนหรือด้วยเงิน

โอกาสของประเทศชาติ

รัฐธรรมนูญเป็นกรอบกติกาที่กำหนดทิศทางของประเทศ กำหนดความสัมพันธ์ขององค์กรที่สำคัญ

หากพรรคร่วมรัฐบาลจะคิดเพียงประโยชน์เฉพาะหน้าในทางการเมือง คิดเพียงการเอาชนะในความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ก็จะเป็นสิ่งที่น่าเสียใจที่เราเห็นรัฐธรรมนูญเป็นเพียงเครื่องมือในการเข้าสู่อำนาจ คงอำนาจ และรักษาอำนาจ แต่มิได้พิจารณาถึงประโยชน์ของคน ๖๕ ล้านคน ที่จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนไปในสังคมโลก ที่มีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วและรุนแรง

ปมปัญหาจึงอยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์ ว่าจะแสดงความกล้าหาญ รักษาจุดยืนที่ได้ประกาศเป็นสัญญาประชาคมกับประชาชน ในเรื่องการเป็นผู้นำการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่

หากจะดูแบบอย่างของพรรคภูมิใจไทยที่หัวหน้าพรรคออกมาประกาศว่า หากการยกเลิกการใช้สารเคมี ๓ ชนิด ไม่บรรลุผล รัฐมนตรีของพรรคก็พร้อมที่จะขอลาออก พรรคประชาธิปัตย์อาจให้ความสำคัญกับมารยาทในการร่วมรัฐบาล จนไม่กล้าแสดงจุดยืนเหมือนหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยก็เป็นได้

ทั้งนี้ จะต้องเข้าใจว่าเมื่อครั้งเสนออดีตนายกฯชวนเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชารัฐเขาจำใจที่ต้องสนับสนุน เพราะจำนวนสส.ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านมีจำนวนใกล้เคียงกัน ถ้าไม่โหวตเลือกอดีตนายกฯชวน คะแนนเสียงฝ่ายรัฐบาลจะแตก แล้วตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรจะต้องตกกับคุณสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ แห่งพรรคเพื่อไทย

ในครั้งนี้ สัดส่วนกรรมาธิการของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านเปลี่ยนไป เพราะมีสัดส่วนของตัวแทนรัฐบาลถึง ๑๒ คน ร่วมกับสัดส่วนพรรคร่วมรัฐบาล ๑๘ คนรวมเป็นกรรมาธิการฝ่ายรัฐบาล ๓๐ คน ย่อมสามารถกำหนดทิศทางของกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ได้ เพราะหากพรรคร่วมฝ่ายค้านที่มี ๑๙ คน จะเห็นด้วยกับพรรคประชาธิปัตย์ที่มี ๔ เสียง ก็จะมีคะแนนเสียงรวมกันเพียง ๒๓ เสียงเท่านั้น เทียบกับฝ่ายรัฐบาลที่มี ๒๖ เสียง

หากสังคมไทยยังแตกแยก คิดบริหารประเทศเพื่อประโยชน์และอำนาจของตนและพรรค(พวก) โอกาสที่อดีตนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ คงเป็นเรื่องยาก

ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง

ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:42 น. ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
13:22 น. ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
13:14 น. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
13:08 น. 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
12:24 น. ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

‘ทนายวันชัย’มองเรื่อง‘สีกากอล์ฟ’ เปรียบฆาตกามต่อเนื่อง กระชากหน้ากาก‘คนห่มเหลือง’

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

สุดทน!‘สุทิน’จี้ผู้รักษากฎหมายต้องขยับ ปล่อยให้‘สทร.’ย่ำยีประเทศไม่ได้อีกแล้ว

‘นักเขียนซีไรต์’ฟาดนักการเมืองขี้ขลาด มุ่งแก้ ม.112 นิรโทษกรรมตัวเอง

  • Breaking News
  • ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้ ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
  • รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
  • \'ตะไลชนโคม\' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน\'งานบุญวันเข้าพรรษา\' 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
  • ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

วิกฤติรัฐธรรมนูญ  ใคร พายเรือให้ทหารนั่ง

วิกฤติรัฐธรรมนูญ ใคร พายเรือให้ทหารนั่ง

28 ก.ย. 2563

รัฐธรรมนูญใหม่ ฉบับประชาชน

รัฐธรรมนูญใหม่ ฉบับประชาชน

20 ก.ย. 2563

จดหมายเปิดผนึก  ถึงรมว.กระทรวงพลังงาน

จดหมายเปิดผนึก ถึงรมว.กระทรวงพลังงาน

14 ก.ย. 2563

ดีใจ  คนรุ่นใหม่คิดเป็น

ดีใจ คนรุ่นใหม่คิดเป็น

7 ก.ย. 2563

๙ ปี รัฐบาลพลเอกประยุทธ์

๙ ปี รัฐบาลพลเอกประยุทธ์

31 ส.ค. 2563

ห่วงประเทศ

ห่วงประเทศ

24 ส.ค. 2563

กินและบิณ

กินและบิณ

17 ส.ค. 2563

บ่อนทำลายประเทศไทย

บ่อนทำลายประเทศไทย

10 ส.ค. 2563

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved