วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ขอคิดด้วยฅน
ขอคิดด้วยฅน

ขอคิดด้วยฅน

เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
วันจันทร์ ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2563, 02.00 น.
วันนี้ที่เป็นห่วง

ดูทั้งหมด

  •  

สงคราม COVID-19 ครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก ส่งผลกระทบถ้วนทั่วกับคนทุกชนชั้น

ไม่ว่าเจ้านายระดับสูง จนถึงคนยากจนแสนเข็ญ แม้เจ้าไวรัสตัวนี้จะมีความดีอยู่บ้างที่ไม่เลือกปฏิบัติต่อคนทุกชนชั้น แต่ในเวลานี้นอกจากบุคลากรทางการแพทย์ที่น่าเห็นใจและน่าเป็นห่วงแล้ว กลุ่มคนที่น่าเป็นห่วงยังมีอีกดังนี้


 

 

1. นักโทษในคุก

เป็นกลุ่มคนที่เปราะบางอย่างมาก ในแง่มุมหนึ่งนักโทษเหล่านี้ถูกกักขังตัวอยู่ในเรือนจำ ภายใต้ลูกกรง กำแพงล้อมมิดชิด เป็นการอยู่ห่างสังคมโดยที่ไม่ต้องตั้งใจจะเว้นระยะห่างจากสังคมภายนอก โรคระบาดครั้งนี้ก็มีจุดเริ่มระบาดจากนอกประเทศ ผ่านเข้ามาในประเทศไทยโดยเครื่องบิน

หากไม่มีคนนำพาน้ำมูก น้ำลาย ของคนติดเชื้อเข้าไปในคุก นักโทษในคุกก็ย่อมปลอดภัย แต่หากเชื้อโรคผ่านการนำพาของผู้คุม เจ้าหน้าที่เรือนจำหรือข้าวของเครื่องใช้ที่นำเข้าจากภายนอกโดยไม่ได้ฆ่าเชื้อในเวลาอันสมควร คนคุกก็จะกลายเป็นเหยื่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างรวดเร็วและรุนแรง เพราะความหนาแน่นของจำนวนนักโทษที่มากเกินสถานที่จะรองรับได้ในปัจจุบัน

วันนี้ที่เป็นห่วงก็คือ ผู้คุม เจ้าหน้าที่เรือนจำ จะเป็นผู้นำเชื้อโรคไปแพร่ระบาดในชุมชนคนคุกที่แออัดยัดเยียด รัฐควรจะได้คิดว่าเป็นโอกาสที่จะผ่อนคลาย จัดระยะห่างของคนในคุก โดยนำนักโทษที่สูงอายุ นักโทษที่เหลือเวลากักขังน้อย นักโทษที่มีความผิดไม่ร้ายแรง นักโทษที่ถูกกักขังระหว่างการพิจารณาคดีแล้วไม่มีหลักทรัพย์ประกันตัว หรือนักโทษที่ยอมกักขังแทนค่าปรับซึ่งไม่สามารถจะหาเงินมาจ่ายได้ หากนำนักโทษเหล่านี้มากักบริเวณภายนอกคุก โดยใช้กำไลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถควบคุมติดตามตัวได้ ก็จะทำให้ความแออัดยัดเยียดกันในคุกลดน้อยลง

ในอนาคต ประเทศไทยจำเป็นจะต้องคิดวิธีการลงโทษด้วยการปรับหรือลงโทษด้วยวิธีอื่นแทนการกักขัง ซึ่งสามารถทำได้ในหลายประเภทความผิดที่อาจเหมาะสมกว่าการนำตัวไปกักขัง

2. คนไร้บ้าน

คนไร้บ้านเหล่านี้ได้ยินคำขวัญ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อเพื่อชาติ” แล้วคงไม่รู้จะปฏิบัติตามได้อย่างไร

เมื่อคนอื่นๆเขามีบ้านที่จะหลบภัย แต่คนไร้บ้านไม่มีบ้านจะอยู่ด้วยเหตุจำเป็นหลายประการ

คนเหล่านี้ต้องเลือกนอนใต้ร่มไม้ชายคา ที่มีลมพัดเพื่อไล่ยุง ต้องเลือกที่พักหลับนอนในที่จะพอหาห้องส้วม มีน้ำอาบ
ซักผ้าและอยู่ไกลคนชั้นสูงที่ไม่เข้าใจพวกเขา ว่าทำไมชีวิตเขาจึงต้องทนกับสภาพเช่นนี้

“กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” ก็คงทำได้เพียงข้อเดียว คือ มีช้อนตัวเองที่อาจไม่สะอาดนักแต่ไม่ค่อยมีโอกาสได้ร่วมกิน
ช้อนกลางสังสรรค์กับคนอื่น ส่วนกินร้อนและล้างมือ (อย่างถูกวิธีด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ) ก็อยากทำแต่ทำไม่ได้

กระทรวงพัฒนาสังคมฯ และองค์กรพัฒนาเอกชน
ห้างร้านและจิตอาสาคงจะช่วยได้บ้างในยามนี้ เพื่อให้คนไร้บ้านเหล่านี้มีที่พักพิงเพื่อป้องกันตนเอง หยุดเชื้อเพื่อชาติ

 

 

3. คนเก็บขยะ

เป็นผู้ที่ทำหน้าที่สำคัญที่คนมักจะลืม คือ ลืมที่จะแยกขยะที่อาจติดเชื้อ COVID-19 โดยเฉพาะผู้ที่กักกันตนเองอยู่บ้าน 14 วัน เนื่องจากการสัมผัสกลุ่มเสี่ยงหรือเดินทางมาจากสถานที่เสี่ยง เขาเหล่านี้สร้างขยะทุกวัน โดยอาจจะมีการแยกขยะติดเชื้อบ้าง ไม่ได้แยกขยะบ้าง

“คนเก็บขยะก็คนเหมือนกัน กลัวเหมือนกัน” จึงเป็นเสียงเรียกร้องจากพวกเขา ให้ผู้ทิ้งขยะแยกขยะติดเชื้อ เช่น หน้ากากอนามัย ทิสชู สำลีที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย หรือถุงมือ เป็นต้น จัดใส่ถุงพลาสติกมีสัญลักษณ์ “ขยะติดเชื้อ” เพื่อให้นำไปเผาทำลายจึงเป็นการหยุดแพร่เชื้อเพื่อชาติ

ในความเป็นจริง กรุงเทพมหานครและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น น่าจะถือเป็นโอกาสออกข้อกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อบังคับใช้ในยามนี้ และรณรงค์ให้ทุกบ้านต้องแยกขยะเป็น 4 ประเภท คือ

( 1 ) เศษอาหาร

( 2 ) ขยะขายได้ (พลาสติก กระดาษ ขวด)

( 3 ) ขยะอันตราย (ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ)

( 4 ) ขยะติดเชื้อ

4. คนขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง

ในยามนี้ผู้ทำหน้าที่ส่งอาหาร ส่งของ ส่งคนเจ็บป่วยก็คือมอเตอร์ไซค์รับจ้าง

ยามที่ร้านอาหารปิดกิจการนั่งกินในร้าน ต้องซื้อกลับบ้านอย่างเดียว ก็ต้องอาศัยมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จะไปเอายาจากโรงพยาบาลก็มอเตอร์ไซค์รับจ้าง และอื่นๆอีกมากที่มอเตอร์ไซค์รับจ้างทำหน้าที่แทนเรา แทนครอบครัวของเรา ต้องเสี่ยงอุบัติเหตุมีคนเสียชีวิตจากการขับขี่มอเตอร์ไซค์ทุกวัน เฉลี่ยวันละ 20-30 คน และในครั้งนี้ยังต้องเสี่ยงกับโรคร้าย COVID-19 อีกด้วย

คนขี่มอเตอร์ไซค์ต้องออกไปรวมตัวซื้ออาหารร้านเดียวกัน เป็นการชุมนุมอยู่กันเป็นกลุ่มอย่างไม่ตั้งใจ บางครั้งต้องสัมผัสลูกค้าที่นั่งซ้อนท้ายหายใจรดต้นคอยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ ยิ่งกว่านั้น เขาต้องดั้นด้นเข้าไปในหมู่บ้านและชุมชนต่างๆ ที่อาจไม่ปลอดภัย

คนขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างเหล่านี้จะมีเวลาล้างมือ อาบน้ำ ก่อนปาดเหงื่อจับใบหน้าของตนเองมากน้อยแค่ไหน ตกเย็น
พลบค่ำก็ต้องเข้าบ้านอยู่กับครอบครัว ซึ่งตนเองอาจจะเป็นพาหะนำโรคร้ายแพร่ระบาดกับคนในครอบครัวก็ได้

เจ้าของและหัวหน้าวินมอเตอร์ไซค์ซึ่งส่วนมากก็เป็น ทหาร ตำรวจ หรือผู้มีอิทธิพลในพื้นที่จะร่วมกันคิดจัดระบบเพื่อความปลอดภัย ปลอดเชื้อ เพื่อชาติ ได้บ้างก็จะดี เพราะตลอดมาก็ได้กินหัวคิว ขายเสื้อกั๊กที่บอกสังกัดในราคาแพงไปแล้ว

บริษัทตัวกลางในการประสานระหว่างคนขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างกับร้านอาหาร เช่น Grab Food Lineman Get Food เป็นต้น ควรจะได้ร่วมมือวางระบบป้องกันโรค COVID-19 เพื่อไม่ให้ติดต่อคนขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ก็จะเป็นประโยชน์ทำให้
ผู้บริโภคมั่นใจในการปลอดเชื้อของอาหารและข้าวของที่สั่งอีกด้วยต้องระมัดระวังว่าหากมีคนขี่มอเตอร์ไซค์ติดเชื้อ COVID-19 กิจการนี้จะล่มสลายไปคล้ายๆ กับที่เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย ที่ผู้บริโภคไม่มั่นใจและเกรงกลัวที่จะใช้บริการ

5. คนสลัม ชุมชนแออัด

บ้านหลังน้อยอยู่ชิดติดกัน ทางเดินแคบๆ น้ำทิ้งส่งกลิ่นคละคลุ้ง ผู้คนเข้า-ออกพื้นที่แออัด แม้ต่างคนต่างอยู่แต่ก็ดูเสมือนชุมนุมกันโดยปริยายทุกวัน

ต้องเว้นระยะห่างทางสังคม อย่างที่โฆษก ศบค.(ศูนย์บริหารโควิด-19 ขอเรียกง่ายๆ) พล่ามบอกว่าคนในครอบครัวหากเกิน 2 คน แต่ละคนต้องเว้นระยะห่าง 2 เมตร ดูจะทำตามได้ยาก

แต่ละวัน ชาวสลัมต้องออกมาทำงานรับจ้าง ได้รายได้เป็นรายวัน ยามนี้ที่กิจการร้านค้า โรงงาน สถานบริการปิดหมด เขาจะต้องเร่ร่อนไปหางานที่ไกลขึ้น อาจต้องกลับถิ่นฐานต่างจังหวัดซึ่งเขาอาจจะเป็นพาหะนำเชื้อไประบาดที่บ้านเดิมต่างจังหวัด

การรวมตัวของคนสลัมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการสนับสนุนขององค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) และเจ้าหน้าที่
ของรัฐ ซึ่งสามารถให้ความรู้และสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันโรคคงจะช่วยได้มาก

6. ผู้สูงอายุ คนเฒ่าคนแก่

เชื้อโรค COVID-19 ดูจะออกฤทธิ์ร้ายแรงกับผู้สูงอายุ เพราะอัตราการตายของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อไวรัสตัวนี้จะสูงมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มคนอายุต่างๆ พบว่าเกือบ 20% ของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อจะเสียชีวิต

ผู้สูงอายุแม้จะเป็นผู้เชี่ยวชาญชีวิต แต่สังขารก็เสื่อมถอยเป็นธรรมดาย่อมมีโรคประจำตัวแทรกซ้อนอยู่ในร่างกาย ภูมิต้านทานก็ลดน้อยถอยลง หลายคนเดินเหินยากลำบาก ต้องอยู่ติดบ้าน ติดเตียง

แต่ผู้สูงอายุเหล่านี้ ก็ต้องกินอาหาร ต้องกินยา ต้องมีข้าวของเครื่องใช้ จึงต้องอาศัยลูกหลานคนในครอบครัวออกไปจับจ่ายใช้สอยนำกลับมาให้ ความสำคัญอยู่ที่คนหนุ่มสาวลูก-หลาน ที่ออกไปนอกบ้านและเมื่อจะเข้าไปบ้านผู้สูงอายุจำเป็นต้องล้างมือ อาบน้ำ สระผม เปลี่ยนเสื้อผ้าและควรเว้นระยะห่างจากตัวผู้สูงอายุอย่างน้อย 2 เมตร

ผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยอยู่ตัวคนเดียวหรืออยู่ตามลำพัง 2 คน ตา-ยาย ไม่มีคนดูแล ซื้อข้าวปลาอาหารของใช้ให้ในยามนี้ ก็จะเกิดความยากลำบากหากออกนอกบ้านไปจัดหาด้วยตัวเองก็อาจติดเชื้อ COVID-19 ได้

องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่ทุกตำบลควรร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (สถานีอนามัยเดิม) อสม. (อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) ร่วมกับวัด-พระสงฆ์ น่าจะได้มีบทบาทสำคัญที่จะช่วยวางระบบเกื้อหนุนเสียในเวลานี้

เพราะขณะนี้ผู้สูงอายุของไทยมีประมาณ 20% ของประชากรทั้งประเทศหรือประมาณ 13 ล้านคน อีก 10 กว่าปี
ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุถึง 1 ใน 3 ของคนทั้งประเทศ หรือประมาณ 20 ล้านคน องค์กรที่สำคัญในท้องถิ่นจะต้องผนึกกำลังวางระบบรองรับ

ควรถือโอกาสที่มีโรคระบาด COVID-19 รัฐบาลส่วนกลางควรรีบกระจายอำนาจให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นได้วางระบบและบริหารจัดการเสียในโอกาสนี้ เพราะการบริหารส่วนกลางโดยกระทรวงและกรมต่างๆ ควรจะเป็นผู้ให้คำปรึกษากับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงาน

หากท้องถิ่นจะได้นำคนในชุมชนอายุ 40 ถึง 60 ปี ซึ่งจะเป็นผู้สูงอายุในอนาคต (ในเวลาที่มีผู้สูงอายุมากเกิน 30% ของคนทั้งประเทศ) มาร่วมวางระบบดูแลผู้สูงอายุก็จะเป็นการเรียนรู้และเตรียมตัวที่จะเป็นผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ

7. พระและสัปเหร่อ

ดูจะเป็นกลุ่มคนที่จะมีปัญหาติดเชื้อ COVID-19 น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มต่างๆข้างต้น

โรคนี้ไม่ทำให้คนตายกะทันหัน แต่ป่วยอยู่ในโรงพยาบาลเป็นส่วนมาก แพทย์และเจ้าหน้าที่จะจัดการศพอย่างถูกต้อง ไม่ให้แพร่เชื้อใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ และใส่ถุงพลาสติก 2 ชั้น แล้วยังใส่ในโรงศพปิดแน่นอีกด้วย

เชื้อ COVID-19 เป็นไวรัส ซึ่งไม่ใช่สิ่งมีชีวิตเดินก็ไม่ได้บินก็ไม่ได้ มีพาหะคือละอองน้ำลายน้ำมูกของคนที่ติดเชื้อ เข้าทางจมูกปากและตาเท่านั้น

ร่างกายของคนตายหรือศพ จึงน่ากลัวน้อยกว่าคนเป็นที่มาวัด ซึ่งไม่สามารถรู้ได้ว่าผู้ใดบ้างที่ติดเชื้อและยังไม่แสดงอาการ หากสัปเหร่อและพระร่วมกับชุมชนจะได้จัดวางระบบการเผาศพ ให้ทำพิธีแต่เท่าที่จำเป็น แล้วเผาศพในวิธีแบบปิดที่ทำ
อยู่ในปัจจุบัน ก็ถูกต้อง เหมาะสม มิดชิดดีอยู่แล้ว

เราจะไม่ได้อยู่ในแผ่นดินที่คุ้นเคยอีกต่อไป

COVID-19 เกิดขึ้นสะท้อนความอวดดีของมนุษย์ ที่คิดว่าสามารถฝืนกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ พยายามอยู่เหนือธรรมชาติ ทำลายความสมดุลของธรรมชาติ จึงเกิดโรคร้ายอุบัติถี่ขึ้นและร้ายแรงมากยิ่งขึ้นตามลำดับ

มนุษย์ต้องหันมาปฏิบัติธรรม คือปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติและรับผลจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ที่มนุษย์ไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือเอาชนะได้

ครั้งนี้ ภายหลังโรคร้ายสงบลง “เราคงไม่ได้อยู่ในแผ่นดินที่คุ้นเคยอีกต่อไป”

 

ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง

ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
12:58 น. ‘เบน หวัง’ คว้าบท ‘ลี’ ท่ามกลางนักแสดงจากทั่วโลก สานต่อตำนานยอดนักสู้
12:54 น. ระทึก! กระบะตู้ทึบพุ่งเสยเสาไฟ-รั้วบ้านพังยับ คนขับรอดปาฏิหาริย์
12:53 น. กทม.เสนอร่างข้อบัญญัติฯ คุมแสงจ้าป้ายโฆษณา LED ลดความเดือดร้อนประชาชน
12:50 น. 'ฮุน มานี'ปลุกสามัคคีคนในชาติ! โพสต์เฟซบุ๊กลั่น'ชาวกัมพูชา'จะไม่นิ่งเฉยหากโดนคุกคาม
12:49 น. ทอ.เด้งรับสมรสเท่าเทียม! เปลี่ยนชื่อ 'สมาคมแม่บ้าน ทอ.' เป็น 'สมาคมคู่สมรสทหารอากาศ'
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
แกว่งเท้าหาเสี้ยน! ปรากฏการณ์แฉโพย‘สายส้ม’เข้มข้น-ล่อนจ้อน
'ออสเตรเลีย'ออกคำเตือนพลเมืองมา'ไทย'หลังพบวัตถุต้องสงสัยหลายเมืองท่องเที่ยวภาคใต้
ดูทั้งหมด
ต้นสนยักษ์ร่วมสมัยกับฟาโรห์
‘คลิปเขมร’เหตุอัปยศ‘แพทองธาร’
รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม
วาทกรรมเจ็บจี๊ด
อุ๊งอิ๊งค์ 2 ปรับ ครม. ฟอร์มาลีน
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'ฮุน มานี'ปลุกสามัคคีคนในชาติ! โพสต์เฟซบุ๊กลั่น'ชาวกัมพูชา'จะไม่นิ่งเฉยหากโดนคุกคาม

ทอ.เด้งรับสมรสเท่าเทียม! เปลี่ยนชื่อ 'สมาคมแม่บ้าน ทอ.' เป็น 'สมาคมคู่สมรสทหารอากาศ'

ท่องคาถา‘ยุบสภา’ ‘ช่อ’ท้าฝั่ง รบ.เป็นนักการเมืองอย่ากลัวเลือกตั้ง

ไม่ช่วยใครง่ายๆอีก! ‘สหรัฐฯ’ปิดฉาก‘USAID’เลิกหน่วยงานเพื่อมนุษยธรรมอย่างเป็นทางการ

ไม่ใช่แค่ม็อบคนแก่! ม็อบ 28 มิถุนาฯ คือฐานเสียง'พรรค ปชน.' ชี้ฝ่ายค้านเอาแต่แก้ รธน. เมินปากท้องคนไทย

ยันเป็นเขตแดนไทย! ทบ.แจง Google Map ไม่มีผลด้านกฎหมาย หลังหมุดปราสาทโผล่เขมร

  • Breaking News
  • ‘เบน หวัง’ คว้าบท ‘ลี’ ท่ามกลางนักแสดงจากทั่วโลก  สานต่อตำนานยอดนักสู้ ‘เบน หวัง’ คว้าบท ‘ลี’ ท่ามกลางนักแสดงจากทั่วโลก สานต่อตำนานยอดนักสู้
  • ระทึก! กระบะตู้ทึบพุ่งเสยเสาไฟ-รั้วบ้านพังยับ คนขับรอดปาฏิหาริย์ ระทึก! กระบะตู้ทึบพุ่งเสยเสาไฟ-รั้วบ้านพังยับ คนขับรอดปาฏิหาริย์
  • กทม.เสนอร่างข้อบัญญัติฯ คุมแสงจ้าป้ายโฆษณา LED ลดความเดือดร้อนประชาชน กทม.เสนอร่างข้อบัญญัติฯ คุมแสงจ้าป้ายโฆษณา LED ลดความเดือดร้อนประชาชน
  • \'ฮุน มานี\'ปลุกสามัคคีคนในชาติ! โพสต์เฟซบุ๊กลั่น\'ชาวกัมพูชา\'จะไม่นิ่งเฉยหากโดนคุกคาม 'ฮุน มานี'ปลุกสามัคคีคนในชาติ! โพสต์เฟซบุ๊กลั่น'ชาวกัมพูชา'จะไม่นิ่งเฉยหากโดนคุกคาม
  • ทอ.เด้งรับสมรสเท่าเทียม! เปลี่ยนชื่อ \'สมาคมแม่บ้าน ทอ.\' เป็น \'สมาคมคู่สมรสทหารอากาศ\' ทอ.เด้งรับสมรสเท่าเทียม! เปลี่ยนชื่อ 'สมาคมแม่บ้าน ทอ.' เป็น 'สมาคมคู่สมรสทหารอากาศ'
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

วิกฤติรัฐธรรมนูญ  ใคร พายเรือให้ทหารนั่ง

วิกฤติรัฐธรรมนูญ ใคร พายเรือให้ทหารนั่ง

28 ก.ย. 2563

รัฐธรรมนูญใหม่ ฉบับประชาชน

รัฐธรรมนูญใหม่ ฉบับประชาชน

20 ก.ย. 2563

จดหมายเปิดผนึก  ถึงรมว.กระทรวงพลังงาน

จดหมายเปิดผนึก ถึงรมว.กระทรวงพลังงาน

14 ก.ย. 2563

ดีใจ  คนรุ่นใหม่คิดเป็น

ดีใจ คนรุ่นใหม่คิดเป็น

7 ก.ย. 2563

๙ ปี รัฐบาลพลเอกประยุทธ์

๙ ปี รัฐบาลพลเอกประยุทธ์

31 ส.ค. 2563

ห่วงประเทศ

ห่วงประเทศ

24 ส.ค. 2563

กินและบิณ

กินและบิณ

17 ส.ค. 2563

บ่อนทำลายประเทศไทย

บ่อนทำลายประเทศไทย

10 ส.ค. 2563

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved