วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2564, 02.00 น.
หลักประกันสุขภาพกับความยั่งยืน

ดูทั้งหมด

  •  

สัปดาห์นี้ “ที่นี่แนวหน้า” ขอนำเสนอมุมมองจาก ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย นักวิชาการอิสระและอดีตนักวิจัยแลกเปลี่ยนด้านระบบสาธารณสุข. Harvard T.H. Chan School of Public Health ที่บอกเล่าในงานเสวนา (ออนไลน์) เรื่อง “การพัฒนาประสิทธิภาพทางการคลังที่ยั่งยืนสำหรับระบบประกันสุขภาพ” ซึ่งแม้ประเทศไทยได้รับการยกย่องจากนานาชาติในเรื่องการจัดสวัสดิการสุขภาพแบบถ้วนหน้า แต่ก็กำลังเผชิญความท้าทายคือการเข้าสู่สังคมสูงวัย ที่ถึงจะมีการรณรงค์ให้รักษาสุขภาพแต่สุดท้ายการเจ็บป่วยย่อมต้องเกิดขึ้น รวมถึงตัวแปรล่าสุดอย่างการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจทำให้รัฐบาลไม่สามารถเก็บภาษีได้ตามเป้าที่ตั้งไว้

คำถามที่ตามมา “ระบบที่มีอยู่จะมีความยั่งยืนเพียงใด?” ขณะที่แนวคิด “บูรณาการ 3 กองทุน” ทั้งสวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคมและบัตรทองเข้าด้วยกัน สามารถทำได้หลายแนวทาง เริ่มตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป ได้แก่ 1.กำหนดให้คนทำงานรุ่นใหม่อยู่ในสิทธิบัตรทองเพียงอย่างเดียวทั้งหมด พบว่า เมื่อถึงปี 2573 จะไม่ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพรวมเท่าใดนัก โดยลดเพียงร้อยละ 0.64 เท่านั้น นอกจากนี้ยังต้องคิดถึงกลุ่มประกันสังคมอย่างรอบคอบ เพราะควรมีระบบให้คนที่มีความพร้อมร่วมจ่ายเพื่อรับผิดชอบตนเอง


2.กำหนดให้ค่าใช้จ่ายต่อหัวของสวัสดิการข้าราชการและประกันสังคมคงที่ พบว่า เมื่อถึงปี 2573 จะลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพรวมลงได้ร้อยละ1.04 ยังถือว่าน้อยอยู่ อีกทั้งระบบนี้ยังไม่เป็นธรรมกับกลุ่มประกันสังคมเพราะเป็นผุ้จ่ายเงินสมทบ และ 3.กำหนดให้ต้องมีการร่วมจ่ายในทุกกองทุนไม่ว่าสวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคมและบัตรทอง หนทางนี้แม้ด้านหนึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายภาครัฐได้ แต่อีกด้านหมายถึงภาคเอกชนจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

ดังนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงด้วยคือจะคุ้มครองสิทธิของกลุ่มเปราะบางหรือผู้ด้อยโอกาสอย่างไร เช่น เงินส่วนต่างร่วมจ่าย 300 บาท หรือแม้แต่ 100 บาทคนทั่วไปอาจจะมองว่าไม่มาก แต่กับคนยากจนมองว่ามาก นอกจากนี้ แนวทางร่วมจ่ายน่าจะถูกต่อต้านคัดค้านอย่างรุนแรง การจะหาใครสักคนมาผลักดันและอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงไปใช้แนวทางดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องง่าย

อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง “รัฐยังมีช่องทางหารายได้งบประมาณในรูปแบบมาตรการทางภาษีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ” เช่น การเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 8 โดยกำหนดให้ชัดเจนว่าส่วนที่เก็บเพิ่มนี้ให้นำไปใช้ด้านการทำสวัสดิการประชาชนเท่านั้น, การปรับค่าลดหย่อนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF), ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, ภาษีราคาทรัพย์สิน (Capital Gain Tax) เป็นต้น “แต่ความท้าทายคือ..รัฐบาลจะกล้ากับคนกลุ่มน้อยที่มีอำนาจและอิทธิพลหรือไม่” เพราะรัฐบาลมักต้องช่วยรักษาผลประโยชน์หรือมีประโยชน์ผูกพันกับคนกลุ่มนี้ด้วย

ทีปกร ยกตัวอย่าง “มาตรการลดหย่อนภาษี” ซึ่งพบว่า “คนร่ำรวยได้ประโยชน์มากกว่าคนทั่วไป” โดยประเทศไทยนั้นเก็บภาษีได้ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศ แต่หากเก็บได้เต็มศักยภาพจะเพิ่มรายได้ได้อีกร้อยละ 20-30 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) และประเทศยังใช้มาตรการทางภาษีและเงินโอนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับประเทศที่มีการทำรัฐสวัสดิการดูแลคุณภาพชีวิตประชาชนได้ดี

“Earmarked Taxes (การเก็บภาษีโดยระบุให้ชัดเจนว่าจะนำเงินภาษีส่วนนี้ไปใช้ทำอะไร) จะมีแรงต้านน้อยกว่า แต่ว่ารายได้น้อยและค่อนข้างจะขัดกับหลักทั่วไปทางภาษี อาจจะทำได้ในการเก็บในรูปของกองทุน แต่เงินมันก็จะไม่พออยู่ดี ถ้าการเพิ่ม VAT สามารถทำได้ทันทีเพราะมีกฎหมายรองรับแล้ว สามารถเป็น
รายได้พอสมควร เป็นรายได้มากแล้วก็มีศักยภาพเป็นแหล่งรายได้หลักสำหรับสวัสดิการได้

แต่ปัญหาคือภาระภาษีของคนจนมันจะมากกว่าเมื่อเทียบกับรายได้ และจะมีแรงต่อต้านสูงทั้งประชาชนและเอกชนด้วย โดยเฉพาะถ้าเก็บ VAT แล้วเอาไปใช้อย่างอื่น ไปซื้อเรือดำน้ำ หรือยังมีการคอร์รัปชั่นก็คงไม่อยากเก็บภาษีเพิ่ม แล้วสุดท้ายคือการปฏิรูปภาษี ข้อดีคือเป็นแหล่งรายได้มาก สามารถสร้างความเป็นธรรมให้กับสังคม มีการกระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ แต่ปัญหาคือมีแรงต่อต้านสูงจากผู้มีอำนาจ” ทีปกร กล่าว

“การจัดลำดับความสำคัญของงบประมาณ” ก็อีกประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ เช่น ในรอบ 10 ปีล่าสุด (2554-2563) พบว่า กระทรวงกลาโหมได้งบประมาณสูงกว่ากระทรวงสาธารณสุข ถึงกระนั้น “การสร้างความเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องการเมืองมากกว่าวิชาการ” นักวิชาการทำการศึกษาวิจัย เมื่อถามว่าจะนำงานวิจัยไปทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมได้อย่างไรก็อาจไม่มีคำตอบเพราะการผลักดันทางการเมืองนั้นยากกว่า จึงมีข้อเสนอ 3 ประการคือ

1.ใช้กลยุทธ์ “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา”หมายถึงองค์ประกอบทั้งภาควิชาการ ภาคสังคมและภาคการเมือง ในการผลักดันเพื่อเพิ่มงบประมาณด้านสาธารณสุข เพราะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะหากคนไทยมีสุขภาพดีก็จะเพิ่มผลผลิตทางเศรษฐกิจด้วย 2.ปฏิรูปมาตรการทางภาษี เช่น เก็บภาษีความมั่งคั่งจากคนรวย หรือเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยระบุให้ชัดว่าส่วนที่เก็บเพิ่มนี้นำไปใช้ด้านสาธารณสุขหรือสวัสดิการ 3.บุคลากรสาธารณสุขต้องช่วยประชาชนเรียกร้อง เพื่อประโยชน์ต่อระบบสาธารณสุขเอง รวมถึงยังลดความเหลื่อมล้ำและความขัดแย้งทางการเมืองด้วย

“ถ้ามองโดยภาพรวมไม่ใช่แค่เรื่องสุขภาพ การใช้จ่ายด้านรัฐสวัสดิการจะช่วยลดความยากจนได้ แล้วก็มีบทบาทมากขึ้น เมื่อก่อนรายจ่ายด้านสวัสดิการของรัฐมีส่วนแค่ 2% ในการลด Poverty (ความยากจน) อันนี้ช่วง 1988-1996 (2531-2539) ในช่วงหลัง (2000-2013 หรือ 2543-2556) นี่มีบทบาทถึง 10% ในการลดความยากจนของไทย ก็คือเพิ่มขึ้นเกือบ 10% ที่มีส่วน (Contribute) ลดความยากจน มีข้อโต้แย้งจากคนที่ว่าทำไมเขาจ่ายภาษีเยอะกว่า คนที่จ่ายภาษีน้อยกว่าเขาควรจะได้สวัสดิการเท่าเขาหรือ

อันนี้เลยอยากจะแสดงให้เห็นว่า จริงๆ แล้วอย่างที่ทุกท่านทราบกันดีว่าประเทศไทยพัฒนาเศรษฐกิจมาได้ด้วยการกดค่าแรง คำถามก็คือว่าแล้วส่วนเกินของแรงงาน มูลค่าส่วนเกิน (Surplus Value) มันหายไปไหน ดัชนีผลิตภาพแรงงานสูงกว่าอัตราการเติบโตของดัชนีค่าจ้างทั่วไปและดัชนี (ค่าจ้าง) ขั้นต่ำ ก็คือส่วนที่เขาควรจะได้ ส่วนที่เขาหายไปเขาควรจะได้จาก Productivity (ความสามารถในการผลิต) ที่เพิ่มขึ้น ใครเป็นคนเอาไป แล้วเราควรเอาคืนกลับมาให้แรงงานเหล่านั้นได้อย่างไร” ทีปกร ระบุ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:51 น. จับหนุ่มหนีคดีพยายามฆ่าซุกตัวในซากเรือ
13:42 น. สุดโรแมนติก! 'โปรต้า'คุกเข่าขอ'ครูเบียร์'แต่งงานริมทะเล
13:39 น. วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน
13:35 น. (คลิป) เคลียร์ชัด!! ไทกร เปิดดีลลับตั้งนายก ตีแผ่หมดเปลือก ใครเป็นใคร!!
13:31 น. ช่อง 7HD ชวนกรี๊ด ร่วมเกาะติดบรรยากาศสดจากงานบวงสรวง ซีรีส์ชุดฟอร์มยักษ์ '4 Element บ้านวาทินวณิช'
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
'ออสเตรเลีย'ออกคำเตือนพลเมืองมา'ไทย'หลังพบวัตถุต้องสงสัยหลายเมืองท่องเที่ยวภาคใต้
ดูทั้งหมด
ทิศทางของไทยคือความเป็นกลาง
‘หนีดีกว่า’อวสาน‘ตระกูลชิน’
สองพ่อลูกลุยกรรม
ไทยประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
เดือน ก.ค. อำนาจตุลาการพิทักษ์แผ่นดิน
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สุดโรแมนติก! 'โปรต้า'คุกเข่าขอ'ครูเบียร์'แต่งงานริมทะเล

(คลิป) เคลียร์ชัด!! ไทกร เปิดดีลลับตั้งนายก ตีแผ่หมดเปลือก ใครเป็นใคร!!

วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน

'รังสิมันต์'เผย'นายกฯ-กต.'ให้ความร่วมมือน้อย! หลังไม่แจง กมธ.มั่นคงฯ ปมคลิปเสียง

'ญี่ปุ่น'แผ่นดินไหวทะลุ1,000ครั้ง! แถลงการณ์ฉุกเฉินสั่งปชช.เตรียมพร้อมอพยพทุกเมื่อ

(คลิป) ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2 ชุดขาวในเงามืด!

  • Breaking News
  • จับหนุ่มหนีคดีพยายามฆ่าซุกตัวในซากเรือ จับหนุ่มหนีคดีพยายามฆ่าซุกตัวในซากเรือ
  • สุดโรแมนติก! \'โปรต้า\'คุกเข่าขอ\'ครูเบียร์\'แต่งงานริมทะเล สุดโรแมนติก! 'โปรต้า'คุกเข่าขอ'ครูเบียร์'แต่งงานริมทะเล
  • วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน
  • (คลิป) เคลียร์ชัด!! ไทกร เปิดดีลลับตั้งนายก ตีแผ่หมดเปลือก ใครเป็นใคร!! (คลิป) เคลียร์ชัด!! ไทกร เปิดดีลลับตั้งนายก ตีแผ่หมดเปลือก ใครเป็นใคร!!
  • ช่อง 7HD ชวนกรี๊ด ร่วมเกาะติดบรรยากาศสดจากงานบวงสรวง ซีรีส์ชุดฟอร์มยักษ์ \'4 Element บ้านวาทินวณิช\' ช่อง 7HD ชวนกรี๊ด ร่วมเกาะติดบรรยากาศสดจากงานบวงสรวง ซีรีส์ชุดฟอร์มยักษ์ '4 Element บ้านวาทินวณิช'
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

17 พ.ค. 2568

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

10 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved