วันเสาร์ ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2564
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / บทเรียนจากความจริง
บทเรียนจากความจริง

บทเรียนจากความจริง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
วันเสาร์ ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2563, 02.00 น.

หลังโควิด-19 ต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและค่านิยมของคนไทย

ดูทั้งหมด

  • Tweet

ต้องยอมรับว่า ณ วันนี้ ประเทศไทยแก้ปัญหาโควิด-19 ได้ดีมาก
ถ้าไม่มีการระบาดรอบที่ 2 ถือว่า การแพทย์ของไทยได้รับการยกย่องอันดับหนึ่งของโลก

ปัญหาที่คนไทยทุกๆ คนต้องช่วยกันก็คือ ผลกระทบต่อความเป็นอยู่ คือ เศรษฐกิจของไทยทั้งก่อนและหลังโควิด-19 มีปัญหาอย่างมากทั้งๆ ที่ประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่งในการแก้ปัญหาโควิด-19 แต่เศรษฐกิจและความอยู่ดีกินดีของคนไทยกลับแย่ที่สุดในประเทศอาเซียน ดูจากตารางของไอเอ็มเอฟที่คาดไว้ปีนี้


อัตราการเพิ่ม GDP ในอาเซียน ปี 2020

ที่มา: ไอเอ็มเอฟ

ตารางนี้ เห็นชัดว่า ถึงประเทศไทยจะแก้ปัญหาโควิด-19 ได้ดีที่สุดในโลก แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจกลับแย่ที่สุดในอาเซียนตัวเลขของธนาคารแห่งประเทศไทยบอกว่า ปีนี้ เราติดลบ 8% แย่กว่าไอเอ็มเอฟอีก

มูลค่าการส่งออกสินค้าหดตัวลง 23.6% เมื่อเปรียบเทียบจากระยะเวลาเดียวกันในปี 2562

ก่อนหน้าโควิด-19 การขยายตัวของจีดีพีของประเทศไทยก็ไม่สูงในช่วงกว่า 10 ปีแล้ว ประมาณ 3-4%

เมื่อยุคก่อนๆ สมัยนายกรัฐมนตรี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงนายกฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ถึงนายกฯ พลเอกชาติชายชุณหะวัณ ประเทศไทยเคยถูกมองว่า เป็นเสือตัวที่ 5 เพราะเศรษฐกิจขยายตัวสูงติดต่อกันประมาณ 8% เป็นอันดับหนึ่งของอาเซียนโดยตลอดกว่า 20 ปี

ช่วงหลังๆ เศรษฐกิจไทยกลับมีปัญหาด้านโครงสร้างที่ไม่เหมาะสม จีดีพีต่อปีต่ำสุดในอาเซียนมาหลายปี

จนกระทั่งรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เน้นเศรษฐกิจ 4.0, New S-curve, EEC ซึ่งก็เป็นการนำศักยภาพของเศรษฐกิจไทยโดยใช้นวัตกรรมจากการวิจัยและพัฒนามากกว่าใช้แรงงานมากเหมือนเดิมสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มการแข่งขันมากขึ้น

ผมเคยพูดนานแล้ว กว่า 30 ปี ว่า การส่งเสริมการลงทุนของไทยไม่ควรยกเว้นภาษีอย่างเดียว ควรกำหนดให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วย ซึ่งจีนในช่วง 20 ปี นำการลงทุนจากต่างประเทศ โดยมีข้อแม้ว่า จะต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้จีนด้วย ทำให้จีนมีอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น

ในขณะที่คุณภาพและการศึกษาของทรัพยากรมนุษย์ของไทยไม่ดีขึ้นเพราะวิธีการสอนไม่ได้เน้นให้คิดแต่ให้ท่องจำจนประเทศไทยติดอันดับท้ายๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์และภาษาต่างประเทศจนเป็นที่มาของการเน้น STEM ด้วย

S = Science (วิทยาศาสตร์)

T = Technology (เทคโนโลยี)

E = Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)

M = Mathematics (คณิตศาสตร์)

ยิ่งไปกว่านั้น ยุคคุณยิ่งลักษณ์ ปี 2554 ก็ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มจาก 160-180 เป็น 300 บาท เพิ่มคนจบปริญญาตรี 15,000 บาทซึ่งเป็นนโยบายหาเสียงที่ผิดพลาด เพราะจะให้ดี ควรค่อยๆ เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำได้แต่ไม่ใช่ขึ้นครั้งเดียวเกือบ 100% ไม่มีประเทศไหนในโลกทำกัน ทำให้อุตสาหกรรมไทยย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่นจำนวนมาก

ควรกำหนดค่าจ้างให้คนที่จบอาชีวะพอเพียงแทนที่จะเน้นคนจบปริญญาตรี จะได้เป็นแรงจูงใจให้คนไทยเรียนอาชีวะมากขึ้น เพราะคนไทยเรียนปริญญาตรีเพื่อเกียรติและค่านิยม ไม่ได้เรียนเพื่อไปทำงาน มีค่านิยมผิดๆ จบด้านสังคมศาสตร์กว่า 60% สาขาสำคัญคือ วิทยาศาสตร์หรือวิศวะน้อยมาก จบน้อย ประเทศไทยขาดแคลนแรงงานทางวิศวะและวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน คนจบปริญญาตรีตกงานมากแต่แรงงานอาชีวะขาดแคลนมาก

ดังนั้นปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจไทยก่อนโควิด-19 มีปัญหามากอยู่แล้ว หลังโควิด-19 ยิ่งเป็นปัญหามากกว่าเดิม ต้องปรับโครงสร้าง

เกิดโควิด-19 จะน่าจะเป็นโอกาสถ้ารัฐบาล พรรคการเมือง และคนไทยที่รักประเทศช่วยกันแสดงความเห็น วิธีการแก้และนายกฯประยุทธ์ควรปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและปรับค่านิยมที่ผิดๆ ของคนไทยด้วย

โครงสร้างเศรษฐกิจไทยหลังโควิด-19 จะปรับอย่างไรให้เกิดประโยชน์ระยะยาวต่อประเทศของเรา มีความมั่นคงและยั่งยืน ตัดคำว่ามั่งคั่งออกไป แต่เพิ่มคำว่า ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังและลดช่องว่างระหว่างคนรวยและจนอย่างมีนัยสำคัญ

จุดอ่อนของโครงสร้างที่บิดเบี้ยวของระบบเศรษฐกิจคือ การพึ่งพาต่างชาติมากเกินไป อย่างน้อย 3 เรื่อง คือ

-รายได้จากการท่องเที่ยวซึ่งถือว่า โชคดีมากใน 10 ปี มีรายได้การท่องเที่ยวก่อนโควิด-19 เพิ่มขึ้นตลอดจากจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น

ปี 2019 มีรายได้ 2 ล้านล้านบาท หรือเกือบ 20% ของจีดีพีและนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเกือบ 40 ล้านคน กว่า 30% เป็นคนจีน

จากช่วงโควิด-19 รายได้ดังกล่าวหายไปเกือบหมดกว่าจะกลับมาคงอีก 2-3 ปี

-การพึ่งพาการส่งออก ตัวเลขส่งออกในช่วงคสช.เริ่มดีขึ้นบ้างแต่เจอสงครามการค้า ซึ่งเริ่มลดลง เมื่อยุคโควิด-19 ลดลงไปอีกอย่างน้อยกว่า 20%ซึ่งกระทบเศรษฐกิจไทยอย่างรุนแรง

-การลงทุนจากต่างประเทศ ไทยเคยนำประเทศในอาเซียนยกเว้นสิงคโปร์และมาเลเซีย ปัจจุบันลดลงอย่างมาก ซึ่งหลังโควิด-19ควรจะทดแทนด้วยการลงทุนในประเทศมากขึ้น

-สุดท้าย การบริโภคในประเทศยังมีกำลังไม่มากพอ ควรหันมาพึ่งการกระตุ้นการบริโภคในประเทศมากขึ้น โดยสร้างแรงจูงใจ (Incentives) ให้มีการบริโภคในประเทศหลังยุคโควิด-19 ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่ง แต่คำถามจะทำอย่างไรการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและ SMEs จึงจำเป็นในการสร้างการบริโภคในประเทศ

ประเด็นที่ขัดแย้งกันคือ ไทยแก้โควิด-19 ได้ดี แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจติดลบรุนแรงกว่าประเทศอื่นๆ เพราะเราพึ่งพาต่างประเทศมากเกินไป จึงควรมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจยุคหลังโควิด-19คำถามว่า จะทำอย่างไรและสำเร็จหรือไม่

ถึงแม้ว่า จีดีพีในช่วง 10 ปีต่ำสุดในอาเซียน ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวยมีมากขึ้น คนรวยกระจุก จนกระจาย

ปัจจุบัน รัฐบาลรวมศูนย์มากเกินไป โดยเน้นรัฐราชการมากไปรัฐบาลประยุทธ์ควรให้ความสำคัญกับการกระจายผลประโยชน์ให้คนไทยในระดับชุมชน โดยทำจริง อย่างต่อเนื่อง ชนะเล็กๆ แต่ชนะบ่อยๆ ต้องทำให้สำเร็จ เป็นประเด็นที่ใหญ่และสำคัญมากในปัจจุบัน เพราะโครงการต่างๆ ขับเคลื่อนด้วยระบบราชการและการรวมศูนย์ไม่สามารถลงไปถึงเศรษฐกิจฐานราก ทำได้แต่ยังไม่สำเร็จ ขาดความจริงใจ และขาดความสำนึกว่า รากฐานสำคัญ

ผมจึงอยากเห็นการกระจายอำนาจและการเลือกตั้งท้องถิ่นเร็วที่สุด

อย่าคิดว่า ท้องถิ่นคือแหล่งการคอร์รัปชั่นเท่านั้นควรกระจายอำนาจไปจากส่วนกลางเร็ว ซึ่งอาจจะกระตุ้นให้ท้องถิ่นมีบทบาททางเศรษฐกิจฐานรากมากขึ้น

การมองการกระจายความเจริญไปยังฐานรากด้วยและ SMEs จึงต้องทำจริงจังและต่อเนื่อง

การปรับโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยช่วงนี้ จึงสำคัญมากเพราะเป็นโอกาสดีที่รัฐบาลประยุทธ์เห็นปัญหาต่างๆ และถือโอกาสปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของไทยไปด้วย

ผมมีความเห็นว่า

1. งบประมาณ 4 แสนล้านบาท และงบประมาณปี 2564 และปีต่อๆ ไป ควรจะลงไปที่ภาคเกษตรดังแนวคิดของศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน ครอบคลุม 5 ประเด็นหลักคือ

1.1 ลงทุนเรื่องน้ำเพื่อการเกษตร เกษตรกรสามารถปลูกพืชได้ตลอดทั้งปีและจะมีรายได้เพิ่มขึ้นเท่าตัว

1.2 การพลิกฟื้นคุณภาพของดินให้มีความอุดมสมบูรณ์โดยลดการใช้ปุ๋ยเคมีให้กรมพัฒนาที่ดิน ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีบทบาทเด่นชัดขึ้น ผมอยากเห็นบทบาทของการปรับปรุงที่ดินของไทยเกิดขึ้นอย่างจริงจัง หลังจากขาดการดูแลอย่างจริงจังมาเป็นเวลานาน อยากเห็นกรมพัฒนาที่ดินมีบทบาทเด่นชัดขึ้น สังคมไทยจะละเลยการพัฒนาคุณภาพของดินมาเป็นเวลานานและใช้สารเคมีทำให้คุณภาพดีมีปัญหา ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 9 ทรงสนพระทัยเรื่องคุณภาพดินอย่างมาก

1.3 การนำเทคโนโลยีใช้เพื่อเพิ่มผลิตภาพ ประสิทธิภาพและรายได้ในผลิตผลทางการเกษตร

1.4 นำระบบขายออนไลน์ ระบบดิจิทัลมาใช้จะช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร

1.5 การพัฒนาทักษะให้เกษตรกรทั้ง Upskill, Reskill ปรับทัศนคติวิธีการทำงานแบบใหม่ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาใน 4 ข้อข้างต้นกระทรวงเกษตรฯต้องพัฒนาทุนมนุษย์ของเกษตรกรอย่างจริงจัง

2.ควรกระตุ้น SMEs ซึ่งมีจำนวนมากมหาศาลถึง 3,070,177 ราย เป็นแนวคิดของคุณกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า โดยให้เครื่องยนต์ของ SMEs ทำงานอย่างแท้จริง การเน้น SMEs และการเกษตรจึงเป็นปัจจัยสำคัญมากๆ SMEs จะช่วยการจ้างงานได้มากมายกว่า 10 ล้านคน ช่วยการบริโภคในประเทศ

3.กระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศอย่างจริงจังทดแทนรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ขาดหายไปในช่วง 1-2 ปี

4.ถ้านักท่องเที่ยวต่างประเทศกลับมา เน้นการกระจายรายได้ไปยังท่องเที่ยวโดยชุมชน และการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้ภูมิปัญญาคนไทยทั้งด้านการแพทย์และด้านวัฒนธรรมมากขึ้น

5.การเน้นการบริหารทางการแพทย์หลังโควิด-19 โดยเน้นแหล่งรายได้จากต่างประเทศมากขึ้น เพราะความสำเร็จในการแก้ปัญหาทำให้คนในโลกไว้ใจในความสำเร็จ ซึ่งน่าจะใช้โอกาสนี้สร้างระบบการแพทย์รองรับชาวต่างประเทศอย่างจริงจัง

6.นโยบาย EEC และการสร้างโครงสร้างพื้นฐานรวมทั้งสร้างนิคมอุตสาหกรรมชายแดน ควรจะทำอย่างต่อเนื่อง ทำจริง จะทำให้สำเร็จ แล้วดึงเอาอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีสูงเข้ามา และเน้นการใช้ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานโลก

ทั้ง 6 แนว ช่วยเรื่องความเหลื่อมล้ำอย่างมาก

การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่พอ ควรปรับคุณภาพของ คนไทยโดยสร้างค่านิยมของคนไทย อย่างจริงจังเป็นโอกาสที่ดีเพราะในวิกฤติโควิด-19 คนไทยในด้านการแพทย์ก็ปรับตัวมีวินัย ทำได้ดีแต่ในด้านเศรษฐกิจ ปลูกฝังให้คนไทยไม่ใช้จ่ายเกินตัว ใช้ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง เช่น เน้นพฤติกรรมการออม ให้เป็นวาระแห่งชาติอย่างจริงจัง ผมได้เห็นบทบาทธนาคารออมสินในการพัฒนาการออมระดับชุมชนแล้ว น่าจะสนับสนุนอย่างจริงจัง

ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นห่วงเรื่องหนี้ครัวเรือนเพราะคนไทยกู้เงินในอนาคตมาใช้กันมาก แต่บริหารหนี้ไม่เป็น และค่านิยมคนไทย ชอบงานสบาย ไม่ขยันและไม่เรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นปัญหาของคนไทยชอบอวดและเน้นวัตถุนิยม ยกย่องคนรวยโดยไม่ได้ดูว่าได้เงินมาอย่างไร

หลังโควิด-19 หนี้ครัวเรือนยังสูง รัฐอาจจะต้องช่วยประคองไม่ให้หนี้เสียเกินอัตราที่เหมาะสม จะปรับทัศนคติให้คนเหล่านั้นได้เรียนรู้จากความล้มเหลว หรือที่ผมเรียกว่า Learning from Adversity หรือ Pain is gain. (เรียนรู้จากความเจ็บปวด) รัฐบาลและคนไทยทุกคนต้องช่วยกันคิดว่า จะทำอย่างไร

เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่และสร้างค่านิยมที่ถูกต้องของสังคมครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

dr.chira@hotmail.com

  • Tweet
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
18:08 น. 'ไอคอนสยาม'ประกาศปิดร้านเสื้อผ้าแบรนด์ดัง หลังพนักงานติดโควิด-19
17:47 น. 'บิ๊กแป๊ะ'เปิดใจ! ทำไมต้องลุยเอง คดีกราดยิงโคราช ทั้งๆที่นั่งสั่งการก็ได้ (คลิป)
17:46 น. โล่งอก! ผลตรวจโควิดพนักงานช่อง NBT '818 ราย'ออกมาเป็นลบทั้งหมด
17:38 น. ยืนยันแล้วเป็น'ทองคำแท้ๆ' ครูหนุ่มร่อนเจอในคลองชลประทานดอนตะโก
17:27 น. (คลิป) ยังแข็งแรง! คุณตาวัย 82 นั่งจักสานผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ขายสร้างรายได้เลี้ยงตัวเอง
ดูทั้งหมด
ด่วนที่สุด!‘กกต.’ประกาศรับรอง29นายกอบจ.-สมาชิกอบจ.1,949คน75จังหวัด
ด่วน! กกต.สั่งเลือกตั้งซ่อม อบจ.ใหม่ 18 จังหวัด 7 ก.พ.นี้
โขดหิน หาดทราย โผล่กลางโขงเป็นแนวยาวจาก 'เขมราฐ'ไปจนถึง'โขงเจียม'
'บิ๊กตู่'เหลืออดแล้ว! ซัดกลับ'ธนาธร'บิดเบือน สั่งดำเนินคดีแพร่ข้อมูลเท็จ
'นิติเวช'ลั่นจับคนร้ายคดี'น้องชมพู่'ใกล้เข้ามาทุกที 'หมอปลา'เผยคำพูด'ลุงพล'หวยออกที่ลุงจะแฉ!
ดูทั้งหมด
‘ตั้งสำรองเพิ่ม’
แวดวงการเงิน : 23 มกราคม 2564
บุคคลแนวหน้า : 23 มกราคม 2564
การขอเยียวยาและค่าเสียหายจากรัฐ
‘กัญชง-กัญชา’ พืชเศรษฐกิจ(ใหม่)ไทย
ดูทั้งหมด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'ไอคอนสยาม'ประกาศปิดร้านเสื้อผ้าแบรนด์ดัง หลังพนักงานติดโควิด-19

โล่งอก! ผลตรวจโควิดพนักงานช่อง NBT '818 ราย'ออกมาเป็นลบทั้งหมด

(คลิป) ยังแข็งแรง! คุณตาวัย 82 นั่งจักสานผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ขายสร้างรายได้เลี้ยงตัวเอง

ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง! ค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีส้มพอๆ กับสายสีเขียว ที่ ก.คมนาคมแย้งว่าแพง?

สหรัฐฯพบผู้รับวัคซีนโควิด-19‘โมเดอร์นา’ มีผลข้างเคียงกว่า1,200ราย

รวบแล้วหนุ่ม'เมาเหล้าขาว' ใช้อาวุธมีดบุกจี้ชิงทรัพย์ร้านสะดวกซื้อ

  • Breaking News
18:08 น. 'ไอคอนสยาม'ประกาศปิดร้านเสื้อผ้าแบรนด์ดัง หลังพนักงานติดโควิด-19
17:47 น. 'บิ๊กแป๊ะ'เปิดใจ! ทำไมต้องลุยเอง คดีกราดยิงโคราช ทั้งๆที่นั่งสั่งการก็ได้ (คลิป)
17:46 น. โล่งอก! ผลตรวจโควิดพนักงานช่อง NBT '818 ราย'ออกมาเป็นลบทั้งหมด
17:38 น. ยืนยันแล้วเป็น'ทองคำแท้ๆ' ครูหนุ่มร่อนเจอในคลองชลประทานดอนตะโก
17:27 น. (คลิป) ยังแข็งแรง! คุณตาวัย 82 นั่งจักสานผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ขายสร้างรายได้เลี้ยงตัวเอง
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

คุณภาพคน, การศึกษาและจริยธรรมของคนไทย 0.4 สร้างวิกฤติ COVID-19 จากสมุทรสาคร รอบ 2 จากแรงงานต่างด้าว

คุณภาพคน, การศึกษาและจริยธรรมของคนไทย 0.4 สร้างวิกฤติ COVID-19 จากสมุทรสาคร รอบ 2 จากแรงงานต่างด้าว

26 ธ.ค. 2563

ม็อบอวิชชาเหตุมาจากการล้มเหลว  ของการศึกษา ทุนมนุษย์และจริยธรรม

ม็อบอวิชชาเหตุมาจากการล้มเหลว ของการศึกษา ทุนมนุษย์และจริยธรรม

19 ธ.ค. 2563

โครงสร้างพื้นฐาน 4.0 การศึกษา ทุนมนุษย์ และจริยธรรม 0.4 ของประเทศไทยหลังโควิด-19

โครงสร้างพื้นฐาน 4.0 การศึกษา ทุนมนุษย์ และจริยธรรม 0.4 ของประเทศไทยหลังโควิด-19

12 ธ.ค. 2563

วันที่ 13 ตุลาคมผ่านไปแล้ว วันที่ 5 ธันวาทุกปีคนไทยน้อมรำลึกถึงวันสำคัญนี้

วันที่ 13 ตุลาคมผ่านไปแล้ว วันที่ 5 ธันวาทุกปีคนไทยน้อมรำลึกถึงวันสำคัญนี้

5 ธ.ค. 2563

โควิด-19 จากปีที่ 1 จะเข้าสู่ปีที่ 2 แล้วอะไรจะเกิดขึ้น

โควิด-19 จากปีที่ 1 จะเข้าสู่ปีที่ 2 แล้วอะไรจะเกิดขึ้น

28 พ.ย. 2563

แก้รัฐธรรมนูญสำเร็จได้ คุณธรรมจริยธรรมของคนไทยต้องดีขึ้น

แก้รัฐธรรมนูญสำเร็จได้ คุณธรรมจริยธรรมของคนไทยต้องดีขึ้น

21 พ.ย. 2563

บทเรียน 10 ข้อ ของการเลือกตั้ง ทรัมป์ - ไบเดน  และผลกระทบการเมืองไทย 5 ข้อ

บทเรียน 10 ข้อ ของการเลือกตั้ง ทรัมป์ - ไบเดน และผลกระทบการเมืองไทย 5 ข้อ

14 พ.ย. 2563

คะแนนเลือกตั้งอเมริกาพลิกไปพลิกมา ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

คะแนนเลือกตั้งอเมริกาพลิกไปพลิกมา ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

7 พ.ย. 2563

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved