วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2564, 02.00 น.
รับมือโควิดในชุมชนแออัด

ดูทั้งหมด

  •  

สัปดาห์นี้ “ที่นี่แนวหน้า” ขอนำเรื่องราวจากงานเสวนา (ออนไลน์) “โควิด-19 รุกคลองเตย : ช่วยชีวิตปิดจุดเสี่ยง ครั้งที่ 2” เมื่อเร็วๆ นี้ มานำเสนอ ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่ดังกล่าวเริ่มคุมอยู่ แต่หากย้อนไปเพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อน ข่าวการพบผู้ติดเชื้อก็ทำเอาสังคมไทยอกสั่นขวัญหายไม่น้อย เนื่องด้วยคลองเตยเป็นพื้นที่ชุมชนแออัดมีประชากรหนาแน่นทำให้การเว้นระยะห่างเป็นไปได้ยาก

กรณีคลองเตยจึงนับเป็นการถอดบทเรียนครั้งสำคัญในการรับมือโรคระบาดในชุมชนแออัดแห่งอื่นๆ ได้ต่อไป โดย เพ็ญวดี แสงจันทร์ ผู้จัดการมูลนิธิดวงประทีป เล่าว่า ในช่วงแรกๆ ผู้ที่ถูกระบุว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงต้องกักตัวในบ้านตนเอง แต่ต่อมาได้รับความช่วยเหลือจากหลายฝ่าย จัดตั้ง “ศูนย์พักคอยรอการส่งต่อ” ที่วัดสะพาน ภายนอก เพื่อแยกผู้ที่ติดเชื้อจากครัวเรือนออกมาให้การดูแล และประสานหาเตียง


นพ.วิรุฬ ลิ้มสวาท ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า บริบทของชุมชนโดยเฉพาะ ชุมชนคลองเตย มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก ทั้งในมิติทางสังคมและวัฒนธรรม จึงทำให้การดูแลผู้ติดเชื้อคนหนึ่งที่จะออกมาจากชุมชนได้ การที่จะทำให้ญาติรับรู้ว่าจะต้องอยู่ในพื้นที่นั้น นอกจากการใช้กลไกของคณะกรรมการชุมชนแล้ว จะต้องใช้กลไกอื่นๆ ที่เป็นบริบทเฉพาะของชุมชนนั้นๆ ด้วย สิ่งพยายามเสนอนั้นเรียกว่า “การจัดการโดยชุมชน”ในเรื่องของการควบคุมพื้นที่ เป็นการจำกัดการเคลื่อนที่ในระดับชุมชน

ซึ่งในพื้นที่ชุมชนสิ่งที่จะต้องมีสำหรับการดูแลผู้ติดเชื้อมี 3 อย่าง ได้แก่ 1.จุดพักคอย หรือศูนย์พักคอยรอการส่งต่อ โดยทำขึ้นแล้วที่วัดสะพาน เพื่อที่จะเคลื่อนย้ายผู้ติดเชื้อที่ทางเขตส่งไม่ทัน ที่เกิดจากปลายทางไม่ยอมรับหรือรอรถส่งเป็นเวลานานให้มารอที่จุดพักคอย 2.การกักกันโรคโดยชุมชน (Community Quarantine-CQ) เป็นการจำกัดการเคลื่อนที่ในชุมชน ไม่ใช่การกักตัวในชุมชน เพราะในพื้นที่ชุมชนจะมีการแบ่งพื้นที่ย่อย ซึ่งบางบ้านจะต้องมีการควบคุมเป็นพิเศษ จะต้องอาศัยกลไกในชุมชนดูแล ซึ่งใช้เฉพาะผู้มีสัมผัสเสี่ยงสูงที่ยังไม่ใช่ผู้ติดเชื้อ

และ 3.ผู้ที่ยังอยู่ในชุมชน จำเป็นต้องดูแลทั้งการแพทย์ การป้องกันโรค อาหาร อาชีพ เป็นต้นในส่วนของ “คลองเตยโมเดล” จะเห็นในส่วนของแนวคิดและระบบการจัดการที่ดี แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดคือการบริหารการจัดการ และความเป็นมนุษย์ของทุกคนที่ได้รับผลกระทบ เช่น ชาวบ้านในชุมชน เป็นต้น นอกจากนี้ยังเห็นความเป็นมนุษย์ของทีมงาน ที่พยายามเชื่อมประสานกันในเจตนาที่ดี

มุมมองจากแพทย์อีกท่านหนึ่ง นพ.ปรีดา แต้อารักษ์รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลจนหายดีแล้ว บางรายอาจยังไม่สะดวกที่จะกลับเข้าไปอยู่ในบ้านของตนเองได้ทันที จึงจำเป็นต้องมี “ศูนย์พักฟื้นชุมชน” ขึ้นมาทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย หลังได้รับการรักษาต่อไปอีกระยะหนึ่ง

ซึ่งจากกรณีชุมชนคลองเตย จะเห็นได้ว่ามีแนวคิดที่ชัดเจนแล้วว่า ในทางการแพทย์จำเป็นต้องการตัดวงจรการระบาด แต่การตัดวงจรให้สำเร็จได้นั้น ยังต้องอาศัยภาคสังคมเข้ามามีส่วนร่วมด้วย และในบางพื้นที่จะยังไม่มีรายงานผู้ป่วย แต่ก็ได้รับผลกระทบทางสังคมไปแล้ว ฉะนั้นการช่วยเหลืออย่างรอบด้านจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำควบคู่กันไป ทั้งนี้ ผู้ที่มีความสำคัญในการจัดการคือคณะกรรมการชุมชน ที่ต้องดูแลใน 4 ด้าน คือ 1.ประสานทางการแพทย์ 2.ประสานอาหาร 3.ประสานอาชีพ และ 4.ประสานการสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจกับชุมชน

ด้าน วรรณา แก้วชาติ ตัวแทนเครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวว่า สถานการณ์ในพื้นที่อื่นๆ ที่เครือข่ายทำงาน แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะไม่รุนแรงเท่าคลองเตย แต่มีผลกระทบในด้านอื่นที่คล้ายคลึงกัน เช่น ตกงาน ขาดรายได้ อุปกรณ์ป้องกันที่ไม่เพียงพอ ปัญหาเรื่องอาหารการกิน เป็นต้น ซึ่งเครือข่ายสลัมสี่ภาคได้มีการประชุมและสรุปข้อมูลร่วมกัน ซึ่งได้ข้อสรุปว่าการระบาดรอบนี้จะไม่ทำเพียงแค่ระดมอาหารการกินและอุปกรณ์ป้องกันเท่านั้น แต่จะต้องวางแผนและรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย

โดยสิ่งสำคัญมากที่สุดคือ การเข้าถึงบริการสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการส่งต่อผู้ป่วย การทำงานของเครือข่ายแบ่งการทำงานเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1.ใช้ศูนย์ชุมชนที่มีอยู่ให้เป็นพื้นที่กักตัวของผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งมีทั้งหมด 13 แห่ง ในการรองรับเพื่อดูอาการที่จะมีปัญหาด้านสุขภาพ บุคลากรที่มีบทบาทสำคัญคือ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) และอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) ที่จะต้องเข้าไปให้ความรู้ต่างๆ กับคนในชุมชน

2.การประสานงาน หากคนในชุมชนที่ต้องส่งตัวเนื่องจากติดเชื้อ จะมีระบบการส่งต่อผู้ป่วยอย่างไร นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิดในชุมชน เช่น รณรงค์ให้ใส่หน้ากากอนามัย จัดหาหน้ากากอนามัย เนื่องจากค่อนข้างเป็นปัญหา เพราะว่าบางคนมีหน้ากากอนามัยเพียงแค่ชิ้นเดียว และ 3.มาตรการแบ่งเบาภาระด้านหนี้สิน ซึ่งมีทุนภายในชุมชน เช่น ร้านอาหารราคาย่อมเยา เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในชุมชน

นอกจากนี้ทางเครือข่ายฯยังออกทุนซื้อของให้ร้านขายของชำภายในชุมชนก่อน เพื่อแบ่งเบาภาระต้นทุนให้ก่อน และยังมีการปลูกผักสวนครัวหน้าบ้านในแต่ละหลัง หรือแปลงรวมในชุมชน เพื่อลดต้นทุนในการซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาหาร แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ “การป้องกันโรค” รวมไปถึงการบริการด้านสุขภาพ การเข้าถึงวัคซีน จะต้องไม่เลือกชนชั้น หรือแบ่งว่าใครมีบัตรและใครไม่มีบัตร แต่ควรได้เข้าถึงกันทุกคน ซึ่งจะสามารถป้องกันคนทั้งประเทศได้เป็นอย่างดี

ปิดท้ายด้วย จันทิมา ลังประเสริฐ ตัวแทนเครือข่ายบ้านมั่นคง กล่าวว่า สมาชิกเครือข่ายบ้านมั่นคงทั่วประเทศมีมากกว่า 400 กลุ่ม ปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่มคือ การระบาดในระลอกที่ 1-2 ไม่ได้รับผลกระทบและไม่มีผู้ติดเชื้อเลย แต่ในระลอกที่ 3 มีคนติดเชื้อในชุมชนบ้านมั่นคงเกิดขึ้น ซึ่งในตอนแรกที่มีผู้ติดเชื้อทำให้เกิดความตื่นตระหนักกันมากภายในชุมชน แต่เมื่อผ่านไป 3 ชั่วโมง ก็ตั้งสติได้จึงมีการประสานกับศูนย์สาธารณสุขในพื้นที่เข้ามาช่วยเหลือ

อนึ่ง เครือข่ายได้ปรับตัวและมีระบบให้ความช่วยเหลือกัน ถึงกระนั้น ด้วยความที่ทุกคนในชุมชนเป็นผู้มีรายได้น้อย เป็นคนยากจน จึงทำให้เงินกองกลางของเครือข่ายฯที่มีอยู่ก็มีไม่มากนั้น จึงทำให้การดูแลผู้ที่กักตัและผู้ที่กลับมาจากโรงพยาบาล จึงต้องการการสนับสนุนโดยเฉพาะเรื่องวัตถุดิบสำหรับปรุงอาหาร ยารักษาโรคเบื้องต้น รวมทั้งเจลล้างมือ หน้ากากอนามัย ฯลฯ

ที่สำคัญคือการสนับสนุนองค์ความรู้ในการตั้งศูนย์ในชุมชนเพื่อดูแลผู้กลับมาจากโรงพยาบาล!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
16:24 น. 'กัน จอมพลัง'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน
16:22 น. 'ทิดประดิษฐ์'อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย โชว์ส่งมอบเอกสารวัด ปัดข่าวหอบเงินหนี
16:19 น. 'สะพานเข้าชุมชนถล่ม' ชาวบ้านกว่า30หลังคาเรือน-ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก
16:14 น. ‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้
16:05 น. ติดเชื้อ'ไวรัสซิกา' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'กัน จอมพลัง'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน

ติดเชื้อ'ไวรัสซิกา' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้

อดีตผู้พิพากษาเลคเชอร์ 6 ข้อ ‘ทักษิณ’ทำอย่างน้อย 4 ครั้ง เสี่ยงครอบงำ-‘พท.’อาจถูกยุบพรรค

‘วิสุทธิ์’ย้อนเกล็ด‘ภท’ สส.โหวตสวนเรียก‘งูเห่า’ ตอนย้ายคอกเข้าพรรคบอก‘อุดมการณ์’

เกษตรกรกำแพงเพชร บุกพรรคประชาชน หลัง'ไอซ์'ปูดงบ 'ไผ่' หวั่นเดือดร้อนถูกตัดงบ

‘ไผ่’ซัด‘รักชนก’เป็นเหตุ‘ม็อบชาวกำแพงเพชร’บุกศูนย์ ปชน. โวยพาดพิงงบพัฒนา

  • Breaking News
  • \'กัน จอมพลัง\'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน 'กัน จอมพลัง'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน
  • \'ทิดประดิษฐ์\'อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย โชว์ส่งมอบเอกสารวัด ปัดข่าวหอบเงินหนี 'ทิดประดิษฐ์'อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย โชว์ส่งมอบเอกสารวัด ปัดข่าวหอบเงินหนี
  • \'สะพานเข้าชุมชนถล่ม\' ชาวบ้านกว่า30หลังคาเรือน-ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก 'สะพานเข้าชุมชนถล่ม' ชาวบ้านกว่า30หลังคาเรือน-ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก
  • ‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้ ‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้
  • ติดเชื้อ\'ไวรัสซิกา\' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้ ติดเชื้อ'ไวรัสซิกา' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว

ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว

12 ก.ค. 2568

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

5 ก.ค. 2568

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved